การบริหารจัดการตัวตนของมนุษย์งานของประชาชาติ (ที่ดี) ที่ควรตระหนัก


หากทรัพยากรของสิ่งมีชีวิตหนึ่งที่เรียกว่ามนุษย์ไม่สามารถแยกแยะระหว่างหน้าที่กับความรับผิดชอบ กรอบของความคิดในการสร้าง “วิสัยทัศน์” สู่การมอง “โลกทรรศน์” ในการเดินทางต่อไปของพันธกิจก็คงจะมืดอับดับแสงไปอีกนานตราบเท่าที่คนคนหนึ่งจะรู้จักกับคำว่า หน้าที่ “การบริหารจัดการมนุษย์ของอุมมะฮฺ (ประชาชาติ) ที่ดี”

การบริหารจัดการตัวตนของมนุษย์งานของประชาชาติ (ที่ดี) ที่ควรตระหนัก[1]

                                                                                                                                   ฟูอ๊าด (สุรชัย)  ไวยวรรณจิตร[2]

“แท้ จริงอัลลอฮ์จะมิทรงเปลี่ยนแปลงสภาพของชนกลุ่มใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสภาพของพวกเขา และเมื่ออัลลอฮ์ทรงปรารถนาความทุกข์แก่ชนกลุ่มใดแล้ว ก็จะไม่มีผู้ตอบโต้พระองค์”   (อัรเราะอฺดุ อายะฮฺที่ ๑๑)

ผู้เขียนเริ่มต้นบทความชิ้นนี้ด้วยอายะฮฺกุรอ่านที่ต้องสร้างความตระหนักควรค่าแก่การปฏิบัติอย่างยิ่งสำหรับประชาชาติในทุกยุคทุกสมัย การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์จากรุ่นสู่รุ่นเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยมองข้ามผ่าผ่านกาลเวลาอย่างไร้ซึ่งการมองผ่านในประสบการณ์ของบททดสอบครั้งแล้วครั้งเล่าที่ผ่านมา ที่ผ่านมาองค์กรเกิดความล้มเหลวอย่างไร้ทิศทางอันเนื่องจากสิ่งหนึ่งที่เรามักหลงลืมไป คือ ภารกิจการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นแนวทางภายใต้กรอบคิดของอัลอิสลาม

ในบรรดาปัจจัยทางการบริหาร ๔ ประการ ได้แก่ มนุษย์ เงิน วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการ มนุษย์นับเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและสำคัญยิ่ง เพราะมนุษย์มีสติปัญญาที่สามารถใช้ทรัพยากรอื่น ๆ ได้แก่ เงิน วัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักร และกระบวนการจัดการในการทำงานให้ได้ผลงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  นอกจากนี้ มนุษย์ยังมีความคิดสร้างสรรค์และสามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ซึ่งปัจจัยทางการบริหารอื่น  ๆ ไม่สามารถทำได้  ดังนั้น การบริหารคนจำนวนมากที่มีความหลากหลายด้านวิชาชีพ ด้านทักษะและความสามารถ ให้สามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงมีความสำคัญอย่างมาก  เราจึงควรเรียนรู้ความหมายและความสำคัญของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้วิธีการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสมต่อไป

ความสำคัญของการบริหารจัดการ[3] 

ยุคของท่านนะบี    ได้กำหนดตัวบุคคลที่จะรับผิดชอบงานในด้านต่างๆได้อย่างลงตัว   ตลอดจนเน้นเลือกเฟ้นคนดีและมีความสามารถเข้ามารับผิดชอบงานได้อย่างเหมาะสม  ไม่ว่าจะเป็นด้านการเผยแพร่  สังคม  เศรษฐกิจ  การทหาร  การปกครอง  และการศึกษา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการอพยพมาสู่นครมาดีนะฮ์ท่านได้นำกฎหมายอิสลามมาใช้  วิธีการดังกล่าวนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่และเป็นจุดเริ่มต้นของ รูปแบบการปกครองแบบอิสลาม  จนถูกเรียกว่า  กิยาม อัดเดาละฮฺ  (การสถาปณารัฐอิสลาม) อันเป็นผลมาจากการบริหารจัดการของท่าน เช่นเดียวกับความเจริญรุ่งเรืองและการขยายตัวในงานด้านต่างๆยุค ๔ เคาะลีฟะฮฺ  ราชวงศ์อุมมัยยะฮฺ  และราชวงศ์อับบาซียะฮฺล้วนได้รับอิทธิพลมาจากรูปแบบการบริหารและจัดการของ ท่านนะบี      ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมและโลกอิสลามให้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง  ก้าวหน้า  และยืนยงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน  

การโอนถ่าย อำนาจ และหน้าที่ 

          เมื่อการบริหารการจัดการงานของอุมมะฮ์(ประชาชาติ)อย่างมีรูปแบบและแบบแผนใน นครมะดีนะฮ์   ก่อให้เกิดผลประโยชน์อย่างใหญ่หลวงตามมาในสังคมมุสลิม  ไม่ว่าจะเป็นด้านการเผยแพร่ศาสนา  การศึกษา  การจัดระเบียบสังคม   การส่งเสริมให้รู้จักทำมาหากินสร้างรายได้  การสร้างฐานทางเศรษฐกิจ  และการปกครอง  ตลอดจนการใช้กฎหมายอิสลาม   ดังนั้นภารกิจและความรับผิดชอบต่างๆ  ดังที่กล่าวมาจึงจำเป็นต้องมีการถ่ายเทจากรุ่นสู่รุ่น  ท่านนะบี     เคยกล่าวว่า  

               “ทุกครั้งที่นะบีท่านหนึ่งได้จบชีวิตไป จะมีนะบีอีกท่านตามมา และแท้จริงหลังจากข้าพเจ้าจะไม่มีนะบีอีก แต่จะมีเพียงบรรดาตัวแทนเท่านั้น”   (รายงานสอดคล้องทั้งอัลบุคอรีย์และมุสลิม) 

นอกจากนั้นท่านยังได้กล่าวว่า

              “ผู้ใดภักดีต่อข้าพเจ้า แท้จริงเขาได้ภักดีต่ออัลลอฮ์แล้ว และผู้ใดทรยศต่อข้าพเจ้า แท้จริงเขาได้ทรยศต่ออัลลอฮ์แล้ว ผู้ใดภักดีต่อผู้นำ แท้จริงเขาได้ภักดีต่อข้าพเจ้า ผู้ใดทรยศต่อผู้นำ แท้จริงเขาทรยศต่อข้าพเจ้า” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม)

การกระจายอำนาจ และหน้าที่ 

การดำเนินงาน  การบริหารและการจัดการงานอุมมะฮ์(ประชาชาติ) นั้นจะไม่อาจลุล่วงไปได้ด้วยดี หากปล่อยให้ผู้นำรับผิดชอบหรือผูกขาดอำนาจเพียงลำพัง  โดยปราศจากการกระจายหน้าที่  แบ่งเบาภาระ  และความรับผิดชอบให้แก่ผู้ที่เหมาะสมและมีความสามารถอย่างแท้จริง  เพราะในความเป็นจริงคงไม่มีใครสามารถกระทำทุกอย่างได้เพียงลำพัง  หรือเชี่ยวชาญในทุกๆเรื่องโดยไม่พึงพาใคร  การกระจายอำนาจบริหารและหน้าที่ต่างๆเหล่านี้  สามารถพบได้จากช่วงที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ในนครมะดีนะฮ์ ทั้งในรูปแบบมอบหมายให้รับผิดชอบงานเป็นรายบุคคลและกลุ่มคณะ  นอกจากนั้นท่านนะบี    ยังกำชับว่า 

               “ทุกคนย่อมมีหน้าที่  และทุกคนต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่  ผู้นำก็มีหน้าที่และเขาต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ของเขา  ชายคนหนึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบต่อครอบครัว  และเขาต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ของเขา  สตรีคนหนึ่งก็มีหน้าที่รับผิดชอบต่อครอบครัวของสามี  และนางต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ของนาง  คนรับใช้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อทรัพย์สินของเจ้านาย  และเขาต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ของเขา  ทุกคนต้องมีหน้าที่และต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ของเขา”  (รายงานสอดคล้องทั้งอัลบุคอรีย์และมุสลิม)

บทสรุป 

                พลันเขียนบทความชิ้นนี้เสร็จสิ้นผู้เขียนนึกถึงคำสองคำ คือคำว่า “โลกทรรศน์” กับคำว่า “วิสัยทัศน์” ด้วยเหตุผลของสภาวการณ์ในปัจจุบันเมื่อย้อนกลับมาทบทวนในสภาวการณ์ของสังคมในปัจจุบันถึงการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในบริบทแง่มุมต่างๆสิ่งหนึ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้คือ ทรัพยากรที่เรามีอยู่ไม่ว่าจะยืนหยัดอยู่ในตำแหน่งใดหน้าที่ในบริบทใดทำความเข้าใจของคำสองคำไม่แตกฉานถึงการงานที่ควรจะเป็นแม้เราจะมีพันธกิจที่เขียนไว้ประจักษ์ชัดแจ้งในถ้อยแถลง แต่หากทรัพยากรของสิ่งมีชีวิตหนึ่งที่เรียกว่ามนุษย์ไม่สามารถแยกแยะระหว่างหน้าที่กับความรับผิดชอบ กรอบของความคิดในการสร้าง “วิสัยทัศน์” สู่การมอง “โลกทรรศน์” ในการเดินทางต่อไปของพันธกิจก็คงจะมืดอับดับแสงไปอีกนานตราบเท่าที่คนคนหนึ่งจะรู้จักกับคำว่า หน้าที่ “การบริหารจัดการมนุษย์ของอุมมะฮฺ (ประชาชาติ) ที่ดี”

                                            -วัลลอฮฺอะลัม-

 

 

 


[1] บทความเรียบเรียงเสนอมุมคิดของการบริการจัดการทรัพยากรมนุษย์ภายใต้ความคิดเห็นของผู้เขียน

[2] อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

[3]   นิพล  แสงศรี.๒๕๕๓. การบริหาร จัดการงานของอุมมะฮ์(ประชาชาติ) (ออนไลน์).  สืบค้นจาก http://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=4&id=2182 .  [เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓]

หมายเลขบันทึก: 359830เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2010 13:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีค่ะ

โลกทรรศน์ทำให้เกิดวิสัยทัศน์  ผู้ที่มีวิสัยทัศน์ย่อมอยู่ในโลกทรรศน์ที่งดงาม  สองอย่างนี้ผูกพันกันจริงไหมน้อง

ขอบคุณมากครับพี่ครูคิม

P

ครูคิม

ครับหากเราทำให้มันไปควบคู่กันได้สังคมจะเกิดการพัฒนาได้ีอีกเยอะเลยครับ

เป็นกำลังใจให้เสมอครับ

สวัสดีคะ  ไม่คอยเข้าในในคำสอนของศาสนา  แต่จากคำกล่าวนี้

   “ทุกครั้งที่นะบีท่านหนึ่งได้จบชีวิตไป จะมีนะบีอีกท่านตามมา และแท้จริงหลังจากข้าพเจ้าจะไม่มีนะบีอีก แต่จะมีเพียงบรรดาตัวแทนเท่านั้น” 

การสืบทอดความดีแม้เป็นแค่ตัวแทน   แต่ความดีที่สืบทดกันมาก็งดงามเสมอ

อ่านทบความนี้แล้ว ให้ความคิดดีๆมากมาย

ขอบคุณมากครับ

P

ปีตานามาจิตต์

ครับแบบอย่างที่ดีควรค่าแก่การรักษาเสมอครับ

อัลฮัมดุลิลละฮฺ...ขอบคุณมากครับ

30

ไม่แสดงตน

 

 

สวัสดี ครับ

Dscabภาพนี้มองแล้ว...เห็นสายตาที่ทอดยาว ของคุณเสียงเล็ก ๆ มาก นะครับ

มาเยี่ยมด้วยความคิดถึง ครับ

 

ขอบคุณมากครับ

P

แสงแห่งความดี

วิสัยทัศน์ คือ สิ่งที่ต้องทำให้เห็นภาพมากที่สุดครับ อิอิ

ท่านอธิการบดีได้พูดเรื่องการบริหาร การเป็นผู้นำในอิสลาม ท่านพูดเป็นภาษาไทยอาจจะไม่เรียบบ้าง สนใจคลิ๊กฟังได้ที่ เว็บของผม www.almustofa.com

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P

Ibm ครูปอเนาะ ڬوروفوندق

การเติมเต็มเพื่อความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันคนเราไม่ได้ใช้พลังที่ทรงอนุภาพที่อัลลอฮฺประทานให้

ทุกอย่างก็เลยเป็นอย่างที่เห็นในสังคมปัจจุบัน แต่ทุกก็มีทางออก อินชาอัลลอฮฺ ขอบคุณอาจารย์มาก

ขอบคุณมากเช่นกันครับอาจารย์

P

m.almaarify

ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท