หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

ถอดบทเรียน G2K Camp ร.ร.ไทยรัฐวิทยา ๖๓ (ตอนที่ ๑)


ผมนั่งทบทวนในส่วนของผมว่าค่ายฯ นี้ผมคิดอะไร อย่างไร จำได้ว่าต้นคิดมาจากเรื่อง “จิตอาสา”

        ค่ายฯ นี้มีคนเกี่ยวข้องด้วยมาก ตั้งแต่การเริ่มต้นคิดที่จะจัดทำ ที่ ร.ร.วิทยาสัมพันธ์ จ.พิษณุโลก

        ผมนั่งทบทวนในส่วนของผมว่าค่ายฯ นี้ผมคิดอะไร อย่างไร จำได้ว่าต้นคิดมาจากเรื่อง “จิตอาสา”

        มีการชักชวนผู้คนไปทำกิจกรรม “จิตอาสา” กันหลากหลายรูปแบบ หลากหลายกิจกรรม ซึ่งในบรรดากิจกรรมที่ปรากฏมักเป็นการแบ่งปันเฉลี่ยเงินหรือสิ่งของไปบริจาคซะเป็นส่วนใหญ่

        สำหรับผมนั้น การช่วยเหลือแบ่งปันในรูปแบบใด ๆ ล้วนเป็นสิ่งดีงามทั้งสิ้น การให้แก่คนที่ยากลำบากให้เขาได้รับความช่วยเหลือบรรเทาความทุกข์ยากลง เป็นสิ่งที่มนุษย์พึงกระทำต่อกัน เพียงแต่ว่าการจำกัดการช่วยเหลือแบ่งปันให้เหลือเพียงการช่วยเหลือกันในทางวัตถุผมมองว่าค่อนข้างคับแคบไปหน่อย

        การระดมสิ่งของบริจาคให้กับนักเรียนในดินแดนทุรกันดารห่างไกล แม้เป็นสิ่งดีงาม แต่หากแค่นำสิ่งของไปบริจาคเพียงเท่านั้น ให้แล้วก็จบกันไป นักเรียนได้รับของแจก ผู้ทำทานได้รับความอิ่มใจได้รับคำขอบคุณแล้วก็เดินทางกลับ วันดีคืนดีเมื่อปัจจัยเงื่อนไขพร้อมก็รวมตัวทำกิจกรรมเช่นนี้อีก และโรงเรียนเดียวกันนี้ก็อาจได้รับความช่วยเหลือแบบนี้จากคณะอื่น ๆ อีก หมุนเวียนกันไปเรื่อย ๆ

        แม้ว่าผมมิได้มาจากครอบครัวที่ยากจนข้นแค้น แต่ก็ขึ้นชื่อว่ามาจากครอบครัวระดับล่าง สมัยเป็นเด็กเคยได้รับสิ่งของบริจาคอยู่หลายครั้ง แต่ก็จำไม่ได้แล้วว่าใคร คณะใดที่นำสิ่งของมาบริจาค ผมอาจถูกต่อว่าก็ได้ หากบอกต่อว่ามีความลึกซึ้งผูกพันกับเจ้าของทานนั้นได้หรือไม่ อย่างไร

        ผมเห็นดีด้วยกับกิจกรรม “จิตอาสา” แต่การให้ที่คับแคบเพียง “วัตถุ” ก็ยังไม่ทำให้ผมพึงพอใจ ในใจคิดว่า “จิตอาสา” น่าจะทำอะไรได้มากกว่าการให้ทานเป็นวัตถุสิ่งของ และแรงงาน

        และหากว่าผมจะทำทาน สิ่งใดในตัวผมน่าจะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าพอที่จะนำไปแบ่งปันหากมิใช่ข้าวของเงินทองรวม

        ผมตอบตัวเองในใจว่านอกจากข้าวของเงินทอง (ซึ่งตัวเองไม่ค่อยจะมีเท่าใดนัก) แล้ว บรรดาความรู้ ประสบการณ์ของตัวเองที่มีอยู่น่าจะเป็น “ทาน” ที่นำไปแบ่งปันได้ ทำนองเดียวกับคำกล่าวที่ว่า “การให้ความรู้เป็นทานเป็นการให้ที่ประเสริฐ”

        นี่เป็นที่มาประการแรกว่าหากจะทำกิจกรรม “จิตอาสา” ผมจะลงเรี่ยวแรงทั้งกายและปัญญาของตนเองในกิจกรรมนั้น ทั้งนี้มิได้เรียกร้องให้ทุกคนต้องลงแรงเช่นเดียวกับผม เพราะเงื่อนไขในชีวิตแต่ละคนแตกต่างกัน ผมมีเงื่อนไขที่เอื้อต่อการลงแรงเช่นนี้ คนอื่นเงื่อนไขอาจไม่พอก็อาจจะแบ่งปันด้วยวิธีอื่นก็เป็นสิ่งที่เหมาะสมกับเงื่อนไขเฉพาะของตนเอง

        ประการถัดมา เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ทำงานของผม ผมคลุกคลีกับการจัดการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชนมายาวนานพอสมควร ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน เรียกว่ามีต้นทุนในทางด้านนี้ไม่น้อย ทั้งเด็กและเยาวชนที่มีความเป็นเลิศเข้าข่ายผู้มีความสามารถพิเศษ เด็กและเยาวชนทั่งไป เด็กเยาวชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงมีแนวโน้มว่ามีปัญหา กระทั่งเด็กพิเศษอีกซีกหนึ่งที่มีความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้ ฯลฯ

        และหากว่าผมจะทำค่ายฯ ตามใจผมที่ไม่ต้องอิงกับแหล่งสนับสนุนใด ๆ ผมจะทำค่ายแบบไหน

        ผมอยากทำค่ายที่เน้นพัฒนาการเรียนรู้มากกว่าค่ายที่ป้อนเนื้อหาความรู้ เป็นค่ายที่สนุกสนานเพลิดเพลิน เด็กมีความสุขขณะที่ได้เรียนรู้ไปด้วย รวมทั้งเป็นค่ายที่เน้นการช่วยเหลือตนเองควบคู่กับพึ่งพากันระหว่างสมาชิกในค่ายฯ

        ในด้านกระบวนการเรียนรู้ ผมอยากให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็น ตามหลักการ “หัวใจนักปราชญ์” (สุ-สุตตะ-การฟัง/อ่าน, จิ-จิตตะ-การคิด/วิเคราะห์, ปุ-ปุจฉา-ถาม/สงสัย และ ลิ-ลิขิต-เขียน/บันทึก) ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างถูกทอดทิ้งในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนทั่ว ๆ ไป ประจักษ์พยานที่แสดงความอ่อนแอด้านนี้คือผลการประเมินของ สมศ. ที่ชี้ให้เห็นว่าเด็กไทยอ่อนเรื่องการคิด-วิเคราะห์ ซึ่งหากสืบสาวราวเรื่องแล้วมีพื้นฐานมาจากความอ่อนแอของทักษะการเรียนรู้ทั้ง ๔ คือ สุ จิ ปุ ลิ

        ในด้านเนื้อหา ผมอยากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องราวใกล้ตัวในชุมชนของตัวเอง ซึ่งมีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ชุมชน ลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ ของชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ฯลฯ  เด็ก ๆ ได้เรียนรู้เนื้อหาความรู้มากมาย แต่ไม่เคยรู้เรื่องราวของชุมชนตนเอง จึงไม่เกิดความภาคภูมิใจในรากเหง้าของตนเอง ไม่ประทับใจในความเป็นตนเอง ฯลฯ

        ประการที่สาม ในการจัดค่ายฯ นั้น สิ่งที่หลีกเลี่ยงมิได้คือ “งบประมาณ” พูดหยาบ ๆ ก็คือ ไม่มีงบก็ทำไม่ได้ ประสบการณ์ของผมทั้งการจัดเองและการร่วมงานกับคนอื่น งบประมาณจำนวนไม่น้อยถูกใช้จ่ายไปอย่างหมดเปลืองและไม่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อค่ายฯ อีกทั้งบรรดาค่าใช้จ่ายหลายต่อหลายรายการไม่มีความจำเป็น บางรายการสามารถใช้จ่ายให้น้อยลงได้โดยไม่กระทบต่อคุณภาพค่ายฯ

        ผมคิดว่าจะทำค่ายฯ ที่ใช้งบประมาณให้น้อยที่สุด การไม่ขอรับงบประมาณสนับสนุนจากที่ใด การช่วยเหลือคนละไม้คนละมือ กระทั่งการร่วมไม้ร่วมมือลงเรี่ยวลงแรงทั้งกาย ใจและปัญญา ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้หรือไม่

        เพราะคิดอย่างนี้ จึงต้องหน้ำหนักกับการมีส่วนร่วมค่อนข้างมาก และแม้ผมจะคาดหวังการมีส่วนร่วมจากภายนอกค่อนข้างมาก แต่ก็คาดหวังการมีส่วนร่วมจากภายใน ทั้งโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานในชุมชน ไม่น้อยไปกว่ากัน 

        กล่าวโดยสรุปแล้วผมมีโจทย์ในใจ ๓ ประการ คือ

        (๑) กิจกรรม “จิตอาสา” ที่มากกว่าการแบ่งปันข้าวของเงินทอง เป็นไปได้จริงไหม และหากดำเนินการในรูปแบบการจัดค่ายฯ จะทำได้ไหม ทำได้แค่ไหน อย่างไร

        (๒) การจัดค่ายฯ ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ โดยมุ่งหวังฝึกฝนทักษะการเรียนรู้ทั้ง ๔ ประการ คือ สุ จิ ปุ ลิ รวมทั้งใช้ความรู้เรื่องราวในชุมชนเป็นเนื้อหาการเรียน จะทำได้จริงไหม ได้แค่ไหน อย่างไร

        (๓) และการระดมการมีส่วนร่วมเพื่อการจัดค่ายฯ แบบนี้ ทำได้จริงไหม ได้แค่ไหน อย่างไร

       

 

หมายเลขบันทึก: 335680เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2010 20:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ขอชื่นชมท่านหนานครับที่เสียสละเพื่อเด็ก ๆ

ผมเคยไปร่วมกิจกรรมโครงการปันน้ำใจต้านภัยหนาว ที่ อ. ฮอด จ. ชม. เมื่อปลายปีที่แล้ว-ต้นปีนี้มาครับ

ผมว่าเป็นกิจกรรมที่ดี สร้างสรรค์ครับ

สวัสดีเจ้าพี่หนานฯ

  • ค่ายเริ่มจากจิตอาสา  น่าจะไปได้สวยยย
  • เป็นกำลังใจให้เจ้า *^__^*

 

สวัสดีค่ะ

  • กำลังติดตามมา
  • ขอเล่าเรื่องอื่น ๆ ปลีกย่อยก่อนเข้าเนื้อหา

ติดตามให้กำลังใจคะ

ชวนไปเยี่ยมค่ายเด็กมะเร็ง

พี่คะ ยังไม่ว่างอ่าน เอาอีเมล์มาฝาก

[email protected]

สวัสดีครับน้องหนาน สยามเดินรถไล่ให้ลงที่นคร ตอนค่ำไม่มีรถกลับ ต้องให้ลูกสาวมารับ

กลับถึงบ้านเที่ยงคืน (การเดินทางคือการพักผ่อน)ที่เหนื่อยอิอิ

จากหลายค่ายใจสู่ใจ ที่ผ่านมาเชื่อมั่นว่า มาถูกทางค่ะ

เสริมสร้างศักยภาพ สนับสนุนเพิ่มความเชื่อมั่น พลังชุมชน

กิจกรรมอย่างนี้จะต่อยอด และยั่งยืน เป็นนิมิตหมายที่ดี ขอบคุณค่ะ

 

(๑) กิจกรรม “จิตอาสา” ที่มากกว่าการแบ่งปันข้าวของเงินทอง เป็นไปได้จริงไหม และหากดำเนินการในรูปแบบการจัดค่ายฯ จะทำได้ไหม ทำได้แค่ไหน อย่างไร

        (๒) การจัดค่ายฯ ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ โดยมุ่งหวังฝึกฝนทักษะการเรียนรู้ทั้ง ๔ ประการ คือ สุ จิ ปุ ลิ รวมทั้งใช้ความรู้เรื่องราวในชุมชนเป็นเนื้อหาการเรียน จะทำได้จริงไหม ได้แค่ไหน อย่างไร

        (๓) และการระดมการมีส่วนร่วมเพื่อการจัดค่ายฯ แบบนี้ ทำได้จริงไหม ได้แค่ไหน อย่างไร

  • น้องนัททำโจทย์เดียวกัน  เข้าท่าดีนะ
  • แล้วเราก็จะมีเอกสารคู่มือของเรา  เป็นเครื่องนำทาง
  • จะร่าง ๆ มาให้ดูก่อน...สำหรับใช้นัดต่อไปค่ะ

สวัสดีครับ 

P คุณ วัชรา ทองหยอด

P คุณครู พิชชา

P พี่ครูคิม

P พี่ไก่ ประกาย~natachoei ที่~natadee

30 น้องพรทั้งหล้า

P ท่านผู้เฒ่า วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

P คุณ poo

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ
ตอนที่สองและสามกำลังตามมานะครับ
หากมีประเด็นใดอยากให้ผมตอบหรือเพิ่มเติม เสนอได้นะครับ

P สวัสดีครับ พี่ ครูคิม

ตั้งใตจะสรุปบทเรียนเรื่องเหล่านี้ออกมาครับพี่
ดีมาก ๆ เลยครับ จะได้ช่วยกันเขียน
เดี๋ยวผมจะไปยุท่านผู้เฒ่าวอญ่าอีกคน

การให้ความรู้เป็นทานเป็นการให้ที่ประเสริฐ

ขอคารวะจิตใจอันสูงส่งของหนานเกียรติค่ะ

P สวัสดีครับ คุณ namsha

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจครับ
ค่ายฯ หน้าไปสนุกด้วยกันนะครับ...

ให้กำลังใจค่ะ คนดี ๆ อย่างนี้หายาก อยากเข้าร่วมกิจกรรมจังค่ะ เป็นไอเดียที่ดี

สวัสดีครับ

30
ขี้มูกโป่ง [IP: 113.53.112.188] 
เมื่อ จ. 05 เม.ย. 2553 @ 22:47 
#1940915 [ ลบ ] 

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมและให้กำลังใจครับ
G2K จะรวมตัวกันทำกิจกรรมจิตอาสาอย่างนี้อยู่เป็นระยะครับ
ติดตามข่าวคราวได้จากใน G2K นี่ได้ตลอดครับ
ขอเชิญชวนให้ไปร่วมกิจกรรมคร้ังต่อไปด้วยนะครับ

ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ อยากให้คนไทยมีคนใจดีแบบพี่หนานเยอะๆ จัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท