อรกิตติ์
นางสาว อรกิตติ์ พานิชยานุสนธิ์

การทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี หรือ Free Trade Area


การทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี หรือ Free Trade Area
การทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี หรือ Free Trade Area                  เขตการค้าเสรี หรือ Free Trade Area เป็นรูปแบบการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ โดยประเทศที่รวมกลุ่มกันหรือประเทศสมาชิกจะต้องยกเลิกอุปสรรคทางการค้าทั้งหมด ไม่ว่าอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษี หรือ Non Tariff Barriers และที่เป็นภาษี หรือ Tariff Barriers วัตถุประสงค์ที่สำคัญคือก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน หรือ เดินทางของสินค้า เงินทุน หรือ บุคคล ระหว่างประเทศคู่สัญญาหรือประเทศสมาชิกอย่างอิสระ (free movement) ทำให้ต้นทุนสินค้าในกลุ่มมีราคาลดลง เพื่อสามารถแข่งขันกับตลาดภายนอกกลุ่ม และมีอำนาจต่อรองต่อตลาดโลกได้                 ข้อกฎหมายที่ควรพิจารณาคือ ข้อตกลงเขตการค้าเสรีเป็นกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่ ตามธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ มาตรา 38(1) ระบุบ่อเกิดของกฎหมายไว้ คือ สนธิสัญญา, จารีตประเพณีระหว่างประเทศ, หลักกฎหมายทั่วไป และคำพิพากษาของศาล รวมถึงคำสอนของผู้ทรงคุณวุฒิ                 ส่วนต่อมาที่ต้องพิจารณาคือ ข้อตกลงเขตการค้าเสรีเป็นสนธิสัญญาหรือไม่ตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยเรื่องสนธิสัญญา 1969 มาตรา 2 ให้ความหมายของสนธิสัญญาคือ ข้อตกลงระหว่างประเทศที่ทำขึ้นระหว่างรัฐ และอยู่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ                ตามข้อกฎหมายดังกล่าว ข้อตกลงการค้าเสรีจึงถือเป็นสนธิสัญญา ตามความหมายของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยเรื่องสนธิสัญญา และถือเป็นกฎหมายระหว่างประเทศตามธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ                 ทำให้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีก่อให้เกิดสิทธิหน้าที่ และพันธกรณีระหว่างคู่สัญญา หรือระหว่างประเทศสมาชิกที่ทำข้อตกลง                ในการทำข้อตกลงการค้าเสรีนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีก็คือช่วยกระตุ้นให้มีการลงทุนในประเทศ ทำให้เศรษฐกิจเติบโต  ส่วนข้อเสียของข้อตกลงการค้าเสรีคือ ประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับ ประเทศคู่สัญญา หรือประเทศสมาชิกอื่นก็ได้รับประโยชน์นั้นเช่นเดียวกัน ดังนั้นประเทศไทยต้องทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีโดยรัดกุมและละเอียดถี่ถ้วน เพราะหากผิดข้อตกลงจะกลายเป็นการฝ่าฝืนพันธกรณีที่มี                 อย่างแรกที่ต้องทำคือ ทบทวนว่าประเทศไทยมีกฎหมายใดทีเกี่ยวข้องกับข้อตกลงบ้าง และมีฉบับใดบ้างที่ขัดกับข้อตกลง เพราะถ้าไทยทำตามกฎหมายภายในประเทศ จริงอยู่ที่สามารถทำได้แต่จะเป็นการผิดพันธกรณี และอาจต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดจากการทำตามกฎหมายภายในนั้น                  ต่อมาควรพิจารณาว่าข้อตกลงเขตการค้าเสรีนั้นต้องออกกฎหมายภายในรองรับ หรืออนุวัติการกฎหมายหรือไม่ โดยพิจารณาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 ก่อน ถ้าข้อตกลงเข้าตามเงื่อนไขก็ต้องออกกฎหมายรองรับ นอกจากนั้นประเทศไทยควรพิจารณาข้อตกลงให้ดี เพื่อที่จะสามารถออกกฎหมายภายในให้ทันตามข้อตกลง จริงอยู่ที่กฎหมายภายในบางฉบับไม่ได้ขัดกับข้อตกลง หรือไม่ได้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญมาตรา 29 แต่ถ้ากฎหมายนั้นไม่สอดคล้องกับข้อตกลงหรือยุคสมัย อาจทำให้ประเทศไทยประสบปัญหาหรือเสียเปรียบได้ นอกจากนี้การออกกฎหมายใหม่หรือแก้ไขกฎหมายเดิม ควรพิจารณาถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนั้นด้วย เพื่อป้องกันปัญหากฎหมายภายในขัดกัน หรือกฎหมายฉบับใหม่หรือกฎหมายที่แก้ไขขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศอื่น                ตัวอย่างปัญหาที่ไทยอาจจะต้องประสบก็เช่น ถ้าเกิดกรณีมีเงินทุนไหลออกจากประเทศมาก หรือประเทศขาดดุลการค้ามาก จนต้องมีนโยบาย หรือออกกฎหมายมาซึ่งขัดกับข้อตกลง ประเทศไทยก็ต้องพิจารณาดูว่าการยอมขาดดุลการค้า กับการชดใช้ค่าเสียหายจากการฝ่าฝืนพันธกรณี อย่างใดที่ประเทศไทยจะเสียน้อยกว่ากัน ส่วนปัญหาอื่นที่อาจต้องพิจารณาออกกฎหมายหรือ แก้ไขกฎหมายเพื่อให้ไม่เกิดปัญหาภายในประเทศ เมื่อต้องทำตามข้อตกลง เช่น ปัญหาการฟอกเงิน เพราะเมื่อให้เงินทุนเดินทางโดยเสรีแล้วอาจมีปัญหาการนำเงินผิดกฎหมายเข้ามาฟอกในประเทศได้ง่ายขึ้น หรือปัญหาการลักลอบเข้ามาอยู่ในประเทศของคนต่างด้าว เพราะเมื่อมีการเปิดเสรีในด้านบุคคล อาจมีกรณีที่คนจากประเทศคู่สัญญาหรือประเทศสมาชิกเข้ามาในประเทศแล้วไม่ยอมกลับไป เพราะการเข้ามาจะทำได้ง่ายขึ้นเมื่อมีการทำข้อตกลง                 จากข้อพิจารณาและปัญหาเหล่านี้ประเทศไทยจึงควรคิดตรึกตรองก่อนที่จะทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี ไม่เพียงในแง่ข้อได้เปรียบเสียเปรียบในทางการค้าเท่านั้น แต่ควรพิจารณาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นภายในประเทศด้านอื่นด้วย                                                               
หมายเลขบันทึก: 35806เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2006 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
นักศึกษาการตลาด ปี 4
มีประโยชน์จริงๆครับ กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้พอดี ขอบคุณมากครับ อาจารย์
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท