พูดจา หนักหรือเบาก่อนดี(1)


ท่านอาจารย์ รศ.นพ.จิตเจริญ ไชยาคำ อาจารย์ของพวกเรากล่าวถึงเทคนิคการทำงานในชุมชนที่อาจารย์ ดร.กระจ่าง พันธุมนาวินแนะนำ ตีพิมพ์ในบล็อกของท่านว่า

    nท่านอาจารย์ รศ.นพ.จิตเจริญ ไชยาคำ อาจารย์ของพวกเรากล่าวถึงเทคนิคการทำงานในชุมชนที่อาจารย์ ดร.กระจ่าง พันธุมนาวินแนะนำ ตีพิมพ์ในบล็อกของท่านว่า

การสื่อสารกับชาวบ้านควรเริ่มด้วยการสร้างสัมพันธภาพ หรือการสร้างบรรยากาศ เรียกว่า “small talk” เริ่มด้วยเรื่องทั่วไป หรือการสอบถามสารทุกข์สุกดิบก่อน แล้วจึงจะถามเนื้อหาวิชาการ หรือความต้องการในการพัฒนา

ผู้เขียนอ่านแล้วขอเสริมประสบการณ์ต่ออย่างนี้...

เรื่อง "small talk" นี่... เมื่อปี 2526 (ถ้าคลาดเคลื่อนจะเป็นปี 2528) ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ ท่านอาจารย์ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ไปบรรยายที่ ม.สงขลานครินทร์(มอ.)

ท่านบอกว่า พวกหมอ-พยาบาลนี่ชอบพูด "large talk" เช่น คนไข้ไปนอนโรงพยาบาล เช้าขึ้นมาแทนที่จะพูด "small talk" หรือเรื่องสัพเพเหระ เช่น สบายดีไหม กินข้าวแล้วยัง เรื่องฟ้า เรื่องฝน ฯลฯ

กลับพูดกันแต่เรื่อง "large talk" เช่น พอเห็นหน้าคนไข้ก็ถามว่า วันนี้กินกี่ครั้ง ถ่ายกี่ครั้ง ฯลฯ ท่านไปอยู่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งหลายวัน ได้ยินแต่เรื่องหนักๆ ทุกวัน (กินกี่ครั้ง ถ่ายกี่ครั้ง...)

ท่านแนะนำว่า วิธีที่ดีในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันคือ...

  1. สัพเพเหระ (small talk) ก่อน:                                                              
    การคุยกันควรเริ่มด้วย small talk... หรือเรื่องเบาๆ สัพเพเหระ เช่น เรื่องฟ้าดิน การทำมาหากิน ฯลฯ เสียก่อน
  2. ตามด้วยสาระ (large talk):                                                                 
    เมื่อได้เมตตา หรือมิตรภาพกันแล้ว ค่อยๆ ตะล่อมเข้าหาเรื่อง large talk หรือเปลี่ยนจาก "สัพเพเหระ (small talk)" เป็น "สาระ (large talk)"

    ตัวอย่างโทรศัพท์มือถือ:                                                                               

    โทรศัพท์มือถือจะมีอุปกรณ์พ่วงต่อ นัยว่า เพื่อการสนทนาอย่างสุนทรีย์ (small talk) หรือสัพเพเหระ

    ไม่มีโทรศัพท์มือถือยี่ห้อไหนขายอุปกรณ์สำหรับการพูดจริงจัง หรือการพูดที่เปี่ยมไปด้วยสาระ (large talk) เลยแม้แต่เจ้าเดียว

    เพราะการพูดจากัน... ถ้าได้เมตตากันแล้ว เรื่องใหญ่จะกลายเป็นเรื่องเล็ก เรื่องหนักจะกลายเป็นเบา ชีวิตเรานี่... ถ้าเบาลงเสียบ้างก็น่าจะดีครับ...

    แหล่งข้อมูล:                                                                                             

    • ขอขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์ รศ.นพ.จิตเจริญ ไชยาคำ. บล็อกศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลับขอนแก่น. http://gotoknow.org/blog/uackku/33819 > 12 มิถุนายน 2549.
    • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์มะเร็งลำปาง จัดทำ > ๑๓ มิถุนายน ๒๕๔๙ >
      สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๔๙.
หมายเลขบันทึก: 33932เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2006 13:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ขอบคุณครับ
  • เชื่อว่าหลายคนคงเคยเรียนจิตวิทยากันมาบ้าง
  • แต่จะมีสักกี่คนที่เอาไปใช้นอกห้องเรียน แบบที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในทางบวก
  • แต่ถ้าไม่เคยเรีน ก็แค่คิดถึงคำคนโบราณที่บอกว่า "รู้จัก เอาใจเขา มาใส่ใจเรา" เท่านี้ก็พอจะช่วยได้แล้วครับ
  • บันทึกนี้เจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะที่มีหน้าที่ให้บริการประชาชน ควรอ่านและทำตาม เพื่อไม่ให้เกิด "เงื่อนไข"
  • มีโอกาสพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ ที่โดนแกล้งให้ถูกย้ายไป 3 จังหวัดชายแดน (เจ้าหน้าที่ท่านนี้เป็นคนดี) ท่านว่า เงื่อนไขที่ก่อให้เกิดความไม่สงบจำนวนมาก มาจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ
  • ขอขอบคุณอาจารย์เปมิช และท่านผู้อ่านทุกท่าน...
          ความจริงพิมพ์ตอบไปรอบหนึ่งแล้ว หันไปเปิดพจนานุกรม (http://dictionary.reference.com) เพื่อตรวจสอบตัวสะกด ปรากฏว่า หน้าจอหายไป ทำให้ต้องมาพิมพ์ใหม่อีกรอบ สงสัย Gotoknow version ใหม่จะ "ห้ามวอกแวก"
  • โบราณท่านสอนไว้ดีอย่างที่อาจารย์ว่าครับ... "เอาใจเขามาใส่ใจเรา"
  • สำนวนนี้คงจะมีส่วนทำให้คนไทยส่วนใหญ่รู้จักเกรงใจคนอื่น เป็นคนน่าคบ (nice)...

การนำใจเขามาใส่ใจเรามีส่วนช่วยพัฒนาจิตใจ ทำให้ใจเรา "กว้าง" ขึ้น

  • จากเดิมแคบ คิดอะไรเฉพาะมุมมองของเรา เปลี่ยนเป็นใจกว้างขึ้น คิดอะไรรอบด้าน ทั้งมุมมองของเราและของคนรอบข้าง
  • เกิดเป็นความรู้ ความเข้าใจ และนำไปสู่ความเห็นอกเห็นใจคนอื่น
  • ถ้าพิจารณา "เอาใจเขามาใส่ใจเรา" ได้บ่อยๆ คงจะทำให้อัปปมัญญา (พรหมวิหารคือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) ดีขึ้น... มีความสุขจากภายในมากขึ้น สาธุ สาธุ สาธุ
อธิบายได้ขัดเจน มากครับ Photobucket - Video and Image Hosting

อ่านแล้วได้ความรู้มาก แต่ตอนปฏิบัติมักลืมประจำเลยสำหรับผม อาจารย์บอกว่าต้องทำบ่อย ๆ จะได้โดยอัตโนมัติผมจะพยายาม small talk ส่วนบางครั้งมัวแต่ small talkจนลืม large talk ไปเลย(งง ตัวเอง)

เมื่ออ่านแล้วทำให้ผมนึกถึงเรื่องเล่าเกี่ยวกับในหลวงที่ทรงแนะนำแก่ทัตนแพทย์ที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาท เรื่องนี้เล่าโดย ท่านผู้หญิงเพชรา เตชะกัมพุช ในหลวงท่านรับสั่งว่า เมื่อคนป่วย(ผู้ป่วยทางทันตกรรม)มาพบต้องถามเขาก่อนเสมอว่ามายังไง มากับใคร เดินทางมายังไง ถนนหนทางเป็นอย่างไร ใครมาส่ง น้ำท่า การงานเป็นอย่างไร แล้วค่อยถามอาการ  ไม่ใช่มาถึงแล้วก็รักษาช่องปากเลย

เรื่องนี้แวดวงทันตกรรมกำลังจะนำมาเป็นแนวคิดการทำงานเรื่อง ทันตแพทย์กับสุขภาพองค์รวม (เผอิญพี่ที่เป็นทันตแพทย์ชวนไปร่วมวงกับเขาด้วย)

เห็นได้ชัดเจนว่า ในหลวง พระองค์ท่านมีพระปรียามากในการทำงานในชุมชน ขอจงทรงพระเจริญ

ขอบพระคุณหมอวัลลภด้วย

  • ขอขอบคุณอาจารย์ Tom-NU, อาจารย์ออต, ท่านผู้ให้ข้อคิดเห็น และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

เรื่อง large talk-small talk นี่... ทำให้นึกถึงเรื่องการใช้สมองของคนเราด้วย

  • นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ นักคิด คนตะวันตก... ดูจะเก่งสมองซีกซ้าย มีแนวโน้มจะพูดสาระ (large talk) มากกว่าสัพเพเหระ (small talk) ข้อดีคือ ได้สาระ ข้อเสียคือ เครียดง่าย อ่อนเมตตา อ่อนมิตรภาพ
  • ศิลปิน คนรักสนุกเฮฮา คนตะวันออก... ดูจะเก่งสมองซีกขวา มีแนวโน้มจะพูดสัพเพเหระ (small talk) มากกว่าสาระ (large talk) ข้อดีคือ สนุกสนาน เฮฮา ได้เมตตา(ผสมโลภะ) ข้อเสียคือ อ่อนสาระ ทำงานอะไรไม่ค่อยสำเร็จ...
  • คนเก่งจริง ดูจะใช้สมอง 2 ซีกได้อย่างสมดุล ปฏิสันถาร(ทักทาย)กันพอประมาณ ได้ทั้งสาระ และสัพเพเหระ มากไปด้วยผลงานและมิตรภาพ ทำประโยชน์ให้ส่วนรวมได้มาก
  • คนหลุดโลก(ออติสติก-autism) พวกนี้คิดได้เป็นเรื่องๆ หมกมุ่นอยู่กับโลกของตัวเอง มีการศึกษาพบว่า สมอง 2 ซีกสื่อสาร หรือเชื่อมต่อกันได้ไม่ดี ออติสติกนับเป็นความพิการรูปแบบหนึ่ง... หลุดโลกแบบนี้อ่อนทั้งสาระ และสัพเพเหระ ทำงานอะไรก็ไม่สำเร็จ และไม่ได้มิตรภาพอีกต่างหาก

ที่มา: Amy Lennard Goehner. Inside the autistic mind. Time. May 29,2006; 34-43.

  • ขออนุญาตนำเรื่องของอาจารย์ออตไปถ่ายทอดต่อ เพื่อเป็นการเทอดพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัวทรง(ทศพิธราช)ธรรม
  • เนื่องในวโรกาศเฉลิมฉลองการครองราชย์ครบ 60 พรรษาของในหลวง...
  • ขอเชิญชวนท่านผู้อ่านทุกท่านทำความดีคนละเล็กละน้อย(มากยิ่งดี)... ถวายเป็นพระราชกุศล
  • ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน... สาธุ สาธุ สาธุ
  • ทึ่งในรูปภาพครับอาจารย์หมอ

 Treadmill ขอขอบคุณอาจารย์ขจิต ท่านผู้ให้ข้อคิดเห็น และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • รุปภาพนี่ดูแบบอย่างจากบล็อก และบันทึกของอาจารย์(ขจิต) การใส่รูปทำให้บล็อกมีแนวโน้มจะเปลี่ยนไป...

จากบันทึกที่มีแต่อักขระ(ตัวอักษร)
>>> เป็นบันทึกที่มีอักขระ +/- แถบแต้มสี +/- ภาพ +/- ภาพเคลื่อนไหว (animation) +/- (อนาคตอาจจะมี MP3 / MP4 หรือ video...) ประกอบ

บางบล็อกอาจจะมีดนตรี หรือเสียงประกอบ (sound effect) อะไรทำนองนั้น

  • ต่อไป Gotoknow อาจจะมีหน้าจอแบบให้เลือกได้ เช่น แบบมาตรฐาน แบบวัยรุ่น แบบวัยทอง ฯลฯ
  • หรือต่อไปอาจจะมีองค์กรใหม่ หน่วยงานใหม่ องค์กรไม่หวังกำไร (NGO) หรือองค์กรธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ (opportunistic advertising) มาเปิดวงบล็อกอีกก็ได้ครับ...

การยกน้ำหนัก(จากภาพของอาจารย์)ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ เสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกได้

ทว่า... ถ้าเดินเร็วบ้าง(เฉลี่ยควรให้ได้ 30 นาที/วันขึ้นไป) ช้าบ้าง(เฉลี่ยควรให้ได้ 60 นาที/วันขึ้นไป) เพิ่มขึ้นไปจะดีกับหัวใจ เส้นเลือด กระดูก และป้องกันโรคอ้วนได้เพิ่มขึ้น...

ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านมีสุขภาพดี มีร่างกายแข็งแรง ปีนี้เชิญชวนทุกท่านช่วยกันทำความดีถวายเป็นพระราชกุศลแด่ในหลวงครับ...





พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท