การสอบครั้งเกือบสุดท้าย


การสอบบอร์ด

22-6-49

วันนี้ดิฉันมาสอบบอร์ดเวชศาสตร์ป้องกันแขนงสาธารณสุขศาสตร์ที่กรมสุขภาพจิต     เมื่อเปิดประตูเข้าไปในห้องประชุมก็เจอน้องๆจากกรมคร.หลายคนรวมทั้งหมอรุ่งเรืองจากกรมวิทย์ที่เป็นคนขนข้อสอบพร้อมตำรามาให้ดิฉันอ่าน

ข้อสอบค่อนข้างยากถ้าไม่อ่านคงสอบไม่ได้เพราะออกรวมทุกสาขาร้อยละ70อีกร้อยละ30เป็นเฉพาะสาขา     มีทั้งปรนัยและอัตนัย     ช่วงบ่ายสอบปฏิบัติการแต่เป็นข้อเขียน

ในเวลากลางวันลงไปทานอาหารที่ห้องที่จัดไว้ให้     ดิฉันเจออาจารย์หมอไพรัส ศรีไสว อดีตผอ.รพ.ชลประทานก่อนคุณหมอเกริกยศไปสอบด้านoccupational    health   อาจารย์บ่นกระปอดกระแปดว่าออกยากเกินไป    อาจารย์น่าจะอายุประมาณ 65 ปีและเป็นคนรายงานโรค  Legionnaires  disease หรือ  Legionellosis  คนแรกในประเทศไทย

23-6-49

ดิฉันมาสอบสัมภาษณ์     ผู้ที่สัมภาษณ์คืออาจารย์หมอธีระ และอาจารย์ธวัช    อาจารย์หมอพรเทพ  อดีตรองอธิบดีกรมสุขภาพจิต    ดิฉันสอบคนสุดท้าย      ดูอาจารย์ใจดีและไม่ได้ถามอะไรมากเพราะอาจารย์บอกว่าดิฉันทำคะแนนได้สูงสุดทั้งปรนัยและอัตนัยจากทีมที่เข้าสอบสาขาสาธารณสุขทั้ง8คน

AAR

ความคาดหวังก่อนเข้าสอบ

ก่อนสอบดิฉันตั้งใจว่าจะใช้ประสบการณ์ในการทำงานแล้วลองสอบดูเผื่อจะได้

หลังสอบ

ดิฉันทำข้อสอบในส่วนที่ไม่ได้เรียนและอ่านมาประมาณ50%   

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

ดิฉันไม่ได้ศึกษามาก่อนว่าวิชาที่ไปสอบประกอบด้วยวิชาอะไรบ้างโดยคิดเอาเองว่าน่าจะประกอบไปด้วยเรื่องราวแบบนี้เนื่องจากมีเวลาน้อย

ถ้ามีการสอบอีกจะทำอะไรบ้าง

จะอ่านหนังสือให้ครบตามหัวข้อที่กำหนด

บทเรียนที่ประทับใจ

ที่ทำคะแนนได้ดีเนื่องจากมีเหตุและปัจจัยดังนี้

1     น้องๆที่สอบด้วยส่วนใหญ่มาจาก กทม ทำให้ไม่มีความรู้ของกระทรวงสาธารณสุขทำให้ทำข้อสอบยากขึ้น    เช่น ให้บรรยายเกี่ยวกับ    Bangkok   charter  ซึ่งมีส่วนน้อยที่รู้จักแม้แต่ในกระทรวงเองก็อาจจะไม่สนใจ

2     อาจารย์รุ่งเรืองจากกรมวิทย์ เคยสอบมาแล้ว3สาขา   ครั้งนี้เป็นสาขาที่4    อาจารย์กรุณาเอาข้อสอบที่หามาได้มาให้ดิฉันอ่านซึ่งเป็นข้อสอบประมาณเกือบ10ปี ทำให้พอรู้แนวทางการอ่าน    อาจารย์ให้อ่านระบาดวิทยาของรศ. นพ.ไพบูลย์    โล่ห์สุนทร คณะแพทย์ศาสตร์จุฬา  ประมาณ 400หน้า     ดิฉันอ่านไปบ่นไปเพราะรู้สึกว่ามันยาก    แต่อาจารย์ก็ปลอบว่าอาจารย์อ่านเล่มนี้เล่มเดียวก็พอ

3     ผอ.สคร 1 ได้แนะนำให้เตรียมเรื่องอะไรบ้างเช่น    การพัฒนา  HRD   การสอบสวนและป้องกันการระบาด     Diaster     ดิฉันเตรียมไปแต่เวลาเขียนจริงกลับคิดไม่ค่อยออก

4     คุณจันทราที่ขอร้องแกมบังคับให้ไปฟังการนำเสนอ Competency    ดิฉันนำเอกสารของมอมมาตอบทั้งหมดโดยดัดแปลงเนื้อหาคล้ายๆที่เสนอในBlue  print   for  chang

5     หนูเล็กทีช่วยแตกZip หลังจากดิฉันCopy   file  จากกระทรวงสาธารณสุขโดยเป็น slide ของอดีตปลัดกระทรวง นพ.วิชัย    เทียนถาวรที่เป็นเพื่อนดิฉัน   เป็น slide ที่ดีมากที่ดิฉันนำมาศึกษาเรื่อง Healthy   Thailand   และ   Bangkok   charter    ดิฉันนำมาอ่านและตีความเอาเองเพราะไม่มีคำบรรยายและดิฉันไม่ค่อยเข้าใจHealthy   Thailand  แต่ผอ.สคร1 บอกให้พี่อ่านตัวชี้วัดไปด้วยนะ

6     ประสบการณ์ของการทำ HA, HPA, BSC, การทำ  Logic  modelและทีสำคัญแนวคิดของKM ที่อ่านจาก  Blog  อาจารย์  นพ. วิจารณ์   พาณิช    ดิฉันนำมาตอบทำให้หมอพรเทพชมกับอาจารย์ธีระ

ที่เขียนมาเพื่อเล่าให้ฟังถึงเหตุและปัจจัยที่เกิดขึ้นเพื่อให้เราไม่ท้อแท้เมื่อมีสิ่งใหม่ๆมาให้เราทำ     ซักวันหนึ่งความรู้ที่เราค่อยๆสระสมจะถูกนำมาใช้งานโดยที่เราอาจจะไม่ตั้งใจว่าจะใช้แต่เมื่อมีความจำเป็นเราก็นำขึ้นมาเขียนได้ค่ะ    

 

  

หมายเลขบันทึก: 35390เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2006 14:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 10:18 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
คิดว่าเป็น Tacit Knowledge ในการเตรียมตัวเผชิญปัญหาที่สำคัญ ขอบพระคุณมากค่ะ และขอแสดงความยินดีล่วงหน้าด้วยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท