km เก็บมาเล่าจากwebbord สพฐ;นายหนหวย ผู้เก็บมา ชาญชัย


km คืออะไร

การจัดการความรู้เป็นกระบวนการสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรสามารถนำข้อมูลข่าวสารสนเทศที่มีอยู่ในองค์กร ตลอดจนในชุมชนและสังคมที่องค์กรนั้นตั้งอยู่มาจัดระบบและพัฒนาเป็นองค์ความรู้ใหม่ได้ การจัดการความรู้จึงเป็นกระบวนการที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับสังคมไทยที่เป็นสังคมอุดมไปด้วยองค์ความรู้ต่างๆ
หากพุ่งเป้าไปที่องค์กรสถานศึกษา การจัดการความรู้จึงเป็นกระบวนการสำคัญที่จะช่วยให้สถานศึกษานำข้อมูลมาพัฒนาต่อไป
คนไทยมีฐานความรู้กันมากมายแต่พบว่ามักจะเป็นความรู้ที่อยู่ในตัวแต่ละบุคคลซึ่งเกิดจากประสบการณ์ การเรียนรู้ หรือพรสวรรค์ เป็นความรู้ที่พัฒนาและแบ่งปันกันได้ ดังนั้นจึงต้องมีการจัดการความรู้มาเป็นเวที่ในการแลกเปลี่ยนความรู้กันแล้วเปลี่ยนเป็นความรู้ใหม่ที่ได้จากการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ที่โรงเรียนจัดให้มีการสรุปการทำงานในแต่ละภาคเรียนโดยให้สรุปว่าแต่ละคนทำงานอะไรไปบ้าง เกิดการเรียนรู้อะไรจากงานนั้นและมีปัญหาอุปสรรคอะไรแล้วเราก้าวผ่านไปได้ด้วยวิธีการใดหลังจากเราแลกเปลี่ยนกันแล้วเราก็จะมาสรุปร่วมกันอีกว่าเราได้ความรู้อะไรจากการฟังความรู้ของคนอื่นคความรู้ที่เป็นประโยชน์ของแต่ละคนก็จะถูกนำไปใช้ ซึ่งคิดว่าแนวทางของโรงเรียนรุ่งอรุณได้เดินมาถูกตามแนวการจัดการความร้
ขัตติยา ไชยยโย

การจัดการความรู้ คือ เครื่องมือเพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมาย อย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่
1. เป้าหมายของงาน
2. เป้าหมายการพัฒนาคน
3. เป้าหมายการพัฒนาองค์กร
ซึ่งทั้ง 3 ประการข้างต้นจะสำเร็จได้หรือไม่นั้นต้องเกิดจากการ ริเริ่มที่ดี
แรงจูงใจในการริเริ่มการจัดการเรียนรู้ นั้น ประกอบด้วย 2 ประเภท คือ
1. แรงจูงใจแท้ คือ แรงจูงใจที่มีเป้าหมายที่งาน คน และองค์กร เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จ
2. แรงจูงใจเทียม คือ แรงจูงใจที่เป็นต้นเหตุนำไปสู่การจัดการความรู้แบบเทียม และนำไปสู่ความล้มเหลวในที่สุด เช่น การทำเพราะถูกบังคับ ทำเพราะต้องการผลงาน เป็นต้น
ประเภทของความรู้กับการจัดการความรู้ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทให่ๆ คือ
1. ความรู้เด่นชัด คือ ความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือ วิชาการ อยู่ในตำรา การจัดการจะเน้นเข้าถึงแหล่งความรู้ ตรวจสอบและตีความได้ เมื่อนำไปใช้จะเกิดความรู้ใหม่
2. ความรู้ซ่อนเร้น เป็นความรู้แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน เป็นภูมิปัญญา การจัดการความรู้แบบนี้ จะเน้นที่การจัเวทีเพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน อันนำไปสุ่ความรู้ใหม่ที่จะนำไปใช้งานต่อไป
ศรินทรา อุทัยเลิศ

แนวทางการจัดการความรู้
1 อภิปรายเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (KM)
1.1 ความสำคัญของการจัดการความรู้ (KM) ต่อหน่วยงานของนักศึกษา
ตอบ การจัดการความรู้ (KM) มีความสำคัญต่อโรงเรียนศรีปทุมพิทยาคาร อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ในด้านต่อไปนี้ คือ
(1) การจัดการความรู้ (KM) มีความสำคัญต่อการบริหารการจัดการศึกษา โดยยึดแนวทางตามแผนการ
ศึกษาแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ. 2545-2549 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2545 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ที่เน้นคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการอยู่ในขอบข่ายสำคัญ 3 ประการ คือ การควบคุมการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานการศึกษา การประเมินและรายงานผลการพัฒนาคุณภาพ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุง และพัฒนาต่อไป
(2) การจัดการความรู้ (KM) มีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพ ตามแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาระยะยาว (5) และแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาประจำปี ในระบบวงจรคุณภาพ P – D – C – A ซึ่งโรงเรียนกำหนดกรอบกลยุทธ์ในการพัฒนา/แผนงาน/โครงการ และกิจกรรมที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 27 มาตรฐาน ผลของการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ประเมินจากสภาพจริงที่เกิดจากการปฏิบัติงานของบุคลากรในฝ่าย/กลุ่มสาระการเรียนรู้ และงานต่าง ๆ ตามกระบวนการพัฒนาคุณภาพ

1.2 แนวทางในการจัดการความรู้ (KM) ของสถานศึกษา
จากการวิเคราะห์การจัดการความรู้ของโรงเรียนศรีปทุมพิทยาคารในปัจจุบัน พบว่า กระบวนการในการจัดการความรู้ สอดคล้องกับแนวทางของวงจรการจัดการความรู้แบบ 3 มิติ ซึ่งมี 6 องค์ประกอบหลัก ดังนี้
(1) การจัดการการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม (Transition and Behavior Management) คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในองค์กร ให้มีวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ การตั้งคณะทำงาน การกำหนดปัจจัยสำคัญของความสำเร็จโดยมีผู้บริหารเป็นต้นแบบ
(2) การสื่อสาร (Communication) การทำให้ทุกคนเข้าใจต่างกันในสิ่งที่องค์กรจะดำเนินการ เช่น การประชุมชี้แจงทำความเข้าใจ จัดทำเอกสารประกอบการประชุม จัดทำคู่มือการปฏิบัติการ จูงใจให้บุคลากรสนใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ผู้บริหารมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นต้นแบบ
(3) กระบวนการ และเครื่องมือ (Process and Tolls) เป็นแกนหลักของการจัดการความรู้ ในการทำให้เกิดพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นเครื่องมือที่ทำให้กระบวนการความรู้เกิดขึ้นได้สะดวก และรวดเร็ว โดยใช้เครื่องมือช่วยเสริม เช่น การจัดตั้งครูเครือข่ายของครูที่ผ่านการประเมินได้เลื่อนตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 8 – 9 การเปิดเว็บไซต์ของโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (community of Practice : CoP) จัดการบริหารองค์กรโดยสับเปลี่ยนงานทุก 2 ปี ทั้งองค์กร เป็นต้น
(4) การฝึกอบรมและการเรียนรู้ (Training and Learning) เป็นการเตรียมความพร้อมของบุคลากรทุกระดับ เช่น การจัดส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมระบบการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การอบรมบุคลากรทั้งองค์กรให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนด้วยวิถีพุทธ การอบรมการผลิตและการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น
(5) การวัดผล (Measurements) เป็นการวัดระบบ กิจกรรม ปัจจัยส่งออก (output) และผลลัพธ์ (Outcome) ของการจัดการความรู้ ได้แก่การประเมินภายใน และภายนอกตามเกณฑ์มาตรฐคุณภาพการศึกษา
(6) การยกย่องชมเชยและให้รางวัล (Recognition and Rewards) โรงเรียนศรีปทุมพิทยาคาร ใช้วิธีการนี้ในการจูงใจและเสริมแรงบวกแก่บุคลากรเพื่อพัฒนาคุณภาพงาน ได้แก่การประกาศเกียรติคุณความดี การมอบเกียรติคุณบัตร ตลอดจนการเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น
อัมราภรณ์ กุมภิโร

หมายเลขบันทึก: 33814เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2006 18:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 05:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท