ความรู้จากท้องถิ่น สู่ห้องปฺฏิบัติการในเชิงวิชาการ (1)


ในความเห็นของผม ผมว่าความรู้ในลักษณะ local knowledges และ local practices เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นต้องศึกษา รวบรวม และเก็บรักษาไว้ ต่อไปผมคิดว่าความรู้เหล่านี้ สามารถนำมาพัฒนาผสมผสานกับความรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์ และศาสตร์แขนงอื่นๆ สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาประเทศได้อย่างดี

ตอนนี้ผมเองกำลังนึกถึงการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านที่เกี่ยวกับดิน หรือการจัดการที่ดินเพื่อการเกษตร อยู่ครับ

  • ชุมชนในพื้นที่ศึกษาของผมนั้น เรียกได้ว่า มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการที่ดินในเชิงหลักวิชาการ น้อยมาก ครับ  โดยเฉพาะเรื่อง การปรับสภาพดินเพื่อลดความเป็นกรด และการใช้ปุ๋ยให้ถูกต้อง แต่อย่างไร เขาก็มีความรู้จากประสบการณ์การเพาะปลูกหลายสิบปี  ถ้าให้ผมเองไปปลูกพืชก็คงไม่งามเท่าแน่นอนครับ   

การศึกษาด้านการประเมินพื้นที่ด้านเกษตรกรรม โดยใช้องค์ความรู้จากชาวบ้านหรือคนในท้องถิ่น เช่น การศึกษา indigenous knowledge ทางด้าน soil classification หรือ soil fertility evaluation   ในปัจจุบันนี้ได้แพร่หลายในหลายๆ ประเทศ รวมทั้งในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านด้วยเช่นกัน

  • ในความเห็นของผม ผมว่าความรู้ในลักษณะ local knowledges และ  local practices เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นต้องศึกษา รวบรวม และเก็บรักษาไว้  ต่อไปผมคิดว่าความรู้เหล่านี้ สามารถนำมาพัฒนาผสมผสานกับความรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์ และศาสตร์แขนงอื่นๆ สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาประเทศได้อย่างดี

ใจจริงผมเอง อยากจะศึกษาปฏิสัมพันธ์กันระหว่างความรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์กับความรู้ของชาวบ้านท้องถิ่น ที่เกี่ยวกับดินหรือการเกษตร

  • ถ้าผมสามารถกำหนดตัวดัชนีที่ชี้ให้เห็นถึง การเชื่อมโยงระหว่างความรู้ในสองลักษณะนี้ (โดยสามารถพิสูจน์ได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์) ผมคิดว่าสิ่งนี้จะเป็นประโยชน์ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุนในการประเมินสภาพพื้นที่ด้านการเกษตร (โดยไม่ต้องวิเคราะห์หาคุณสมบัติของดินทุกตัว ในห้องแลป)  จนถึงการลดความขัดแย้งของแนวความคิดที่แตกต่างกันระหว่างเกษตรกรในท้องถิ่นกับเจ้าหน้าที่ทั้งในเชิงนโยบายและระดับปฏิบัติการ

แม้ว่าแนวความคิดนี้ได้ดำเนินมาเป็นเวลานานแล้วในประเทศไทย แต่ผมถือว่าในทางปฏิบัติยังไม่เป็นประโยชน์ต่อตัวเกษตรกรเองมากนัก ผมว่าการศึกษาเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับความรู้ในท้องถิ่น เป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างมาก เนื่องจากเราเคารพ ความรู้ดั้งเดิมของพวกเขาที่ได้จากการปฏิบัติสืบเนื่องในเป็นเวลาเนิ่นนาน

หมายเลขบันทึก: 33568เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2006 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ขอบคุณครับอาจารย์ ผมตั้งใจจะศึกษาเกี่ยวกับความรู้ของคนในท้องถิ่นด้านการเกษตร  หลังจากเรียนจบครับ

ตอนนี้คงต้องขอตัว มุ่งเขียนวิทยานิพนธ์จนถึงเดือนสิงหาคมนี้ครับ

เยี่ยมมาก ๆ เลยครับอาจารย์ ใช้ความรู้และหลักการจากภายนอกผสมผสานกับทุนความรู้ที่เหมาะสมกับพื้นที่ภายใน จะเป็นสิ่งที่ยั่งยืนที่สุดเลยครับ ถ้ามีโอกาสมาเผยแพร่และช่วยพัฒนาที่อุตรดิตถ์บ้างนะครับ

ขอบคุณครับคุณปภังกร หลังจากผมเรียนจบคงมีเวลาและโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันจากหลายๆ ท่านใน GotoKnow เพิ่มขึ้นครับ 

  • การศึกษาด้าน การนำความรู้ท้องถิ่นมาใช้ปรับใช้เพื่อจัดการทรัพยากรในพื้นที่นั้น มักจะได้รับขอคิดเห็นในเชิงสงสัย (กังขาหรือไม่ค่อยเชื่อใจ) จากนักวิทยาศาสตร์หรือนักวิจัยทั่วๆ ไปน่ะครับ 
  • ซึ่งเมื่อก่อน ผมเอง (เป็นคนที่มีฐานการศึกษาวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์มากก่อน) ทำให้ไม่ค่อยเข้าใจว่า งานแบบนี้จะนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร  เพราะเป็นเพียงภูมิความรู้ของชาวบ้านเท่านั้น ที่อาจจะเกิดจากการคาดเดา การลองผิดลองถูกก็ได้
  • ในห้องเรียนผม มีเพื่อนผมที่ศึกษาเรื่องแบบนี้อยู่ แต่เน้นเฉพาะความรู้ของชุมชนท้องถิ่นด้านการจัดการพื้นที่เกษตร เขาทำการศึกษาที่ ประเทศลาว มาเลเซีย และเนปาล ซึ่งเป็นประเทศบ้านเกิดของเขาเหล่านั้นเอง  นั่นเองเป็นสิ่งที่จุดประกายให้ผม อยากทำความเข้าใจและศึกษางานทางด้านนี้น่ะครับ

ตัวผมเอง คงถือได้ว่าอยู่ในช่วงเริ่มตั้งไข่เองครับ ทั้งในเรื่องการเกษตรและความรู้จากชุมชน แต่ถ้าทุนความรู้ใดที่ผมสามารถแบ่งปันแลกเปลี่ยนกันได้ ผมยินดีเสมอครับ

 

  • ขอให้สำเร็จการศึกษาเร็วๆนะครับ

ขอบคุณมากครับอาจารย์ขจิต ที่ส่งกำลังใจถึงกันครับ

ผมกำลังหัวหมุนเลยตอนนี้  เร่งเขียนร่างเล่มวิทยานิพนธ์ ส่งวันที่ หก กรกฎาคมนี้แล้วครับ

 หลังจากนั้นต้องเตรียมตัวสอบ viva voce สำหรับวันที่ สาม สิงหาคมครับ

กำลังใจที่ได้จากการพบปะกับมิตรสหายใหม่ใน gotoKnow แบบ B2B เป็นสิ่งที่มีคุณค่าครับ

เรียนจบกลับบ้านแล้ว ผมคงโชคดีมีโอกาสได้พบตัวจริงเสียงจริงของอาจารย์ขจิตนะครับ

  • คงสบายดีนะครับ
  • แวะมาทักทาย คงได้พบตัวเป็นๆของคุณ จรัณธร เร็วๆนี้นะครับ
  • มีน้องที่มหาวิทยาลัยศิลปากรเข้าไปถามคำถามที่ถามคำถามของอาจารย์ครับ
  • น้องเป็นนักศึกษาปริญญาเอกทุนมหาวิทยาลัยศิลปากรครับ
  • น้องเขารออาจารย์ตอบคำถามอยู่ครับ
  • หายเงียบไปเลยครับ

ขอโทษครับที่ไม่ได้เข้ามาดูบล็อกของตัวเองตั้งหลายสัปดาห์เลย

กำลังหัวหมุนเลยครับ ต้องเตรียมสอบวิทยานิพนธ์ต้นเดือนสิงหานี้ครับ

ขอบคุณอาจารย์ขจิตมากครับที่ส่งข่าวมาให้ทราบครับ

คือ หนูเป็นนักศึกษา ม.วลัยลักษณ์ค่ะ พอดีกำลังหาข้อมูลทำรายงานเกี่ยวกับดินความสัมพันธ์กับท้องถิ่นนะค่ะ คือตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลและพื้นฐานในด้านนี้เลยค่ะอาจารย์ ด็เลยรบกวนอาจารย์เพิ่มพูนความรู้ให้ด้วยนะค่ะ

              ด้วยความเคารพ

                               หนูดี นศ.ปี4 ม.วลัยลักษณ์         

หายไปนานมากครับอาจารย์ ทุกๆท่านคิดถึง ประกาศ ผู้ใดพบอาจารย์จรัณธรบ้างหายไปกับสายลมและอากาศหนาว

สวัสดีครับอาจารย์ขจิต.....ช่วงระหว่างเดือนธันวาคม ผมลาอุปสมบทครับ  ผมลาสิกขาเมื่อปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมาเองครับ ผมเลยไม่ได้เข้า gotoknow ครับ

คุณหนูดี อาจจะลองมองในด้าน อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมท้องถิ่นในชนบท ที่มีต่อรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินในท้องที่เหล่านั้น ก็ได้ครับ...

เราสามารถมองไปถึงความขัดแย้งเชิงนโยบายในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ในด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินกับสภาพแวดล้อมวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชนก็ได้ครับ 

คุณหนูดีมีแนวคิดดีๆ ก็นำมาแบ่งปันกันบ้างนะครับ 

 

  • อาจารย์ครับ
  • คิดถึงๆๆๆ
  • ตอนไป มน ไปหาแต่ไม่พบ
  • ฮือๆๆๆๆ
  • ดีใจที่อาจารย์ยังเข้าระบบอยู่
  • ถ้าว่างมาเขียนบันทึกให้อ่านบ้างนะครับ
  • อาจารย์สบายดีไหมครับ

สบายดีครับ อ.ขจิต ขอบคุณมาครับครับ...อาจารย์เองก็คงสบายดีเช่นกัน ใช่ไหมครับ

ที่ผ่านมาหลังจากเรียนจบ ผมไม่ได้มาเขียนเลยครับ ยังไงผมก็เข้ามาอ่านเรื่องราวใน gotoknow เสมอครับ

ถ้าอาจารย์มา มน. หรือแถว พิษณุโลก ก็ติดต่อผมได้ทางเบอร์ด้านล่างนี้นะครับ ผมเองอยู่ที่ มน.เหมือนเดิมครับ

 089-6641190 หรือ 055-261000 ต่อ 2706  

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท