รู้เรื่องเฟซบุ๊ค (ตอนที่ 2)


ก้าวทันเทคโนโลยี รู้เรื่องเฟซบุ๊ค (ตอนที่ 2)

ก้าวทันเทคโนโลยี  รู้เรื่องเฟซบุ๊ค (ตอนที่ 2)

สวัสดีคะท่านผู้อ่าน  อากาศในช่วงเดือนเมษายน ร้อนแบบนี้ทุกปี  และคาดว่าคงจะร้อนเพิ่มขึ้น ๆ อันเป็นผลมาจากสภาวะโลกร้อน ขอให้ผู้อ่านดูแลสุขภาพด้วยนะคะ  “ก้าวทันเทคโนโลยี” ฉบับนี้ หลบร้อนและความวุ่นวายทางการเมือมาเรียนรู้และรู้เท่าทันกับเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคม กับการสื่อสารบนโลกอินเทอร์เน็ต ด้วย  เฟซบุ๊ค กันต่อดีกว่า

                ฉบับที่แล้วดิฉันได้นำเสนอการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตด้วย  เฟซบุ๊ค ไปบ้างแล้ว ซึ่งอาจจะทำให้ท่านผู้อ่านบางท่านเข้าใจ ลักษณะและวิธีการติดต่อสื่อสารระบบดังกล่าวได้มากขึ้น  ฉบับนี้ ดิฉันขอแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่สนใจจะใช้งาน  เฟซบุ๊ค รวมถึงประโยชน์และผลกระทบที่เกิดจากการใช้งาน  เฟซบุ๊ค ซึ่งหลายคนถ้าทราบแล้วอาจจะขอบคุณผู้สร้าง  เฟซบุ๊ค ขึ้นมาทันที ดิฉันมองระบบการทำงานและการใช้งานของเว็บไซต์เฟซบุ๊ค ในฐานะของนักเทคโนโลยีทางการสื่อสาร พบว่า ข้อดีของ  เฟซบุ๊ค คือเป็นเว็บไซต์ในสังคมหรือชุมชนออนไลน์ (Social Networking) มีทั้งเกม ภาพถ่าย และระบบการติดต่อสื่อสารโดยการพูดคุยผ่านอินเทอร์เน็ต การตั้งกระทู้ต่างๆ  บางคนมองว่าเป็นของเล่นบนโลกอินเทอร์เน็ต ในขณะเดียวกันเราอาจจะใช้ ให้เป็นประโยชน์ได้ คือใช้เป็น เครื่องมือทางการตลาด ในการประชาสัมพันธ์ ในการสื่อสาร การชี้แจงข้อเท็จจริง ของหน่วยงานหรือองค์กร โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายทางด้านการตลาดแต่อย่างใด โดยการโพสต์ข้อความบางประการลงไปในเว็บสังคมออนไลน์เหล่านี้ คนจำนวนมากที่เป็น "เพื่อน" ของเราหรือติดตามเราอยู่ ก็จะได้รับข้อมูลเหล่านั้น และถ้าข้อความดังกล่าวมีความน่าสนใจ ข้อความดังกล่าวก็จะถูกสื่อสารต่อออกไปเรื่อยๆ เหมือนกับ ทวิสเตอร์ ของนายกอภิสิทธิ์   เวชชาชีวะ ที่พยายามใช้สื่อนี้ในการทำ Viral Marketing ซึ่งเชื่อว่านักข่าวก็ติดตาม ทวิสเตอร์ ของท่านนายกฯ เพื่อที่จะได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปเผยแพร่ผ่านทางสื่อมวลชนและกระจายข่าวสารอย่างรวดเร็วต่อไป และพบว่าโลกการสื่อสารในปัจจุบันก้าวหน้าอย่างมากเพราะมีระบบโทรศัพท์มือถือที่สามารถส่งข้อความผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็วทำให้ เฟซบุ๊ค ออกมาประกาศว่าล่าสุดมีผู้ใช้  เฟซบุ๊ค กว่า 100 ล้านคน ที่ใช้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเติบโตจาก 65 ล้านคนในเดือนกันยายนปีก่อน  และถือเป็น 25% ของจำนวนผู้ใช้ เฟซบุ๊ค กว่า 400 ล้านคนทั่วโลก การเติบโตที่สูงขึ้นของตลาดโทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าจะเป็น iPhone ,Android  ล้วนเป็นตัวเร่งทำให้ เฟซบุ๊ค มีอัตราสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างเห็นได้ชัดในขณะที่มีอัตราเติบโตด้านการสื่อสารอย่างรวดเร็ว ผู้ที่เข้าใช้บริการก็ควรจะระมัดระวังในการใช้บริการด้วย กล่าวคือ

- ไม่ควรโพสต์ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของตนเอง เพราะคนอื่นอาจจะเอาไปใช้ในการติดต่อโดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องการ 

- ไม่ควรเขียนแผนการท่องเที่ยวหรือบอกตารางเวลาของตนเองที่ตนเองจะไม่อยู่บ้าน  เพราะคนอื่นหรือขโมยอาจใช้ข้อมูลนี้ ด้วยวัตถุประสงค์ร้าย ดังมีตัวอย่างว่า ขโมยที่ประเทศอังกฤษใช้ข้อมูลใน เฟซบุ๊ค และ ทวิสเตอร์ ในการวางแผนการขโมยทรัพย์สินภายในบ้าน

- ไม่ควรใช้เวลามากเกินไปในการใช้ เฟซบุ๊ค โดยเฉพาะหากเวลานั้นควรเป็นเวลาทำงานหรือเวลาเรียนหนังสือ หรือเวลาพักผ่อน

- ควรจะระมัดระวังในการเขียนข้อความอะไรก็ตามบน เฟซบุ๊ค เพราะอาจจะเข้าข่ายการล่วงละเมิดและอาจได้รับโทษตามกฎหมาย  ซึ่งมีตัวอย่างความผิดในลักษณะดังกล่าวให้เห็นบ้างแล้วว่า ผู้ที่เขียนข้อความไม่เหมาะสมของบริษัทแห่งหนึ่งต้องถูกไล่ออกจากงาน เพียงเพราะโพสต์ข้อความที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งบน เฟซบุ๊ค

ที่สำคัญอย่าหมกมุ่นกับการใช้งาน เฟซบุ๊ค จนไม่มีเวลาที่จะพักผ่อน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นอาจจะทำให้มีปัญหาทางสุขภาพตามมา ดังนั้นการใช้งาน เฟซบุ๊ค ถ้ารู้จักใช้ก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ใช้ แต่ในทางกลับกันถ้าใช้อย่างไม่ระมัดระวังก็อาจจะก่อให้เกิดโทษอย่างมหันต์เช่นกัน

               

คำสำคัญ (Tags): #ไหม ม.ทักษิณ
หมายเลขบันทึก: 356460เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2010 17:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณคำแนะนำตักเตือนที่ดีครับ...เป็นกำลังใจในการทำงานครับ

มาชม

มาเชียร์

เห็นภาพแล้ว...คุ้น ๆ ว่าเคยรู้จักกันที่ไหนหนอ...อิ อิ อิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท