ความหมายที่มากกว่า...ของเล่น


       จากโครงการเล็ก ๆ ที่ชื่อว่า “โครงการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองนกปีกกา” ที่เริ่มต้นจากการระดมสมองของคนในชุมชนว่า “ทำไมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองนกปีกกาดูแลเด็กปฐมวัยไม่เต็มศักยภาพอย่างที่ควรจะเป็น” ก็พบข้อจำกัดหลายอย่าง หนึ่งในข้อจำกัดที่พบคือ ของเล่น/ สนามเด็กเล่นให้เด็กได้เล่น และออกกำลังกายไม่เพียงพอ นอกจากจะทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทของเด็ก ๆ เพื่อแย่งของเล่น/ ที่เล่นแล้ว ยังส่งผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์-สังคม และสติปัญญาของเด็กด้วย คนในชุมชนจึงหาแนวทางการพัฒนา โดยเริ่มจากการศึกษาดูงานที่บ้านป่าแดด ตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ซึ่งได้รับการเสนอแนะจากนักวิจัยอิสระผู้มีประสบการณ์ในการทำงานด้านเด็กและเยาวชน ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแดง และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 

       “พิพิธภัณฑ์เล่นได้ และโรงเรียนปิติศึกษา” สองแห่งในตารางการศึกษาดูงานที่จุดประกายความคิดของพวกเรา เมื่อกลับมาจึงเกิดเป็น.......

       (๑) โครงการจัดทำของเล่นเด็กพื้นบ้านโดยผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสใช้ภูมิปัญญาของตนเองในการสร้างสรรค์ของเล่นพื้นบ้านแก่เด็กปฐมวัย และใช้ของเล่นเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-สังคม และสติปัญญา นำทีมโดยลุงติ๊บกับป้าดี แรก ๆ ก็เลียนแบบของเล่นที่ได้เห็นจากพิพิธภัณฑ์เล่นได้ แต่นับวันผู้สูงอายุก็ยิ่งนึกออกว่า ตอนเป็นเด็กเคยเล่นของเล่นอะไรบ้าง รูปร่างหน้าตาและวิธีเล่นเป็นอย่างไร จนถึงวันนี้มีกว่า ๑๕ ชนิดแล้ว...ไม่ว่าจะเป็น กำหมุน ก๊อบแก๊บ เต่าวิ่ง/กระต่ายวิ่ง ป๊อกแป๊ก คนชัก(อมรเทพ) นกหวีด ใบพัด(คอปเตอร์) คนตำข้าว วัวชน ตุ๊กตาไม้เชือกชัก ปลาตะเพียน กบสาน คนเลื่อยไม้ ลูกข่าง/ ลูกข่างโหว่ ดาบไม้ ปืนอัดลม ฯลฯ  

          จากการสอบถามความคิดเห็นคนต้นเรื่องต่อโครงการนี้ ทุกคนเห็นประโยชน์มากมาย พอสรุปได้ดังนี้

          ๑. ผู้สูงอายุมีรอยยิ้ม มีเสียงหัวเราะ และความชื่นบานในชีวิตของผู้สูงอายุ ที่มารวมกัน นั่งคิด นั่งนึก ทำของเล่นพื้นบ้านร่วมกัน...ยิ่งไปกว่านั้นคือของเล่นเหล่านั้นเปรียบเสมือนมนต์วิเศษที่เรียกให้เด็ก ๆ มาขลุกอยู่กับผู้สูงอายุเฝ้าดู เฝ้าคอย ของเล่น หน้าตาแปลก ๆ ไม่เคยพบเห็นมาก่อน ที่จะสำเร็จออกมาแต่ละชิ้น...ผู้สูงอายุเองก็สุขใจที่ลูกหลานอยู่ใกล้ชิด คอยถามไถ่ ซักถาม พูดคุย และได้รู้ว่าตนเองยังมีค่า มีความหมาย

          ๒. เป็นตัวเชื่อมให้คนรุ่นพ่อรุ่นแม่ได้ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ และลูกหลานอีกด้วย เพราะโดยตัวผู้สูงอายุเองแล้วไม่สามารถออกป่าไปตัดไม้ เก็บเมล็ด ใบไม้ ฯลฯ ได้อีกแล้ว ก็ได้อาศัยรุ่นพ่อรุ่นแม่ของเด็ก ๆ (ลูกของผู้สูงอายุ) นั่นเองออกไปหามาให้และสานต่อโครงการต่อไป

          ๓. เด็ก ๆ ก็ได้เรียนรู้ในสิ่งแปลกใหม่ เป็นการส่งเสริมพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-สังคม และสติปัญญา ซึ่งสอดคล้องกับรายงานการศึกษา “การรวบรวมของเล่นพื้นบ้านไทยกับเด็กพิการ” ของมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ (๒๕๔๗) ได้ศึกษาของเล่นพื้นบ้านที่ได้จากภูมิภาคต่าง ๆ ในประเทศไทย จำนวน ๖๗ รายการ จาก ๙๑ ชิ้น เนื่องจากพบว่าของเล่นบางชิ้นมีในทุกภาคแต่อาจมีชื่อเรียกแตกต่างกัน ที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยแรกเกิดถึง ๖ ปี และวิเคราะห์จัดหมวดหมู่ของเล่นพื้นบ้าน ตามทักษะการพัฒนาแต่ละด้านของเด็กตามแบบวิเคราะห์การเล่นของผศ. นิรมล ชยุตสาหกิจ ที่ได้นำมาปรับให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ดังนี้

               ของเล่นในหมวดพัฒนาการทักษะกล้ามเนื้อใหญ่ ได้แก่ ครกกระเดื่อง รองเท้าจับ เดิน ชักรอก ไม้นวด บั้งโพละ ระนาด ฝักสะบ้า หนังสติ๊ก กรรไกรไม้ แซคแหว่ง รถมูเล่ ที่ฝึกการทรงตัว ไม้เกาหลัง รถกระป๋อง รถเข็น กระแตเวียน รถฝึกเดิน กระดานหก รถยันเท้า ม้าโยก รองเท้าเกี๊ยะ กะลาเดิน หมากกิ้งล้อ ลูกแซก สะนู พัดกาบหมาก ลูกขนไก่ หมาจาก หน้าไม้

               ของเล่นในหมวดพัฒนาการทักษะกล้ามเนื้อย่อย ได้แก่ กำหมุน กังหัน ไก่จิก คนเลื่อยไม้ คนตำข้าวครกมอง งูไม้ระกำ งูเกี้ยว จักจั่น พัด จานบิน เครื่องบินกระดาษ นกหวีด โหวดนก นกหวีดแม้ว ขลุ่ยชัก ปืนอัดลม ป๋องแป๋ง หนูวิ่ง/กระต่ายวิ่ง/ เต่าวิ่ง ลูกข่างสะบ้า หืน แคนแฝด อมรเทพ วัวชน ตุ๊กตาไม้เชือกชัก ป๊อกแป๊ก ก๊อบแก๊บ ลูกหวือ กบไม้

               ของเล่นในหมวดพัฒนาการเรียนรู้ จินตนาการและภาษา ได้แก่ ชุดหม้อแกง/ ขนมครก หัวม้า/ ชฎา หุ่นมือ ขวานไม้/ ดาบไม้ ปลาตะเพียน กบสาน ยกยอ ข้อง กระดาน ชนวน

          ๔. ประหยัด เพราะทำจากวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เสียก็ซ่อมได้ด้วยคนในชุมชน

          ๕. ลดการทะเลาะวิวาทของเด็ก ๆ ที่แย่งของเล่น เพราะมีของเล่นมากมายให้เลือกเล่น และมีจำนวนที่เพียงพอกับเด็ก

       มีข้อคิดเล็ก ๆ จากลุงติ๊บถึงคนที่อยากทำของเล่นเหล่านี้ว่า “จะไป (อย่า) เลียนแบบทั้งดุ้นหือ (ให้) จำหลักการของของเล่นชิ้นนั้นแล้วก็ไปดัดแปลงเอา เฮา (เรา) จะได้ไม่จนปัญญาสามารถพัฒนารูปแบบของเล่นใหม่ ๆ ได้”

       (๒) โครงการปรับปรุงสนามเด็กเล่นโดยอิงวัสดุท้องถิ่นและภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อปรับปรุงสนามเด็กเล่นให้มีเครื่องเล่นสนามที่ปลอดภัย และส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก โดยให้ผู้ปกครอง และชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

            วัสดุที่ใช้ในการสร้างเครื่องเล่นมาจาก ๓ แหล่ง คือ (๑) เป็นของที่หาได้ในชุมชน เช่น ไม้ ไม้ไผ่ ต้นมะพร้าว (๒) ของเหลือใช้: ยางรถยนต์ (๓) ต้องซื้อ: เชือกพรวน แสลน

