กำเนิด UKM


รายงานการประชุมเมื่อ ๑๑ ตค. ๔๗

กำเนิด UKM รายงานการประชุมครั้งที่ ๑
           คนที่เข้ามาร่วมขบวนการเครือข่าย UKM ในช่วงหลังอาจไม่รู้ความเป็นมาในช่วงก่อตัว     จึงขอนำรายงานการประชุมครั้งแรกที่ถือเป็นจุดกำเนิดของ UKM มาลงบันทึกไว้

 

รายงานการประชุม
สมาชิกเครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย
ครั้งที่  1/2547
วันจันทร์ที่   11  ตุลาคม  2547
ณ  ห้องประชุม K 101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้มาประชุม

สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)
1.  ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช                             ผู้อำนวยการ
2.  ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด                                                          ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการสื่อสารพัฒนาการเรียนรู้  
3.  คุณธวัช หมัดเต๊ะ                                                                   ผู้ประสานงาน

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) 

1.  นางสาววรพรรณ  อภิชัย                                                      กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษา
2.  นางสาวอุบล  ใช้สงวน                                                        กลุ่มงานส่งเสริมการจัดการความรู้
3. นางสมสมร  วงศ์รจิต                                                              กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษา

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

1.  อาจารย์พิชิต   เรืองแสงวัฒนา                                            รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาระบบบริหาร 
2.  รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วรัญ ตันชัยสวัสดิ์               รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบุคลากร 
3.  ศาสตราจารย์ นายแพทย์พิเชฐ  อุดมรัตน์                          ที่ปรึกษาคณบดีฝ่ายการจัดการความรู้     คณะแพทยศาสตร์
4.  รองศาสตราจารย์ นวลจิรา  ภัทรรังรอง                             ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพ

มหาวิทยาลัยนเรศวร 

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ วัฒนาธร                               รองอธิการบดี

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

1.  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์จิตเจริญ  ไชยาคำ    ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ
2.  อาจารย์สุวัฒน์  บุญจันทร์                                                    ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

1.  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิศมัย  ศรีอำไพ                             รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์

มหาวิทยาลัยมหิดล

1.  รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อภิชาติ  ศิวยาธร                  รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพงาน        คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล / ประธานคณะกรรมการดำเนินงานสำนักพัฒนาคุณภาพ
2.  รองศาสตราจารย์ ดร.อนุชาติ  พวงสำลี                              คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/กรรมการดำเนินงานสำนักพัฒนาคุณภาพ
3.  นางนภามาศ  นวพันธุ์พิพัฒน์                                             ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพ
4.  นางโกสุม ประเสริฐพันธุ์                                                     สำนักพัฒนาคุณภาพ
5.  นางสาวดุจแข  วงษ์สุวรรณ                                                  สำนักพัฒนาคุณภาพ
6.  นางสาวหฤทัย  แสงไกร                                                       สำนักพัฒนาคุณภาพ

ผู้เข้าร่วมประชุม

1.  รองศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร  ชิวพิมาย                                ทีมงานติดตามศึกษาและเรียนรู้งานที่
2.  พลเรือตรีหญิง ดร.สุภัทรา  เอื้อวงศ์                                    สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม
3.  นาวาอากาศเอกหญิง อาภรณ์  ชูดวง                                  สุขภาพ (สสส.)  ได้อำนวยการให้เกิด    การเรียนรู้ในองค์กรการศึกษาทั้งภาครัฐและ เอกชน
4.  นางสาวจิรวรรณ  เศลารักษ์                                                  ประชาสัมพันธ์ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
5.  นางสาวสมจิตรา  สุขสว่าง                                                    สำนักพัฒนาคุณภาพ  มหาวิทยาลัยมหิดล
6.  นางไศลเพ็ชร  ชนเห็นชอบ                                                 สำนักพัฒนาคุณภาพ  มหาวิทยาลัยมหิดล
7.  นางกนกวลี  ไทยน้อย                                                            สำนักพัฒนาคุณภาพ  มหาวิทยาลัยมหิดล

เริ่มประชุมเวลา  09.00  น.

                รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อภิชาติ  ศิวยาธร   ในฐานะเจ้าภาพในการจัดการประชุม  เครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 1/2547 เสนอให้ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ให้ข้อชี้แนะ  แนวทางการประชุมครั้งนี้  ซึ่งศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ได้เสนอให้ผู้แทนแต่ละหน่วยงานชี้แจงสภาพการจัดการความรู้ของหน่วยงาน    พร้อมระบุ     ความคาดหวังจากการจัดตั้งเครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย  ซึ่งแต่ละหน่วยงานได้เสนอความเห็น  มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

·        สภาพการณ์ KM  ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
                1.     มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งทีมคณะกรรมการบริหารความรู้ในองค์กร ทำแผนพัฒนาระบบบริหารความรู้  กำหนดแผนงานจัดสัมมนาโดยเชิญ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช       ไปให้ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ (KM) และชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice – CoP)  เช่น สัมมนาที่ประชุมคณบดี เพื่อเป็นการสร้างความตระหนัก สำหรับในคณะแพทยศาสตร์    ดำเนินการมานานและมีบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับ KM แล้ว
                2.     มีการสร้างกลุ่มเพื่อปรับเปลี่ยนเป็น KM ดังนี้
2.1  พัฒนากลุ่ม  IT  ซึ่งเป็นกลุ่ม  forum  เดิม
2.2  พัฒนากลุ่ม Human Resource Forum
โดยในระยะเริ่มแรกมีการนำ KM  เข้าไปที่การพัฒนาบุคลากร  โดยมีความคิดว่า    “คนและความรู้เป็น assets ที่มีค่าขององค์กร     มีการพัฒนาคน พัฒนางาน  ทำ pararell และ focus ที่ customer
                3.     การวิเคราะห์  competency  ซึ่งเป็นส่วนของฐานปัญญายังไม่ได้เริ่ม   แต่อาจมีที่   คณะแพทยศาสตร์ที่พยายาม identify competency ของหัวหน้างานและหัวหน้าหน่วย  เพื่อให้ perform ให้ดีที่สุด
                4.     มีการตั้งคณะทำงานจัดการความรู้ ตามเกณฑ์ของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.)  และเริ่มดึง  experts  จากส่วนต่างๆ  เช่น  expert  เรื่อง  data mining,  expert        จากสำนักคอมพิวเตอร์  และประชาสัมพันธ์ที่จะเชื่อมกลุ่มบริหารกับกลุ่มจัดการความรู้
                5.     เริ่มประมวลข้อมูลฐานความรู้บุคคลที่มีความรู้ความชำนาญ (experts)  แต่ละด้าน    มาเป็นฐานความรู้ในมหาวิทยาลัย 
·        สภาพการณ์  KM  ของคณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
1.     มีการปรับกิจกรรม  Manage by Walking Around (MBWA)  โดยดู Transfer of Knowledge, Individual  Development  Plan 
                2.     มีคณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารความรู้   โดยให้รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยี    สารสนเทศ เป็นรองประธาน  มีการเปิดเป็น section KM  ใน website  แต่คนสื่อสารช่องทางนี้ น้อยมาก  จึงใช้วิธีการดังต่อไปนี้
                        -      จัดทำสาร KG  ซึ่งเป็น Knowledge sharing-Getting  better  practice
                        -      จัดงาน Knowledge Sharing Day ปีละ 4 ครั้ง    ใช้ Best Practice เป็นหลัก  อาจเน้นเรื่องคลินิก  โดยเชิญมาร่วม หรือส่งทีมไปสัมภาษณ์  และรูปแบบจะมีต่างๆ กัน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1. Knowledge Flow   2. ระบบ KM   3. Best Practice Sharing
                        -      Capturing  Knowledge     จากผู้ที่ออกจากราชการตามโครงการเกษียณอายุ   ราชการก่อนกำหนด
                3.  ตั้งคณะกรรมการ KM ขึ้นมาโดยตรง   โดยในปีหน้าจะมีการดำเนินงานดังนี้
                        -      การสื่อสารใน website
                        -      KM News ฉบับ Online
                        -      จัดตั้งกลุ่ม CoP ให้ได้  5 กลุ่ม  ภายในระยะเวลา  2  ปี
·        ประเด็นเพิ่มเติมจากศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์  พานิช
                1.  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีความเชื่อว่า KM ควรอยู่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้าน  Organization Development   ให้ KM ฝังอยู่กับงานโดย integrate กับงาน   ไม่ให้เป็นภาระกับ     ผู้ปฏิบัติ
                2.     คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีวัฒนธรรมการพัฒนาคน  พัฒนางาน  จึงมีต้นทุนเรื่องคนที่เรียนรู้ค่อนข้างสูง   ใช้หลัก Knowledge Flow ทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย  เช่น  Best Practice   มี KM ในการบริหารงานของผู้บริหาร    มีการนำเสนองานสร้างสรรค์เป็นประจำ  จึงสามารถผนวก KM เข้าไปด้วยได้
·        ความคาดหวังในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายจัดการความรู้
                1.  ได้มีการจัดตั้งกลุ่ม CoP  -  2 กลุ่ม
                2.  ได้มีการแบ่งปันความคิดในเรื่องเครื่องมือ (tools) ที่จะใช้เพื่อการเรียนรู้
                3.  ขยายวง Best Practice  เพื่อทำให้มีโอกาสได้เรียนรู้มากขึ้น
                4.  เพื่อเป้าหมายสุดท้ายของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ในการเป็น  Learning Organization  แม้ KM จะไม่ใช่เครื่องมืออย่างเดียวที่จะทำให้เป็น  Learning Organization      แต่ KM ก็จะเป็นเส้นทางไปสู่ Learning Organization ได้ 

 

มหาวิทยาลัยนเรศวร  

·        สภาพการณ์ KM  ของมหาวิทยาลัยนเรศวร 
                1.     ได้เริ่มเรียนรู้ KM  จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   โดยมหาวิทยาลัยนเรศวรมี     กิจกรรม KM ต่อเนื่องมาตลอด
                2.     มีหน่วยงานต่างๆ รับผิดชอบดูแลข้อมูลที่ต้องดำเนินการ
                        -      การประกันคุณภาพการศึกษา   มีหน่วยประกันคุณภาพเป็นผู้รับผิดชอบทั้งในส่วน  IQA  และ EQA    
                        -      ข้อมูล  กพร.    มีงานนโยบายและแผนเป็นผู้รับผิดชอบ
                        -      การควบคุมภายใน  มีงานตรวจสอบภายในเป็นผู้รับผิดชอบ
                        -      การประเมินผู้บริหาร   มีงานบริหารงานบุคคลเป็นผู้รับผิดชอบ
                        และขณะนี้อยู่ระหว่างจัดรวมข้อมูลต่างๆ ที่อยู่กระจัดกระจายมารวมกัน  โดยเห็นว่าควรจะให้รองอธิการบดีท่านใดท่านหนึ่งเป็นผู้ดูแล  และจะมีการตั้งคณะกรรมการของระบบ KM   เป็นข่ายงานเชื่อมโยงกับระดับคณะเพื่อ integrate  งานเหล่านี้ให้เป็นเรื่องเดียวกัน
                4.     มหาวิทยาลัยนเรศวรมีการนำเครื่องมือธารปัญญามาใช้ ตั้งแต่ ปี2545 เป็นต้นมา    แต่ละปีจะมี ธารปัญญาแตกต่างกันออกไป
·        ความคาดหวังในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายจัดการความรู้
                การที่มหาวิทยาลัยนเรศวรใช้ตัวบ่งชี้ที่สำคัญ  ในการประเมินสภาพปัจจุบัน   และเป้าหมายโดยใช้ธารปัญญาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นประโยชน์อย่างมาก  ซึ่งเมื่อนำผล        การประเมินมาพัฒนาคุณภาพงานโดยใช้ KM มาเป็นเครื่องมือด้วย   จะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้มากยิ่งขึ้น

 

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

·        สภาพการณ์ KM  ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น 
มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีการพัฒนาเกี่ยวกับ  Quality  Development   มาตั้งแต่ปี  2529  โดยมีแนวคิดในการพัฒนาตน   สู่การพัฒนาคน   สู่การพัฒนางาน   และนำแนวคิดและความรู้  จากภายนอกมาประยุกต์ใช้   เพื่อการพัฒนาภายใน
·        ประเด็นเพิ่มเติมจากศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์  พานิช
                1.  ศูนย์บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ทำหน้าที่หลายอย่าง
-      เป็น Hospital Accreditation Collaborating Center (HACC) ของภาคอีสาน 
-      มีการนำ Best practice  มาเสนอในที่ประชุม  HA Forum  ซึ่งจัดร่วมกันระหว่าง  พรพ.  และ สคส.
                2.  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มีการจัดประชุมแพทย์ในภูมิภาค ตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2529   เป็นต้นมา ซึ่งถือว่ามีการพัฒนาคนมาโดยตลอด
                3.  มีการเริ่ม Hospital Knowledge Management (HKM)   โดยชักชวนโรงพยาบาลในภาคอีสานมาร่วมประชุมทำให้มีการจัดตั้งเครือข่าย  คือ
-      HKM  จังหวัดกาฬสินธุ์
-      HKM  จังหวัดขอนแก่น 
-      HKM  จังหวัดมหาสารคาม
                4.  มีการทำ KM ระดับชาวบ้าน ในส่วนที่เกี่ยวกับบริษัทสยามคราฟท์
·        ความคาดหวังในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายจัดการความรู้
1.  ทำอย่างไรที่จะเรียนรู้ เรียนลัด เรียนพัฒนา และเรียนร่วม 
                2.  เรียนรู้ให้มาก เพื่อนำกลับไปพัฒนาภารกิจหลักต่างๆ

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

·        สภาพการณ์ KM  ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
                ในเชิงระบบยังไม่มี  แต่มีผู้รับผิดชอบเป็นส่วนๆ  เช่น
-      ฝ่ายนวัตกรรม  ทำ  Video on demand
-      ฝ่ายแผน  CCO  รับผิดชอบเรื่อง  กพร.
                จึงคิดว่าน่าจะทำ Organization Development  (OD)
·        ความคาดหวังในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายจัดการความรู้
 แลกเปลี่ยนความรู้ แบบเรียนลัดจากประสบการณ์ของรุ่นพี่

มหาวิทยาลัยมหิดล 

·        สภาพการณ์ KM  ของมหาวิทยาลัยมหิดล 
                1.  พัฒนาการคุณภาพของมหาวิทยาลัยมหิดล       มีการจัดตั้งสำนักพัฒนาคุณภาพและตั้งคณะกรรมการ ขึ้น 2 ชุดคือ
-          คณะกรรมการนโยบายพัฒนาคุณภาพของมหาวิทยาลัย
-       คณะกรรมการดำเนินงานสำนักพัฒนาคุณภาพ   โดยมี รองศาสตราจารย์        นายแพทย์อภิชาติ  ศิวยาธร เป็นประธานกรรมการ
                        มีการประชุมร่วมกันและพิจารณางานด้านคุณภาพทั้งระบบของมหาวิทยาลัย           ในขณะนั้นมีฐานอยู่ 2 ฐานคือ ฐานของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลคือ  HA  และการพัฒนาคุณภาพของคณะฯ   และฐานของการถูกกระทำเชิงระบบ จากการประกันคุณภาพการศึกษา (QA),     การควบคุมภายใน (RM), และ กพร.  จึงทำให้มองเห็นเป็นระบบเดียว โดยในระยะยาวอาจจะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามารองรับ  จัดทำระบบฐานข้อมูล (MIS) เพื่อ serve  requirement   ให้ได้ทั้งมหาวิทยาลัย แต่ปัญหาที่สำคัญ คือมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นหน่วยงานที่มีขนาดใหญ่ – เล็ก    แตกต่างกันมาก  มีความหลากหลายของสาขาวิชาที่สอน  และมีความแตกต่างกันของจำนวนบุคลากรในหน่วยงาน จึงเกิดปัญหาว่าจะสามารถยกระดับทุกหน่วยงานไปพร้อมๆ กันได้อย่างไร
                2.  มีการพัฒนาระบบคุณภาพ  โดยมีสำนักพัฒนาคุณภาพเป็นฝ่ายเลขานุการ  จนได้นโยบายคุณภาพของมหาวิทยาลัย ซึ่งนำไปสู่การมองระบบทั้งหมดของการพัฒนาคุณภาพ  ของมหาวิทยาลัยมหิดล
                3.  ระบบอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดลนั้นเหมือนๆ กับมหาวิทยาลัยอื่นคือ serve requirement แต่การนำไปปฏิบัติ  จะมี 2 track คือ track A และ track B โดยที่
                        Track A  ทำหน้าที่เป็น Conventional System  โดยจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่ง  คือคณะทำงานพัฒนาระบบคุณภาพทำงานในลักษณะ top-down มีการพูดคุยกับคณะต่างๆ มากขึ้น และพยายามลดเอกสารให้มากที่สุด  
Track B  ทำหน้าที่เป็น  Innovative System ปัจจุบันใช้ชื่อว่า  “คณะทำงานส่งเสริมการจัดการความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพ” ทำงานเรื่องอื่นๆ แต่ไม่ทำเรื่องระบบ   ทำงานในเชิงสร้างเครือข่ายพัฒนาคน  เพื่อการเชื่อมโยงและประสานกับ   Track A 
·        สภาพการณ์  KM  ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  มหาวิทยาลัยมหิดล 
                1.  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเริ่ม KM จากการต้องเข้าสู่ระบบ HA  ทีมผู้บริหารของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้มีโอกาสไปดูงานที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ทำให้เห็นการบูรณาการเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ระยะแรกของการดำเนินการมีความยากในการจะ  convince บุคลากร  โดยพยายามหาจุดเชื่อมโยงที่จะดึงศักยภาพของบุคลากรให้ออกมาเต็มที่
                2.  มีความคิดว่า KM  ต่อยอดจากการพัฒนาคุณภาพได้              
                3.  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  สมัครเป็นหน่วยงานนำร่องจากสถาบันเพิ่มผลผลิต  และได้เป็นหน่วยงาน 1 ใน 4 ที่ใช้ KM  มีการ approach  ด้วยการสร้าง CoP  และใช้ IT เพื่อช่วยในการสร้าง CoP เพื่อให้การสร้าง CoP ง่ายที่สุด  โดยในเรื่อง CoP  จะต้องมีการวางแนวคิดว่าจะนำอะไรมาแลกเปลี่ยนกัน 
·        ประเด็นเพิ่มเติมจากศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์  พานิช
                1.  มหาวิทยาลัยมหิดลมีโครงสร้างการพัฒนาคุณภาพที่ชัดเจน  มีหน่วยงานรับผิดชอบดูแล  และจะมีการนำ KM  เข้าไปในระบบ  ซึ่งในระบบต่อไปมีความท้าทายว่าจะนำระบบไปปฏิบัติอย่างไร
                3.  ควรนำแนวทาง  Cop  งานวิจัยเข้าไปใช้เพื่อนำไปสู่การเป็น  Research University 
                2.  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  มี Innovation ของการบริหารจัดการที่ดี  ใช้ KM เป็นตัวคูณ (multiply) หรือเป็นตัวขับเคลื่อน (driver) ของการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยสามารถนำการบริหารจัดการงานปรกติมาสู่การวิจัยได้  ซึ่งใช้คำเรียกว่า  Routine to Research (R2R)
                4.  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  มี  website KM  แสดงการพัฒนาคุณภาพเป็นหลัก เป็น website เปิด  บุคคลภายนอกสามารถเข้ามา download ข้อมูลได้  ซึ่งมีจุดสำคัญ คือต้องสร้างให้เกิด  champion ที่สามารถจะทุ่มเทการทำงาน
·        ความคาดหวังในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายจัดการความรู้
                1.  เครือข่ายจะสร้างแรงเหวี่ยงเข้าไปช่วยมหาวิทยาลัย
                2.  ได้  inspiration   เพราะมหาวิทยาลัยยังมีช่องว่างในสาขาที่ต้องการ creativity  สูงๆ
                3.  มีการดึงคนนอก (user) เข้ามา interact กับมหาวิทยาลัยเป็นระยะๆ จะทำให้ได้รับ  feedback  จากภายนอก

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

·        สภาพการณ์ KM  ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
                1.  มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการด้าน KM  แต่เนื่องจากเพิ่งเริ่มต้น  จึงยังไม่มีความก้าวหน้ามากนัก  
                2.  มีการทำ  Benchmarking  โดยเริ่มจาก  6  สถาบัน  ใช้เกณฑ์ของ  Malcolm  Baldrige   พิจารณา  Best Practice  ของมหาวิทยาลัยต่างๆ   
                3.  มีการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้เกิดความเข้าใจในเรื่อง KM และสร้างความตระหนักเรื่อง KM 
·        ความคาดหวังในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายจัดการความรู้
                การจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัย   ควรให้ถึงระดับชุมชนด้วย  
                หลังจากหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุมได้เสนอแผนการดำเนินงานและความคาดหวังแล้ว   ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์  พานิช  ได้สรุปประเด็นเพื่อเป็นแนวคิดในการดำเนินการประชุมในช่วงบ่ายว่า
                1.  ในการนำเสนอช่วงเช้า  ทำให้มองเห็นต้นทุนของเครือข่าย และความคาดหวังที่จะได้จากเครือข่าย  โดย กพร.  มีส่วนผลักดันให้เกิดความสนใจใน KM ขึ้น แต่มหาวิทยาลัยต้องสร้าง  เนื้อหาสาระขึ้นเอง
                2.  เครือข่ายนี้  จะเป็นเครือข่ายหลวมๆ มีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้  แต่ละมหาวิทยาลัย   เมื่อมีกิจกรรมอะไรเกิดขึ้น  ก็แบ่งปันความรู้โดยการส่งข่าวสารให้แก่สมาชิกได้ทราบด้วย
                3.  ขอใช้กลไกระบบคุณภาพของมหาวิทยาลัยมหิดล   ที่จะดำเนินการให้มี website  ให้มี section  ของเครือข่ายนี้  ซึ่งเชื่อมโยงกับ website  ของมหาวิทยาลัยเครือข่ายทุกแห่ง
4.  แต่ละมหาวิทยาลัยต้องสร้าง  CKO และ คุณอำนวย  โดยการจัด  Training for the Trainer  2-3  วัน 
5.  ควรมีการลงนามความตกลงร่วมระหว่างผู้บริหารระดับสูงของ สกอ.,สคส. และมหาวิทยาลัยสมาชิกเครือข่าย 
6.  การใช้เครื่องมือ ธารปัญญา  มีความเหมาะสมกับการดำเนินการของเครือข่าย
7.  ขอให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นฝ่ายจัดการเครือข่ายในระยะ 1 ปีแรกนี้ 
                ในการประชุมช่วงบ่าย  รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อภิชาติ  ศิวยาธร ได้ดำเนินการ      นำประชุมต่อ   โดยผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมกันระดมสมอง  สรุปเป็นประเด็นสำคัญได้ดังนี้   คือ
                1.  ให้มีการลงนามความตกลงร่วมมือระหว่างอธิการบดีมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมเครือข่าย        โดยขอให้ สกอ. เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน ซึ่งควรจะดำเนินการภายในปี 2547   หรือไม่เกินสัปดาห์ที่ 2  ของเดือนมกราคม  2548 การจัดพิธีลงนามอาจจัดขึ้นในวันเปิดหรือวันปิด          ของการจัด Training  for  the  Trainer 
2.     การจัดฝึกอบรม  Training  for  the  Trainer   มีรายละเอียดดังนี้ คือ
-          สคส. เป็นผู้จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม
-          มหาวิทยาลัยสมาชิก  5 มหาวิทยาลัยส่งผู้เข้าร่วมการอบรม  แห่งละ  8 - 10  คน
-          ระยะเวลาการอบรม  2-3  วัน 
-          ขอให้ สคส. พิจารณางบประมาณสนับสนุนการจัดฝึกอบรม
-          ขอให้ ดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด  เรียนถาม ศาตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์  พานิช  เรื่องกำหนดเวลาในการจัดฝึกอบรม
3.     ขอให้สำนักพัฒนาคุณภาพ  มหาวิทยาลัยมหิดล  เป็นผู้ดำเนินการจัดทำ website   หลักของเครือข่ายโดยมีรายละเอียดของ  website  ดังนี้คือ
-          มีการสร้างความเชื่อมโยงไปแต่ละมหาวิทยาลัยที่เป็นเครือข่าย
-          ควรมี  web board  สำหรับถาม-ตอบ
-          สร้าง  group  mail
4.     ควรมีการเวียนกันจัดประชุมระหว่างสมาชิกเครือข่ายประมาณ 3 เดือนครั้ง  โดยสมาชิกที่รับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมจะเป็นผู้กำหนดหัวข้อการประชุม
                5.  รายละเอียดของเครือข่าย
                1.  ชื่อเครือข่าย                 : เครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย

University Knowledge Management

                2.  ตัวย่อ                             : ครม.
UKM.
                3.  ปรัชญา                         : We care to share & we share with care
                                                              ใส่ใจให้ปัน  คัดสรรปันแบ่ง 
                4.  ปณิธาน                        : สร้างเครือข่าย  ขยายความรู้  มุ่งสู่คุณภาพ
                5.  วิสัยทัศน์                      : เป็นเครือข่ายจัดการความรู้ สู่คุณภาพสถาบันอุดมศึกษาไทย
                6.  ตราสัญญลักษณ์         : ขอให้แต่ละมหาวิทยาลัยพิจารณานำเสนอ    แล้วนำมาพิจารณาร่วมกันในการประชุมครั้งต่อไป
                ในตอนท้ายของการประชุม  รองศาสตราจารย์นายแพทย์อภิชาติ  ศิวยาธร    ได้กล่าวว่าการประชุมครั้งต่อไป  คงจะได้รับทราบว่า  แต่ละมหาวิทยาลัยที่เป็นเครือข่ายนั้น  มีความก้าวหน้าในเรื่อง KM อย่างไรบ้าง   ซึ่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รับเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม   ครั้งต่อไป    

ปิดประชุม  15.20  น.

แต่จริงๆแล้วยังมีเอกสารยกร่างแนวความคิดก่อนหน้านั้นอีก     จะเอามาลงให้อ่านกันในตอนหน้าครับ
วิจารณ์ พานิช
๒ กย. ๔๘
ขอนแก่น

หมายเลขบันทึก: 3386เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2005 20:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 19:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

UKM 21 น่าจะเห็นพัฒนาการ จากการนำผลการวิจัย ของทีม รศ.ดร.อรุณี และ คณะ มาวางแผน ยุทธศาสตร์ ด้านการจัดการความรู้ นะ ครับ และ ยังจะมีการลงนาม MOU ครั้งที่ ๓ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท