ท่านรู้สึกต่อ"ความไม่เป็นธรรมที่มีอยู่ในสังคมไทย"อย่างไร?แค่ไหน?


 

      ท่านรู้สึกต่อ
                 "ความไม่เป็นธรรมที่มีอยู่ในสังคมไทย"
                                                       อย่างไร? แค่ไหน?

                                      *****************

             องค์ประกอบหนึ่งของแผนปรองดองแห่งชาติของนายกฯอภิสิทธิ์ที่หลายฝ่ายเห็นพ้องว่ามีความสำคัญ เป็นอันดับแรกสุดในการสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคม คือ องค์ประกอบข้อที่ 2 ได้แก่ "ปฏิรูปประเทศรอบด้าน  ทั้งปัญหาความเหลื่อมล้ำ  ความไม่เป็นธรรมทางสังคม  การผลักดันรัฐสวัสดิการ"


             ในข้อที่ 2 นี้  ความไม่เป็นธรรมทางสังคม คือประเด็นหลัก  ผู้รู้ลงความเห็นว่า "ความไม่เป็นธรรมทางสังคม"นี้ เป็นมูลเหตุสำคัญของความขัดแย้งในสังคม  ถ้าความไม่เป็นธรรมทางสังคมยังคงดำรงอยู่ และหากยิ่งเพิ่มขนาดและความซับซ้อนของความไม่เป็นธรรมเพิ่มขึ้น ในอนาคต สังคมอาจลุกเป็นไฟ และในสภาวะเช่นนั้นประชาชนชั้นล่างของสังคม จะถูกใช้เป็นเครื่องมือของการต่อสู้ของคู่ขัดแย้งเพื่อช่วงชิงอำนาจและผลประโยชน์ที่แต่ละฝ่ายปรารถนา

      ลองฟังความเห็นของรองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ จากภาควิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้อย่างน่าฟัง เชิญครับ

 

    1.     

   2.      

   3.      

   4.      

 

              ถ้าหากมันเป็นอย่างเช่นที่ว่านั้น  พวกเรา  ชาวไร่ ชาวนา และผู้ขายแรงงาน คือคนกลุ่มแรกที่จะถูกกระทำให้ย่อยยับอับปรางไป ดังที่เราก็เห็น ๆกันอยู่ในสถานการณ์ขัดแย้งในคราวนี้

              "ความไม่เป็นธรรม" จึงควรได้รับความสนใจจากทุกฝ่ายในสังคม ช่วยกันขจัดปัดเป่า ให้มันลดน้อยถอยลงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

              ตามความเชื่อในแนวที่กล่าวมานี้ เชื่อว่า "ความไม่เป็นธรรม"ยิ่งมีน้อยเท่าใด  ความอยู่เย็นเป็นสุขในสังคมน่าจะมีมากเท่านั้น

              แต่การจัดการกับ "ความไม่เป็นธรรม" นี้ ใคร ๆ ก็เห็นพ้องกันว่าเป็นเรื่องยาก

              รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์  ได้พูดถึงเรื่องนี้ไว้เหมือนกันว่า

                                               

                                                                         

 

             อาจารย์ได้ชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวของกับความไม่เป็นธรรมที่สำคัญมีอยู่  2  ฝ่าย


             ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายได้ 

             อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายเสีย

             ตามความเป็นจริง คนที่ได้อยู่แล้ว ก็ไม่อยากเสีย

             คนที่เสียบางที่ก็ไม่รู้สึกว่าตนเองเสีย  หรืออาจรู้สึกว่าตนเองเสีย  ก็ไม่รู้ว้าจะได้สิ่งที่ตนไม่ได้นั้นอย่างไร หรือถ้ามีหนทางที่จะได้ หนทางนั้นก็จะได้รับการต่อต้านขัดขวางจากคนที่เขาเคยได้อยู่ก่อนแล้ว


             การจัดการกับ "ความไม่เป็นธรรม" จึงเป็นเรื่องยาก


             ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า ความเป็นไปได้ของการจัดการความไม่เป็นธรรม  น่าจะเริ่มต้นที่คนในสังคมหันมาถามใจตัวเองก่อนว่า  "ตนมีความรู้สึกต่อ "ความไม่เป็นธรรม"อย่างไร? แค่ไหน?"



             สำหรับคนที่เป็นฝ่ายได้ ถ้ายังไม่รู้สึกว่าสิ่งที่ตนเองได้อยู่เป็นการเอาเปรียบ หรือเป็นการเบียดเบียนเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ก็จะมองว่าการจัดการ "ความไม่เป็นธรรม" ไม่เป็นธรรมสำหรับตน



             ส่วนฝ่ายที่เสีย  ถ้ายังไม่รู้สึกว่าการที่ตนไม่ได้ในสิ่งที่คนอยากได้(สิ่งที่ควรมีควรได้ตามความจำเป็นของการดำรงชีวิต) เป็นการถูกกระทำจากผู้อื่น หรือสังคม ก็จะจำนนต่อสภาพที่ตนเองเป็นอยู่ ด้วยการหันกลับไปโยนความผิดให้กับบุญ-กรรมที่ได้ทำมาในชาติปางก่อน

             ความรู้สึกเช่นนี้ เป็นเงื่อนไขที่ไม่เอื้อต่อการจัดการกับ "ความไม่เป็นธรรม"ในสังคม

             โดยเฉพาะคนที่เป็นฝ่ายได้ ถ้ายังไม่รู้สึกว่าสิ่งที่ตนเองได้อยู่เป็นการเอาเปรียบ หรือเป็นการเบียดเบียนเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน



             เขาคนนี้แหละจะเป็นอุปสรรคสำคัญของการแก้ไขปัญหา"ความไม่เป็นธรรม"

          

                                ใครไม่เห็นด้วย ยกมือขึ้น

                         
                    **************************************



paaoobtong
11/05/53
03:08

หมายเลขบันทึก: 357376เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2010 13:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ความไม่เป็นธรรมในสังคมเป็นปัญหาโลกแตก
มีมาตั้งแต่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม
มีคนได้ ย่อมมีคนเสีย
มีคนได้น้อย ย่อมมีคนได้มาก

มันเป็นสัจธรรมที่เราต้องยอมรับ

สัจธรรมนี้กลับกลายเป็นวาทกรรมของคนกลุ่มหนึ่งที่ต้องการยกระดับความคิดของตนว่าเหนือกว่าคนอื่น
เลยนำวาทกรรมนี้มากล่าวอ้างเพื่อให้ตนเองดูดีว่ารักความยุติธรรม

ผมเองผ่านห้วงเวลานั้นมานานแล้ว สมัยเป็นนักศึกษาทำกิจกรรม
ก็มักจะนำวาทกรรมนี้มากล่าวอ้างเสมอๆ และได้ผล
อดีตเคยเป็นผู้นำนักศึกษา มักจะอ้างถึงความไม่เป็นธรรมของกรรมกรและชาวไร่ชาวนามาทำกิจกรรมทางการเมือง

ในวันนี้พบสัจธรรม เป็นธรรมชาติของสรรพสิ่ง ดังกฎธรรมชาติที่นำมาเป็นตัวอย่างข้างต้น
ไม่มีใครเกิดมาแล้วจะมีความเป็นธรรมในสังคมเท่าเทียมกัน
เท่าเทียมกันตามที่แสวงหามันไม่มีในโลกของความนึกคิด

แต่มนุษย์เราสามารถทำให้ใกล้เคียงความเท่าเทียมกันได้ด้วกฎของสังคมและความมานะของตนบวกกับความสามารถเฉพาะตนและต้นทุนครอบครัว

ไม่มีหรอกที่ความเป็นธรรมจะลอยมาเฉยๆ
เพราะเรามีต้นทุนทางสังคมที่ต่างกัน
จะมีใครสักกี่คนที่มีองค์ประกอบครบแล้วนำมานะตนไปสู่จุดความเป็นธรรมที่สมบูรณ์

เราจะหนีความไม่เท่าเทียมกันได้ด้วยความขวนขวายของตนเท่านั้น

การเรียกความเท่าเทียมในสังคมที่ถูกออกแบบมาทั่วทั้งโลกอย่างนี้
เหมือนการยอมจำนนกับชีวิตโดยไม่คิดจะทำอะไร

 

สวัสดีคุณประดิษฐ์  อัตถาการ

  • ผมต้องขอชื่นชมคุณประดิษฐ์ ที่ได้เคยทำกิจกรรมเพื่่อสร้างเสริมความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม
  • แต่ฟังดูความเห็นของคุณส่อนัยว่ามีอคติบางอย่างต่อคนที่ทำกิจกรรมทางสังคมเพื่อความเป็นธรรม
  • ความเห็นของคุณประดิษฐ์ หลาย ๆเรื่่องผมเห็นด้วย และคิดว่าคนทั่วๆ ไปก็คงเห็นด้วย เช่น

    1.  ความไม่เป็นธรรมในสังคมเป็นปัญหาโลกแตก มีมาตั้งแต่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม  มีคนได้ ย่อมมีคนเสีย
         มีคนได้น้อย ย่อมมีคนได้มาก
    2.  ไม่มีใครเกิดมาแล้วจะมีความเป็นธรรมในสังคมเท่าเทียมกัน
    3.  มนุษย์เราสามารถทำให้ใกล้เคียงความเท่าเทียมกันได้ด้วกฎของสังคมและความมานะของตนบวกกับความ
         สามารถเฉพาะตนและต้นทุนครอบครัว
    4.  ไม่มีหรอกที่ความเป็นธรรมจะลอยมาเฉยๆ

  • มีข้อหนึ่งที่ฟังดูแปร่ง ๆ   ได้แก่ 

         " การเรียกร้องความเท่าเทียมในสังคมที่ถูกออกแบบมาทั่วทั้งโลกอย่างนี้ เหมือนการยอมจำนนกับชีวิตโดยไม่คิดจะทำอะไร "

  • ขอบคุณครับที่่ให้เกียรติเข้ามาให้ความเห็น



                     
paaoobtong
17/05/53
16:28
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท