ปริญญาเอกนิเทศศาสตร์ ม.เกริก


สวัสดีลูกศิษย์และชาว blog ทุกท่าน

          ทุกวันเสาร์  ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2553 เป็นต้นไป ผมได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยเกริก จัดหลักสูตรปริญญาเอกนิเทศศาสตร์ สาขานิเทศศาสตร์นวัตกรรม ในวิชา นวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการพัฒนาประเทศ

          ครั้งแรกที่ได้รับมอบหมาย คิดว่าคงไม่สามารถมาช่วยได้มากนัก แต่เมื่อทำ Outline เสร็จ ก็ได้เห็นว่า นักศึกษาปริญญาเอกทุกท่าน นั้นสามารถนำไปพัฒนาตัวเองทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้เป็นภาพลักษณ์ในประเทศไทย (Branding Thailand)

         อะไรที่เป็นจุดแข็งโลกต้องรับรู้ อะไรที่เป็นจุดอ่อน Damage (เสียหาย) เราต้อง Control อย่างระมัดระวัง

         ผมจึงขอใช้ Blog นี้เป็นแหล่งรวบรวมและแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น โดยผ่าน Blog ครับ และขอฝาก Outline ของแต่ละสัปดาห์มาด้วยครับ

 

                                            จีระ  หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 332070เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2010 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (96)

เรียนท่าน ศ ดร จีระ หงส์ลดารมภ์ที่เคารพ

รายการที่9 เป็นวันเสาร์ที่26กันยายน2553ใช่หรือไม่ครับท่านอาจารย์

วันเสาร์ที่6ภุมภาพันธ์2553ท่านอาจารย์และเพื่อนนักศึกษา เราพบกันที่มหาวิทยาลัยเกริกครับ

นาย วิรัช จินดากวี นักศึกษาปริญญาเอก นิเทศศาสตร์นวัตกรรม มหาวิทยาลัยเกริก

ปล (วันอังคารที่4ภุมภาพันธ์2553 เวลา8.00นเชิญทุกท่านฟังท่านอาจารย์จัดสัมมนาทางวิชาการที่มหาวิทยาลัยเกริก)

ขอแก้ไข วันพฤหัสที่4ภุมพาพันธ์2553เวลา8.00นเชิญทุกท่านฟังท่านอาจารย์จัดสัมมนาทางวิชาการที่มหาวิทยาลัยเกริก

โครงการปริญญาเอกนิเทศศาตร์ มหาวิทยาลัยเกริก

หลักสูตร                ปรัชญาดุษฎีบัญฑิต สาขานิเทศศาสตร์นวัตกรรม

รหัสวิชา-ชื่อวิชา      นศ.นวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการพัฒนาประเทศ

                              (Innovation Communication for National Development )

อาจารย์ผู้สอน         ศ. ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และทีม Chira Academy

                              โทรศัพท์ 0-2619-0512-3

                              e-mail: [email protected]         เว็บไซต์: www.chiraacademy.com

                              Blog: www.gotoknow.org/blog/chiraacademy

วัตถุประสงค์

  1. เรียนเพื่อนำไปใช้ และนำไปสร้างโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  2. หลักสูตรขึ้นอยู่กับผู้เรียน ถ้าสนใจอะไรก็สามารถเพิ่มเติมได้
  3. อาจารย์เป็นผู้ประสานความรู้
  4. วิธีการเรียนแบบ 4L’s
  5. หา Concepts ใหม่ ๆ
  6. หาหัวข้อวิจัยที่เป็นประโยชน์

ครั้งที่

วันที่

หัวเรื่อง

1

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2553

เวลา 09.00 – 16.00 น.

ปฐมนิเทศ

  • สื่อสารนวัตกรรมคืออะไร?
  • ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ 1850 ถึงปัจจุบัน
  • เศรษฐศาสตร์มหภาค

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

2

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2553

เวลา 09.00 – 16.00 น.

ปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบกับการสร้างนวัตกรรมการสื่อสาร

  • อุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศ
  • การลงทุนระหว่างประเทศ , การเกษตร

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 

3

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2553

เวลา 09.00 – 16.00 น.

ประวัติศาสตร์การเมืองไทยกับการสื่อสาร

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

       ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

4

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2553

เวลา 09.00 – 16.00 น.

ผลกระทบจากปัจจัยด้านการเมืองปัจจุบัน ที่มีผลต่อนวัตกรรมการสื่อสาร

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ

       ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์

 

5

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553

เวลา 09.00 – 16.00 น.

สอบกลางภาค ครั้งที่ 1 (ช่วงเช้า)

วิจารณ์หนังสือ(เกี่ยวกับนวัตกรรมกาสื่อสาร)  และการพัฒนาประเทศ

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์,

ผู้ร่วมอภิปราย

1. ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ

2. ดร.กอปศักดิ์ ภูตระกูล

6

วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม 2553

เวลา 09.00 – 16.00 น.

การพัฒนาทุนมนุษย์ การศึกษาและปัญหาแรงงานการค้ามนุษย์ต่อการสื่อสารในยุคของการเปลี่ยนแปลง

  • การท่องเที่ยวในไทยและภูมิภาค GMS
  • ภาวะโรคร้อน

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

       และตัวแทนจาก กระทรวงแรงงาน

7

วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม 2553

เวลา 09.00 – 16.00 น.

ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการสร้างนวัตกรรมในอนาคต

  • Medical Hub , การท่องเที่ยว
  • ·       การแพทย์ยุคใหม่, ภาวะโรคร้อน

      โดย  ม.ล.ชาญโชติ ชุมพูนุชและทีม

8

วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม 2553

เวลา 09.00 – 16.00 น.

สอบปลายภาค ครั้งที่ 1 (ช่วงเช้า)

กรณีศึกษา การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล (Social Media)

ดร.ละเอียด ศิลาน้อย และตัวแทนจากบริษัท IT ที่เชี่ยวชาญ

     (นักวิชาการจาก ททท.)

9

วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม 2553

Public Seminar (ให้นักศึกษาช่วยกันหาหัวข้อในการสัมมนา) 

(Panel discussion and Commend)

*หัวข้อย่อยอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

 

การวัดผลการเรียน

  1. Assignment โดยใช้ Blog                                                                        15%
  2. Case Study                                                                                          10%
  3. สอบกลางภาค  (Midterm Exam I) (ข้อเขียน)                                             20 %                           
  4. การมีส่วนร่วมในห้องเรียน                                                                        15%
  5. สอบปลายภาค                                                                                       20%
  6. Public Seminar                                                                                     20%

***  Study Tour : England (BBC) Washington D.C. พบกับบริษัทที่เป็นตัวแทนประเทศและ CNN ที่ Atlanta ช่วงเดือนมีนาคม (เป็น Option)

ขอบคุณคุณวิรัช สายตาไวมาก ในรายการที่9 ที่Public Seminar ตอนแรกลงเป็นวันเสาร์ที่26กันยายน ขอแก้เป็นวันเสาร์ที่ 27 มีนาคม 2553 ครับ

ผมจึงขอแก้ตารางมาให้ใหม่ครับ

เพื่อนๆ นักศึกษา ป.เอก ชาว ม.เกริก วันพรุ่งนี้แล้วนะครับที่เราจะพบปะเจอะเจอกันในห้องเรียนวิชาที่เราจะต้องเจออาจารย์จิระ หลังจากที่เราเจอกันบ้างหลังปิดเทอม 2 อาทิตย์ที่งานเกริกวิชาการ 52 เสียดายความตัง้ใจของเราที่ประธานรุ่นคุณอู่ อธิกิต นัดพบเพื่อไปฟัง การอภิปราย เรื่อง ยุคอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ความฝันหรือความจริงแห่งอนาคต

โดยศาสตราจารย์ ดร.จิระ หงล์ลดารมย์

ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชวนะ ภูวกานนท์

ผุ้ดำเนนิเดินการอภิปราย รองศาสตราจารย์ ดร.สมควร กวียะ

เสียดายที่นักศึกษาไปรวมตัวกันแล้วไม่เจออาจารย์อย่างที่คาดหวังไม่เจอใครแต่เจอใครนักศึกษาที่ไปทราบอยู่แล้วครับแต่ส่วนกระผมได้แต่เจออาจารย์บิ๊ก กล่าวเปิดงานก้ขอตัวกลับมาดูแลงานเรื่องดูหมอที่บ้านต่อ (เพื่อปากท้องครับ) นวัตกรรมการสื่อสารบางครั้งไม่ชัดเจนไม่ต่อเนื่องจะไม่ส่งผลให้มีประสิทธิภาพและไม่ประสบผลสำเร็จหรือขาดความรับผิดชอบ พรุ่งนี้พบกันด้วยความตั้งใจร่าเริงสดใส ใส่ใจกับการเรียนมีครูดี ศิษย์ขยันถ้าให้ความสำคัญซึ่งกันและกันความรับผิดชอบจะตามมาประสบผลสำเร็จและไปถึงจุดหมายปลายทางที่วางไว้อย่างแน่นอน ขอบคุณครับ

ประจักษ์ เพ็งจางค์ ป.เอก รุ่น 1

เพื่อนๆ นักศึกษา ป.เอก ชาว ม.เกริก วันพรุ่งนี้แล้วนะครับที่เราจะพบปะเจอะเจอกันในห้องเรียนวิชาที่เราจะต้องเจออาจารย์จิระ หลังจากที่เราเจอกันบ้างหลังปิดเทอม 2 อาทิตย์ที่งานเกริกวิชาการ 52 เสียดายความตัง้ใจของเราที่ประธานรุ่นคุณอู่ อธิกิต นัดพบเพื่อไปฟัง การอภิปราย เรื่อง ยุคอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ความฝันหรือความจริงแห่งอนาคต

โดยศาสตราจารย์ ดร.จิระ หงล์ลดารมย์

ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชวนะ ภูวกานนท์

ผุ้ดำเนนิเดินการอภิปราย รองศาสตราจารย์ ดร.สมควร กวียะ

เสียดายที่นักศึกษาไปรวมตัวกันแล้วไม่เจออาจารย์อย่างที่คาดหวังไม่เจอใครแต่เจอใครนักศึกษาที่ไปทราบอยู่แล้วครับแต่ส่วนกระผมได้แต่เจออาจารย์บิ๊ก กล่าวเปิดงานก้ขอตัวกลับมาดูแลงานเรื่องดูหมอที่บ้านต่อ (เพื่อปากท้องครับ) นวัตกรรมการสื่อสารบางครั้งไม่ชัดเจนไม่ต่อเนื่องจะไม่ส่งผลให้มีประสิทธิภาพและไม่ประสบผลสำเร็จหรือขาดความรับผิดชอบ พรุ่งนี้พบกันด้วยความตั้งใจร่าเริงสดใส ใส่ใจกับการเรียนมีครูดี ศิษย์ขยันถ้าให้ความสำคัญซึ่งกันและกันความรับผิดชอบจะตามมาประสบผลสำเร็จและไปถึงจุดหมายปลายทางที่วางไว้อย่างแน่นอน ขอบคุณครับ

ประจักษ์ เพ็งจางค์ ป.เอก รุ่น 1

www.intrarak.net

สรุปการบรรยายปริญญาเอกนิเทศศาสตร์ ม.เกริก

วิชานี้เรียนไปเพื่ออะไร (นวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการพัฒนาประเทศ)

อย่างแรกเราเรียนเพื่อทำวิจัย ถ้าหัวข้อดีก็ให้ทุกคนเก็บไว้ทำวิจัย ค้นหา ทดสอบเกี่ยวกับหัวข้อที่เราวิจัย อย่างเช่น NHK, BBC ลงทุนเป็นหมื่นล้านเพื่อให้คนทั่วโลกดู แล้วล่าสุดอัลจาซีราห์ของปากีสถาน นวัตกรรมการสื่อสารมันไปตอบโจทย์เรื่องการพัฒนาประเทศจริงหรือไม่ นักการเมื่องท้องถิ่น บัชญี โรงแรม จะเห็นว่าหลักสูตรนี้กระทบทุกคน

เมื่อเราอยู่ในโลกาภิวัฒน์ต้องให้คนเข้าใจ ของดีต้งอฉกฉวย ของไม่ดีต้องแก้ปัญหาให้เขาเข้าใจ ตอนนี้เราในประเทศไทยเราต้องมีจิตสาธารณะ สิ่งแรกที่รัฐบาลต้องคิดคือเรื่อง Networking เพื่อสร้างคุณค่าให้กับประเทศไทย อย่างเช่นเรื่องการสร้างข่าวปฎิวัติมีผลกระทบมากเพราะไม่มีคนเดินทางเข้ามา เราจะต้องเสริมงานของประเทศของเราให้สามารถนำประเทศไทยเดินไปข้างหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ  เช่นเรื่องพลังงานอย่างเดียวมีความเสี่ยงมากเพราะเอาแหล่งพลังงานจากต่างชาติ ถ้าเกินมีปัญหากับประเทศอย่างนั้นกับเขมรเราจะแย่งมาก นวัตกรรมการสื่อสารเป็นวิธีกรรมการอธิบายว่าภาพที่ถูกต้องคืออะไร ประเทศไทยมีความเสี่ยงมากในเรื่องเศรษฐกิจ เช่น รายได้ประชาชาติ 100 บาท มีรยได้จากการส่งออก 70 บาท เมื่อไหร่ก็ตามที่เรามีปัญหาเรื่องการส่งออกประเทศเราจะแย่  

การสื่อสาร Global to Local คือการสื่อสารระดับโลกการสร้าง brand แต่ในประเทศไทยระหว่าง People to Local เราต้องสื่อสารให้คนในประเทศได้เข้าใจก่อนเพื่อให้เกิดความร่วมมือที่ดี

Workshop

1.  สิ่งแรกต้องสรุปคือตัวละครที่ต้องมีบทบาทมากกว่านี้คือให้

2.  เราต้องไปแก้ปัญหากันใคร คนที่เราต้องไปแก้ปัญหาภาพลักษณ์ของเราให้ดีขึ้น ลูกค้าของเราคื่อใคร

 

กลุ่มที่ 1

1.  ด้านเศรษฐกิจคือตัวแทนภาคธุรกิจเอกชน แก้ไจขในส่วนที่ดีและไม่ดี คนเหล่านี้ต้งอมีการฝึกให้เป็นนักกาทูตที่ดีเพื่อสื่อภาพที่ดีปัญกหากว้างๆ ปัญหาเศรษฐกิจระหว่างประเทซศด้วย

2.  ด้านสังคม ตัวละครคือนักวิชาการที่ทำการวิจัยเพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศต่อสาธรณะชนได้ แต่ต้องซื่อสัตย์กับวิชาชีพเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริง

3.  นักการเมืองท้องถิ่นที่ไม่สังกัดพรรค เพราะจะนำเรื่องดีของท้องถิ่นมาเผยแพร่และไม่ดีมาแก้ไขได้และออกสู่สาธารณะชน

กลุ่มที่ 2

CSR คือการสร้าง Network ในส่วนของ สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ โดยเน้นที่ภาคประชาชน เพราะคนนั้นมีอยู่ในทุกภาคส่วน (people power) ในการส่งเสริมให้สร้างสรรคสิ่งที่ดีเพื่อเป็นสิ่อที่สามารถสร้างภาพลักษณ์ให้ประเทศได้ เช่น เรื่องการท่องเที่ยว วัฒนธรรม

การสื่อสารแบ่งออกเป็น

  • Internal Communication เป็นการรวมกันสร้างภาพลักษณ์
  • