มุมมองกล้วยหอมทองไทยจากญี่ปุ่น(ตอนที่ 4 )


สถานการณ์สหกรณ์ผู้บริโภค และตลาดญี่ปุ่นในปัจจุบัน ก็คงไม่แตกต่างจากเมืองไทย

ลีลานักขายตรงไทย ที่ ณ วันนี้ แทบจะพับเก้าอี้เก็บ เพราะแก่งแย่งแข่งขันกันชนิดไม่ลืมตาอ้าปาก สินค้าที่มีสรรพคุณประเภทเดียว   เปิดบริษัทขายมีมากมายหลายบริษัท ทั้งอาหารเสริม ยาสมุนไพรสกัด เพื่อสุขภาพที่มีสรรพคุณครอบจักรวาล  ผมไม่ได้เสียดสี เพราะผลิตภัณฑ์หลายชนิด คุณภาพดีทีเดียว  แต่ลักษณะการขายตรง เป็นการยัดเยียด และตื้อ ซึ่งทำให้กลายเป็นสิ่งที่น่าเบื่อและเอือมระอา โดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้  

         สถานการณ์สหกรณ์ผู้บริโภค และตลาดญี่ปุ่นในปัจจุบัน ก็คงไม่แตกต่างจากเมืองไทย  นักการขายนักการตลาดนักขายตรงลองอ่านดูบ้างก็ไม่เห็นเป็นไร  ญี่ปุ่นสรุปเพื่อให้เราได้รับรู้ โดยกล่าวไว้ว่า    เศรษฐกิจที่ญี่ปุ่นในปัจจุบันอยู่ในภาวะถดถอย ทำให้ สินค้าหลายรายการ ลดราคาฮวบฮาบ  เสื้อผ้าคุณภาพเท่าเดิม แต่ราคาถูกลง ผลิตภัณฑ์ด้านอาหารก็เช่นเดียวกัน  การที่ราคาสินค้าลดลง ถูกลง ไม่ได้เป็นข่าวดี  เพราะรายได้ของครัวเรือนต่ำลง ค่าจ้าง ค่าแรงงานถูกลง เพราะผู้ว่าจ้างต้องลดต้นทุนให้อยู่รอดในการแข่งขัน  แต่สุดท้ายก็ไปไม่รอด ผู้ผลิตสินค้าบางรายต้องปิดกิจการลง ทำให้คนตกงานเพิ่มขึ้น  ธุรกิจค้าปลีก  ปัจจุบันเน้นราคาสินค้าให้ถูกลงเพียงอย่างเดียว  เพราะกำลังซื้อของผู้บริโภคอ่อนแอลงไปมาก  สำหรับสหกรณ์ผู้บริโภค ก็ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ไกล้เคียงกับที่อื่น  กล่าวคือ ยอดขายตก ทำกำไรยากขึ้น และปี 2553 นี้ คาดว่าจะลำบากมากกว่าปีที่แล้ว

         นอกจากภาวะเศรษกิจแล้ว วงการสหกรณ์ผู้บริโภคต้องเจอปัญหาเรื่องคุณภาพสินค้าอีกด้วย เพราะระยะ 2 ปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์หลายอย่างที่กระทบต่อความน่าเชื่อถือในคุณภาพสินค้าสหกรณ์  เช่นอาหารแช่แข็งที่นำเข้าจากประเทศจีน และมาวางจำหน่ายในร้านค้าสหกรณ์ทั่วประเทศ  เจอสารเคมีตกค้างเกินค่ามาตรฐาน  ทำให้ลูกหลานสมาชิกผู้บริโภคที่รับประทานเข้าไป เกิดอาการป่วยหนัก  และเหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นบ่อย  ผู้บริโภคจึงต้องระมัดระวังคุณภาพอาหาร  โดยเฉพาะผลิตภัณ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ (ไม่ว่าจะมาจากประเทศไหน)  ก็ต้องถูกจับตามองเป็นพิเศษ  สถานการณ์สำหรับสินค้าเกษตรก็ไม่แตกต่างกัน  ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 2549 เป็นต้นมา สินค้าเกษตรทุกรายการ (ไม่ว่าจะเป็นสินค้านำเข้าหรือผลิตในประเทศก็ตาม)  จะต้องผ่านการตรวจสารตกค้าง ที่เพิ่มความเข้มงวด  (กล้วยน้ำว้าจากประเทศไทย เจอสารตกค้างเกินมาตรฐาน ทำให้ทางการญี่ปุ่น บังคับให้กล้วยจากประเทศไทยทุกรายการ ต้องตรวจสารตกค้างเป็นระยะเวลา 1 ปีเศษ ตั้งแต่เดือน กพ.2551-เดือนมีค.2552 )  และต่อไปนี้ สินค้าเกษตรทุกรายการที่สหกรณ์ผู้บริโภคจะจัดจำหน่ายนั้น  อาจจะต้องมีใบรับรอง GAP ทุกแปลงก็เป็นได้

      วันพรุ่งนี้จะนำเสนอตอนสุดท้าย ในหัวข้อเรื่อง ภาระกิจสำคัญสำหรับอนาคตของกล้วยหอมทองจากไทย  เป็นสิ่งที่ผู้บริโภค ผู้ควักเงินในกระเป๋า ซื้อกล้วยเรา ได้สรุปแนวทางไว้ให้ ได้แก่ ความสม่ำเสมอในการรักษาคุณภาพ  ความแน่นอนในการจัดการปริมาณผลผลิต และสุดท้ายบทบาทและภาระกิจ ในการช่วยกันสร้างสรรการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม  ซึ่งเขาให้ความเห็นว่าอย่างไรโปรดอย่าลืมติดตามครับ

หมายเลขบันทึก: 341767เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2010 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 21:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท