พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข


รองเลขาธิการแพทย์สภาได้แสดงความเห็นด้วยเหตุผลไม่สุภาพ ก่อให้เกิดปัญหาความแตกแยกในกลุ่มสหวิชาชีพสาธารณสุขมากขึ้นเรื่อย ๆ อันเป็นผลเสียต่อความรัก สามัคคี และการปฏิบัติงานในหน่วยงานมากยิ่งขึ้น
          ระบบสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนไปในแนวเชิงรุก แข่งขันบริการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนผู้รับบริการ ทั้งด้านความทั่วถึง ความเท่าเทียม ความหลากหลายและด้านประสิทธิภาพ มากขึ้น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540  บัญญัติไว้ว่า
          มาตรา  82  "รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง"
          มาตรา  52  "บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย  ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ  การบริการสาธารณสุขของรัฐต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ  โดยต้องส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนมีส่วนร่วมด้วยเท่าที่จะกระทำได้  การป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตราย  รัฐต้องจัดให้แก่ประชาชนโดยไม่คิดมูลค่าและทันต่อเหตุการณ์  ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ"
          มาตรา  78  "รัฐต้องกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นพึ่งตนเอง  และตัดสินใจในกิจกรรมท้องถิ่นได้เอง  พัฒนาท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภค  และสาธารณูปการ  ตลอดทั้งโครงการพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ  รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น"
          มาตรา  284  แห่งรัฐธรรมนูญฯ  จึงได้ตรา  พ.ร.บ.  กำหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.  2542  ขึ้น  มีสาระสำคัญ  คือ
          กำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดการระบบสาธารณะ  การจัดสรรสัดส่วนภาษีและอากร
          ให้คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  จัดทำแผนกระจายอำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในระยะเวลา 10 ปี ( พ.ศ. 2544 -  2553 )
          การกำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ  การสาธารณสุข  การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
          เห็นได้ว่ากฎหมายเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วม และมีสิทธิในด้านสุขภาพมากขึ้น  ปัญหาความไม่เข้าใจกันระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ  รวมทั้งการฟ้องร้องเรียกค่าเสียก็มีมากขึ้นตามไปด้วย  ปัจจุบันกลุ่มอาชีพต่าง ๆ รวมตัวกันจัดตั้งองค์กรเพื่อคุ้มครองปกป้องสิทธิควบคุมมาตรฐานและจรรยาบรรณแก่มวล สมาชิก  เช่น แพทย์สภา  ทันตแพทย์สภา  สภาเภสัชกรรม  สภาการพยาบาล และอีกหลาย ๆ กลุ่มที่กำลังเคลื่อนไหวให้กลุ่มอาชีพของตนเป็นองค์กรวิชาชีพที่มีกฎหมายคุ้มครองการปฏิบัติ ควบคุมมาตรฐานและจรรยาบรรณ
          กลุ่มบุคลากรสาธารณสุขที่มีตำแหน่งทางราชการ ด้านสาธารณสุขศาสตร์ สาธารณสุขชุมชน  สุขศึกษา  ส่งเสริมสุขภาพ  อาชีวอนามัย  ได้ร่วมกันยื่นร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพสาธารณสุข  ตามคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่  330/2549  ลงวันที่  29  มีนาคม  2549  เรื่อง  แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ(ดังกล่าว) ล่าสุด  รองเลขาธิการแพทย์สภาอ้างความเห็นร่วม 4 สภาได้แก่  แพทย์สภา  ทันตแพทย์สภา  สภาเภสัชกรรม  สภาการพยาบาล  ได้แสดงความเห็นคัดค้านด้วยเหตุผลไม่สุภาพก่อให้เกิดความแตกแยกในกลุ่มสหวิชาชีพสาธารณสุขมากขึ้นเป็นลำดับ  อันเป็นผลเสียต่อความรัก  ความสามัคคี  และการปฏิบัติงานในหน่วยงานมากขึ้นเรื่อย ๆ   จะขอยกตัวอย่างบางประโยคจากรายงานที่ค่อนข้างยาวมากนะ เช่น ให้เหตุผลว่าเป็นงานที่ใช้แรงมากกว่าใช้สมอง  ประชาชนชาวบ้านทั่วไปก็ทำได้อยู่แล้ว อันนี้นายแพทย์ระดับผู้บริหารท่านหนึ่งได้แก้ต่างว่า  แพทย์สภาน่ะไม่มีความรู้จริงในเรื่องงานจริงของกระทรวงฯ การได้รับเลือกมาก้อขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นที่รู้จักมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาจารย์หมอเพราะเป็นที่รู้จักของนักศึกษาแพทย์จบใหม่ เพราะฉะนั้นการตัดสินใจจึงไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเป็นจริงในการทำงาน  แต่การแสดงความเห็นคัดค้านด้วยเหตุผลที่ไม่สุภาพนั้นไม่เกี่ยวกับว่าได้รับรู้สถานการณ์การทำงานที่เป็นจริงหรือไม่  มองผลที่เกิดขึ้นดีกว่า เกิดความแตกแยกของสหวิชาชีพขึ้นแล้ว  และควรได้รับการแก้ไขให้เกิดความสามัคคีร่วมมือกันปฏิบัติตามหน้าที่ของตนอย่างเต็มความรู้ความสามารถต่อไปได้
          ในทรรศนะของผมเห็นดังนี้
          1.  การเสนอร่าง พ.ร.บ. วิชาชีพฯ นี้ มีผลในด้านการควบคุมกำหนดมาตรฐานความรู้ความสามารถการปฏิบัติหน้าที่ และต้องเข้มงวดในเรื่องจรรยาวิชาชีพมากขึ้น ซึ่งข้อนี้เป็นประโยชน์ต่อมหาชนส่วนใหญ่ของประเทศไทย
          2.  เมื่อวิชาชีพนี้ได้รับการรับรองอย่างมีมาตรฐานก็มีกฎหมายในการคุ้มครองและมีสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น เช่น สามารถเป็นหัวหน้าของแพทย์ได้ในแง่ของการบริหาร
          3.  การบริหารภายในกระทรวงสาธารณสุขต้องบริหารด้วยนักบริหารสาธารณสุขซึ่งต้องมีการกำหนดคุณสมบัติความรู้ความสามารถเฉพาะได้มาตรฐาน  โดยไม่จำเป็นต้องเป็นแพทย์เท่านั้นเหมือนเช่นเดิม แต่ไม่ได้หมายความว่าแพทย์จะเป็นผู้บริหารไม่ได้ถ้ามีคุณสมบัติความรู้ความสามารถถึงพร้อม 
          เพราะฉะนั้นอำนาจแพทย์ก็จะลดน้อยลงไปด้วย  แต่ถามว่าจำเป็นไหมที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลต้องเป็นแพทย์เท่านั้น สาธารณสุขจังหวัด ต้องดำรงตำแหน่งนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเท่านั้น  จำเป็นไหมที่ปลัดกระทรวง ทบวง กรม ต้องเป็นแพทย์ผูกขาดการเป็นผู้บริหารมาโดยตลอด  ทั้งที่เจตนารมณ์ของการเป็นแพทย์นั้นเรียนมาเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญในการวินิจฉัยโรค รักษาโรค แล้วต้องเรียนรู้เพิ่มเติมเสมอด้านการแพทย์  พยาบาลก็ทำหน้าที่รักษาโรคตามคำวินิจฉัยของแพทย์ ฝ่ายเทคนิคการแพทย์ก็ทำหน้าที่ตรวจสิ่งส่งตรวจต่าง ๆ เพื่อใช้ในการประกอบการวินิจฉัยของแพทย์ นี่คือหน้าที่หลักของแพทย์ที่จะต้องทำเพื่อประชาชนสรุปสั้น ๆ คือเรียนมาเพื่อรักษาโรคแต่ไม่ได้รักษาคน ส่วนสาธารณสุขจะทำงานในเชิงรุกคือรักษาคน ซึ่งถ้าแบ่งงานหลัก ๆ ของกระทรวงสาธารณสุขแล้วมีด้วยกัน 4 ด้าน
          1.  การส่งเสริมสุขภาพ
          2.  การป้องกันและควบคุมโรค
          3.  การรักษาโรค
          4.  การฟื้นฟูสุขภาพ
          แพทย์ทำงานตั้งรับที่โรงพยาบาลหรือในมหาวิทยาลัยเน้นในการทำงานด้านการรักษาโรค หรือเรียกว่าซ่อมสุขภาพ  ส่วนหน้าที่หลักอีกสามส่วนนั้นต้องอาศัยบุคลากรทางสาธารณสุขที่ไม่ได้เรียนแพทย์แต่เรียนเฉพาะด้านแต่ละด้านทำหน้าที่ของตนแตกต่างกันแต่รวมกันแล้วมีผลในด้านให้สุขภาพที่ดีต่อประชาชน  เช่น งานคุ้มครองผู้บริโภค การควบคุมโรค การป้องกันโรค ฯลฯ 
          ที่แสดงความเห็นมานี้เพื่อให้ต่างฝ่ายต่างกลับมามองจุดของตัวเองว่ามีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำประโยชน์ต่อประชาชนอย่างไร  ปัญหาความแตกแยกที่เกิดขึ้นควรมองที่เหตุก่อนเวลาจะแก้ต้องแก้ที่เหตุ ดับที่เหตุ ในที่นี้ปัญหาอยู่ที่การแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติวิชาชีพสาธารณสุขตามคำสั่งปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ให้อำนาจแพทย์เป็นผู้ตัดสินซึ่งผลการตัดสินดังกล่าวไม่สามารถยุติลงด้วยความเป็นธรรมหลายอย่างรวมถึงความเห็นที่ไม่สุภาพทั้งหลาย ก่อให้เกิดผลเสียต้องรีบด่วนในการแก้ไข  ซึ่งงานนี้ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทยร่วมกับสมาคมนักบริหารสาธารณสุข และสถาบันพระบรมราชนก เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมวิชาการและรับฟังความคิดเห็น  เรื่อง  ประชาชนได้อะไรถ้ามี พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุขขึ้นในวันที่ 20 มิถุนายน 2549 ณ โรงแรมทองธารินทร์ อำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์  โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
          1.  สร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่อง "องค์กรวิชาชีพ" ที่ถูกต้อง
          2.  ลดปัญหาความขัดแย้งในหน่วยงานสาธารณสุข
          3.  รับฟังความคิดเห็นความต้องการและสร้างความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน
          4.  เชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ
          5.  สร้างขวัญ  กำลังใจ  แก่ผู้ปฏิบัติงานระดับรากแก้วของกระทรวงสาธารณสุข
          6. สร้างความรัก สามัคคี ความเข้มแข็ง ในการร่าง พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข 
รายละเอียดเพิ่มเติม www.phct.net
ผู้ที่ผ่านเข้ามาอ่านแล้วกรุณาร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยจักเป็นพระคุณอย่างสูง
หมายเลขบันทึก: 34215เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2006 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
จากกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เรื่องคุณธรรม 4 ประการ ที่พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย ในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ซึ่งประกอบด้วย ความเมตตา การช่วยเหลือเกื้อกูล ความสุจริต และการพัฒนาจิตให้เที่ยงธรรม มาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตและการทำงาน เพิ่มการขวนขวายและความพยายามทำให้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ ด้วย เพื่อสร้างมาตรฐานการพัฒนาที่ดียิ่งขึ้น
เห็นด้วยกับบทความค่ะ อยากให้เน้นการป้องกันโรคด้วย จะได้ช่วยลดจำนวนผู้ป่วยและเป็นการลดงาน ของเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขด้วย จะได้มีเวลาพักผ่อนกันบ้าง

Please don't give up na krab. I am greeting from Perth, Western Australia.

My medical professional licenship (Occupational therapy) has just been approved since we were not confident to convince how our clinical services would be provided medically and effectively to Thai population.

However, we worked hard on drafting the licenship several times.

Cheering up to your proposal krab.

Feel free to visit my weblog at http://gotoknow.org/blog/otpop

 

จะแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรด้านสาธารณสุขได้อย่างไร

[ คำถามใหม่ ]

เราจะแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรด้านสาธารณสุขได้อย่างไรค่ะ เพราะว่าปัจจุบันนี้รู้สึกว่าแต่ละท่านจะมีความรับผิดชอบกันรอบด้านเหลือเกิน
ป้าย: คำตอบ
ถามโดย: IT.COM (ตอบแล้ว)   ลิงค์ที่อยู่ถาวร
สร้าง: พฤ. 15 มิ.ย. 2549 @ 15:15
คำตอบ
          ถ้าจะแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มบุคลากรก็ต้องเพิ่มงบประมาณด้วยอันนี้เกี่ยวข้องกับนโยบายรัฐ
          ปัจจุบันได้มีการแก้ปัญหาด้านการเพิ่มความรู้ความสามารถให้บุคลากรเช่น กรมสุขภาพจิตมีบุคลากรน้อย ก็ดำเนินการให้ความรู้เพิ่มความสามารถแก่พยาบาลประจำโรงพยาบาลต่าง ๆ เพิ่มขึ้น  แต่ปัจจุบันคุณ ๆคงจะเห็นว่าปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านสาธารณสุขมาจากการไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลมากขึ้น  แต่ผมว่าเราจะเน้นในการทำงานเชิงรุกสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคเพื่อให้ประชาชนแข็งแรงขึ้นและมีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพมากขึ้นทำให้มีผู้ป่วยน้อยลง งานน้อยลง แต่บุคลากรเท่าเดิม นี่คือการทำงานภายใต้ข้อจำกัดนี้
ตอบแล้ว: พฤ. 15 มิ.ย. 2549 @ 15:56   แก้ไข: พฤ. 15 มิ.ย. 2549 @ 15:56
ฉัตรชัย โรจนมณเฑียร

มาให้กำลังใจครับ

เคยอยู่บ้านนอก  2 ปี  ที่กุดบาก สกลนคร

ปี 2529 , 2530  พี่ วัชรินทร์ จันทร์มหา

เป็น สอ. กุดบาก  ชาวบ้านรักใคร่มาก  เราช่วยกันทำงาน สนุกมาก

วิชาชีพ/  สัมมาอาชีวะ / อาชีพ

ไม่เข้าใจ จะกีดกันไปทำไม 

นางสาวช่อผกา หนูรอด

ขอบคุณมากนะค่ะที่ได้ให้ความรู้ และดิฉันจะนำความรู้ไปเผยแพร่ต่อไปค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท