KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 84. เกลียวความรู้


• มองในมุมหนึ่ง การทำ KM เป็นการหมุนเกลียวความรู้ (knowledge spiral) จำนวนมาก เพื่อยกระดับความรู้ขึ้นไป    โดยที่เกลียวความรู้เหล่านี้หมุนรอบๆ การปฏิบัติ หรือการเอาความรู้ไปใช้ ใช้แล้วใช้อีก (re-use)
• ถ้าทำ KM เป็น เกลียวความรู้จะหมุนขึ้นโดยอัตโนมัติ หรือโดยออกแรง/ใช้ความพยายาม น้อยมาก  
• เครื่องมือในการหมุนเกลียวความรู้อย่างเป็นอัตโนมัติ ได้แก่ Taskforce, Multifunction Team, AAR, BAR, Retrospect, Peer Assist, Weblog, Storytelling, Dialogue เป็นต้น
• เกลียวความรู้จะหมุนขึ้นได้ดีต้องมี “พื้นที่” ที่ผู้คนรู้สึกเป็นอิสระ  รู้สึกไว้วางใจ เชื่อถือซึ่งกันและกัน    เป็น “พื้นที่” ที่สะดวกต่อการพบปะแลกเปลี่ยน    มีบรรยากาศที่กระตุ้นความรู้สึกดีๆ ที่จะช่วยให้ปลดปล่อยความรู้ฝังลึกออกมาได้ง่าย   “พื้นที่” ดังกล่าว อาจเป็นพื้นที่จริง หรือพื้นที่เสมือนก็ได้
• เกลียวความรู้ หมุนโดยคนและความสัมพันธ์ระหว่างคน   คนที่เป็นสมาชิก KM ต้องมีทักษะในการเปิดทวารทั้ง ๔ คือใจ  หู ปาก  และตา    เปิดใจรับรู้เรื่องราว ความคิด ความเชื่อ ที่อาจไม่ตรงกับของเรา   เปิดหูเพื่อฟังอย่างลุ่มลึก อย่างตั้งใจ   เปิดปากเล่าเรื่องราวดีๆ ที่เป็นเรื่องของความสำเร็จ วิธีการบรรลุความสำเร็จ   เปิดตาเพื่อให้เห็นช้างทั้งตัว เห็นความเชื่อมโยง    “ตา” ในที่นี้หมายถึง “ตาใน” คือ “ตาปัญญา” ไม่ใช่ “ตาเนื้อ”
• การหมุนเกลียวความรู้ขึ้น ต้องการทั้ง T&T และ P&P คือ Technology & Tools   และ People & Process   แต่ P&P สำคัญกว่า

วิจารณ์ พานิช
๑ มิย. ๔๙

 

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือkm
หมายเลขบันทึก: 34074เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2006 08:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 16:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท