Poster Presentation in 11th HA National Forum
Poster Presentation in 11th HA National Forum สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน)

การรักษาแผลที่เท้าโดยการใส่เฝือกนุ่ม


.ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และต่อยอดข้อคิดเห็นเพื่อขยายวงของการพัฒนาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

    

การประชุม HA National Forum ครั้งที่ 11 ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีผลงานจาก รพ.ต่างๆ นำเสนอในลักษณะโปสเตอร์มากกว่า 300 เรื่อง

ผู้เข้าร่วมประชุมไม่สามารถที่จะศึกษาเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง ทาง สรพ.จึงขอใช้เวทีนี้เป็นเวทีนำเสนอต่อเนื่อง ให้ผู้สนใจได้ download เนื้อหาของนิทรรศการไปศึกษา และแสดงความคิดเห็นต่อผลงานการพัฒนาดังกล่าว

สำหรับผลงานเรื่องการรักษาแผลที่เท้าโดยใช้เฝือกนุ่มนี้ เป็นผลงานของ รพ.ตากสิน จ.กรุงเทพ

หมายเลขบันทึก: 354499เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2010 17:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

การประชุม HA National Forum ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีผลงานจาก รพ.ต่างๆ นำเสนอในลักษณะโปสเตอร์มากกว่า 300 เรื่อง ผู้เข้าร่วมประชุมไม่สามารถที่จะศึกษาเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง ทาง สรพ.จึงขอใช้เวทีนี้เป็นเวทีนำเสนอต่อเนื่อง ให้ผู้สนใจได้ download เนื้อหาของนิทรรศการไปศึกษา และแสดงความคิดเห็นต่อผลงานการพัฒนาดังกล่าว สำหรับผลงานเรื่องการรักษาแผลที่เท้าโดยใช้เฝือกนุ่มนี้ เป็นผลงานของ รพ.ตากสิน

ทีมงานนำเสนอวิธีการลดการกดทับที่บริเวณแผลใต้ฝ่าเท้า ทำให้แผลหายเร็วขึ้น ลดการสูญเสียนิ้วหรือเท้า โดยใช้วัสดุร่วมกันหลายประเภท และวัสดุสำคัญอันหนึ่งคือเฝือกนุ่ม

เฝือกนุ่ม (soft cast) เป็นเฝือกที่เมื่อ set ตัวแล้วไม่แข็งเหมือนกับเฝือกปูนหรือเฝือกพลาสติก ให้ความรู้สึกที่นุ่มกว่าและสบายกว่า เปิดโอกาสให้มีการเคลื่อนไหวได้บ้าง

ก่อนการใส่เฝือกให้ทำความสะอาดแผล ประเมินลักษณะแผลและวัดขนาดของแผล ล้างแผลและปิดแผลให้เรียบร้อย แล้วดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. นำ Webril พับเป็นสี่เหลื่ยมกั้นแต่ละนิ้วไว้ และปิดคลุมด้วย Webril อีกรอบ ใช้ Micropore ปิดทับเพื่อยึดตัว Webril ไว้

2. ใส่ถุงเท้าที่ได้ตัดปลายของถุงเท้าให้พอดีสำหรับสอดท่อ ซึ่งท่อนี้มีไว้เพื่อเป็นแนวในการตัดเฝือก แล้วจึงสอดท่อ

3. ตัด foam sticker วางทาบไปที่ใต้ฝ่าเท้า แล้วหุ้มไปปิดด้านบนถุงเท้า ตัดอีก 1 ชิ้น เพื่อปิดปลายนิ้ว

4. นำแผ่นเฝือกรองแข็งมาวางทาบใต้ฝ่าเท้า เพื่อ off loading ใช้ด้านที่เป็นโฟมกับผู้ป่วย

5. ใช้ผ้าพันแผลชนิดผ้ายืด (elastic bandage) ขนาด 3 นิ้ว พัน เพื่อป้องกันไม่ให้เฝือกหลุด

6. ให้ผู้ป่วยยืนลงน้ำหนัก รอจนเฝือกแข็ง เมื่อเฝือกแข็งตัวแล้วให้คลายผ้ายืดออก

7. พันด้วยเฝือกนุ่ม (soft cast) ขนาด 2 นิ้ว เสร็จแล้วใช้มือจุ่มน้ำน้อยๆ ลูบให้ทั่ว

8. พลิกถุงเท้าลงมาระดับรองเท้า และตัดตรงกลางของท่อที่สอดไว้

9. ปิดขอบเฝือกให้เรียบ

10. ตกแต่งเฝือกรองเท้าให้สวยงามเหมาะสม

เชิญผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้เทคนิคนี้หรือเทคนิคอื่นๆ มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันครับ

ใช้ได้กับแผลทุกประเภทหรือไม่คะ

หรือใช้สำหรับผู้ป่วยแผลเบาหวานคะ

เป็นนวัตกรรมที่ดี ขอชื่นชมค่ะ

คนคิด เก่งจัง

แผลที่เท้ามีลักษณะที่พิเศษ ด้วยเท้านั้นเป็นอวัยวะพิเศษคือ ต้องรับแรงกระทำซ้ำๆกันด้วยแรงที่เกิดจากน้ำหนักโถมทั้งร่างกาย บนพื้นที่เพืยงแค่ฝ่าเท้า ถ้าร่วมกับการที่คนไข้ไม่สามารถรับรู้ถึงการอักเสบอันเป็นการสะสมของ Trauma นั้นได้ เพราะ loss of protective sensation แผลนั้นจะไม่สามารถหายได้ด้วยกระบวนการทำแผลปกติ กล่าวได้ว่า ถ้าแผลนั้นสามารถ identify พยาธิกำเนิด จาก Biomechanics ที่ผิดได้ ต้องแก้โดยเชิง Biomechanics ครับ ขอเชิญเข้าเยี่ยม http://gotoknow.org/blog/footcareclinic

 

แผลที่เท้ามีลักษณะที่พิเศษ ด้วยเท้านั้นเป็นอวัยวะพิเศษคือ ต้องรับแรงกระทำซ้ำๆกันด้วยแรงที่เกิดจากน้ำหนักโถมทั้งร่างกาย บนพื้นที่เพืยงแค่ฝ่าเท้า ถ้าร่วมกับการที่คนไข้ไม่สามารถรับรู้ถึงการอักเสบอันเป็นการสะสมของ Trauma นั้นได้ เพราะ loss of protective sensation แผลนั้นจะไม่สามารถหายได้ด้วยกระบวนการทำแผลปกติ กล่าวได้ว่า ถ้าแผลนั้นสามารถ identify พยาธิกำเนิด จาก Biomechanics ที่ผิดได้ ต้องแก้โดยเชิง Biomechanics ครับ ขอเชิญเข้าเยี่ยม http://gotoknow.org/blog/footcareclinic

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท