การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา


การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

         หลักสูตรสถานศึกษาเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาต้องใช้ความร่วมมือร่วมใจของบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งผู้บริหาร   ครู    ผู้ปกครอง   ชุมชน ตลอดจนตัวผู้เรียน ส่วนการใช้หลักสูตรสถานศึกษาก็จะต้องมีระบบการควบคุมคุณภาพ ในด้านการจัดการเรียนรู้และกระบวนการวัดและประเมินผลผู้เรียน ให้เป็นไปตามที่หลักสูตรสถานศึกษากำหนดไว้   สุดท้ายคือ การประเมินหลักสูตรสถานศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ ครบวงจรและนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

ความหมายของหลักสูตรสถานศึกษา 

         หลักสูตรสถานศึกษา (School-Based Curriculum)  หมายถึง  แผนหรือแนวทางหรือข้อกำหนดของการจัดการศึกษาที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ  ซึ่งจัดทำโดยคณะบุคคลของสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาผู้เรียน และชุมชน สังคมให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ และส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง มีชีวิตอยู่ในชุมชน สังคมอย่างมีความสุข ซึ่งต้องไม่ขัดต่อความมั่นคงของชาติและสิทธิมนุษยชน

ความสำคัญของหลักสูตรสถานศึกษา   มีดังนี้

         1. เป็นข้อกำหนดที่ทุกคนในสถานศึกษาต้องปฏิบัติเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด และพัฒนาให้สอดคล้องกับความถนัด  ความสนใจ  ความต้องการของผู้เรียน  สถานศึกษาและเป็นไปตามสภาพปัญหาของชุมชน สังคม

         2.เป็นเอกสารที่บุคคลภายนอกหรือหน่วยงานต่าง ๆ ใช้ประโยชน์ในกรณีที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

         3.เป็นเอกสารใช้ประกอบการประเมินคุณภาพภายนอก เพื่อประเมินให้สอดคล้องกับสภาพจริงในการปฏิบัติงานของสถานศึกษา

         กระทรวง ศึกษาธิการ  ได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ซึ่ง ประกอบด้วย หลักการ จุดหมาย โครงสร้าง หลักสูตร การจัดหลักสูตร สาระ และ มาตรฐานการ เรียนรู้    การจัดการเรียนรู้  การจัดกระบวนการเรียนรู้  สื่อ  การเรียนรู้  การเทียบโอน  การวัดและ ประเมินผล การจบหลักสูตร   เอกสารหลักฐานการศึกษา สำหรับใช้ เป็นแนว ทางใน การ จัดทำหลักสูตร สถานศึกษา โดยจัดให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน  ชุมชน  สังคม  ซึ่งสามารถออกแบบได้ตามสถานการณ์ และจัด กิจกรรมการเรียนรู้ ให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้หลักสูตร  สถานศึกษา จะช่วยให้การจัดการ เรียนรู้เป็นไปตาม แผน หรือ แนวทาง ที่ได้ กำหนดไว้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดหลักสูตร       และจะมีประโยชน์ยิ่งต้องเกิดจากการที่ครู ผู้เรียน ชุมชน ร่วมกันจัดทำขึ้นเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน และสอดคล้องกับความต้องการพัฒนาของ ชุมชน อำเภอ จังหวัด   ดังนั้นการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา จึงมีความสำคัญในการกำหนดทิศทางการเรียนรู้ของ ผู้เรียน  โดยสถานศึกษาสามารถใช้เอกสาร แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สำหรับจัดทำ​หลักสูตร สถานศึกษา ร่วมกับ เอกสาร ประกอบการใช้หลักสูตร ต่าง ๆ ได้แก่ สาระการ เรียนรู้  5  สาระ แนวทางการ            เทียบโอนผลการเรียน  แนวทางการจัดการ เรียนรู้และคู่มือการดำเนินงาน

การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน

            หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน มีมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด เป็นเป้าหมายของการจัดการเรียนการสอน และเป็นกรอบทิศทางในการกำหนดขอบข่ายเนื้อหา  ทักษะกระบวนการ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดประเมินผล เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถบรรลุมาตรฐานตัวชี้วัดที่กำหนดสถานศึกษาจะต้องนำมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดไปดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งเป็นแผนหรือแนวทางในการเสริมสร้างความรู้ และประสบการณ์ต่างๆ แก่ผู้เรียน เพื่อใช้พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน จึงเป็นภาระงานสำคัญของครูผู้สอนแต่ละคนที่ต้องดำเนินการ ดังนี้

            1. นำมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ไปศึกษาวิเคราะห์รายละเอียด เพื่อกำหนดเป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะและความสามารถตามที่ระบุไว้ในตัวชี้วัดแต่ละข้อ

            2. ดำเนินการจัดทำสาระการเรียนรู้ให้สัมพันธ์หรืออิงมาตรฐานตัวชี้วัดแต่ละข้อให้ชัดเจน

            3. วางแผนพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ และทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ พร้อมทั้งกำหนดตัวชี้วัดและระดับคุณภาพที่คาดหวังให้เกิดกับผู้เรียนตามลำดับมาตรฐานตัวชี้วัดแต่ละข้อ

            4. นำมาตรฐานตัวชี้วัดที่กำหนดไปออกแบบการเรียนการสอน เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พัฒนาผู้เรียนไปสู่ตัวชี้วัดนั้นๆ

            5. ต้องคอยตรวจสอบและประกันคุณภาพว่า ผู้เรียนแต่ละคนบรรลุมาตรฐานตัวชี้วัดที่กำหนดไว้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด เพื่อดำเนินการปรับปรุงพัฒนาผู้เรียนตลอดเวลา ตามแผนภูมิการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในระบบการเรียนการสอนที่มีมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมาย

 

           ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาทั่วประเทศ  ระดมพลพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และจัดทำคู่มือปฏิบัติการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับนักศึกษา กศน.

            กลุ่มศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาทั่วประเทศ เป็นสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.)รวมพลังจัดทำและคัดเลือกหลักสูตรสถานศึกษา วิชาวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนนักศึกษา กศน. เป็นหลักสูตรแกนกลาง โดยศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา รังสิต ได้ขอเชิญผู้บริหารและข้าราชการผู้ที่เกี่ยวข้องของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา  ทั่วประเทศ เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการจัดทำคู่มือปฏิบัติการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. ระหว่างวันที่  11- 12 พฤษภาคม 2553 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา  รังสิต 

           วันที่  11 - 12   พฤษภาคม 2553  ได้เข้าร่วมประชุมจัดทำคู่มือปฏิบัติการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน.ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา รังสิต และเป็นคณะทำงานจัดทำคู่มือปฏิบัติการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สำหรับนักศึกษากศน. ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย  5 กลุ่มสาระ โดยเป็นคณะทำงานกลุ่มสาระที่ 4 เรื่อง แรงและพลังงานเพื่อชีวิต  ซึ่งคณะทำงานแต่ละกลุ่มสาระชุดต่างๆ ได้จัดทำต้นฉบับเสร็จเรียบร้อบแล้ว คาดว่าจะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษา กศน.ในปีการศึกษา 2553

 http://gotoknow.org/blog/sutoim/357902

หมายเลขบันทึก: 357902เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2010 08:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท