มีโอกาสได้พูดคุยกับผู้อำนวยการโรงเรียนและอาจารย์ผู้ดูแลห้องสมุดระดับประถมศึกษา แล้วก็พูดคุยกันในประเด็นของห้องสมุดมีชีวิต... ว่าควรทำอย่างไรดี
โรงเรียนหลายแห่งต้องการพัฒนาห้องสมุด ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพทางวิชาการได้ดี แต่มีปัญหาอุปสรรคในด้านการดำเนินการคือ
1. ไม่มีบรรณารักษ์ประจำห้องสมุด อัตราอาจารย์มีจำนวนจำกัด ทำให้อาจารย์ต้องทำหน้าที่สอนและดูแลห้องสมุดด้วย ในการพัฒนาศาสตร์ทางเทคโนโลยีและบรรณารักษศาสตร์จึงทำได้ไม่เต็มที่
2. ไม่สามารถเปิดห้องสมุดให้บริการได้ตลอดเวลา
3.งบประมาณมีจำกัด
4. นักเรียนไม่ค่อยสนใจสิ่งพิมพ์ที่อ่านแล้ว
ลองมาแก้ปัญหากันดีกว่า
ในด้านการดำเนินการ
- จัดทำแผนการพัฒนาห้องสมุดในระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะแผนพัฒนาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
-จัดบรรยากาศห้องสมุดให้กระตุ้นและส่งเสริมการอยากรู้ อยากค้นคว้า อากาศต้องถ่ายเทสะดวก แสงพอเหมาะ เสียงพอดี (อาจมีเสียงเพลงเบาๆ ได้นะคะ) ใช้ต้นไม้ประดับตกแต่ง บอร์ดมีการเปลี่ยนอยู่เสมอ ใช้สีสันเข้าช่วย บรรยากศสคลายความเป็นวิชาการและความเคร่งเครียดลง นักเรียนจะอยากให้ห้องสมุดมากขึ้น อย่างเช่น TK Park จะเห็นคนนอนอ่านหนังสือ มีอิริยาบถที่สบายๆ
-มีวิสัยทัศน์ในการดำเนินงานร่วมกับชุมชน โดยมองภาพการของบประมาณเพื่อพัฒนาห้องสมุดและขยายการให้บริการแก่ชุมชน
-มีนโยบายในการใช้ห้องสมุดในการเรียนการสอนอย่างเต็มที่ โดยการร่วมด้วยช่วยกันของครูในโรงเรียน
-พัฒนาบุคลากรที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง
-จัดงบประมาณในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศให้เพียงพอ ทันสมัย โดยต้องเพิ่มขึ้นในทุกปี เพราะค่าทรัพยากรสารสนเทศนั้นมีแนวโน้มราคาสูงขึ้นในทุกปี
-ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ บรรณารักษ์อาชีพจากสถาบันใกล้เคียง เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวคิด
-สร้างเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนหนังสือกับห้องสมุดใกล้เคียง เพื่อที่จะได้มีหนังสือใหม่ๆ มาให้บริการนรายเดือน ราย 3 เดือน เป็นต้น
ในด้านบริการ
-จัดตั้งชมรม/ชุมนุมห้องสมุด เพื่อให้นักเรียนฝึกประสบการณ์และช่วยงานห้องสมุดด้วย
-ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด จัดฉายวีดิทัศน์ โทรทัศน์ และจัดให้มีมุมอินเตอร์เน็ต เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนอยากเข้าห้องสมุดมากยิ่งขึ้น
-จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ การอ่าน โดยการแข่งขัน ประกวด เป็นประจำ
-ครูบรรณารักษ์แจ้งรายการทรัพยากรสารสนเทศใหม่ๆ แก่คณะครู เพื่อใช้ในการเรียนการสอน
แค่นี้ห้องสมุดก็มีชีวิตแล้วค่ะ....ท่านใดมีแนวทางการจัดทำหห้องสมุดมีชีวิตเพิ่มติม ช่วยให้ข้อมุลแลกเปลี่ยนด้วยนะคะ...ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
เป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่ดีมากค่ะ ขอเสนอเพิ่มว่าถ้าผู้บริรเห็นความสำคัญของห้องสมุดด้วยตนเอง (ไม่ใช่เพราะกระแส) รับรองครูบรรณารักษ์พัฒนาได้เต็มที่แน่นอน
ได้รับมอบหมายให้จัดห้องสมุดโรงเรียน หลังจากเจ้าหน้าที่คนเก่าทิ้งไปนาน เมื่อก่อนแค่เก็บกวาด จัดหนังสือให้อยู่บนชั้น แต่ไม่ได้จัดให้เป็นหมวดหมู่ตามเลขหมู่หนังสือ ตอนนี้ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร แยกหนังสือไม่เป็น ไม่รู้ว่าหนังสือใดควรจะไปอยู่หมู่ไหน ศาสนา กับปรัชญา หรือ ความรู้ทั่วไปเป็นแบบไหน อยากได้คำแนะนำค่ะ ตอนนี้นำหนังสือลงมากอง ปัดฝุ่นเรียบร้อย ได้แต่นั่งมอง ยังไม่ได้ขึ้นชั้นเลย
บรรณารักษ์ ....จำเป็น
ขอบคุณทุกท่านนะคะ ที่แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
สำหรับคุณจำลอง เรื่องห้องสมุดไม่ใช่เรื่องที่จะยากเกินความสามารถของบรรณารักษ์จำเป็นหรอกค่ะ ดิฉันเชื่ออย่างนั้น
หลักการของการจัดห้องสมุด ขั้นแรก เราต้องจำลองตัวเราเป็นผู้ใช้บริการก่อน คิดว่าตัวเองเป็นนักเรียน แล้วในการจัดหมวดหมู่นั้นพูดง่ายๆ คือ จัดอย่างไรก็ได้ขอให้ค้นเจอ แต่ไม่ใช่เราคนเดียว...ต้องให้คนหมุ่มากค้นเจอด้วยนะคะ
สำหรับโรงเรียน อาจจะมีทรัพยากรสารสนเทศที่ไม่มากนัก อัตรากำลังอาจจะจำกัด อาจจะใช้การแยกหมวดหมู่ ใส้เทปสีติดที่สัน และให้หมายเลข 1....ไปเรื่อย ๆ เวลาเรียงก็แยกตามหมวดหมู่และลำดับหมายเลขที่ได้รับเข้ามา
เช่น
หนังสือเด็ก ได้แก่ หนังสือภาพและนิทาน ใช้แถบสีเขียว
คู่มือครู ใช้แถบสีแดง
หรือไม่ก็ใช้ระบบดิวอี้ ที่แบ่งหนังสือออกเป็น 10 หมวด ตั้งแต่ 000-999 แต่ทั้งนี้การจัดแบบนี้ต้องได้รับการอบรม และการนำหนังสือขึ้นชั้นต้องมีความรู้สามารถจัดเรียงได้ถูกต้อง
แต่สำหรับระบบแถบสี...นักเรียนก็สามารถช่วยเก็บขึ้นชั้นได้ ซึ่งระบบคุมอาจใช้สมุดทะเบียนแยกตามประเภท แล้วนำหมายเลขที่ได้รับเข้ามาติดที่สันประกอบกับแถบสี เป็นสัญลักษณ์ในการจัดเก็บและเรียกใช้ได้
จะใช้ระบบใดทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับนโยบาย รูปแบบในอนาคตและศักยภาพของแต่ละห้องสมุดนะคะ
ท้านสุด..ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ
ได้รับการติดต่อทาง mail ผ่าน G2K จากครู)ฮฒ โรงเรียนจอมพระ...ที่ว่า "ได้อ่านข้อความของคุณสนใจห้องสมุดมากอยากให้มาดูห้องสมุดโรงเรียนบ้านจอมพระบ้างจะได้ช่วยปรับปรุง" Reply mail กลับไปที่ [email protected] แต่เมล์ถูกตีกลับ จึงขอฝากข้อความไว้ในบันทึกนี้....เผื่อผู้ฝากข้อความจะมาพบเจอบ้าง