            แรงงานฟรี อย่างน้อย ๑ คน/หลังคาเรือน สับเปลี่ยนกันมาทำ มีอาหาร และน้ำเลี้ยง ใช้เวลาเกือบ ๆ ๒ อาทิตย์จึงแล้วเสร็จ ท่ามกลางการรอคอยของเด็ก ๆ จำได้ว่าวันที่ทำเสร็จเด็กที่บ้านอยู่ใกล้ ๆ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกลับบ้าน ๒ ทุ่ม (ที่กลับเพราะแม่มาตาม) รูปแบบดัดแปลงมาจากเครื่องเล่นสนามที่ศึกษามาจากโรงเรียนปิติศึกษา

            คนต้นเรื่องบอกว่าโครงการนี้ได้อะไรหลายอย่างพอสรุปได้ดังนี้

            ๑. มีเครื่องเล่นสนามที่ปลอดภัยให้เด็ก ๆ เล่น ไม่ต้องกลัวเครื่องเล่นล้มทับลูกหลาน เพราะพวกเราทำกับมืออย่างมั่นคง

            ๒. มีที่ออกกำลังกาย ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายที่พอเพียงกับเด็ก ๆ

            ๓. ประหยัด เพราะทำจากวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น จะซื้อวัสดุบ้างก็เล็กน้อย เสียก็ซ่อมได้ด้วยคนในชุมชน

            ๔. ลดการทะเลาะวิวาทของเด็ก ๆ เพื่อแย่งเครื่องเล่น เพราะมีมากมายให้เลือกเล่น และมีจำนวนที่เพียงพอกับเด็ก

       บทส่งท้าย ฝากมาจากคนต้นเรื่องทั้งหลายว่า “การร่วมกันสร้างสิ่งสาธารณะประโยชน์ เมื่อก่อนก็ทำกันบ่อย มาหลัง ๆ เริ่มเกี่ยงกันจะทำอยู่เฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวข้องจริง ๆ ก็มีโครงการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนี้ที่ชุมชนเข้ามาร่วมกันมากมาย และหมู่บ้านเราโชคดีที่ได้คำแนะนำ กำลังใจที่ดี ๆ จากอ.เกียรติ, พี่เบิ้ม, ป.แทน คงต้องพยายามรักษาให้อยู่กับหมู่บ้านเราตลอดไป”

เอกสารอ้างอิง

          ประไพพรรณ ภูมิวุฒิสาร. (๒๕๓๓) “วัยเด็กและวัยรุ่น” จิตวิทยา. (สวัสดิ์ ประทุมราช: บรรณาธิการ) กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ. หน้า ๑๘๓-๑๘๘

          สถาบันเด็ก มูลนิธิเด็ก (๒๕๔๕) ประเภทของเล่นพื้นบ้าน www.childthai.org/ cia/ a๐๐๑.htm

 

 

หมายเลขบันทึก: 341223เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2010 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

เรียนรู้ ผ่าน ของเล่น ชอบจังค่ะ

แวะมาเยี่ยมครับหมอเอ...

อ่านไปยิ้มไปครับ

  • Hanako >>>play to learn>>>
  • ระวังเค้าจะว่าบ้านะหนานเกียรติ

โครงการดีครับ แวะ มาให้กำลังใจ ผ่าน G2K

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาขอบคุณที่ตามไปคอมเม้นท์งานให้บุษราค่ะ  และคงมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในโอกาสต่อไปนะค่ะ
  • มีความสุขกับสิ่งดี ๆ ในทุก ๆ วันนะค่ะ

สวัสดีครับ

  • ผมมาเยี่ยม มาทักทาย
  • มาอ่านเรื่องของเล่น ครูจ่อย อดนึกถึงสมัยเด็กๆไม่ได้
  • ถ้าได้เล่นแล้วข้าวปลาไม่ต้องพูดถึงเลย
  • ขอบคุณเรื่องราวดีๆนะครับ

สวัสดีครับคุณ หมอ เรื่องเล่าจากอนามัย ยังไม่เก่า เท่าเรื่องเล่าจากสุขศาลาครับ

แต่ก็เป็นโครงการที่ดีครับฃื่นฃอบ

และแวะมาแล้วก็ขอฝากข่าวถึงลูกจ้างกระทรวงสาธารรสุขทุกท่านด้วยครับ มาบอกบุญ

ขอเรียนเชิญเจ้าหน้าที่ ลูกจ้างกระทรวงสาธารณสุขได้ไปเป็นเกียรติร่วมงาน และร่วมบริจาคเงินตามกำลังศรัทธา ทอดผ้าป่าสามัคคีจัดตั้ง กองทุนพัฒนาคุณธรรมชีวิตลูกจ้างกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ และขอเชิญร่วมงาน"รวมน้ำใจสาสุข 76 ทั่วไทย" หากหน่วยงานของท่านยินดีร่วมบริจาคเงินทอดผ้าป่าสามัคคี หรือร่วมงาน "รวมน้ำใจสาสุข76 ทั่วไทย" โปรดตอบรับ กลับมายังสมาคม หรือคณะกรรมการบริหาร กรรมการเขต โดยโอนเงินเข้าบัญชี นายสมยศ ครองหิรัญ บัญชีเลขที่101-0-43284-2 ธนาคารกรุงไทย สาขาอยุธยา

ด้วยความขอบคุณที่กรุณาครับหมอ

ตอบผู้เฒ่าวอญ่า

นั่นสินะค่ะ..แต่ทำไงได้..เกิดไม่ทันสุขศาลาจริง ๆ

แจ้งแก่ลูกจ้างในอนามัย และอนามัยใกล้เคียงแล้วค่ะ

 

  • ขอบคุณ JJ มากนะค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับกำลังใจจากคุณบุษรา
  • ครูจ่อยค่ะ...ข้าพเจ้าก็เล่นลืมกินบ่อย ๆ ค่ะตอนเป็นเด็ก

ความหมายที่มากกว่าของเล่น   ผมว่าสำคัญที่ตรงนี้นะครับ

     เป็นตัวเชื่อมให้คนรุ่นพ่อรุ่นแม่ได้ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ และลูกหลานอีกด้วย

                  ขอบคุณบันทึกที่มีคุณค่าครับ

"ความสุขย่อมเกิดในลำดับแห่งความทุกข์ และความทุกข์ย่อมเกิดในลำดับแห่งความสุข”

ขอบคุณนะครับ..

  • สวัสดีค่ะ
  • วันสงกรานต์นี้เที่ยวให้สนุกเดินทางด้วยความปลอดภัยนะค่ะ 
  • สุขสันต์วันสงกรานต์...ค่ะ

                        

เห็นด้วยกับคุณราชิด สุพร

"ความสุขย่อมเกิดในลำดับแห่งความทุกข์ และความทุกข์ย่อมเกิดในลำดับแห่งความสุข”

สวัสดีค่ะ

เป็นโครงการดีๆ ที่น่าสนใจค่ะ

สร้างรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ความสุข

ที่สำคัญ การแบ่งปัน

  • เห็นด้วยกับคุณ small man ความหมายที่มากกว่าของเล่น อยู่ตรงที่เป็นตัวเชื่อมคนในแต่ละรุ่น..ให้ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวยังคงอยู่

เป็นเช่นนั้นค่ะคุณราชิด สุพร

"ความสุขย่อมเกิดในลำดับแห่งความทุกข์ และความทุกข์ย่อมเกิดในลำดับแห่งความสุข”

  • ขอบคุณคุณบุษราที่ยังคงให้กำลังใจกันเสมอ ๆ
  • คุณถาวรค่ะ "สำคัญที่การแบ่งปัน"

สวัสดีหมอ คนสาสุข นักสร้างสุข

ยิ่งอนามัยเป็นด่านแรกที่ต้องเสริมสร้างสุขให้ชาวบ้าน

แวะมาขอบคุณ ข่าวลูกจ้าง และมาให้กำลังใจหมออนามัย

สาธรณสุขชุมชนครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • ของเล่นที่มาจากภูมิปัญญานับวันเด็กไทยจะไม่รู้จัก แต่มีของเล่นยุคไอทีและพลาสติกเข้ามาแทนที่นะคะ
  • ขอเชิญไปอวยพรวันเกิด  ที่นี่ค่ะ
  • http://gotoknow.org/blog/krukim/352703

เเวะมาขอบคุณนะคะน้องหมออนามัย ที่เเวะไปเป็นกำลังใจพี่กุ้งนาง

  • ก็หวังว่าจะเป็นทางเลือกที่มากกว่าของเล่นพลาสติกค่ะ..ครูคิม
  • "หมอ" ยังไม่หาย แต่ไม่ว่างงงงงงงง
  • ยินดีค่ะพี่กุ้งนาง
  • ข่าวดีแน่นอนค่ะคุณประกาย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท