ทักษะของมหาวิทยาลัย และวิธีปฏิรูปการสร้างครู (ครูพันธุ์ใหม่)


นักศึกษาไม่ใช่เป็นเพียง “ผู้รับ” เท่านั้น แต่เป็น “ผู้ให้” และ “ผู้สร้างสรรค์” ด้วย ในเวลาเดียวกัน ครู/อาจารย์ ต้องหาจุดเด่นของศิษย์แต่ละคน

ทักษะของมหาวิทยาลัย  และวิธีปฏิรูปการสร้างครู (ครูพันธุ์ใหม่)

ก่อนจะถึงทักษะ มหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์เสียก่อน   ในที่นี้เป็นเรื่องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านนักศึกษา    ว่านักศึกษาไม่ใช่ผู้มาเรียนเพื่อรับความรู้เท่านั้น   แต่เป็นผู้มาร่วมกระบวนการสร้างสรรค์ด้วยกันกับคณาจารย์และชุมชนของมหาวิทยาลัยนั้น    เป็นการสร้างสรรค์เพื่อสร้างชื่อเสียง สร้างสังคม/ชุมชน และสร้างอนาคตของตนเอง ในระยะยาว  

นักศึกษาไม่ใช่เป็นเพียง “ผู้รับ” เท่านั้น   แต่เป็น “ผู้ให้” และ “ผู้สร้างสรรค์” ด้วย ในเวลาเดียวกัน    และที่สำคัญ จะเป็น “ผู้ให้” และ “ผู้สร้างสรรค์” ในระยะยาว แก่มหาวิทยาลัย แก่ชุมชน/สังคม และแก่บ้านเมือง

ดังนั้น มหาวิทยาลัยต้องพัฒนาทักษะในการ “ดูคน” ให้เห็น “รูปสุวรรณอยู่ชั้นใน” ให้เป็น   ว่านักศึกษาแต่ละคนมี “สุวรรณ” อะไรอยู่ในตัว    “สุวรรณ” หมายถึงคุณสมบัติพิเศษ หรือความถนัด   ที่มหาวิทยาลัยจะเอามาขยายให้เด่นชัดขึ้น   เห็นผลเป็นรูปธรรมในช่วงเวลา ๔ ปี (หรือมากกว่า) ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย

๒ สัปดาห์ก่อน คุณแอนน์แห่ง สคส. เอาหนังเรื่อง The Blind Side มาให้ดู   ว่าเป็นเรื่อง “ครูเพื่อศิษย์” อย่างชัดเจน   หนังเรื่องนี้พระเอกคือ Big Mike เป็นคนดำรูปร่างสูงใหญ่   มาจากครอบครัวที่ยากจนและมีปัญหาครอบครัว    แม่มีลูกมากและสามีก็มาก   อยู่ในถิ่นคนดำที่สภาพสังคมเลวร้าย เต็มไปด้วยความรุนแรง   บังเอิญมีครอบครัวเศรษฐีเอ็นดูช่วยอุปการะ Big Mike   โดยเขา (ภรรยาเป็นผู้ลงมือ) หาทางทำความรู้จักกับ Big Mike ในระดับลึก   พบว่า IQ เพียง 80 ความเข้าใจเรื่องต่างๆ จึงตื้น   แต่เด่นมากในสัญชาตญาณคุ้มครองผู้อื่น   และด้วยการส่งเสริมให้เล่นกีฬาอเมริกันฟุตบอลล์ในตำแหน่งป้องกันผู้ทำคะแนน (ผมดูกีฬานี้ไม่เป็น จึงเรียกชื่อตำแหน่งไม่ถูก เดาว่าน่าจะเป็น ควอเตอร์ แบ็ค)    เขาจึงเป็นดารากีฬา และเรียนจบชั้นมัธยมปลาย   โดยมีมหาวิทยาลัยต่างๆ มาเชื้อเชิญไปเข้าเรียนและเล่นอเมริกันฟุตบอลล์อย่างมากมาย 

วันนี้ (๑๑ เม.ย. ๕๓) ผมหาทางสร้างความสงบในใจด้วยการอ่านบทความของนักเขียนยอดนิยมของผม Malcolm Gladwell เรื่อง Most Likely to Succeed   เล่าเรื่องโค้ชอเมริกันฟุตบอลล์ ชื่อ Dan Shonka นั่งดู DVD การเล่นของนักกีฬาเพื่อหาจุดเด่นของนักกีฬาแต่ละคน   ผมจึงสรุปกับตนเองว่า ครู/อาจารย์ ต้องหาจุดเด่นของศิษย์แต่ละคน

เมื่อคืนผมอ่านนิตยสารต่วย’ตูน ก่อนนอน   ประทับใจเรื่อง “เวทีนี้มีพี่เลี้ยง” เขียนโดย ผศ. ดร. ญาดา อรุณเวช อารัมภีร ในฉบับเดือนเมษายน ปักษ์แรก หน้า ๑๔๒ – ๑๕๓   มีคติหลายอย่าง   อย่างหนึ่งคือวิธีเลือกศิษย์เสียงดี ของ อ. ปาจรีย์ บุษยกุล เอามาฝึกให้เป็นนักอ่านทำนองเสนาะ   ต้องอ่านเองนะครับจึงจะได้คติสอนใจหลากหลายด้านจากเรื่องเล่านี้    อ. ปาจรีย์เลือกเฉพาะเด็กที่มี “แวว” เท่านั้นมาฝึกสอนอย่างเป็นระบบจริงจังมาก

กลับมาที่บทความ Most Likely to Succeed นะครับ   ผมชอบตอนที่ ๔ ของบทความมาก   มันแนะวิธีวิจัยสร้างทักษะในการทำหน้าที่ครูได้อย่างดีมาก   อยากให้อาจารย์ด้านศึกษาศาสตร์และนักศึกษาปริญญาเอกอ่าน   และสังเกต research methodology โดยวิธีบันทึกวิดีทัศน์การสอน เอามาวิเคราะห์ร่วมกันในหมู่ผู้ทรงคุณวุฒิ   จะสามารถเขียนหนังสือตำราเทคนิคการสอนได้ 

สุดยอดของสาระในบทความดังกล่าวอยู่ที่ตอนที่ ๕ – ๖   ที่เสนอว่าวิธีรับครูและจัดการทรัพยากรครูที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ใน สรอ. (ซึ่งก็เหมือนของไทย) จะไม่ได้ผล   จะให้การศึกษามีคุณภาพจริงๆ ต้องคัดครูหลายชั้น ชั้นหลังสุดโดยการลงมือทำงานจริง   แล้วประเมินทักษะและผลงานอย่างจริงจัง    คัดไว้เฉพาะที่มีผลงานดีจริงๆ เท่านั้น   โดยเอากรณีของการคัดที่ปรึกษาธุรกิจเป็นตัวอย่าง    ต้องอ่านบทความเองนะครับ จึงจะได้ความลึก

ครูพันธุ์ใหม่ ไม่ใช่อยู่ที่การผลิต   แต่อยู่ที่การคัดเลือกเข้าทำงาน และตอนทำงานจริง

ผมหนีจากความรู้สึกวุ่นๆ / เศร้า จากเหตุการณ์รุนแรงเมื่อคืน    มาสู่การหาโอกาสสร้างสรรค์ให้แก่บ้านเมือง ๒ เรื่อง    คือเรื่องมหาวิทยาลัยเสาะหาศิษย์พิเศษ   กับเรื่องปฏิรูปครูแบบสุดกู่

ขอย้ำอีกที ว่าผู้ใหญ่ในบ้านเมืองด้านการศึกษาควรอ่านบทความเรื่อง Most Likely to Succeed

วิจารณ์ พานิช

๑๑ เม.ย. ๕๓

 

 

        

                      

                       

               

หมายเลขบันทึก: 351544เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2010 09:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 09:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะคุณหมอที่เคารพอย่างสูง

  • เนื่องในวันสงกรานต์
  • ขอกราบคารวะ รดน้ำ ดำหัว ด้วยความเคารพและนับถือยิ่งค่ะ
    • กำลังไปอ่าน link ที่อาจารย์ให้ไว้
    • วันก่อนอาจารย์ ผศ. ดร.ญาดาและอาจารย์สง่ามาบรรยาย
    • เลยเอารูปมาฝากด้วยครับ
    • ขอบคุณมากๆๆครับ

    กราบสวัสดี สงกรานต์ ท่านอาจารย์หมอครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท