ต้นเดือนเมษายน 2549 ที่ผ่านมา สพส. จัดงานรวมพลภาคีโครงการภาคใต้ทุกรุ่นมาเจอกัน ภายใต้งานชื่อเก๋ไก๋ “โหมสื่อพื้นบ้านใต้แหลงกันหล่าว” ณ ราชมังคลา พาวีเลี่ยน บีช รีสอร์ท อ.เมือง จ.สงขลา โดยมีโหนดสาวคนเก่ง อ.ปัทมาพร ชเลิศเพ็ชร เป็นแม่งานคนสำคัญ
ระหว่างงานประชุมที่บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานและเป็นกันเองระหว่างภาคีด้วยกัน ได้มีการแสดงจากภาคีหลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็น เพลงเรือแหลมโพธิ์, สาธิตการแกะหนังจากโครงการแกะหนัง, ซีละของโครงการซีละ และรวมทั้งการแสดงดาระ ความสงสัยเกิดขึ้นระหว่างที่ดูการแสดงนี้ ว่า
“เอ๊ะ...ดาระ คืออะไรนะ??”
ในช่วงเวลาของการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะของสื่อแต่ละประเภท ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณครูสมศรี ชอบกิจ ผู้รับผิดชอบโครงการดาระ ชุมชนควนโดน จ.สตูล บทสนทนาเริ่มต้น พร้อม ๆ กับน้องเยาวชนในโครงการ 2 คน ที่เริ่มบรรจงวาดต้นไม้แห่งคุณค่าลงกระดาษ ภาพของสื่อดาระจึงค่อย ๆ ปรากฏเป็นรูปร่างขึ้น <p align="justify">ครบเครื่องเรื่องสืบทอด </p> <p align="justify"> “ดาระ” คือ การละเล่นของชาวมุสลิมเพื่อความสนุกสนาน หรือเมื่อนึกอยากเล่นก็รวมกลุ่มกันร้องรำทำเพลง จากนิทานปรำปรา มีถิ่นกำเนิดในหมู่บ้านเล็ก ๆ แขวงเมืองฮัมดาระตนเมาฟ์ ประเทศซาอุดิอารเบีย ดาระป็นที่รู้จักกันใน จ.สตูล เมื่อประมาณ 3 - 4 ชั่วอายุคนมาแล้ว ถิ่นที่นิยมเล่นดาระกันมากในสมัยนั้น คือ เขตอำเภอเมืองสตูล ตำบลแป-ระและตำบลควนโดน อำเภอควนโดน แต่ปัจจุบันการแสดงดาระจะมีแห่งเดียวในประเทศไทย คือ อ.ควนโดน จ.สตูล และคงเหลือเพียงคณะเดียวโดยมี นายทอง มาลินี (ป๊ะทอง) และครูสมศรี ชอบกิจ เป็นผู้ถ่ายทอดศิลปะพื้นบ้านการแสดงดาระให้กับคนในชุมชน </p> <p align="justify"> น้องเยาวชนจากโครงการดาระ ค่อย ๆ นำเนื้อหาดาระใส่ลงในต้นไม้แห่งคุณค่า ทั้งในส่วนที่มองเห็น เช่น ผู้เล่น ที่สามารถเล่นได้ทั้งหญิงและชาย / เครื่องแต่งกาย (ผู้ชายจะสวมหมวกไม่มีปีก เรียกว่า “หมวกแขกดำ” บางทีสวมหมวกทรงกลมสีขาว ภาษาพื้นเมืองสตูล เรียกว่า “กะเปี๊ยะ” หรือ “สองเกาะ” บางทีก็สวม “ซาตะงัน” ผ้าโพกแบบเจ้าบ่าวมุสลิม สวมเสื้อคอจีน แขนยาวผ่าครึ่งอก เรียกว่า “โตะระหงา” หรือ “ตะโละบลางา” นุ่งกางเกงขายาว ขากว้างคล้ายกางเกงจีนสีเดียวกับเสื้อแล้วใช้ผ้าโสร่งสวมทับกางเกงและชายเสื้ออีกทีหนึ่ง โดยให้ยาวเหนือเข่า บางทีได้ประยุกต์เป็นนุ่งผ้าโสร่งตา ยาวกรอมเท้า ไม่สวมรองเท้า ขณะที่ผู้หญิงสวมเสื้อแขนกระบอกยาว เรียกว่า “เกอรบายาบันดง” ลักษณะเสื้อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เสื้อบานง” เป็นแบบเสื้อที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินโดนีเซีย ลักษณะเสื้อเป็นคอรี ผ่าหน้าตลอดติดกระดุม 3 เม็ด เรียกว่า “กอสัง” มีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ แต่ละเม็ดจะมีเชือกร้อยเข้าด้วยกัน เสื้อเป็นแบบเข้ารูปและบานโค้งตามลักษณะตะโพก ชายเสื้อด้านหน้าจะแหลมหรือโค้งมน แขนยาวทรงกระบอกแบบจรดข้อมือ เสื้อนิยมใช้ผ้าลูกไม้ นุ่ง “ปาเต๊ะยาวา” กรอมเท้า และใช้ผ้าบางคลุมไหล่ เรียกว่า “ผ้าสไบ” มีเครื่องประดับทำด้วยทองรูปพรรณ เช่น กำไลข้อมือ กำไลข้อเท้า แหวน สร้อยคอ เป็นต้น กำไลข้อมือนิยมใช้หลาย ๆ อันไม่จำกัดจำนวน บางอันมีขนาดเท่านิ้วก้อย ใส่จนเต็มแขน) / เครื่องดนตรี ที่มีกลองรำมะนาเป็นเครื่องดนตรีประกอบการแสดงเพียงชิ้นเดียว / เนื้อเพลงจำนวน 44 เพลง และส่วนที่มองไม่เห็น เช่น พิธีกรรมการยกครู / ประวัติความเป็นมา โดยมีครูสมศรีคอยช่วยเหลือด้านข้อมูลอยู่ใกล้ ๆ </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">สามเส้นทางของการสืบทอด : ตายายสอนหลาน / ตายายพาทำ / หลานถามตายาย</p>
สถานการณ์ของดาระบ้านควนโดนปัจจุบัน มีเส้นทางการสืบทอดเพียงเส้นทางเดียว คือ เส้นทางที่ 1 (ตายายสอนหลาน) เนื่องจากการทำโครงการยังไม่เป็นที่เข้าใจ และได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชนเท่าใดนัก อีกปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน เนื่องจาก ระบบความเชื่อในสื่อดาระของชาวบ้านบางกลุ่มในชุมชน ที่มองว่าดาระเป็นกิจกรรมที่ขัดต่อหลักศาสนา หรือแม้กระทั่งบางคนที่ชื่นชอบในสื่อดาระ แต่เกรงจะถูกตำหนิจากคนอีกกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย จึงทำให้หลายคนไม่กล้าที่จะเข้ามายุ่ง และไม่กล้ามาดูการแสดงดาระ
อ.สมศรีเล่าให้ฟังถึงแนวทางขยายเส้นทางการสืบทอดดาระอย่างน่าสนใจว่า “...ต่อไปเราจะเปิดกลุ่ม อสม. ในหมู่บ้าน เพื่อทำความเข้าใจในตัวสื่อดาระแก่ชาวบ้านมากขึ้น เมื่อชาวบ้านมีความเข้าใจ ก็จะเข้ามาร่วมมือกับเรา ปราชญ์ชาวบ้านก็จะมีมากขึ้น ตอนนี้มีป๊ะทองคนเดียว ซึ่งพี่พาแกมาสอนเด็ก ๆ ที่โรงเรียน แต่แกแก่มากแล้ว สุขภาพไม่ค่อยดี หลัง ๆ แกไม่ค่อยไหว แต่พอเรามีเครือข่ายเพิ่มขึ้น เส้นทางการสืบทอดก็จะขยายตัว จากเส้นทางเดียว เพิ่มจนครบเป็น 3 เส้นทาง เด็ก ๆ สามารถลงไปหาปราชญ์ชาวบ้านคนอื่นได้ เก็บข้อมูลจากปราชญ์ และให้ปราชญ์สอนดาระกับเด็ก ๆ...”
การสื่อสารพื้นบ้าน : อาการของ S-M-C-R ดาระ
สืบเนื่องจากยังไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชนเท่าใดนัก จึงทำให้เกิดปัญหาขาดตัวผู้ส่งสาร (ปราชญ์ชาวบ้าน) เนื้อหาลดน้อยถอยลง เพราะขาดผู้ส่งสาร ช่องทาง / โอกาสในการแสดงไม่มี ทำให้สื่อยังไม่ค่อยแพร่หลาย และโยงไปถึงกลุ่มผู้ชม ที่มีจำนวนน้อยลง บางคนมองว่าเชยและไม่เห็นความสำคัญ รวมทั้งด้วยปัจจัยเรื่องระบบความเชื่อที่ต่างกัน ที่บางกลุ่มมองว่าเป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักศาสนา กลัวว่ามาดูดาระแล้วจะบาป เป็นต้น
“...ถ้าถามว่าชาวบ้านดูดาระเป็นน้อยลงไหม ไม่เลย ส่วนใหญ่ดูเป็นกันหมด แต่ไม่มีโอกาสมาดูมากกว่า ด้วยที่กลัวถูกตำหนิบ้าง และไม่มีพื้นที่ให้เขามาดู...”
แนวทางการแก้ปัญหาอาการของ S-M-C-R ดาระ ครูสมศรีเล่าว่า เมื่อได้เปิดกลุ่มแม่บ้าน อสม. ที่เหมือนเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ของดาระของบ้านควนโดน ซึ่งเมื่อชาวบ้านเห็นความสำคัญแล้ว พวกเขาก็จะกล้าถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับเยาวชนได้ ช่องทางในการแสดงจะมีมากขึ้น ในขณะที่กลุ่มผู้ชมหรือคนดูก็จะกล้าดูดาระมากขึ้น เพราะชาวบ้านมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญ ในการทำงานโครงการฯ
การสืบทอดในโรงเรียน
ปัจจุบัน โครงการดาระ โดยการนำของคุณครูสมศรี ได้มีการเปิดหลักสูตรท้องถิ่นที่โรงเรียนควนโดนวิทยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาและสืบทอดดาระให้อยู่คู่ชุมชนควนโดน กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมต้นและปลาย การเรียนการสอนอยู่ในคาบชุมนุมอนุรักษ์ ในระยะเวลาสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ผู้ถ่ายทอดหลักคือคุณครูสมศรี ที่สอนทั้งเรื่องเพลงดาระไปจนถึงท่ารำ และมีป๊ะทอง ปราชญ์ชาวบ้านท้องถิ่น ถ่ายทอดในเรื่องดนตรีและเนื้อเพลง
เมื่อถามถึงแนวทางการสืบทอดในอนาคต ครูสมศรีอธิบายอย่างน่าสนใจว่า “...เมื่อเราเปิดกลุ่มแม่บ้านอสม. โดยที่จะเชิญตัวแทนหมู่บ้านละ 2 คน มาเข้าอบรมเป็นแกนนำของแต่ละหมู่บ้าน หลังจากที่ผ่านเวทีการอบรมแล้ว ก็จะให้เขาเหล่านี้เอาความรู้เข้าไปขยายผลกับเยาวชนในหมู่บ้านตนเอง ขณะเดียวกัน ผลจากการเปิดกลุ่ม อสม. ชาวบ้านก็จะรับรู้ถึงการทำงานของเราและมีความเข้าใจมากขึ้น พอมีความเข้าใจ ก็จะอนุญาตให้เด็ก ๆ เข้ามาเรียนรู้สื่อดาระกับเรา ส่วนเรื่องของหลักสูตรท้องถิ่น ก็จะมีการขยายช่องทาง จากเดิมที่เพียงแค่โรงเรียนควนโดนวิทยาโรงเดียว จะดึงโรงเรียนใกล้เคียง 13 โรง เข้าร่วมเปิดหลักสูตรท้องถิ่นดาระด้วย ระดับชั้นมีการเพิ่มระดับประถมเข้ามา โดยกิจกรรมเบื้องต้นที่จะดึงกลุ่มเด็กประถมเข้ามานี้ เป็นในรูปแบบการออกค่าย ที่นอกจากจะให้ความรู้กับเด็ก ๆ แล้ว ยังให้กับครูในทั้ง 13 โรงเรียนด้วยเช่นกัน กลุ่มผู้สอนที่แต่เดิมมีเพียงครูสมศรีและป๊ะทอง ในอนาคต กลุ่มผู้ถ่ายทอดก็เพิ่มขึ้น ทั้งกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านและครูประถมที่ผ่านการอบรมจากกิจกรรมการออกค่าย...”
<p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">การสร้างตลาดผู้ชม / คนดู</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>
จากปัญหาของผู้ชมดาระในชุมชนควนโดน ที่ทั้งมีจำนวนน้อยลง และชาวบ้านไม่เห็นความสำคัญ ครูสมศรีเสนอแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างคร่าว ๆ ไว้หลายประเด็น เช่น ส่งเสริมและฟื้นฟูการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับดาระเพิ่มมากขึ้น อาทิ การเปิดค่ายอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับดาระ, จัดเวทีประกวดดาระ หรือแม้กระทั่งการสอดแทรกเนื้อหาดาระเข้าสู่ชุมชนให้มากขึ้นผ่านช่องทางของการเปิดเพลงดาระในเสียงตามสายของหมู่บ้าน เป็นต้น
เสียงดนตรีจากกลองรำมะนาค่อย ๆ ดังขึ้น พร้อม ๆ กับการสาธิตการแสดงดาระโดยเยาวชนในโครงการฯ ครูสมศรีในแววตาของความมุ่งมั่นนั่งมองเด็ก ๆ ด้วยความชื่นชม ดาระบ้านควนโดนจากที่เคยอยู่ในอาการร่อแร่กำลังฟื้นตัวขึ้นอย่างเป็นลำดับ โดยมีกลุ่มเยาวชนเป็นผู้ช่วยสำคัญที่จะดึงเอาดาระขึ้นมามีบทบาทรับใช้คนในชุมชนอีกครั้ง ความหวังที่จะได้ยินเสียงกลองรำมะนาและการแสดงดาระของป๊ะทอง ผู้เฒ่าวัย 87 ปี ผู้ซึ่งรักและหวนแหนสื่อพื้นบ้านดาระดั่งชีวิต กำลังจะปรากฏขึ้นในชุมชนควนโดนในเวลาอันใกล้แล้ว....
************************************
update 07-06-49
พรทิพย์ อินทจักร์
สวัสดีครับ คุณหมอชาตรี
ขอบคุณมากที่เขียนเรื่องราวให้เรียนรู้
สุพัฒน์
อยากช่วยกระจายข่าวมีทีมงานพยายามต่อยอดงานของอาจารย์สมศรีโดยดัดแปลงท่าดาระเป็นท่าออกกำลังกายและใช้ดนตรีดาละเดิมมาเล่นเป็นเพลงประกอบจังหวะโดยได้รับทุนนวตกรรมจากสวรส.ใต้ขณะนี้ คุณธิดา เหมือนพะวงศ์ พยาบาลวิชาชีพ สอ.ควนโดน กำลังปรับท่าตามหลักของวิทยาศาสตร์การกีฬาโดยได้รับความช่วยเหลือจากอาจารย์ธวัชชัย พรหมรัตน์ ผอ.ศูนย์กีฬาและนันทนาการ ภาคสี่บ้านพรุ สงขลา และจนท.ศูนย์กีฬาและนันทนาการ จ.สตูล หวังว่าอีกไม่นานเราคงได้การออกกำลังกายแบบดาระบิกมาเผยแพร่กันคะ ขอเป็นกำลังใจให้ทีมงานด้วยคะ
เป็นไงบ้างค่ะ งานแสดงยังเพียบอยู่อีกรึป่าวค่ะ หนูยังจำเนื้อเพลง และ ท่ารำได้ดี เพราะมันคือสิ่งที่ดีที่สุดที่น่าจดจำไปตลอดชีวิตค่ะ
ขอบคุณครูสมศรีที่ให้ความรู้ที่ดีๆแม้มันจะเหนื่อยมากๆก็ตามแต่ก็ผ่านไปด้วยดี ขอบคุณค่ะ