Mr.CHOBTRONG
ผศ. สมศักดิ์ สถาบันวิจัยและพัฒนา ชอบตรง

ฐานเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรม


ฐานเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรม
ผลการประชุมเรื่อง ฐานเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรมของจังหวัดสุราษฎร์ธานี                                                                                    พิชัย  สุขวุ่น                                                                   สถาบันวิจัยและพัฒนา 

            สถาบันวิจัยและพัฒนาได้ประชุมนักวิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการวิจัยเรื่องฐานเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรม โดยจัดขึ้น 2 ครั้งในระยะเวลาใกล้เคียงกัน คือวันอังคารที่ 20 และวันศุกร์ที่    23 มิถุนายน 2549 ณ ห้องวิภาวดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี วัตถุประสงค์ของการจัดประชุม เพื่อต้องการให้นักวิจัยได้ประชุมร่วมกันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงาน หรือบางกรณีก็มาประชุมเพื่อรับฟังทัศนะของผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีทัศนะแตกต่างกันตามความรู้ความคิดของ  แต่ละคน ซึ่งความแตกต่างเหล่านั้นล้วนก่อให้เกิดการสอบสวนความคิด  แล้วเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะแต่ละคน

            วันอังคารที่ 20 มิถุนายน 2549 ศาสตราจารย์สุธิวงศ์  พงศ์ไพบูลย์ ได้หารือและให้ความรู้เพิ่มเติม โดยข้อหารือนั้น ประกอบด้วย 1) ต้องการจัดชั่วโมงสอนของนักวิจัยให้เหลือ 10 12 ชั่วโมง ไม่เช่นนั้นจะเป็นอุปสรรคในการดำเนินโครงการ และ 2) จัดการให้มีฐานข้อมูลกลางเพื่อช่วยเหลือนักวิจัย และได้บรรยายเพิ่มเติมถึงคุณลักษณะของนักวิจัย ว่าต้องยึดปรัชญาว่าด้วยการทำเพื่อผู้อื่น และควรเข้าใจลักษณะการทับซ้อนของกระแสท้องถิ่นและกระแสโลกาภิวัตน์ และสนใจความแตกต่างแต่ละท้องถิ่น ทั้งความเหมือนและความแตกต่างที่ทับซ้อนอยู่ด้วยกัน และได้ให้แนวทางในการศึกษาโดยพิจารณาจาก 4 ฐานคือ ปัญญานิยม จริยธรรมนิยม อำนาจนิยม และทุนนิยม และให้นักวิจัยแสดงลักษณะเฉพาะตัวได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดความแตกต่างในมุมมองที่จะศึกษา

            วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2549 รองศาสตราจารย์ณรงค์   เพ็ชรประเสริฐ ได้บรรยายเรื่องฐานเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรม โดยแสดงให้เห็นทัศนะของนักเศรษฐศาสตร์แรงงาน ผสมผสานกับลักษณะความเป็นท้องถิ่นของท่านเอง โดยแสดงให้เห็นทั้งในเชิงทฤษฏี ได้แก่ ทฤษฎีแรงงาน การผลิต  ทุนนิยม  และปรัชญาเศรษฐศาสตร์ (ทรัพยากรเป็นของทุกคน หรือเจ้าของแรงงานเป็นเจ้าของทรัพยากร) และชี้ให้เห็นด้วยผลการวิจัยว่า สังคมไทยเป็นสังคมแรงงาน (รวมทั้งมหาวิทยาลัยด้วย) ดังนั้นเราจะยอมรับหรือปฏิเสธก็ควรพิจารณาเอาเอง (ความเห็นของผู้เขียน) และท่านชี้แนะแนวทางในการสร้าง มูลค่า  จาก  คุณค่า ทางวัฒนธรรมได้หลายรูปแบบ   ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรม  

ดังนั้นการจัดการประชุมในโครงการนี้ คงเกิดประโยชน์แก่นักวิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมาก อย่างน้อยทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางความคิดและได้รับฟังทัศนะของผู้ทรงคุณวุฒิอย่างหลากหลาย ส่วนใครจะได้ประโยชน์ในแง่มุมไหนก็เลือกให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของตนเอง
หมายเลขบันทึก: 35384เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2006 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท