ขายไอเดีย AAR ให้หน่วยคลังเลือด (ต่อ)


การขาย idea ให้สำเร็จ จุดสำคัญจุดหนึ่ง น่าจะอยู่ที่ว่า เรื่องนั้น มีประโยชน์กับพวกเขาหรือไม่

ต่อจากบันทึกก่อน  คือจะมีการเล่าเรื่อง AAR ให้คนหน่วยคลังเลือดฟัง  โดยเชิญพี่เม่ย ซึ่งเคยพูดเรื่องนี้ไว้แล้ว แต่พี่เม่ยออกตัว  บอกว่าหัวหน้าภาคพูดเองดีกว่า (คุณโอ๋ก็บอกว่า ใช่ค่ะๆ เห็นด้วย)  ก็เลยต้องพูดเอง โดยขอ slide ของพี่เม่ยมาปรับใช้ ก็เริ่มการบรรยาย โดยปูพื้นเรื่องการจัดการความรู้เล็กน้อย และ เชื่อมโยงให้เห็นว่า AAR เป็นเครื่องมือหนึ่งของการจัดการความรู้  ในรายละเอียดของ AAR ก็บอกถึงแนวคิดของ AAR ว่า .. <ul>

  • เป็นเครื่องมือในการถอดบทเรียน หรือ สกัดความรู้จากการทำกิจกรรม โดยการ  ตีเหล็กกำลังร้อน
  • มุ่งเน้นการเรียนรู้ที่ทันเวลา ช่วยปรับแนวทางในการดำเนินงานได้
  • ที่สำคัญเป็นการเรียนรู้ทั้งจาก ความสำเร็จ และ ความล้มเหลว
  • คนเรามีความคิดเห็นที่แตกต่าง
  • การถ่ายทอดความรู้ในกลุ่มผู้ปฏิบัติการด้วยกัน ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ในทางราบ  ทำให้ทุกคนมีความสุขเพราะได้มีส่วนร่วม และ รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า
  • </ul>สิ่งที่เน้นย้ำเป็นพิเศษในวันนั้นก็คือ <ul>

  • ย้ำว่าคนหน้างานทุกคน มีความสำคัญ และ ทุกคน ถือเป็นผู้รู้ในงาน
  • ย้ำว่า การทำงานทุกครั้ง  มีความรู้เกิดขึ้นเสมอ  อยู่ที่เรารู้จักเรียนรู้  เก็บมาไตร่ตรอง และบันทึกจัดเก็บไว้ใช้ต่อไปหรือไม่
  • ย้ำว่า AAR เป็นกิจกรรมที่ง่าย (simple) ใช้เวลาสั้นๆ เพียง 15-20 นาที  
  • </ul>การขาย idea ให้สำเร็จ จุดสำคัญจุดหนึ่ง น่าจะอยู่ที่ว่า เรื่องนั้น มันมีประโยชน์กับพวกเขาหรือไม่   จึงยกตัวอย่างว่า  ในการออกหน่วยรับบริจาคแต่ละครั้ง  เขาไปในแต่ละสถานที่ไม่เหมือนกัน ทั้งสภาพพื้นที่  อาคาร และผู้คน  ทำให้ความสำเร็จที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งไม่เหมือนกัน (ตรงนี้อย่างที่คุณโอ๋เขียนไว้ คนฟังพยักหน้ากันใหญ่)  หากเราได้สกัดบทเรียนที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติแต่ละครั้ง  ก็จะได้นำความรู้ที่ดีไปปฏิบัติหรือปรับใช้ในครั้งต่อๆ ไป   อีกจุดหนึ่ง ซึ่งถือเป็น highlight ของการขาย idea ครั้งนี้ ก็คือ การบอกว่า AAR เหมาะสมกับกิจกรรมการออกหน่วยฯ ของพวกเขาหรือไม่เพียงไร ด้วยข้อมูลนี้ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>กิจกรรมที่เหมาะต่อการทำ AAR คือ (จากหนังสือ Learning to fly) <ul>

  • มีจุดเริ่มต้น และสิ้นสุดในแต่ละครั้ง
  • ต้องมีการทำกิจกรรมซ้ำๆ
  • กิจกรรมมีวัตถุประสงค์ชัดเจน 
  • มีการดำเนินงานที่ต้องการการวางแผน และพัฒนาในครั้งต่อไป
  • </ul><p>ถึงตรงนี้ ก็โยนคำถามว่า แล้ว การออกหน่วยรับบริจาคโลหิตของหน่วยคลังเลือดหล่ะ เหมาะที่จะทำ AAR หรือไม่   อ.จารุพร ตอบดังๆ ชัดถ้อยชัดคำว่าเหมาะมากๆ  ใช่เลยและดูเหมือนทุกคนก็เห็นด้วย ถึงแม้ไม่ได้พูดออกมา  </p><p>ค่ะ ก็ดูเหมือนว่า ทุกคนเห็นด้วยว่าการทบทวนหลังทำกิจกรรมแบบ AAR จะมีประโยชน์กับงานออกหน่วยรับบริจาคโลหิตมาก  ส่วนรายละเอียดทีมงานจะวางแผนอย่างไรต่อไป  ก็คงได้ฟังในบ่ายวันนี้ เพราะเขาจะเสนอเป็นหนึ่งในโครงการ Patho OTOP2 </p><p>ขอบคุณ อ.จารุพร หัวหน้าหน่วยคลังเลือด และสมาชิกชาวคลังเลือดที่มาฟังบรรยายด้วยความสนใจยิ่ง  รวมทั้งขอบคุณคุณโอ๋ ที่มาตามคำเชิญ เพื่อมาช่วยเสริมความคิดการจัดการความรู้ให้    </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

    หมายเลขบันทึก: 34208เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2006 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (1)

    เห็นประโยชน์มหาศาลที่จะได้ทั้งต่อตัวคุณกิจคนเก่งทั้งหลายของเราและต่องานคลังเลือดแล้ว เห็นด้วยกับความมุ่งมั่นของ"คุณเอื้ออำนวย"ที่จะบูรณาการวิธี AAR ให้เนียนไปกับกระบวนการออกหน่วยให้ได้ค่ะ

    เสียดายไม่มีโอกาสเข้าฟังการเสนอโครงการในวันนั้น คงจะมีรายงานย่อให้อ่านในไม่ช้านี้ ใช่ไหมคะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท