สอนให้เด็กคิดเป็น และสร้างความรู้ไดั


ประสบการณ์จาก Ted S. Hasselbring

โรงเรียนกับแผนเทคโนโลยี

เมื่อเรากล่าวถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อสอนทักษะพื้นฐานวิชาการและสอนทักษะอื่นๆ ทุกคนมักจะนึกถึงการฝึกทำตามแล้วลองทำเอง โรงเรียนมักใช้วิธีนี้ฝึกหนักติวเข้มเด็กๆที่อ่อนเลขคณิตหรือวิชาด้านการอ่านและการเขียน   มีผลงานวิจัยชี้ชัดว่าคอมพิวเตอร์มักถูกใช้แบบนี้ และผลการเรียนอย่างเช่น ทักษะคณิตศาตสร์ และทักษะทางภาษาของเด็กก็พัฒนาขึ้นมาจริงๆ

Ted S.  Hasselbring  จาก    The Learning Technology Center  กล่าวว่าบันได 3 ขั้น ที่จำเป็นสำหรับเด็กเพื่อสอนให้มีความสันทัดในทักษะพื้นฐาน คือ 1.สร้างทักษะตั้งต้นขึ้นมาก่อน 2.ฝึกให้ชำนาญ 3.ประยุกต์ใช้ทักษะนั้นในกิจกรรมอื่นและบริบทต่างๆให้หลากหลาย   สิ่งที่ครูควรสอนในห้องเรียน คือสอนให้เด็กคิดเป็น และสร้างความรู้เองได้ หลายครั้งเราเข้าใจว่า drill and practice นั้นจะสอนให้เด็กทักษะ แต่แท้ที่จริงซอฟต์แวร์ประเภทนี้มักถุกออกแบบมาเพื่อพัฒนาความคล่องแคล่วของเด็กเป็นสำคัญ ส่วนทักษะตั้งต้นนั้นเด็กต้องมีมาก่อน หรือต้องสร้างขึ้นมาก่อน

 เทคโนโลยีมีส่วนช่วยให้การศึกษามีความเจริญรุดหน้ามากที่สุด

การมีเทคโนโลยีหรือคอมพิวเตอร์นี้ไม่ได้หมายความว่ามีอะไรใหม่ทางการศึกษาด้วยเสมอไป

การวางแผนเพื่อจะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในโรงเรียนนั้น ต้องเริ่มจากการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์กันระหว่างนักการศึกษา นักเทคนิึคผู้มีความชำนาญด้านเทคโนโลยีครอบครัวและสมาชิกของชุมชน แผนเทคโนโลยีนั้นไม่จำเป็นต้องเหมือนกันในแต่ละโรงเรียน โรงเรียนในเมืองกับในชนบทควรจะต้องใช้แผนที่มีสาระต่างกัน เพราะความแตกต่างในด้านการเงินทุนและสภาพสังคม

  

             

                    สื่อการเรียนการสอนที่ทำให้เด็กสร้างความรู้เอง

 มีโรงเรียนจำนวนหนึ่งในหลายประเทศทั่วโลก ที่เราอาจกล่าวได้ว่าประสบผลสำเร็จพอสมควรในการใช้เทคโนโลยีใหม่แต่ก็มักมีสิ่งที่เห็นได้ว่ารัฐบาลและโรงเรียนที่กล่าวเหล่านี้ได้สร้างปัจจัยแห่งความสำเร็จอื่นๆเพิ่มเข้าไป  สังคมกำลังเปลี่ยนไป เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญมากขึ้นทุกวัน การนำเอาเทคโนโลยีไปใช้ในโรงเรียนจะช่วยเตรียมตัวนักเรียนให้ก้าวไปสู่การทำงานของยุคใหม่ สังคมเทคโนโลยีทีี่กำลังกลายเป็นแบบนี้ อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สิ่งที่สำคัญอยู่ที่เราจะใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไรและในจุดไหน  แผนเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาทั้งหมดของโรงเรียน และโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนแผนเทคโนโลยีที่แตกต่างจากแผนพัฒนาของโรงเรียนจะมีอายุอยู่ช่วงสั้นๆ แผนเทคโนโลยีที่แปลกแยกจากสภาพความเป็นจริงของชุมชนจะก่อให้เกิดปัญหา  เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำหรับพัฒนากระบวนารเรียนรู้โดยตรง ผลของกระบวนการเรียนรู้นั้นคือ คน ที่จะเติบโตมีการงานและอยู่ในสังคมต่อไป

 ที่มา:พรพิไล เลิศวิชา.มัลติมีเดียกับโรงเรียนในศตวรรษที่21,          กรุงเทพฯ:2544

หมายเลขบันทึก: 35809เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2006 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 20:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากดูรูปต้นเทียนใช่ไหมเดี๋ยวจะพยายามหามาให้นะ

http://gotoknow.org/blog/chat-scie

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท