1. การกระจายอำนาจการปกครองไปให้แก่ท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น ทั้งส่วนกลางคือกรุงเทพมหานคร ไม่สามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดได้ เพราะ ท้องถิ่นมีงานประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่เป็นประชานิยมที่เห็นผลทันที นักการเมืองท้องถิ่นบางครั้งก็ค้ายาเสพติดเสียเอง การป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดต้องทำโดยองค์รวม ไม่สามารถแก้ไข้ได้ตามลำพังองค์กรใดองค์กรหนึ่ง
2. สำหรับงานยาเสพติดกับหน่วยราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเคร่งครัดในการปฎิบัตหน้าที่ และไม่ใช่เป็นผู้ค้าเสียเอง บางครั้งนักการเมืองก็มีผลประโยชน์ร่วมกัน ระบบการเลือกตั้งที่เป็นอยู่คนดีไม่สามารถฝ่าด่านกำแพงเงินไปได้
ดังนั้นจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง นักการเมืองที่ชนะเลือกตั้งไม่ใช่ชนะด้วยวิธีประชาธิปไตย
ทั้งสองข้อ ผมเห็นด้วยกับคุณ Premium ครับ แต่จะทำไงได้ละครับ คงต้องอดทนและสู้ต่อไป ผมเชื่อว่าสังคมจะดีขึ้น อาจจะช้าสักหน่อย แต่ก็ต้องหวังและร่วมกันผลักดันนะครับ
ขอแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ สำหรับประเด็นข้อสังเกต ข้อที่ 2 มีความเห็นว่า (แบบฟันธง) หน่วยงาน ปปส.ในฐานะหน่วยงานหลักควรทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานทั้งแบบทางการและไม่ทางการ ผ่านทางช่องทางนี้ โดยมอบหมายให้มีเจ้าหน้าที่ผ้รับผิดชอบโดยตรงทำหน้าที่เปิดบล๊อกประเด็น"การประสานงานการแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน" และเครือข่ายที่เข้ามามีส่วนร่วมขอให้ช่วยกันขยายผลประชาสัมพันธ์บล๊อกนี้ต่อไปอย่างต่อเนื่อง จริงจัง ชัดเจน หรือจะใช้วิธิประสานขอใช้บล๊อกเครือข่ายใดเครือข่ายหนึ่งที่เห็นว่าดีก็ได้นะครับ เช่น บลีอกของครูหยุย เป็นต้นครับ
ป.โก๋ครับ ใช่แล้วครับ เรื่องเครือข่ายสำคัญมากจริงๆ สู้ยาเสพติดได้นี่ต้องอาศัยเครือข่ายประสานงานด้านต่างๆ ให้มากถึงจะมีพลัง