ปาริฉัตร
นางสาว ปาริฉัตร รัตนากาญจน์

internationnallaw


การส่งเสริมการลงทุนระหว่างประเทศ

                   บทความเศรษฐกิจระหว่างประเทศครั้งที่ 1 

                       "การส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนจากต่างประเทศ"   

                 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เศรษฐกิจของประเทศไทยได้มีการพัฒนาอย่างมากซึ่งเป็นรากฐานความมั่นคงให้กับนักธุรกิจไทยในการเปลี่ยนแปลงจากการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้ามาเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือความอยู่รอดของธุรกิจในระยะเวลานานและเพื่อที่จะแข่งขันกันในตลาดโลก               

                การลงทุนระหว่างประเทศมีส่วนช่วยในการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการลงทุนทำให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการ การจ้างงาน เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทันสมัย การหมุนเวียนของเงินตราระหว่างประเทศส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยเจริญก้าวหน้าขึ้น               

                 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศผู้รับการลงทุน ประเทศไทยมีความเหมาะสมในการเป็นรัฐผู้รับการลงทุน กล่าวคือ ประเทศไทยมีที่ตั้งทางภมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนและการคมนาคม เพราะเป็นศูนย์กลางทางภูมิภาคและเป็นประตูไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน นโยบายทางการเมืองของไทยมีเสถียรภาพและความต่อเนื่อง ไทยไม่เคยประสบปัญหารุนแรงเกี่ยวกับผู้ใช้แรงงาน นอกจากนั้นไทยยังเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เมื่อมีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)ไทยจึงเป็นตลาดของผลิตภัณฑ์ซึ่งครอบคลุมดินแดนรัฐสมาชิกอาเซียน โดยสามารถแสวงประโยชน์ โดยการส่งออกสินค้าตามที่ได้รับการส่งเสริมให้ลงทุนให้ผลิตในประเทศไทย โดยอาศัยสิทธิพิเศษทางการค้าและการดำเนินการด้านกฎหมายภายในประเทศและสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศในระดับสากลโดยคำนึงถึงลักษณะเฉพาะของความสัมพันธ์ของรัฐที่เกี่ยวข้อง

                1. การส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนจากต่างชาติโดยกฎหมายไทย 

                                1.1 มาตรการจูงใจด้านภาษี                                 

                                1.2 มาตรการจูงใจด้านอื่นๆ เช่น การเข้าเมือง การประกันการไม่โอนกิจการเป็นของรัฐ               

               2. การส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนจากต่างประเทศในระดับสากล           

                   การลงทุนจากต่างประเทศโดยทั่วไปได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายระหว่างประเทศทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากลทั้งในรูปของหลักกฎหมายทั่วไปและจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เช่น หลักอธิปไตยถาวรของรัฐเหนือทรัพยากรธรรมชาติของตน โดยหลักการนี้ได้รับรองสิทธิของรัฐทั้งปวงที่จะทำการโอนกิจการของเอกชนต่างชาติมาเป็นของรัฐ โดยให้รัฐจ่ายค่าชดเชยที่เหมาะสมโดยทันที           นอกจากนี้ยังมีกฎเกณฑ์ในระดับสากลในกรอบขององค์การระหว่างประเทศทางการค้า ได้แก่ แกตต์และ WTO เช่น การยกเว้นภาษี อัตราพิเศษสำหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสาธารณูปโภค                

                   3. การส่งเสริมและการคุ้มครองการลงทุนจากต่างชาติโดยสนธิสัญญาทวิภาคี                  

                  3.1 สนธิสัญญาทวิภาคีซึ่งเกี่ยวข้องโดยทางอ้อมกับการส่งเสริมและการคุ้มครองการลงทุน ได้แก่ สนธิสัญญาว่าด้วยการหลีกเลี่ยงการเก็บภาษีซ้อน สนธิไมตรีและความร่วมมือระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา               

                  3.2 สนธิสัญญาทวิภาคีซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนจากต่างประเทศซึ่งเป็นกลไกทางกฎหมายที่นานาชาติใช้ในการดึงดูดนักลงทุนในฐานะประเทศผู้รับการลงทุนและใช้ในการให้ความคุ้มครองนักลงทุนในฐานะที่เป็นประเทศเจ้าของสัญชาติของผู้ลงทุน ซึ่งมีรายละเอียดและความชัดเจนมากกว่าหลักกฎหมายในรูปจารีตประเพณีต่างๆ ทั้งยังคำนึงถึงลักษณะเฉพาะของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐภาคีมากกว่ากฎเกณฑ์ทั่วไปในองค์การระหว่างประเทศระดับสากลอีกด้วย                 

                   สัดส่วนการลงทุนจากต่างประเทศมีแนวโน้มว่าจะไหลไปสู่ประเทศไทยมากขึ้น ถือเป็นสัญญาณให้ประเทศไทยปรับตัวรับมือได้อย่างเหมาะสมโดยเป็นการเปิดโอกาสทำให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันในเวทีระดับประเทศในระยะยาวโดยอาศัยการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม โดยมุ่งสนับสนุนการพัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมที่มีอนาคตเติบโตและมีศักยภาพโดยกำหนดแนวนโยบายในการสนับสนุน และสร้งขีดความสามารถทางการแข่งขันในแต่ละภาคอุตสาหกรรมโดยมีหน่วยงานภาครัฐเป็นแกนหลักในการสร้างปัจจัยพื้นฐานที่สนับสนุนและรองรับการขยายการลงทุน

หมายเลขบันทึก: 35667เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2006 16:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท