บันทึกที่ 7 "โครงการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา"


ถอดรหัสการเสริมแรง

ใบงานที่ 8

โครงการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา 

 

ตอนที่ 1  เขียนโครงการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา

                                            

ชื่อโครงการ ถอดรหัสการเสริมแรง (The Key of Reinforcement)

 

ชื่อผู้จัดทำโครงการ     นางสาว วินัฎฐา   นันตะสุข 

                              รหัสนักศึกษา 52741144  หมู่เรียน ป.52.01 

 

หลักการและเหตุผล (ที่มาของการแก้ไขปัญหา)

               การเสริมแรง เป็นสิ่งที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง การทำความเข้าใจที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุของการเรียนและการทำความเข้าใจหลักการของการเสริมแรงของนักศึกษามีความเข้าใจที่ผิดพลาดและค่อนข้างมีความเข้าใจที่ไม่ชัดเจน จึงอาจส่งผลให้การนำไปใช้มีความิดพลาด การจัดทำโครงการจึงอาจเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยในการทำความเข้าใจที่ถูกต้องของนักศึกษา

 

วัตถุประสงค์ 

               เพื่อผลของการเรียนรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้เรียนเกี่ยวกับหลักการของการเสริมแรง (Reinforcement)

 

ขอบเขตของสื่อนวัตกรรมที่นำไปใช้ (เนื้อหาวิชา, ระดับชั้น ฯลฯ)

               ขอบเขตด้านเนื้อหา

               เนื้อหาสาระเกี่ยวกับ วิชา จิตวิทยา

               1.  การเสริมแรง (Reinforcement )

               การเสริมแรง (Reinforcement )หมายถึง สิ่งเร้าใดที่ทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีก มีความคงทนถาวร เช่น การที่แม่ให้ลูกทำการบ้านให้เสร็จก่อนการอนุญาตให้ไปเล่นนอกบ้าน เป็นต้น การเสริมแรง คือ การทำให้ความถี่ของพฤติกรรมเพิ่มขึ้นเป็นผลเนื่องมาจากผลที่ตามหลังพฤติกรรม เรียกว่า ตัวเสริมแรง ซึ่งแบ่งออกเป็น ตัวเสริมแรงปฐมภูมิ เช่น อาหาร น้ำ อากาศ เป็นต้น และตัวเสริมแรงทุติยภูมิ เช่น คำชมเชย เงิน ตำแหน่งหน้าที่ เป็นต้น

                    1.1   การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement)  เป็นการเสริมแรงโดยให้สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ แล้วจะทำให้มีแนวโน้มของการตอบสนองมากขึ้น เช่น คุณครูจะให้ดาวแก่นักเรียนที่ทำการบ้านเสร็จเรียบร้อย ผู้จัดการที่มีผลงานเพิ่มขึ้นจะได้รับโบนัสจากทางบริษัท

เป็นต้น 

                    1.2   การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) เป็นการเสริมแรงที่เกิดจากการนำสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดความไม่พอใจออกไป ซึ่งจะทำให้การตอบสนองมีพลังเพิ่มขึ้น เช่น พฤติกรรมการคาดเข็มขัดนิรภัย ถ้าไม่ได้คาดเข้มขัดนิรภัยก่อนจะมีเสียงดังออกมารบกวน เสียงดังเป็นตัวเสริมแรงทางลบ การหลีกเลี่ยงจากเสียงดังจะทำให้พฤติกรรมการรัดเข็มขัดนิรภัยก่อนติดเครื่องมีเพิ่มขึ้น  เป็นต้น 

                    1.3   การลงโทษ (Punishment) การเสริมแรงทางลบและการลงโทษมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แต่การเสริมแรงทางลบและการลงโทษต่างกัน โดยเน้นว่าการลงโทษเป็นการระงับหรือหยุดยั้งพฤติกรรม  เป็นการให้สิ่งเร้าที่ไม่พึงพอใจแล้วทำให้การตอบสนองลดลง การลงโทษเป็นการให้ผลที่อินทรีย์ไม่ต้องการหรือถอดถอนสิ่งที่อินทรีย์ต้องการออกภายหลังที่อินทรีย์แสดงพฤติกรรม แล้วทำให้พฤติกรรมนั้นยุติหรือลดลง เช่น เด็กชายเอกมาโรงเรียนสาย ครูจึงดุเด็กชายเอก (ให้สิ่งที่ไม่ต้องการ) ทำให้เด็กชายเอกมาโรงเรียนสายลดลง การดุของครูจึงถือได้ว่าเป็นการลงโทษ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

               3.1.1  การลงโทษทางบวก (Positive Punishment) เป็นการให้สิ่งใดก็ตามภายหลังพฤติกรรมของอินทรีย์ แล้วมีผลทำให้พฤติกรรมนั้นยุติหรือลดลง เช่น ลูกขโมยเงินในกระเป๋าแม่แล้วถูกแม่ตี เป็นต้นการลงโทษทางบวก คือ การให้ในสิ่งที่อินทรีย์ไม่ต้องการ

               3.1.2  การลงโทษทางลบ (Negative Punishment) เป็นการถอดถอนสิ่งใดก็ตามภายหลังพฤติกรรมของอินทรีย์แล้วมีผลทำให้พฤติกรรมนั้นยุติหรือลดลง เช่น ขับรถฝ่าไฟแดงเลยถูกตำรวจปรับ 500 บาท การลงโทษทางลบเป็นการถอดถอนสิ่งที่อินทรีย์ต้องการ

 

 

การให้

การถอดถอน

สิ่งที่ต้องการ

การเสริมแรงทางบวก

การลงโทษทางลบ

สิ่งที่ไม่ต้องการ

การลงโทษทางบวก

การเสริมแรงทางลบ

 

               2.   วิธีการเสริมแรง (Schedules of Reinforcement)

     2.1  การเสริมแรงทุกครั้ง (Continuous Reainforcement Schedule) ได้แก่ การให้การเสริมแรงทุกครั้งที่พฤติกรรมเกิดขึ้น อันเป็นผลทำให้พฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นคงที่และอยู่ในระดับที่สม่ำเสมอ แต่ว่ามักจะลดลงอย่างรวดเร็วถ้ายุติการให้เสริมแรง

     2.2  การเสริมแรงเป็นครั้งคราว (Partial Reainforcement Schedule) ได้แก่ การให้การเสริมแรงเป็นครั้งคราวตามจำนวนครั้งหรือระยะเวลาที่เกิดพฤติกรรมเกิด ทำให้พฤติกรรมที่ได้รับการเสริมนั้นเกิดขึ้นคงที่สม่ำเสมอ และพฤติกรรมที่ได้รับการเสริมแรงจะลดลงภายหลังการถอดถอนการเสริมแรงวิธีการเสริมแรงเป็นครั้งคราว จำแนกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

               2.2.1  การเสริมแรงแบบกำหนดช่วงเวลาที่แน่นอน (Fixed-Interval Reainforcement) เป็นการให้การเสริมแรงโดยกำหนดระยะเวลาให้การเสริมแรงไว้แน่นอน เช่น การจ่ายเงินเป็นรายเดือน เป็นต้น

               2.2.2  การเสริมแรงแบบไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน (Variable-Interval Reainforcement) เป็นการให้การเสริมแรงไม่กำหนดช่วงเวลาแน่นอน เช่น 3 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง จึงจะมีการเสริมแรงครั้งหนึ่ง การเสริมแรงแบบนี้ทำให้อินทรีย์ไม่สามารถที่จะคาดเดาได้เลยว่าเมื่อไหร่จะมีการได้รับรางวัล

               2.2.3  การเสริมแรงโดยใช้จำนวนการตอบสนองที่แน่นอน (Fixer-Ratio Reainforcement) เป็นการเสริมแรงตามจำนวนครั้งของพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอและแน่นอน เช่น แสดงพฤติกรรม 5 ครั้ง จะได้รับการเสริมแรง 1 ครั้ง เช่น การให้ค่าจ้างตามจำนวนผลงานที่ทำได้ เป็นต้น

               2.2.4  การเสริมแรงโดยใช้จำนวนการตอบสนองไม่แน่นอน (Variable-Ratio Reainforcement) เป็นการเสริมแรงตามจำนวนครั้งของพฤติกรรมแต่กี่ครั้งจึงจะได้รับการเสริมแรงไม่ได้กำหนดแน่นอน เช่น การเล่นพนัน การเสี่ยงโชค ซึ่งผู้เล่นไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะได้รับตัวเสริมแรง ทำให้เกิดการตอบสนองตลอดเวลาโดยหวังที่จะได้รับรางวัลอีก

 

               ขอบเขตด้านประชากร (ระดับชั้น)

               ประชากร คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 30 คน 

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 

               1.  ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการของการเสริมแรง (Reinforcement)

             2.  ผู้เรียนสามารถอธิบายหลักการของการเสริมแรง (Reinforcement)

 

ขั้นตอนการดำเนินงาน 

               ขั้นตอนการดำเนินการทำโครงการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา ได้ดำเนินการดังต่อไปนี้

               1.   ขั้นเตรียมการทดลอง

                     ผู้จัดทำโครงการทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนในการจัดทำโครงการ รวมถึงศึกษาขอบเขตและเนื้อหาที่เกี่ยวกับสื่อนวัตกรรมการศึกษาในโครงการ จากนั้นทำเขียนโครงการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษาและการเสนอโครงการต่ออาจารย์ จากนั้นรอการพิจารณาโครงการจากอาจารย์ผู้สอน

               2.   ขั้นดำเนินการทดลอง

                     หลังจากที่อาจารย์ได้พิจารณาโครงการที่ได้นำเสนอ ผู้จัดทำโครงการจึงทำการดำเนินการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษาตามที่ได้วางแผนตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ หลังจากการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษาตามโครงการสำเร็จ ผู้จัดทำโครงการได้ทำการทดลองใช้สื่อนวัตกรรมการศึกษากับประชากรที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง

               3.   ขั้นสิ้นสุดการทดลอง

                     เมื่อได้ดำเนินการตามขั้นการทดลอง ผู้จัดทำโครงการได้ทำการวิเคราะห์และสรุปการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา และทำการนำเสนอสื่อนวัตกรรมการศึกษาที่ได้จัดทำขึ้นแก่อาจารย์ 

 

ระยะเวลาในการจัดทำ

1. ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ระหว่างวันที่ 26-30 เมษายน 2553

2.  เสนอโครงการต่ออาจารย์ ระหว่างวันที่ 1-2 พฤษภาคม 2553

3.  รอการพิจารณาโครงการจากอาจารย์  ระหว่างวันที่ 3-8 พฤษภาคม 2553

4.  ดำเนินการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา  ระหว่างวันที่ 9-15 พฤษภาคม 2553

5.  ทดลองใช้สื่อนวัตกรรมการศึกษา  ระหว่างวันที่ 16-18 พฤษภาคม 2553

6.  วิเคราะห์และสรุปการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา ระหว่างวันที่ 19-21 พฤษภาคม 2553

7.  นำเสนอสื่อนวัตกรรมการศึกษา ระหว่างวันที่ 22-24 พฤษภาคม 2553 

 

งบประมาณที่ใช้จริง

  1. กระดาษสี                        20 บาท
  2. ฟิวเจอร์บอร์ด                    70 บาท
  3. ค่าปริ๊นซ์เอกสาร                  5 บาท
  4. เทปกาว                          10 บาท

                              รวม     105 บาท

บรรณานุกรม

การเสริมแรง.  ค้นวันที่ 1 เมษายน 2553, จาก http://www.chontech.ac.th

จิตวิทยาทั่วไป.  (2546).  ภาควิชาจิตวิทยา  คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิสมัย วิบูลย์สวัสดิ์.  (2546).  เอกสารคำสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เล่ม 1.  ภาควิชาจิตวิทยา  คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิสมัย วิบูลย์สวัสดิ์.  (2546).  เอกสารคำสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เล่ม 2.  ภาควิชาจิตวิทยา  คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

 

 

หมายเลขบันทึก: 355664เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2010 00:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ขอคำแนะนำในการทำโครงการด้วยนะคะ

ขอบคุณคะ ^_^

โครงการน่าสนใจมากครับเดี๋ยวจะรอดูตอนที่เสร็จสมบูรณ์แล้วนะครับ

สวัสดีคะ คุณ goodluck09

ขอบคุณนะคะที่แวะมาเยี่ยมชมโครงการ

หากโครงการเสร็จแล้วจะนำมาให้ดูนะคะ

ขอบคุณคะ ^_^

โครงการละเอียดจังเลยคะ

แล้วก็น่าสนใจ อยากเรียนกับดินสอสีจังคงสนุกดี

สวัสดีคะ คุณ ครูเด็กพิเศษ

ยินดีเสมอคะ ที่อยากเรียนกับดินสอสี

ดิฉันเองก็จะสอนให้เต็มที่เลยคะ อิอิ

ขอบคุณคะ ^_^

สวัสดีจ๊ะ แวะมาอ่านโครงการของคุณครูดินสอสี เขียนได้ละเอียดและน่าสนใจมาก ๆ เป็นกำลังใจให้นะ

สวัสดีค่ะ..แวะมาชมโครงการถอดรหัสการเสริมแรง

สุดยอดไปเลยค่ะ เด็กนักเรียนที่ได้เรียนกิจกรรมนี้ต้องได้รับความรู้อย่างเต็มที่แน่นอนค่ะ

เป็นกำลังใจให้นะคะ....

เป็นโครงการที่น่าสนใจนะครับน้องพี่เป็นกำลังใจให้"สู้ๆเด้อน้องหล่า"

สวัสดีค่ะ แวะมาดูโครงการ

เป็นโครงการที่มีความละเอียดมากเลย

ถ้าได้เรียนคงสนุกแน่ๆๆ

สวัสดีคะ คุณ lovewanaan

ขอบคุณนะคะที่แวะเข้ามาเป็นกำลังใจให้

ขอเป็นกำลังใจให้คุณด้วยเช่นกันนะคะ สู้ ๆ คะ

ขอบคุณคะ ^_^

สวัสดีคะ คุณ ฟักแม้ว

ขอบคุณนะคะที่เข้ามาเยี่ยมชมโครงการและให้กำลังใจ

ขอเป็นกำลังใจในการทำงานเช่นกันคะ

โอกาสหน้าแวะเข้ามาทักทายกันอีกนะคะ

ขอบคุณคะ ^_^

สวัสดี คุณ KUNKOOOFF

ขอบใจหลาย ๆ เด้อคะ ที่เข้ามาเป็นกำลังใจและเข้ามาทักทาย

ขอเป็นกำลังใจให้ KUNKOOOFF สู้ ๆ เหมือนกัน

ขอบใจหลาย ๆ ^_^

สวัสดีคะ คุณ firststep

ช่วงนี้อากาศร้อนมากดูแลสุขภาพด้วยนะคะ

ขอบคุณนะคะที่แวะเข้ามาชมโครงการ

เป็นกำลังใจให้เช่นกันคะ

ขอบคุณคะ ^_^

สวัสดีค่ะยินดีที่ได้รู้จักน่ะค่ะ

เห็นมาหลายบล๊อกแล้วค่ะ

คิดว่าการเขียนบล๊อกคงเป็นส่วนหนึ่งของวิชาใดวิชาหนึ่งแน่ๆเลยค่ะ

ยินดีค่ะ กับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ ใน gotoknow ยังเพื่อนๆมากมายคอยให้กำลังใจ และร่วมแลกเปลี่ยนค่ะ..เชิญที่บล๊อกครูบันเทิงได้น่ะค่ะ..

สวัสดีคะ ครูบันเทิง

คะ การเขียนบล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนวิชาหนึ่งในการเรียน ป. บัณฑิต

ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คะ

ขอบคุณนะคะ คุณครูบันเทิง ที่แวะมาให้กำลังใจ ทำให้ผู้เขียนรู้สึกดีใจมากคะ

และยินดีอย่างยิ่งในการที่จะได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ขอบคุณคะ ^_^

สวัสดีครับ ดินสอสี ช่วนสอนหน่อยสิ ไม่รู้เรื่องเลย ไม่เข้าใจด้วย

สวัสดีคะ คุณ คนเก็บฟืน

ยินดีให้ความช่วยเหลือคะ

หากมีข้อสงสัยที่ดิฉันพอจะช่วยได้

ลองฝากคำถามและคุยกันได้ที่ e-mail : [email protected] หรือ [email protected] นะคะ

ยินดีเสมอคะ ขอบคุณคะ ^_^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท