เมื่อปลาตาย......


เรื่องมีอยู่ว่า วันที่ 28 เมษายน พี่เกษ หัวหน้าฝ่ายบริหารของเราแจ้งร้องเรียนปลาตายในสระของสำนักงาน

วันที่ 29 เมษายน ตอนเช้า พี่ก็แจ้งอีกว่าเริ่มเหม็นแล้วนอนไม่หลับ เราก็เริ่มไปดูกันที่สระ

 

หากไม่สังเกตุให้ดีเหมือนไม่มีอะไร แต่ดูชัดๆ จะเห็นว่ามีปลาตายลอยในน้ำ ลักษณะตายมาหลายวันแล้ว

 

 

แล้วกิจกรรมของเราก็เริ่มขึ้น ห้อง Lab มาช่วยตรวจหาค่าออกซิเจนละลายน้ำ ศักดิ์ดา กลุ่มงานสารสนเทศ มาช่วยดูสภาพทั่วไปและการแก้ปัญหา พี่อโณทัย กลุ่มงานแผน ก็มาสนับสนุนเรื่องกากน้ำตาลเพื่อนำปลาที่ตายมาทำปุ๋ยหมัก โดยนพชัย เจ้าเก่าของเรา พี่จินตมาศ สนับสนุนถังหมัก แล้วเราก็มาช่วยกันแก้ปัญหาปลาตายของสำนักงานของเรา อืม...ก็ถือว่าเป็นกิจกรรมชุมชนนักปฏิบัติของสำนักงานอีกเรื่องนึงไปเลย เพราะทุกคนก็มีความรู้ในแต่ละเรื่องนำมาช่วยกันแก้ปัญหาให้สำเร็จ

 

ช่วยกันคิดซิ คิดซิ...

มาช่วยกันคิด 

พักสมอง

สภาพทั่วไป - ใบบัวปิดปกคลุมสระเกือบหมด แทบมองไม่เห็นปลา แต่จะเห็นเมื่อปลาลอยออกมาจากใต้ใบบัว ดังนั้น บริเวณใต้ใบบัวน่าจะมีปลาที่ตายอยู่อีก

สาเหตุ - น่าจะมาจากการที่ปีนี้อากาศร้อนจัด ไม่มีฝนตกเป็นเวลานาน ปริมาณน้ำในสระลดลงมาก ใบบัวปิดคลุมสระ ทำให้ออกซิเจนละลายลงไปได้น้อย มีท่อระบายน้ำจากบ้านเรือนลงในสระ และประกอบกับมีฝนตกก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจทำให้ปลาน็อคน้ำ 

การแก้ปัญหา - เก็บปลาที่ตายขึ้นให้หมดก่อน โดยหาซื้อสวิงช้อนปลา คุณวลัยพร หัวหน้าห้อง Lab มอบไม้สำหรับพันสวิง 6 อัน ให้ใช้ พี่ประทีป ไปซื้อสวิง ส่วนนพชัย นำปลาที่ได้ไปหมักทำปุ๋ย

รอบเช้าได้ปลาไปประมาณ 12 กิโลกรัม รอบบ่ายอีกประมาณ 10 กิโลกรัม รวมปลาตายในสระประมาณ 22 กิโลกรัม

ตัวนี้น่าเสียดายที่ช่วยไม่ทัน แต่มีช่วยทัน 1 ตัว

- ซ่อมปั๊มน้ำที่ทำน้ำพุในสระ เพื่อเพิ่มออกซิเจนละลายน้ำ

ตาจอนผู้รับบทหนัก(เหม็นด้วย)ในการซ่อมน้ำพุ

ผลออกซิเจนละลาย วันที่ 29 เม.ย. 1.1 มก/ล

วันที่ 30 เม.ย. 2.2 มก/ล

ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 6 มก/ล

- ตัดใบบัวบางส่วนออกเพื่อไม่ให้ใบบัวปิดแน่นเกินไป

คนละไม้ละมือ งานก็เสร็จ

ขาดไม่ได้ อาหารเสริม

และแรงใจจากกองเชียร์

บทเรียนจากกรณีปลาตาย

- ใส่ใจและสนใจ ช่วยกันสอดส่องบ้านของเรา ต่อไปคงไม่ต้องรอจนเหม็นจึงจะรู้

- ความร่วมแรงร่วมใจกันอย่างพร้อมเพรียง ทำให้งานเสร็จลงได้ ทุกคนมีความสามารถแตกต่างกัน สามารถใช้ความสามารถแต่ละอย่างมาร่วมกันทำงานให้เสร็จได้ - ขอแถมเป็นเพลงจากการอบรมลูกเสือ

      งานสิ่งใด งานสิ่งใด แม้ใคร ละเลยทิ้งปล่อย มัวแต่คอย เฝ้าแต่คอย หลงคอยแต่เกี่ยงโยนกลอง ไม่มีเสร็จ ไม่มีเสร็จรับรอง จำไว้ทุกคนต้อง ทำงาน เราต้องช่วยกัน ช่วยกัน ช่วยกัน ช่วยกัน

- เมื่อมีวิกฤติ ก็จะเห็นน้ำใจของคน และเห็นภาวะผู้นำ 

 --------------------------------------------------------------------------------------------

อ้อ มีคนทวงเรื่องรางวัล เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน รางวัลรอบนี้ให้ช่วยสรุปบทเรียนกรณีปลาตายในสำนักงาน ใครตอบถูกใจ เอาไปเลยรางวัลจากประเทศเวียตนาม มี 3 รางวัลจ้า

คำสำคัญ (Tags): #ปลาตาย
หมายเลขบันทึก: 357619เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2010 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

โห... ยากง่ะ อันนี้ต้องขอเวลาคิดหน่อยนะจ๊ะ หมดเขตวันไหนเนี่ย

ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต้องดูแลอยู่เป็นประจำ เพื่อจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อม เมื่อเห็นความเปลี่ยนแปลงจะได้ป้องกันได้ก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้นมา แล้วมาแก้ตอนหลังอาจจะลำบาก และอาจจะแก้ไม่ได้ จึงมีปีญหาเหม์นขึ้นมา ฮ่ะ ๆ เดี่ยวถูกด่าแน่ และทุกคนในสำนักงานก็ต้องช่วยกันดูแลเมื่อเห็นเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ก็แจ้งให้ผู้รับผิดชอบรับรู้เพื่อจะได้ช่วยกันแก้ปัญหาต่อไป ขออภัยหากไม่ถูกใจใครบางคนค่ะ

  • หมดเขตวันที่ 25 พฤษภาคม จ้า จะได้แจกรางวัลในการประชุมประจำเดือนวันที่ 26 ได้เลย

รอบนี้ไม่พลาดค่ะ

ก่อนอื่นเลยนะค่ะปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้เราได้บทเรียนอะไร ??????? ขาดความรัก ความเอาใจใส่ดูแลในสำนักงานฯ ที่ปฏิบัติงานกัน เพราะต่างคิดกันเพียงว่าไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่น่าที่ของเรา หน้าที่ใครก็รับผิดชอบไป (ถ้าเป็นในเรื่องงาน งานที่ทำก็จะประสบความสำเร๊จดี) แต่นี่เป็นของส่วนรวม จึงหาคนรับผิดชอบโดยตรงได้อยาก หากทุกคนรักและดูแลทุกสิ่งเหมือนกับบ้านหลังที่สองของเรา ปัญหานี้ก็จะไม่เกิดขึ้น เราคงไม่ปล่อยให้มันกลายเป็นปัญหาใหญ่ขนาดนี้หรือมาแก้ที่ปลายเหตุแบบนี้ และถึงมีผู้ที่เล็งเห็นปัญหานี้มาก่อนแล้วแต่ก็ไม่กล้าหรือไม่มีสิทธ์มีเสียงที่จะแสดงความคิดเห็นใดๆๆ ออกไป เพราะจะถูกตำหนิได้

ดังนั้นบทเรียนครั้งนี้คือทุกคนควรช่วยกันดูแลรักษษสมมบัติของเราให้อยู่ในสภาพที่ดี ใช้งานได้ สะอาดเรียบร้อย ดีกว่าปล่อยให้ถูกทิ้งขว้างขาดการดูแลรักษา แล้วมาเสียดาย หรือแก้ปัญหาภายหลัง ซึ่งกว่าจะถึงเวลานั้นก็อาจสายเกินแก้ไปแล้วก็ได้

(ปล. ถูกใจคนอ่านหรือไม่ สุดแท้แล้วแต่จะกรุณาค่ะ ขอบคุณค่ะที่อ่านจนจบ)

ร่วมด้วยช่วยกัน คำนี้คงต้องนำมาทบทวนกันอีกครั้งจากกรณีปลาตายในสระครั้งนี้

ตั้งแต่การร่วมด้วยช่วยป้องกันไม่ให้ขยะและน้ำเสียถูกทิ้งลงในสระ

และช่วยกันดูแล สังเกตุความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในสระ ไม่ว่าจะเป็นพืช หรือ สัตว์ เพราะถ้าเค้าอยู่ได้ เราก็อยู่ได้ แล้วลองใช้กรณีนี้เป็นตัวอย่าง ไม่แน่นะเหตุการณ์นี้อาจจะเกิดกับเราเองก็ได้ในอนาคตอันใกล้

เสียดายและสงสารปลามากค่ะ :-o

น้ำร้อน ออกซิเจนน้อย ทำให้ปลาตาย

แล้วคนเราล่ะ โลกร้อนขึ้นทุกวัน อากาศก็เป็นพิษมากขึ้น จุดจบของพวกเราจะคล้ายๆ ปลาไม๊น้อ

แต่พอความเข้าใจเกิด ความสามัคคีเข้ามา แก้ปัญหาถูกจุด เห็นม๊ะ ปลาไม่ตายเพิ่มแล้ว

เหลือแต่คนอย่างเราเรานี่แหละ เมื่อไรจะสำนึก

สรุปบทเรียนจากปลาตาย ได้ว่า

1. ควรสนใจกับสภาพแวดล้อมในสำนักงานฯด้วย ช่วยดูแล รักษา อย่างสมำเสมอ จัดกิจกรรมภายในสำนักงานฯ บ่อยๆ อย่าปล่อยให้เกิดปัญหาก่อนแล้วค่อยแก้ไข อย่างที่เค้าว่านั่นแหละ......กันไว้ดีกว่าแก้ เดี๋ยวมันแย่แล้วจะแก้(ไข)ไม่ทัน

2. ต้องร่วมกันคิด ร่วมกันทำ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะแต่ละคนจะมีความเชี่ยวชาญ องค์ความรู้แตกต่างกันไป.....สามัคคี คือ พลัง....งัย

3. ต้องใช้ศักยภาพ ความสามารถ ของบุคลากรที่มีแตกต่างกันในแต่ละด้านมาช่วยกัน ให้งานสำเร็จ เช่น

- ด้านการซ่อม ต้องตาจร

- ด้านการตรวจวิเคราะห์น้ำ ต้องห้อง Lab

- ด้านการสนับสนุน ต้องพี่เกษและฝ่ายบริหาร

- ด้านเสบียง ต้องอ้วน สารสนเทศ

- ด้านอื่นๆ ต้องทุกคนงัย ที่ร่วมมือกันช่วยยก ช่วยขน ช่วยตัก เหม็นกันถ้วนหน้า ฮิ ฮิ

บทเรียน กรณีปลาตาย

- สำหรับข้าพเจ้า ก็คือ "เหตุไฉนจึงต้องให้เกิดผล แล้วจึงหาว่าเหตุมาจากที่ใด"

- เหตุใดจึงต้องมีบทเรียน หมายถึงว่า เหตุการณ์แบบนี้จะไม่เกิดขึ้นแล้วใช่หรือไม่ หรือหากมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก เราจะได้นำวิธีการดังกล่าวมาใช้ได้อีกครั้งหนึ่ง

- แต่ก่อนที่จะมีเหตุการณ์เกิดขึ้นอีก เราน่าจะมีวิธีการป้องกันหรือบรรเทา ในภาวะการณ์บางครั้ง มันก็เลยจุดที่ว่าเราต้องมานั่งหาว่าอันไหนคือเหตุ อันไหนคือผล

- สระน้ำของสำนักงาน ฯ หากมองในภาพรวมก็คือสถานที่ที่ปลาอยู่อาศัย มีดอกบัวขึ้นบานสะพรั่งในตอนเช้า หรือสถานที่ที่มีศาลากลางน้ำให้เราได้นั่งพักผ่อนหย่อนใจ เมื่อน้ำสะอาด ปลาว่ายวน อากาศก็ดี สดชื่น 

- แล้วในวันหนึ่ง น้ำในสระน้ำส่งกลิ่นเหม็น จึงได้รู้ว่า ปลาตาย แล้วทำไมปลาถึงตาย ? ทุกคนในสำนักงาน ฯ ต่างให้ความสนใจและพร้อมที่จะแก้ไขโดยไม่ต้องทบทวนว่ามันเป็นหน้าที่โดยตรงของใคร 

- เมื่อวันนึงเกิดวิกฤติ แต่ในภาวะวิกฤติก็ทำให้เห็นน้ำใจและศักยภาพของแต่ละบุคคลที่แสดงออกมา ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใด ฝ่ายใด หรือในตำแหน่งหน้าที่การงานใด แต่เมื่อมีปัญหาที่มุ่งจะพร้อมแก้ไขไปในจุดเดียวกัน สุดท้าย จากแต่ละคน จากแต่ละฝ่าย ก็สามารถรวมเป็น 1 ได้ ด้วยความสามัคคี ช่วยกันคนละไม้คนละมือ จนในที่สุดทุกอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดี 

- ช่วยกันสอดส่อง ดูแลคนละนิด คนละน้อย ใครเจอปัญหาตรงไหนก็สามารถบอกกล่าวกันได้ แม้สาเหตุหลักของปลาตายจะมาจากสภาวะโลกร้อน น้ำแห้ง ปลาขาดออกซิเจน หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่น้ำใจของเราชาว สสภ. 14 ไม่แห้งเหือดตามไปกับน้ำและความร้อน ใช่หรือไม่ ? 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท