สรุปบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ PCA NODEสิชล ครั้งที่1ช่วงที่1


ถอดบทเรียนที่ได้รับ จาก CUP สิชล และ กาญจนดิษฐ์

ผู้เข้าร่วมประชุม 

1.ทีม พัฒนาคุณภาพ จาก เครือข่ายอำเภอ  อ่าวลึก  จังหวัดกระบี่

2. ทีมพัฒนาคุณภาพจาก  เครือข่ายอำเภอ  หลังสวน  จังหวัดชุมพร

3. ทีมพัฒนาคุณภาพจาก เครือข่ายอำเภอ  ท้ายเหมือง  จังหวัดพังงา

4. ทีมพัฒนาคุณภาพจาก  เครือข่ายอำเภอกาญจนดิษฐ์  จังหวัด  สุราษฏร์ธานี

5. ทีมพัฒนาคุณภาพจาก  เครือข่ายอำเภอฉวาง  จังหวัดนครศรีธรรมราช

6. ทีมพัฒนาคุณภาพจาก  เครือข่ายอำเภอสิชล  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ( เจ้าภาพจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ )

วันที่  26  เมษายน  2553  

เวลา  08.30 น.  ลงทะเบียน เข้าร่วมประชุม

เวลา  09.00 น. พิธีเปิดและกล่าวต้อนรับ  โดย  นายแพทย์  จรุง  บุญกาญจน์  รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล

                     กล่าวรายงาน  โดย  นายแพทย์  เอกรัฐ  จันทร์วันเพ็ญ  แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

เวลา  09.30 น.  ทำความรู้จักสร้างความคุ้นเคยเพื่อเปิดพื้นที่ปลอดภัย ผู้เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  โดยการแนะนำสมาชิกจากผู้ประสานงานของเครือข่ายทุกเครือข่ายทุกคน และพิธีกร นายวิรัลวิชญ์  รู้ยิ่ง  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสิชลได้แนะนำให้เครือข่ายต่างๆที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้    รู้จักกับทีมพี่เลี้ยงงานคุณภาพจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราชและทีมพี่เลี้ยงจาก  ส.ป.ส.ช.  เขตจังหวัดสุราษฏร์ธานี

เวลา  10.00 – 11.30  น.    นายแพทย์เอกรัฐ  จันทร์วันเพ็ญ    แนะนำสถานที่ต่างๆในโรงพยาบาลสิชล  แนะนำคำขวัญอำเภอสิชล  “สิชลเมืองโบราญ ถ้ำพิสดาร ธารสะอาด หาดหินงาม น้ำตกสวย รวยทรัพยากร” จากนั้นบรรยายถึงสภาพทั่วไปหรือ cup profile ของอำเภอสิชล เล่าประสบการณ์ เกี่ยวกับกระบวนการจัดทำ PMQA 7 หมวดตั้งแต่ ปี 2550 – 2552    จนพัฒนามาเป็น PCA. ในปัจจุบัน โดยใช้ Hamberger Model  และการเชื่อมโยง  PMQA. ทั้ง  7  หมวด สู่ PCA และได้บรรยาย ผลการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาระบบเครือข่ายปฐมภูมอำเภอสิชลตั้งแต่ ปี2550- ปัจจุบัน ให้ทุกเครือข่ายที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้รับทราบและร่วมแลกเปลี่ยนด้วย

ถอดบทเรียนที่ได้รับ จาก CUP สิชล

การบริหารจัดการเครือข่าย มี หลักการ (Concepts)สำคัญที่เครือข่ายนำมาใช้ คือ

1. การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม 

2. มุ่งผลสัมฤทธิ์ 

3. สร้างความสัมพันธ์มั่นคง 

4. พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

 

เวลา 11.30 – 12.00 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดูแลผู้ป่วย เบาหวานจาก cup กาญจนดิษฐ์  จังหวัดสุราษฎร์ธานี

คำขวัญ อำเภอกาญจนดิษฐ์  “หอยใหญ่นางรม  ชมวิทยาลัยฝึกลิง  มากยิ่งกุ้งกุลาดำ  งามล้ำพระไสยาสน์

พระพุทธบาทควรผดุง  รุ่งเรืองเมืองท่าทอง”

การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน cup กาญจนดิษฐ์

เป้าหมาย  - อัตราเพิ่มการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลลดลง

                 -ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรค DM ได้ เช่น Hypoglycemia, DM foot, DKA, coma

ธรรมชาติของโรคเบาหวาน

สาเหตุ     พันธุกรรม  +  พฤติกรรม

อาการ      ภัยเงียบ    -   ไม่รู้ตัว  - ขาดการรักษา –ปรับยาเอง-ไม่ปรับพฤติกรรม

ภาวะแทกซ้อนระยะยาว  -ไม่ตระหนัก  ขาดการดูแลตนเอง

ผู้ป่วยทั้งหมดที่พบ   น้อยกว่า  50 %   รู้ตัวว่าเป็น

                                 น้อยกว่า  25 %   รักษาต่อเนื่อง

                          น้อยกว่า 12.5  % ควบคุมโรคได้

การรักษา – ยา ร่วมกับ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  (  น้ำหนักตัว  ควบคุมอาหาร  ออกกำลังกาย  คลายเครียด )

การดูแลผู้ป่วยเบาหวานร่วมกันภายในเครือข่ายทั้งที่โรงพยาบาลและที่บ้าน

ในโรงพยาบาล จะมีระบบการดูแลผู้ป่วยทุกฝ่ายเชื่อมโยงกัน ตั้งแต่   PCT Team – OPD - ER - IPD

-HHC – DM CLINIC – Lab –LR –จิตเวช – ทันตกรรม – แผนไทย – กายภาพบำบัด

ในสถานีอนามัย + ชุมชน   - ผู้ป่วยที่ออกจากโรงพยาบาลจะได้รับการส่งต่อไปยังสถานีอนามัยและชุมชน

และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจากทีมสหวิชาชีพจาก รพ. + สอ. และชุมชนโดยให้บริการแบบองค์รวม  ผสมผสานและต่อเนื่องจนสามารถดูแลตัวเองได้โดยใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งเครือข่าย (CPG)

การดำเนินการคัดกรอง HT , DM  ในชุมชน   (เชิงรุก  )

   สำรวจกลุ่มเป้าหมายอายุ  35  ปีขึ้นไปและมีการคัดกรองโดยใช้แบบคัดกรองสำหรับ อสม.และเจ้าหน้าที่

พยากรณ์สุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมายโดยผู้คัดกรองและแยกเป็นสีดังนี้

  • กลุ่มดี                      เป็นสีเขียว
  • กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน    เป็นสีชมพู        
  • กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิต         เป็นสีเหลือง
  • กลุ่มป่วย

                - รายเก่า   ดูแลรักษาต่อเนื่องตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย

                - รายใหม่  ส่งพบแพทย์ที่รพ.เพื่อการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง

 แนวทางการปฏิบัติหลังพยากรณ์โรค

  • กลุ่มเสี่ยง                ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม                      
  • กลุ่มดี                      ส่งเสริมป้องกันไม่ให้เกิดโรค
  • กลุ่มป่วย                  ดูแลรักษา

  แผนการพัฒนาต่อไป

  • พัฒนาศักยภาพบุคลากรสุขภาพ/ผู้ดูแล
  • ระบบติดตามผู้ป่วยขาดนัด
  • เพิ่มความครอบคลุมการตรวจภาวะแทรกซ้อน
  • พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูล

 ถอดบทเรียนที่ได้รับ จาก CUP  กาญจนดิษฐ์                                

1. ใช้หลักการดูแลรักษาโรคเบาหวานคือ เข้าใจ – เข้าถึง – พัฒนา -  เรียนรู้ร่วมกัน  ( ผู้ป่วย / ญาติ / ผู้ให้บริการ  )

2. การดูแลผู้ป่วยเบาหวานร่วมกันภายในเครือข่ายทั้งที่โรงพยาบาลและที่บ้าน

ในโรงพยาบาล จะมีระบบการดูแลผู้ป่วยทุกฝ่ายเชื่อมโยงกัน ตั้งแต่   PCT Team – OPD - ER - IPD-HHC – DM CLINIC – Lab –LR –จิตเวช – ทันตกรรม – แผนไทย – กายภาพบำบัด

ในสถานีอนามัย + ชุมชน   - ผู้ป่วยที่ออกจากโรงพยาบาล ได้รับการส่งต่อไปยังสถานีอนามัยและชุมชน

และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจากทีมสหวิชาชีพจาก รพ. + สอ. และชุมชนโดยใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งเครือข่าย (CPG) ใช้หลักการให้บริการแบบองค์รวม  ผสมผสาน และต่อเนื่อง จนสามารถดูแลตัวเองได้ (Self care)

 3. การดำเนินการคัดกรอง HT , DM  ในชุมชน  (เชิงรุก ) สำรวจกลุ่มเป้าหมายอายุ  35  ปีขึ้นไป โดยใช้แบบคัดกรองสำหรับ อสม.และเจ้าหน้าที่ มีการพยากรณ์สุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมายโดยแยกเป็นสี

หมายเลขบันทึก: 357381เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2010 13:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ความพร้อมของทีมงานเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้งานมีคุณภาพและมีประสิทธิผล Cup กาญจนดิษฐ์ ทำได้ดีค่ะ ประชาชนคงพึงพอใจและเจ้าหน้าก็คง Happy Happy

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท