13.ประวัติอำเภอคำตากล้า


ประวัติอำเภอคำตากล้า ฉบับครูเตือน

ประวัติอำเภอคำตากล้า

 คำว่า “ผู้ไทย” บางท่านมักเขียนว่า “ภูไท” ผู้ไทย คำว่า'ผู้" หรือ "พู้" เป็นสำเนียง ออกเสียงคำพูด ของคนภูไท     แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตเขียนว่า “ผู้ไทย”ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวผู้ไทยอยู่ในแค้วนสิบสองจุไทย และแค้วนสิบสองปันนา (ดินแดนส่วนเหนือของลาว และ เวียดนาม ซึ่งติดต่อกับดินแดนภาคใต้ของจีน) ราชอาณาจักรไทยได้สูญเสียดินแดนสิบสองจุไทย ซึ่งอยู่ในเขตของลาวให้แก่ฝรั่งเศสเมื่อ ร.ศ.107 (พ.ศ.2431)
เดิมชาวผู้ไทยแบ่งออกเป็น 2 พวกคือ


1. ผู้ไทยดำ มีอยู่ 8 เมือง นิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดำและสีคราม
2. ผู้ไทยขาว มีอยู่ 4 เมือง อยู่ใกล้ชิดติดกับชายแดนจีนจึงนิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาว
รวมผู้ไทยดำและผู้ไทยขาวมี 12 เมือง จึงเรียกดินแดนส่วนนี้ว่า "สิบสองจุไทย" หรือ "สองเจ้าไทย"

      ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (เจ้าองค์หล่อ) แห่งราชอาณาจักรเวียงจันทน์ ได้มีหัวหน้าชาวผู้ไทยซึ่งมีนามว่า พระศรีวรราช ได้มีความดีความชอบในการ ช่วยปราบกบฏในนครเวียงจันทน์จนสงบราบคาบกษัตริย์เวียงจันทน์ จึงได้ปูนบำเหน็จ โดยพระราชทานพระราชธิดาชื่อนางช่อฟ้า ให้เป็นภรรยา       ในกาลต่อมาจึงได้แต่งตั้งให้บุตรซึ่งเกิดจากพระศรีวรราชหัวหน้าชาวผู้ไทยและเจ้านางช่อฟ้ารวม 4 คนแยกย้ายกันไปปกครองหัวเมืองชาวผู้ไทย คือ

เมืองสบแอก
เมืองเชียงค้อ

เมืองวัง

เมืองตะโปน(เซโปน)
พร้อมกับอพยพชาวผู้ไทยลงไปทางใต้ของราชอาณาจักรเวียงจันทน์(ปัจจุบันอยู่ในแขวง
สุวรรณเขตของลาวติดชายแดนญวน)
     

 (เรียบเรียงจากบทพระนิพนธ์ ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระเจ้าประดิษฐาสารีในหนังสือชื่อ พระราชธรรมเนียมลาวซึ่งพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2479 ซึ่งพระองค์เป็นพระราชธิดาของรัชกาลที่4
และเจ้าจอมมารดาดวงคำ เจ้าจอมมารดาดวงคำ เป็นราชนัดดาของเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์ ) ต่อมาชาวผู้ไทยได้ แยกย้ายออกไปตั้งเป็นเมืองพิน เมืองนอง เมืองพ้อง เมืองพลาน เมืองเชียงฮ่ม, เมืองผาบัง, เมืองคำอ้อคำเขียว เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันอยู่ในแขวงสุวรรณเขต ของลาว ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์ เป็นกบฎต่อกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ.2369 เมื่อกองทัพไทยยกขึ้นไปปราบปราม
จนสงบราบคาบแล้วทางกรุงเทพฯ มีนโยบายจะอพยพพวกผู้ไทย ข่า กะโซ่ กะเลิง ฯลฯ จากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
ให้มาตั้งบ้านตั้งเมืองอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง(ภาคอีสาน) เพื่อมิให้เป็นกำลังแก่เวียงจันทน์ และญวนอีกต่อไป จึงไปกวาดต้อนผู้คนซึ่งเป็นชาวผู้ไทยจากเมืองวัง, เมืองตะโปน, เมืองพิน, เมืองนอง, เมือง, เมืองคำอ้อคำเขียว ซึ่งอยู่ในแขวงสุวรรณเขตของลาวปัจจุบัน วึ่งยังเป็นอาณาเขตของพระราชอาณาจักรไทยอยู่ในขณะนั้นให้ข้ามโขงมาตั้งบ้านตั้งเมือง ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงในเขต เมืองกาฬสินธิ์, สกลนคร, นครพนมและมุกดาหาร คือ...
มีหมู่บ้านเชื้อสายภูไท ร้อยกว่าหมู่บ้านประชากรเกือบ 1 ใน 4 เป็นชาวผู้ไทยซึ่งกระจัดกระจาย อยู่ในท้องที่เมืองต่าง ๆในอดีต คือ
   1.เมืองเรณูนคร ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง มีนายไพร่รวม 2,648 คน ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวสาย เป็น "พระแก้วโกมล" เจ้าเมืองเรณูคนแรก ยกบ้านบุ่งหวายขึ้นเป็นเมืองเรณูนคร ขึ้นเมืองนครพนม คือท้องที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
   2. เมืองพรรณานิคม ตั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยอพยบมาจากเมืองวัง จำนวน สองพันกว่าคน ไปตั้งอยู่ที่บ้านผ้าขาวพันนา ตั้งขึ้นเป็นเมืองพรรณานิคมขึ้นกับเมืองสกลนคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้างโฮงกลาง เป็น "พระเสนาณรงค์" เจ้าเมืองคนแรก ต่อมาได้ย้ายเมืองพรรณานิคมไปตั้งที่บ้านพานพร้าว คือท้องที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนครในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
    3.เมืองกุฉินารายณ์ ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยบมาจากเมืองวังจำนวน 3,443 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านกุดสิม ตั้งขึ้นเป็นเมือง "กุฉินารายณ์" ขึ้นเมืองกาฬสินธิ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ราชวงษ์เมืองวัง เป็น "พระธิเบศรวงษา" เจ้าเมืองกุฉินารายณ์, อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธิ์ (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
    4. เมืองภูแล่นช้าง ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง
จำนวน 3,023 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านภูแล่นช้าง ตั้งขึ้นเป็นเมือง "ภูแล่นช้าง" ขึ้นเมืองกาฬสินธิ์ ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้หมื่นเดชอุดมเป็น "พระพิชัยอุดมเดช" เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอเขาวงกาฬสินธิ์ (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)  
    5. เมืองหนองสูง  ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวังและเมืองคำอ้อคำเข ียว (อยู่ในแขวงสุวรรณเขต ดินแดนลาว) จำนวน 1,658 คน ตั้งอยู่บ้านหนองสูงและบ้านคำสระอี ในดงบังอี่ (คำสระอีคือหนองน้ำในดงบังอี่ ต่อมากลายเป็น คำชะอี) ตั้งเป็นเมืองหนองสูง ขึ้นเมืองมุกดาหาร ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวสีหนาม เป็น "พระไกรสรราช" เจ้าเมืองคนแรก เมืองหนองสูงในอดีตคือท้องที่ อ.คำชะอี (ตั้งแต่ห้วยทราย), อำเภอหนองสูงและท้องที่อำเภอนาแก ของจังหวัดนครพนมด้วย (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
     6. เมืองเสนางคนิคม ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจาก
เมืองตะโปน (เซโปน) ซึ่งปัจจุบันอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในแขวงสุวรรณเข ต ติดชายแดนเวียตนาม อพยพมา 948 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านส่องนาง ยกขึ้นเป็นเสนางคนิคมขึ้นเมืองอุบลราชธานี ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวจันทร์จากเมืองตะโปน เป็น "พระศรีสินธุสงคราม" เจ้าเมืองคนแรก ต่อมาได้ย้ายไปตั้งเมืองที่บ้าน
ห้วยปลาแดกและเมื่อยุ บเมืองลงเป็นอำเภอเสนางคนิคม ย้ายไปตั้งอำเภอที่บ้านหนองทับม้า คือ ท้องที่อำเภอ
เสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58หอสมุดแห่งชาติ)
     7. เมืองคำเขื่อนแก้ว ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง จำนวน 1,317 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านคำเขื่อนแก้วเขตเมืองเขมราฐ ตั้งขึ้นเป็นเมืองคำเขื่อนแก้ว ขึ้นเมืองเขมราฐ ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวสีหนาท เป็น "พระรามณรงค์" เจ้าเมืองคนแรก เมื่อยุบเมืองคำเขื่อนแก้วได้เอานามเมืองคำเขื่อนแก้ วไปตั้งเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งขึ้นใหม่ที่ตำบลลุมพุก คือ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธรในปัจจุบัน ส่วนเมืองคำเขื่อนแก้วเดิมที่เป็นผู้ไทย ปัจจุบันเป็นตำบลคำเขื่อนแก้ว อยู่ในท้องที่อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
     8. เมืองวาริชภูมิ ตั้งในสมัยราชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2420 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองกะปอง ซึ่งอยู่ในห้วยกะปองแยกจากเซบั้งไฟไหลลงสู่แม่น้ำโขง ในแขวงคำม่วนฝั่งลาว จึงมักนิยมเรียกผู้ไทย
เมืองวาริชภูมิว่า "ผู้ไทยกระป๋อง" ผู้ไทยเมืองกระปองไปตั้งอยู่ที่บ้านปลาเปล้า แขวงเมืองหนองหาร จึงตั้งบ้านปลาเปล้าขึ้นเป็น "เมืองวาริชภูมิ" ขึ้นเมืองหนองหาร ต่อมาได้ย้ายเมืองไปตั้งที่บ้านนาหอย
เขตเมืองสกลนคร จึงให้ยกเมืองวาริชภูมิไปขึ้นเมืองสกลนครคือท้องที่อ ำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
ในปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวพรหมสุวรรณ์ เป็น "พระสุรินทร์บริรักษ์" (จากเอกสาร ร.5 มท. เล่ม 15 จ.ศ.1240 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
     9. เมืองจำปาชนบท ตั้งเมื่อรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2421 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพจากเมืองกะปอง ตั้งอยู่ที่บ้านจำปานำโพนทอง ตั้งขึ้นเป็นเมืองจำปาชนบท ขึ้นเมืองสกลนคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวแก้วเมืองกะปอง เป็น "พระบำรุงนิคม" เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร (จากเอกสาร ร.5 มท. เล่ม 15 จ.ศ. 1240 หอสมุดแห่งชาติ) อ่านเพิ่มเติมในหนังสือ มุกดาหาร

        ชนที่อพยพเข้ามาอยู่ใกล้แม่น้ำสงคราม และใกล้หนองคำมีหลายกลุ่ม คือ กลุ่มนามสกุล “ศรีสุราช”  “อุประ”  “บุตรละคร” “หงษ์คละ” “โคตรชมภู”  “หล้าหิบ”

        ทั้งหมด เป็นชนเผ่า”ผู้ไท”  ที่มาจากเมืองบก เมืองวัง อั่งค่ำ ประเทศลาวบริเวณแขวงคำเกิดคำม่วนหรือเมืองบ่อในปัจจุบันนี้

    อพยพมาเนื่องจากความแห้งแล้ง  ต่างก็ข้ามแม่น้ำโขงมาขึ้นฝั่งที่  จังหวัด นครพนม คือ อำเภอเรณูนคร    จังหวัดมุกดาหาร ที่อำเภอคำชะอี  และอพยพ ไปกาฬสินธุ์ ที่อำเภอเขาวง

        “ผู้ไท” อยู่คำตากล้า อพยพมาจาก หลายที่ดังนี้

จากเมืองเว (อำเภอเรณูนคร) คือกลุ่มนามสกุล  ศรีสุราช

จากคำชะอี (อำเภอคำชะอี)   คือกลุ่มนามสกุล   อุประ

 กลุ่มที่อพยพมาจากเมืองเวนับว่าเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดมีผู้นำและมีประวัติความเป็นมา และมีหลักฐานอ้างอิงได้ ชัดเจนดังนี้

      เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2420 อยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5(ครองราชย์ พ.ศ.2411-2453) ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานรกรากอยู่เมืองเว แขวงไทรบุรี(อำเภอเรณูนคร จ.นครพนม) ซึ่งเป็นถิ่นของกลุ่มผู้ไทจากเมืองบกเมืองวังอพยพมาตั้งรกรากอยู่ก่อนแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2369  ตอนต้นรัชกาลที่ 3  และตั้งเป็นอำเภอเรณูนครอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ.2373 

        ขณะนั้นพี่ชายคนโตของกลุ่ม ชื่อ “ท้าวสีหราช”  เป็นผู้มีความสามารถ มีปัญญาเฉียบแหลม จึงได้สมัครเป็นทหาร ปฏิบัติหน้าที่ดีเด่นจนมีความดีความชอบได้รับแต่งตั้งเป็น “หลวงคำมุงคุณอาณาเขต” เป็นกรมการเมืองเว ต่อมาเกิดศึกสงครามทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง หลวงคำมุงคุณอาณาเขต ได้รับคำสั่งให้นำกองทัพไปปราบ แต่ไปแพ้สงครามกลับมา สาเหตุที่แพ้สงครามนั้น เพราะเกิดหดหู่ใจ เนื่องจากในขณะที่ทำการรบนั้น ท่านได้ฆ่าฟันสตรี  ซึ่งปกตินักรบโบราณจะไม่ให้คมดาบเปื้อนเลือดสตรีโดยไม่จำเป็น

         ด้วยเหตุนี้ จำงทำให้เกิดท้อแท้ใจ พาทหารหนีกลับ ทางราชการถือว่ามีความผิด จึงมีคำสั่งปลดจากกรมการเมืองเว หลวงคำมุงคุณอาณาเขต เกิดความเสียใจอย่างยิ่ง หากขืนอยู่ไปก็อับอาย ลูกน้องบริวาร  จึงได้พาญาติพี่น้องอพยพหนีให้ไกลจากถิ่นเดิม ญาติพี่น้องที่ติดตามกันมามีดังนี้

 ท้าวสีหราช(หลวงคำมุงคุณอาณาเขต)

  1. ท้าวก่ำ

  2. ท้าวเหล็ก

  3. ท้างกาลู

  4. ท้าวต้อ

  5. ท้าวไต

  6. ท้าวม้าว

  7. นางแพง

  8. นางจอม

 ในขณะที่อพยพมานั้น มีช้าง 7 เชือก ม้า  11   ตัว  วัวต่าง 14 ตัว มาพักอยู่บริเวณอำเภอพรรณานิคม ชั่วระยะหนึ่ง แล้วได้อพยพต่อมา ทำไร่ทำนาอยู่ที่บ้านนาบัวนาเหลือง คือตำบลหนองแวงขณะนี้ ต่อมาการทำมาหากินอัตคัดฝืดเคือง

เนื่องจากอยู่ห่างไกลลำน้ำ จึงได้อพยพมาอยู่ที่บ้านท่ากกแดง อำเภอเซกา  จังหวัดหนองคาย ขณะนี้ เมื่ออยู่ที่บ้านท่ากกแดง ไม่สะดวกในการทำนา จึงได้อพยพข้ามฝั่งน้ำสงครามมาตั้งเป็นหมู่บ้านคำตากล้า

               เมื่อ พ.ศ. 2456  รัชกาลที่ 6 โปรดให้ตราพระราชบัญญัตินามสกุล  จึงด้จดทะเบียนนามสกุล เมื่อ วันที่  21  เดือนเมษายน  พ.ศ. 2459 โดย             อำมาตย์โทพระสุนทรศักดิ์  ข้าหลวงประจำจังหวัดสกลนคร เป็นผู้แต่งตั้งอาศัยนามต้นตระกูลสีหราช เปลี่ยนเป็น ศรีสุราช(ซึ่งแผลงมาจาก สีหราช ชื่อเดิมของหลวงคำมุงคุณอาณาเขต)

   เมื่อท้าวสีหราชถึงแก่กรรม ได้ตั้งให้ท้าวกาลูเป็นหัวหน้าหมู่บ้าน โดยบ้านคำตากล้าขึ้นกับตำบลคูสะคาม อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

เมื่อ พ.ศ. 2459  ได้แยกออกจากตำบลคูสะคาม เป็นตำบลคำตากล้า  นายไกรษร  ศรีสุราช บุตรคนที่ 4 ของหลวงคำมุงคุณอาณาเขต ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกำนันคนแรกของตำบลคำตากล้า  มีบรรดาศักดิ์เป็น”ขุนศรีสุรเกษม”

          วันที่  1 ตุลาคม  2463  ตั้งโรงเรียนบ้านคำตากล้าทำการสอนที่วัดศรีบุญเรือง

การตั้งโรงเรียนครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2463   นั้นมี  ขุนศรีสุรเกษม ( นายไกรษร ศรีสุราช )   กำนันตำบลคำตากล้าในสมัยนั้นเป็นผู้อุปการะโรงเรียน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2483   ได้ย้ายสถานที่เรียนจากศาลาการเปรียญวัดศรีบุญเรือง มาอยู่ที่อาคารเรียนใหม่ที่สร้างขึ้นในที่ดินของโรงเรียนเองและ  ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ โรงเรียนบ้านคำตากล้า (คำตากล้าราชประชานุกูล) ”   ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2499   ทางราชการมีความประสงค์ที่จะให้โรงเรียนมีชื่อที่เหมาะสมกับกาลสมัย จึงได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น

         “ โรงเรียนบ้านคำตากล้า ” ซึ่งเป็นชื่อโรงเรียนในปัจจุบันนี้

                     ปีพ.ศ. 2517 ตำบลคำตากล้าได้รับการยกฐานะให้เป็นกิ่งอำเภอคำตากล้า   และเป็นอำเภอคำตากล้าจนถึงปัจจุบันนี้

หมายเลขบันทึก: 343355เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2010 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กันยายน 2012 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

ประวัติอำเภอคำตากล้า ฉบับครูเตือน

  • นำมาบันทึกไว้  เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้  เรื่องประวัติท้องถิ่น สำหรับนักเรียนโดยเฉพาะกลุ่มมัคคุเทสก์กลางที่จะนำเสนอในการประเมินโรงเรียนในฝัน และผู้สนใจทุกท่าน
  • เพราะคุณแม่ของครูเตือนเป็นลูกสาวคนสุดท้องของ"ขุนศรีสุรเกษม" เป็นหลานสาวของ"หลวงคำมุงคุณอาณาเขต" ได้รับฟังการบอกเล่าเรื่องเก่าๆ จนขึ้นใจ  ขอนำมาบันทึกไว้เผื่อลูกหลาน
  • ยินดีรับฟังความคิดเห็นและข้อมูลเพิ่มเติม
  • อยากให้นักเรียนมีความภาคภูมิใจ ในท้องถิ่น ภูมิใจในภาษาผู้ไท "ภาษาที่มีเสน่ห์" วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ สืบทอดกันมายาวนาน

 

  pariwat

ผู้ไทย ผู้ไท หรือ ภูไท เป็นคนไทยกลุ่มหนึ่ง คำว่า ผู้ไทย เป็นชื่อเชื้อชาติ ไม่ใช่ชื่อพวก มีถิ่นกำเนิดมาจากแคว้นสิบสองจุไทย ต่อมาได้อพยพลงมาทางใต้ ขยับขยาย ตั้งบ้านเมือง ขึ้นหลายเมือง ในบริเวณ แขวงสวันเขต คำม่วน มหาไชย ของประเทศลาว และได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ ๓
ผู้ไทย เป็นกลุ่มชน ที่มีความเจริญทางวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี และยังคงยึดถือปฏิบัติสืบทอดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

pariwat says: Feb 27, 2010 2:29 PM

ขอบคุณข้อมูลผู้ไท จากคุณ pariwat

http://uget.igetweb.com/index.php?mo=3&art=139578 http://www.nongsoong.com/nsv3/

ประชาสัมพันธ์ "เว็ปไซต์อำเภอคำตากล้า"

ขอเชิญทุกท่านเข้าชมภาพกิจกรรม - ประเพณีที่สำคัญต่างๆ ของอำเภอคำตากล้า  และเรียนรู้วัฒนธรรมของภูไทคำตากล้า ฯลฯ ได้ที่เว็ปไซต์ http://www.puthaikhamtakla.com/

ขอบคุณครับ.

น่าสนใจมากเลยค่ะ ประวัติศาสตร์ของคุณครู แต่เอ... อ่านไปอ่านมาทำไมมีชื่อเมือง เหมือนนามสกุลของดิฉันเลยคะ

ดิฉันนามสกุล เมืองพิน ค่ะ ปู่เป็นคนนครพนม แปลกจัง ผู้รู้ช่วยอธิบายเพิ่มเติมจะขอบพระคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะน้องมิล

นามสกุลของน้อง เกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์แน่นอนค่ะ เพราะการตั้งนามสกุล จะนิยม นำชื่อบิดา มารดา ชื่อเมือง อันจักเป็นมงคล และ บอกเล่าคำเป็นมานะค่ะ

บรรพบุรุษของน้องน่าจะอพอพมาจากเมืองพิน ซึ่งอยู่ในแขวงสุวรรณเขต ประเทศลาวนะคะ

สุวรรณเขต นั้นตั้งอยู่ไม่ไกลจากฝั่งโขง ถ้ามีโอกาส น่าจะไปเยี่ยม ย้อนรอยประวัติศาสตร์ นะคะ ดูซิว่า วัฒนธรรม ประเพณี จะเป็นเหมือนที่พวกเราสืบทอดกันมาจนปัจจุบันหรือไม่

ขอบคุณที่สนใจเข้ามาอ่านค่ะ

ดีครับครู

สัญธร

ยินดีต้อนรับค่ะ เข้ามาศึกษา หาความรู้ จะได้มีเรื่องไปเล่า หรือตอบคำถามได้

ว่า ผู้ไท เป็นมาอย่างไร

แล้วมาอีกนะคะ

รักและเคารพเสมอ ขอให้อาจารย์มีสุขภาพอานามัยสมบูณร์ ประวัติชนเผ่าภูไทให้อาจารย์คนหาเพิ้มเติมจากประวัติชาติลาว ประวัติชาติเวียดนาม ยกตัวอย่าง เมืองเดียนเบียนฟู หรืออีกชื่อหนึ่งคือเมืองแถน และอีกชื่อคือเมืองนาน้อยห้อยหนูชึงเป็นชนเภ่าผูไทดำสำเนียงเสียงพูดเหมือนกันกับเรามาก มาที่สปปล แขวงอุดมไชโดยเฉพาะเมืองเวียงไชเป็นภูไทล้วนๆ จากลูกศิษย์โรงเรียนบ้านคำตากล้า

ท้าวบุญสำพันธ์

ยินดีและขอบคุณมากที่ช่วยหาข้อมูลเพิ่มเติม ครูปรารถนาเหลือเกิน

อยากไปเมืองแถน และอีกชื่อคือเมืองนาน้อยห้อยหนูชึงเป็นชนเภ่าผูไทดำสำเนียงเสียงพูดเหมือนกันกับเรามาก มาที่สปปล แขวงอุดมไชโดยเฉพาะเมืองเวียงไชเป็นภูไทล้วนๆ

แขวงอุดมไช  อยู่ไกลจากเวียงจันทร์มากไหมคะ

ถ้าไม่ลำบากเกินไป  post  รูปภาพ เกี่ยวกับผู้คน  บ้านเรือน  อะไรก็ได้  เกี่ยวกับเมืองเวียงไช บ้างสิคะ

    ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ ครูเตือน กำลังปลูกฝัง ค่อยๆ สอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เด็กๆ สนใจมากค่ะ

ขอบคุณ ศิษย์เก่าโรงเรียนบ้านคำตากล้าค่ะ

อยากให้ที่นี่เป็นศูนย์รวมคนภูไท มีอะไรดี ดี มาแลกเปลี่ยกัน..จะแวะมาบ่อย บ่อย ครับ

 

สวัสดีค่ะ  คุณภูไทแท้

      ยินดีต้อนรับ ภูไทแท้ค่ะ คอยติดตามเรื่องภูไท ของวาริชภูมินะคะ

เนื่องจากครูเตือนไป ร่วมงานพระราชทานเพลิงศพ ของผู้เฒ่า วาริชภูมิ และได้ หนังสือที่ระลึก เล่มเล็ก มาเล่มหนึ่ง จะนำมาเขียนเล่าในblog ตอนต่อไปค่ะ

ลูกศิษย์ครูเตือนใจ

ขอบคุณสำหรับคำพูดดีๆค่ะ

ขอบคุณอาจารย์เตือนใจมากเลย ที่ทำให้ผมได้รับรู้ประวัติข้อมูลของชนเผ่าภูไท คำตากล้าได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ขอแสดงความชื่นชมและขอบคุณ ด้วยความเคารพ ครับ

สวัสดีคะไม่ทราบว่านามสกุลสีหราชกับนามสกุลศรีสุราชเป็นนามสกุลเดียวกันหรือเปล่าคะทวดเป้นคนเมืองสกลนคร

สวัสดีค่ะ คุณ ma

 สีหราช เป็นชื่อบรรพบุรุษ ผู้ไปขอจดทะเบียนนามสกุลของครูเตือนค่ะ

แต่ ที่สกลนคร มีหลานชายของท้าวสีหราช คนหนึ่งไปตั้งรกรากอยู่อำเภอเมืองค่ะ ท่านใช้นามสกุล ศรีสุราช เหมือนกันค่ะ  ท่านประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง  ถ้าคุณทวดของคุณ ทำธุรกิจเกี่ยวกับ รับเหมาก่อสร้าง ก็อาจจะใช่

   อีกประการหนึ่ง...นามสกุล มีเหตุ พ้องกันได้เสมอค่ะ

 

ขอบคุณ คุณครูค่ะ

มิลก็คิดว่า นามสกุล "เมืองพิน" ของมิล คงมาจากทางโน้นแหละค่ะ

พ่อก็เคยเล่าให้ฟังว่า ปู่ ชอบเล่าเรื่อง คนไทดำ คนภูไทให้ฟัง แล้วก็มาเล่าให้มิลฟัง

พ่อชอบร้องเพลง ไทดำรำพันมากเลยค่ะ เวลาเค้าร้องเพลงนี้เค้าจะน้ำตาซึมตลอดเลยค่ะ

ปู่เป็นคนผิวขาวค่ะ พ่อกับมิลก็ผิวขาว เคยมีคนทักเหมือนกันค่ะ ว่า สวยเหมือน สาวภูไทเลย อิอิ ดีใจค่ะ ที่ได้เข้ามาคุยหน้าเว็ปบอร์ดนี้

ขอบพระคุณ คุณครูมากๆเลยนะคะที่ช่วยตอบน้องมิลค่ะ

 

สวัสดีครับ ผม ก็ค้นหาสืบสายนามสกุลยุเหมือนกันคับเพราะอยากทราบที่มาที่ไปของนามสกุลผมเช่นกันครับแต่ ถาม ลุงป้าน้าอาแล้ว มายค่อยแน่นอนครับ

ไปสุดที่ บ้านนาโก อ.กุฉินาราย เป็นภูไทนะครับแล้วมายรู้จะสืบยังไงต่อนะครับ ก็ทราบมาว่า อบพยบมาจากเมืองบกเมืองวังเช่นกันคับ และขอบคุณมากคับที่มีประวัติจาก อาจารย์ใด้ศึกษาอีกมากมาย สุดยอดข้อมูลครับ

ขอบคุณครับ อ.เตือนใจ กับความรู้ที่ค้นหามานาน จากลูกหลาน ศรีสุราช บ.คำตากล้า

รู้สึกดีใจปนเสียใจครับที่ได้อ่านบทความนี้ ดีใจที่ได้ทราบความเป็นมาของตระกูลตัวเอง ได้ฟังคุณตาเล่ามาเมื่อครั้งยังเด็กเหมือนกันครับ ว่าคุณทวด(ไกรสร)ท่านเป็นคนแรกๆที่มาก่อตั้งอำเภอนี้น่าภูมิใจครับ แต่ก็เสียใจที่หลายคนในสกุลนี้ก็ต่างทยอยล้มหายตายจากไปหรือไม่ก้อแต่งงานเปลี่ยนสกุลไปก้อเยอะ แต่ก้อขอบคุณครับที่ยังมีคนในสกุลนี้คนหนึ่งยังมีเจตจำนงค์ ที่จะสืบค้นและเก็บเรื่องที่น่าทรงจำแบบนี้ให้ลูกๆหลานๆได้ระลึกถึง ว่าเค้ามีที่มาที่ไปอย่างไร ขอบคุณมากครับ ถ้ามีโอกาสคงได้กลับไปเหยีบแผ่นดินแม่อีกครั้ง จากสายเลือด ศรีสุราช พลัดถิ่น (หลานคุณตา สุวรรณ คุณยาย คำเบ็ง ลูกแม่ ทวีภรณ์ ศรีสุราช )

สายเลือดของตระกูลศรีสุราช ผลัดถิ่นยังยึดมั่นในคำสั่งสอนถึงความดีของคุณยายทวีภรณ์ ศรีสุราช ที่สั่งสอนให้ลูกหลานยึดมั่นและตั้งใจเล่าเรียน (หลานของคุณยายทวีภรณ์ )

sin intarasit

สวัสดี
chef sin เท่ห์ จัง ดีใจที่เข้ามาทักทายค่ะ งานตุ้มโฮมกลับไปเยี่ยมบ้านนะคะ

สวัสดีจ้า kingturbo

   อยู่ ณ ที่ใด อย่าลืม ภาษา ผู้ไท  ประเพณี  วัฒนธรรมผู้ไท  แล้วนำไปสอนลูก สอนหลาน  เป็นต้นทุน เป็นกำไร ชีวิต

ให้เขารู้ประวัติ ความเป็นมาของเผ่าพันธ์ ที่ยาวนาน เขาจะภาคภูมิใจ ที่ใคร มิอาจลอกเลียนแบบความเป็นสายเลือดผู้ไท ของเขา

ได้

อยากรู้ความหมายของนามสกุล "หล้าหิบ" คับ ว่าหมายถึงอะไร มีที่มายังไง

ผมยังควานหาที่มาของนามสกุล "คำมุงคุณ" ,แต่ผมคิดว่าคงไม่ได้เกี่ยวข้องกับท่านหลวงคำมุงคุณอาณาเขต เหตุเพราะอยู่กันคนละท้องที่ ซึ่งนามสกุล "คำมุงคุณ" มีคนใช้อยู่มาก บริเวณ อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนมและมีบ้างตามจังหวัดสกลนคร,นครราชสีมา,อุบลราชธานี,พิษณุโลก หากท่านใดพอมีข้อมมูลก็ช่วยแนะนำด้วยนะครับ

ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อมูลประวัติชนเผ่าภูไท ตัวดิฉันเองก็เป็นลูกหลานชาวภูไท นามสกุล “ศุภะพินิ” ตำบลบุ่งค้า จังหวัดยโสธร ที่อพยพมาจากเซโปน และกำลังรวบรวมข้อมูลบรรบุรุษอยู่ คนรุ่นใหม่มีความสงสัยอยากอยู่ว่าบรรพบุรุษมีความเชื่อมโยงกับภูไทสายทางอื่นนอกเหนือจาก สายที่ 6 เสนางคนิคม และบรรพบุรุษมีความยากลำบากในการสร้างบ้านแปลงเมืองอย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท