หวาน...กับพยาบาท...เป็นญาติกัน


วันนี้ขอนำพืชสองชนิดในวงศ์เดียวกัน ที่ถูกสมมุติบัญญัติ และ การปรุงแต่ง จากคนทำให้มีชื่อเช่นนั้น คือ ผักหวานบ้าน และ ขันทองพยาบาท

พี่น้อยแม่บ้านของผู้เขียนและลูกหลานแกทราบว่าผู้เขียนสนใจพืชและชีวิตสัตว์ต่างๆรอบบ้าน พอไปพบเห็นอะไรที่คิดว่าน่าสนใจก็จะนำมาให้ดู ประมาณว่าทั้งเป็นการเอาใจ  และ ทำให้ได้เรียนรู้ไปด้วยกัน

วันหนึ่งลูกสาวพี่น้อย ถือกิ่งไม้มีผลเล็กๆน่ารักมาให้ดู บอกว่าขึ้นอยู่ที่รั้วหลังบ้านของเขา(อยู่ไม่ห่างบ้านผู้เขียนนัก) คิดว่า เป็นพืชที่เคยเห็นมาก่อนแต่เพื่อให้แน่ใจจึงไปค้นหนังสือ ผักพื้นบ้าน เล่มที่ ๒ สำนักพิมพ์อมรินทร์ ได้ความว่า นี่คือ ผักหวานบ้าน นั่นเอง

 

  • ผักหวานบ้าน นั้นเป็นพืชอยู่ในวงศ์ Euphorbiaceae ในธรรมชาติพบตามป่าผลัดใบ เป็นไม้พุ่มแต่สามารถสูงได้ถึงสิบเมตร หากนำมาปลูกเป็นผักริมรั้วไว้บริโภคในครัวเรือนต้องปลูกในดินร่วน ระบายน้ำดี มีแสงส่องครึ่งวันและตัดแต่งทรงพุ่มให้สูงราวๆเมตรหนึ่งจะได้เก็บง่ายหน่อย

ชื่ออื่นๆที่เรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นคือ ทางใต้เรียก ผักหวานใต้ใบ

ทางเหนือเรียก ก้านตง จ๊าผักหวาน

ภาคกลางยังมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “มะยมป่า” เพราะผลดูคล้าย มะยม สมชื่อ

วิธีบริโภคมีหลากหลาย เช่นยอดอ่อนและผลอ่อนต้มเป็นผักกินแนมน้ำพริก ผัด ทำแกงเลียง แกงอ่อม เป็นแหล่งแคลเซียม วิตามินเอ และ วิตามินบีสอง

นอกจากนั้นยังมีประโยชน์ด้านสมุนไพร โดยใช้รากช่วยแก้ไข้ หมอพื้นบ้านภาคกลางจะนำรากมาฝนทาบริเวณที่เป็นคางทูม

เจ้าต้นที่พบนี่เลยถูกขุดมาปลูกในที่ที่เราจะบำรุงดูแลได้ดี เป็นของขวัญจากธรรมชาติอีกอย่าง

 

เห็นลูกผักหวาน ที่คล้ายมะยม ยังทำให้นึกถึงผลของต้นไม้อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นต้นไม้โบราณ ขนาดลูกก็พอๆกันและยังแตกเป็นกลีบคล้ายกันอีกด้วย มีภาพเก็บไว้นานแล้ว เป็นต้นไม้ที่ปลูกอยู่ที่ทำงานในเมืองของคนข้างกาย ไม่ใช่พืชท้องถิ่น หากแต่เขาหามาลงปลูกตอนสร้างที่ทำงานของเขา(อยู่ริมแม่น้ำป่าสักเช่นกัน แต่อยู่ในตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา) ไปเห็นตอนที่มันออกลูกเต็มต้น น่ารักทั้งลูกและดอก และหล่นเกลื่อนบนพื้นดิน

  • ค้นหนังสือหลายเล่มจึงทราบว่านี่คือ ขันทองพยาบาท และเป็นพืชในวงศ์ Euphorbiaceae เช่นเดียวกับผักหวานบ้านเสียด้วย

 

 

ผู้เขียนพอได้ทราบชื่อ ก็บอกคนข้างกายว่า นี่คือต้นขันทองพยาบาท เท่านั้นแหละเป็นที่มาของการบรรยายถกเถียงเรื่องการตั้งชื่อต้นไม้ของคนโบราณ ที่จริง ขันทองพยาบาท ก็เหมือนต้นไม้อื่นๆ คือ มีหลายชื่อตามถิ่น

ชื่อพื้นเมือง กระดูก ยายปลวก (ภาคใต้) ขนุนดง เพชรบูรณ์) ขอบขางนั่ง (ตรัง) ขันฑสกร ช้องรำพัน สลอดน้ำ (จันทบุรี) ขันทอง (พิจิตร) ข้าวตาก (กาญจนบุรี) ขุนทอง คุณทอง (ประจวบคีรีขันธ์) โจ่ง (ส่วยสุรินทร์) ดูกไทร ดูกไม้ เหมือดโรด (เลย) ดูกหิน (สระบุรี) ดูกไหล (นครราชสีมา) ทุเรียนป่าไฟ (ลำปาง) ป่าช้าหมอง ยางปลอก ฮ่อสะพายควาย (แพร่) มะดูก หมากดูก (ภาคกลาง) มะดูกดง (ปราจีนบุรี) มะดูกเลื่อม (ภาคเหนือ) เหล่ปอ (กะเหรี่ยงแพร่)

(http://203.114.105.84/virtual/Physicals/www.thaimedicinalplant.com/popup/kuntongpayabat.html)

เขาบอกว่า เขารู้จักในชื่อ ขันทอง เขาอธิบายว่าปกติคนโบราณมักตั้งชื่อไม้เป็นมงคล ชื่อประเภท ประหลาด ชั่วร้าย อาฆาตพยาบาทนี่มักไม่มีใครทำกัน หากมีชื่อต่อท้ายขันทอง ก็น่าจะเป็น ขันทองใส่บาตร ว่าเข้าไปนั่น ผู้เขียนก็เถียงข้างๆคูๆ ว่าอาจเป็นต้นไม้ที่มีตำนานที่มาของชื่อก็ได้ แต่เกิดไม่ทันเลยไม่ทราบเรื่องราว หากท่านผู้อ่านท่านใดทราบก็กรุณาสงเคราะห์ให้ข้อมูลตำนานแห่งชื่อนี้ด้วยนะคะ

มีข้อมูลในกูเกิ้ลกล่าวถึงโครงการวิจัยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๔๔-๒๕๔๕ วิจัยหาฤทธิ์ต้านจุลชีพของสารสกัดหยาบ และสารบริสุทธิ์ที่แยกได้จากส่วนของใบขันทองพยาบาท ด้วยมีความพยายามที่จะแยกให้ได้สารบริสุทธิ์เพื่อนำไปทดสอบหาฤทธิ์ต้านแบคทีเรียและเชื้อราก่อโรค

http://eoffice.pharmacy.cmu.ac.th/mis/research/view_research_detail.asp?TRes_id=08-008-B-45

การวิจัยนี้ระบุผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ทราบว่าใบขันทองพยาบาทมีฤทธิ์ต้านจุลชีพได้จริงหรือไม่

 

  2. สามารถพัฒนาต้นขันทองพยาบาทเป็นพืชเศรษฐกิจเพราะสามารถเพาะปลูกได้ทั่วประเทศไทย

 

 3. สามารถดัดแปลงใบและเมล็ดของต้นขันทองพยาบาทไปเป็นยาแผนไทยใช้รักษาผู้ป่วยเอดส์และผู้ป่วยติดเชื้อจุลชีพก่อโรคชนิดที่วิจัย

 

เสียดายจริงๆค่ะค้นไม่พบว่าแล้วเขาได้ผลวิจัยว่าอย่างไร 

มีอยู่กับเขาต้นหนึ่งก็ดีใจแล้วว่าได้มีส่วนอนุรักษ์ต้นไม้โบราณที่มีประโยชน์ยิ่ง

ชื่อทั้งสองยังทำให้คิดต่อไปด้วยว่าชีวิตคู่คนสมัยนี้ใหม่ๆหวานชื่นจนอยากบอกคนทั้งโลก พอหมดความหวานเหลือแต่ความพยาบาท ปองร้ายกันได้ถึงชีวิตดังข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ที่พบอยู่เนืองๆ

ทั้ง ผักหวานบ้าน และ ขันทองพยาบาท ขอฝากตัวไว้ในความทรงจำของคนเมืองยุคนี้ด้วยค่ะ

หมายเลขบันทึก: 332516เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2010 16:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

สวัสดีค่ะคุณป้า

คุณป้าสบายดีไหมคะ คุณป้าคงทำงานหนักนะคะ รักษาสุขภาพด้วยนะคะ  อากาศร้อนแลวค่ะ  ที่บ้านของคุณครูคิมมีผักหวานแบบนี้เยอะมากค่ะ ชำกิ่งไปฝากเพื่อน ๆ ด้วยค่ะ เก็บต้มและผัดบ่อยมากค่ะ

หนูขอขอบำรพคุณที่คุณป้านำความรู้มาฝากเพิ่มเติมค่ะ แต่ที่หนูทราบผักหวานชอบแดดจัดค่ะ

  • สวัสดีครับ
  • มาด้วยความคิดถึงคะ
  • มาอ่านเรื่องดีๆที่น่าสนใจคะ
  • ทำให้หวนคิดถึงพืชชนิดนี้อีกครั้ง

สวัสดีค่ะ

  • มาเยี่ยมด้วยความคิดถึง  น้องนัทมาก่อนใครเลยนะคะ
  • ขอเชิญไปเยี่ยมโรงเรียนดีบนดอยด้วยค่ะ
  • ช่วยประเมินให้คะแนนด้วยนะคะ
  • http://gotoknow.org/blog/krukimgtk/332122

สวัสดีค่ะพี่นุช

ไม่ได้มาทักทายพี่นุชนานมากๆ เลยค่ะ  กลับมาคราวนี้เจอพันธ์ไม่ที่หนูไม่รู้จักอีกแล้ว  แถมชื่อก็ไม่เคยได้ยินอีก..ขันทองพยาบาท

ส่วนผักหวานนี่ชอบค่ะ..แกงผักหวานอร่อยอย่าบอกใคร  แต่ขายในซุปเปรอ์มาเก็ตแพงจังค่ะ

พี่นุชครับ กำลังจะถามว่าพี่นุชหายไปไหน ฮ่าๆๆคิดถึงก็มา เพิ่งเคยเห็นแต่ขันทองที่ไร่มีแต่ผักหวานทั้งผักหวานบ้านและผักหวานป่า แต่ชอบกินผักหวานป่ามากกว่า ทีแรกก็สงสัยเหมือนกันว่า พอฝนตกทำไมห้ามกินผักหวานป่า ภูมิปัญญาชาวบ้านสั่งสมมามากกว่าความรู้ทั่วไปนะครับ...

สวัสดีค่ะ..กำลังคิดถึงอยู่เหมือนกัน...เกือบพยาบาทเรื่องมีอยู่ว่า..ปีที่แล้วนู้นหลอกให้เพื่อนและครอบครัวให้ลงทุนให้หน่อย..หวังว่าคราวหน้าถ้าเพื่อนมีโอกาศกลับมาเยี่ยมเยียนเราอีกจามีผักหวานไว้กินเอง..ซื้อมาร้อยต้นพันห้า..เงินก็เยอะเนอะ...เหอๆตายหมดเลย..เจอตั้งแต่หอยไปจนจบกับความมักง่ายของคน....บาปกรรมเป็นของยายธี อิอิ...ไม่ใช่ๆๆ...กรรมสารธารณะเจ้าค่ะ...เราคงจะพบกันอีกนะ...คิดถึงจัง...อยากพาคุณตาไปเยี่ยมค่ะ...ยายธี

ก่อนอื่นขอสวัสดี รายงานตัวหลังจากหายไปเป็นเดือนได้นะคะ ด้วยงานเกี่ยวกับการเขียนด้านวิชาการที่ผูกพันมีกำหนดส่งปลายเดือนมกราคม ต้องรวบรวมสมาธิมากและคิดๆๆๆหลายตลบค่ะกว่าจะเสร็จ ใช้เวลามากจริงๆตามประสาสว.ค่ะ

ขอบคุณทุกท่านที่มาทักทายให้กำลังใจในการกลับมาค่ะ ^___^

 

  • Pน้องนัท ผักหวานต้นนี้คงมีใครทำเมล็ดมาร่วงไว้นะคะ เลยบ้านป้าไปอีกไกลเหมือนกันมีบ้านหนึ่งเขาปลูกไว้เป็นแปลงใหญ่ๆเลยค่ะ ป้ายังไม่เคยปลูกเอง หนังสือที่ค้นมาเขาบอกว่าให่อยู่ในที่มีแดดครึ่งวัน หากมีมากกว่านั้น แดดจัดๆอย่างที่หนูนัทบอกมาอาจจะดีก็ได้ เราต้องเชื่อคนลงมือทำของจริงมากกว่าตำรานะคะ ขอบใจมากที่แบ่งปันความรู้กันค่ะ
  • Pmena ขอบคุณที่คิดถึงจึงมาหากันค่ะ ที่จริงก็พยายามที่จะไม่หายไปนานๆ เดี๋ยวจะแวะไปเยี่ยมเยียนกันค่ะ
  • Pครูคิม ยิ้มสดใสมากเลยค่ะ มาไล่ๆกันเลยทั้งศิษย์และคุณครู ขอบคุณที่คิดถึงและมาชวนไปเยี่ยมโรงเรียนบนดอย เดี๋ยวจะไปค่ะ
  • Ptalaedao แถวๆบ้านพี่ยังมีของแปลกอีกเยอะค่ะ ^__^ (รวมทั้งตัวพี่ด้วย) เสร็จงานเขียนวิชาการส่งไปเมื่อวันศุกร์รู้สึกปลอดโปร่งมาก เดือนกุมภาพันธ์นี้มีงานโน่นนิดนี่หน่อย และ เลือกงานที่ไม่ต้องเซ็นสัญญาทำงานสบายใจกว่ากันเยอะเลยค่ะ ผักหวานในซุปเปอร์มาร์เก็ตนั้นน่าจะเป็นอีกพันธ์หนึ่งนะคะก้านอวบกรอบอร่อยดี พี่ชอบเอามาผัด และแกงส้มค่ะ
  • Pขจิต ฝอยทอง สงสัยจะจุดธูปล่วงหน้าหรือเปล่าคะ พี่เลยมาทันใจ^__^ ผักหวานที่ขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตนี่ผักหวานป่าใช่มั้ยคะ มันใบเล็กและก้านกรอบ แต่เขาเพาะเลี้ยง พี่เห็นที่โกลเด้นเพลสตรงรามคำแหง เขามีแปลงปลูกปักป้ายไว้ ไม่ใช่ผักถูกๆเลยนะคะ
  • คุณยายธี จะพาคุณตามาเที่ยวอยุธยาเมื่อไหร่เชิญเลยนะคะ เดือนกุมภานี้ส่วนมากจะอยู่บ้าน หากไปไหนก็ไปปกติ คือไม่คิดไปไหนไกลๆ บอกล่วงหน้านิดหน่อยให้แน่ใจว่าอยู่แค่นั้นค่ะ ยินดีต้อนรับค่ะ ผักหวานปลูกยากหรือคะ เห็นชาวบ้านที่อยู่เลยไปเขากปลูกก็ดูง่ายๆ หากมันอยู่ตัวแล้ว ก็ตัดยอดเก็บกินได้ตลอดนะคะ
  • สวัสดีค่ะ คุณนายดอกเตอร์
  • ผักหวานบ้านเคยรับประทานบ่อย ๆ ค่ะ รสชาติดี
    ส่วนขันทองพยาบาท  ชื่อแปลกเพิ่งได้ยินและรู้จักค่ะ
    ชื่นนี้อาจมีการเรียกผิดเพี้ยนไปก็ได้นะคะ  น่าค้นหาที่มาที่ไปค่ะ
  • ขอบพระคุณความรู้ดี ๆ ที่แบ่งปัน
  • ดีใจที่แวะไปทักทายค่ะ
  • มีความสุขทุกวันนะคะ

  • สวัสดีครับคุณนายฯ
  • ผมไม่ได้เข้ามาเยี่ยมนานมาก
  • สบายดีนะครับ
  • ไม้ที่นำเสนอมาสมัยเด็กผมยังเคยเก็บมาเล่นขายของ
  • สมัยก่อนเด็กๆเล่นขายของกันนะครับ ผิดกับสมัยนี้

ผมเคยไปดูงานที่ อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร ได้เห็นผักหวานป่าปลูกเป็นสวนๆเลยครับ แต่ต้องปลูกที่ร่มมากๆครับ ที่ ดร.ขจิตสงสัยผมก็สงสัยด้วยครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ทิพอีกคนที่ไม่ค่อยได้มาทักทาย พี ๆ น้อง ๆ และผองเพื่อนเลย ตอนนี้งานเยอะค่ะ เหนื่อยกับงาน มากค่ำ ผักหวานบ้าน ทิพก็ไม่เคยกินเหมือนกันค่ะ เคยแต่ผักหวานที่เขาปลูกันเป็นสวนเหมือนที่คุณ เบดอิน พูดถึง แต่ใกล้ ๆ บ้านเรานี่แหละค่ะ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี นี่เอง ปลูกกันเยอะมาก เป็น ผลิตภัณฑ์ ตำบลไปแล้ว มีทั้ง ก๋วยเตี๋ยวผักหวาน ส้มตำผักหวาน แกงส้มผักหวาน และอีกหลาย ๆ เมนู พูดแล้วนึกอยากทาน ส้มตำผักหวานเสียแล้วซี ไม่ได้ทานมานานแล้ว

สวัสดีค่ะพี่นุชสุดสวาทขาดใจของน้อง

กลับมาแล้วรึคะ กำลังคิดถึงพอดี ว่าสงสัยพี่หญิงนุชคงงานยุ่ง

และเตรียมตัวจะไปเมืองนอกด้วย เห็นชื่อบันทึกแล้ว ชวนให้ค้นหานะคะ

เคยกินผักผักหวานกับไข่ หรือกุ้ง อร่อยเหาะไปเลยค่ะพี่นุช

ส่วนน้องหวานพยาบาท ลูกที่สองนี่เพิ่งเคยเห็นนี่ละคะ ...

... ส่วนน้องปู หวาน หวานล้ำ จำตรึงตรา ไม่มีพยาบาท ค่ะ ... อิ่มอร่อยมื้อเย็นนะคะ

 

 

  • กำลังระลึกถึงบอยู่พอดีเลยค่ะ เห็นชื่อบันทึก ตะลึงจังงัน พี่นุชต้องมีอะไรเด็ด ๆ มาเสนอแบบ paradox แน่เลย ที่แท้ก็พืชนี่เอง..
  • น่าทานมากค่ะ ดูจากผล รูปทรงน่ารักเชียว สรรพคุณไม่ธรรมดาเลยนะคะ
  • เพิ่งจัดการรวบรวมทำบันทึก 20 กว่าหน้าส่งให้ ICT มหิดลไปไม่นานนี้เองค่ะ คนที่บ้านงงมาก ถามว่างานจบแล้วไม่ใช่เหรอ ทำอะไรอีกล่ะ โดนเลย...สงสัยจะอุดมคติมากไปค่ะ จัดอบรมเสร็จแล้ว เจ้าของงานเขาไม่ได้ขอสักนิด ก็ทำบันทึกส่งให้เขา ใช้เวลาทั้งวันทั้งคืน จนมีปัญหาครอบครัว 5555 พยายามทำความเข้าใจลักษณ์นี้อยู่ค่ะ อิอิ 
  • ส่วนที่นำเสนอในบล๊อกเป็นภาพเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้นค่ะ เกรงใจเจ้าภาพ แฉทุกแง่มุมไปไม่ดี จริงไหมคะ
  • อยากเม๊าท์จังเลย รอบ่มเพาะเรื่องราวก่อนนะคะ เนื้อหาจะได้ไม่ซ้ำค่ะ

                    

  สวัสดีค่ะ คุณพี่

เมื่อคืนนอนนึกๆไป เอ..ช่วงนี้ไม่ได้เมนท์ คุณพี่เลย กะว่าวันนี้จะเมทน์แน่ๆๆ

เปิดบล็อกตัวเองปุ๊บก็เจอคุณพี่ปั๊บ อย่างนี้ถ้าไม่ใช่แรงคิดถึง จะให้เรียกว่าอะไรคะ

(แรงจริงๆ)

ต้นแรกที่บ้านน้องเรียก ผักหวานบ้าน นึ่ง แกง ลวก ทานสดๆกับซุบหน่อไม้

(ไม่เชื่ออย่าลบหลู่เชียวค่ะ)   แต่ชนิดหลัง  คนรุ่นใหม่อย่างน้องเกิดไม่ทันค่ะ

ไม่เคยเห็น  (ชื่อแปลกดีนะคะ)  ขอบคุณที่แวะไปทักทายนะคะ  รักค่ะ  จุ๊บๆๆ

 

ครั้งก่อนตอบความเห็นทำไมจึงเป็นแท่งๆอย่างนั้นก็ไม่ทราบนะคะ ขออภัยท่านผู้อ่านด้วยค่ะ

Pธรรมทิพย์ ขอบคุณภาพดอกไม้สีม่วงน่ารักจังค่ะ ผักหวานบ้านแกงแล้วนุ่มๆ ผักหวานป่าอย่างที่เขาปลูกแล้วเก็บมาขายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตจะกรอบอร่อยไปอีกแบบ ชอบทั้งสองชนิดเลยค่ะ ทานผักพื้นบ้านซึ่งแข็งแรงไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง ทำให้ได้ทั้งประโยชน์และปลอดภัยด้วยค่ะ
Pเบดูอิน ไม่ได้พบกันนานมากจริงๆค่ะ ขอบคุณที่แวะมาเมื่อมีเวลา ดูท่าทางจะงานมากและต้องเดินทางอยู่เสมอๆนะคะ ผักหวานป่านั้นก็สงสัยเช่นเดียวกัน ชาวบ้านยังมีภูมิปัญญาที่ทำให้คนสมัยนี้ทึ่งเสมอๆนะคะ ต้นขันทองนั้นนุชเพิ่งเคยเห็นลูกและต้นจริงๆก็ที่นี่แหละค่ะ เคยแต่อ่านหนังสือยังคิดว่าทำไมชื่ออลังการจัง
Pนู๋ทิพ ผักหวานป่านั้นใส่ก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋นอร่อยมากจริงๆค่ะ แต่ไม่ใช่หาทานได้ง่ายๆนะคะ คงจะเพราะราคาไม่ถูกนัก ยี่สิบบาทถุงนิดเดียว คุณทิพกับพี่อยู่ใกล้กันแค่นี้แต่ก็ไม่ค่อยได้ทักทายกัน ต่างคนต่างยุ่งนะคะ คนทำงานประจำยุ่งเกือบทั้งปี คือ ยุ่งมาก กับ ยุ่งพอประมาณ ของพี่นานๆยุ่งทีค่ะ
Pนาง นงนาท สนธิสุวรรณ ขอบพระคุณที่มาแวะอ่านค่ะ เขียนแล้วมีคนมาอ่านเป็นกำลังใจที่ดีมากสำหรับคนเขียนค่ะ
Ppoo น้องปูจ๋า พี่เงียบหายไปเพราะงานๆๆๆ จริงๆนะ หากจะเตรียมไปเที่ยวก็คงไม่หายไปนาน เพราะการเขียนงานต้องใช้สมาธิมาก การเข้ามาอ่าน ไปแวะทักทายกันหลายๆบ้าน ทำให้จิตส่งออกข้างนอก ที่มีสมาธิกับงานก็จะลดลงเนื่องจากความเพลิดเพลินค่ะ เวลาเตรียมเรื่องเที่ยวมันเพลินอยู่แล้ว เข้ามาทักทายกันยิ่งสนุกมากค่ะ
เตรียมเรื่องเที่ยวมาข้ามปีค่ะ เราจะเที่ยวแบบมีสติไม่ใช่เฮฮาไปเรื่อยๆ วางแผนดีๆ แล้วก็จะมีเรื่องดีๆมาเล่าให้ฟังนะคะ จะไปชมซากุระบานต้นเมษาค่ะ
PSila Phu-Chaya พี่หญิงใหญ่ของน้องปูจ๋า ตามกันมาติดๆ คนชอบทำงาน มีความสุขกับงานก็เป็นสิ่งดี แต่ทุกอย่างต้องทำให้พอดี ซึ่งก็ยากนะคะ ความพอดีตามมาตรฐานแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน บอกคนที่บ้านว่าไม่ต้องห่วงมากนะคะ บอกว่าเราทำงานอย่างมีสติ ทำงานไปดูจิตไป ดีแน่ๆ
Pวิไล บุรีรัตน์ แรงคิดถึงกันมีจริงนะคะเนี่ย ขอบคุณที่คิดถึงกันค่ะ ตอนนี้จะทยอยเรื่องและภาพที่เตรียมๆไว้หลายเรื่อง มัวยุ่งบ้าง เขาปรับปรุงระบบบ้าง ทำให้ไม่สะดวกที่เอาเรื่องโพสต์ค่ะ ตอนนี้เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ขอบคุณภาพดอกสาละค่ะ เป็นดอกไม้ที่สวยงามน่าทึ่งมากจริงๆค่ะ

ทำไมเป็นแบบนี้อีกแล้ว ไม่เข้าใจเลยค่ะ ใครทราบวิธีแก้ไขช่วยกรุณาแนะนำด้วยค่ะ

พี่นุชตอบเฉยๆๆอย่า copy มานะครับ ...

ขอบคุณค่ะอาจารย์ขจิต ฝอยทอง  ที่แนะนำ (เมื่อก่อนทำก็ไม่เห็นเป็นอย่างนี้ค่ะ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท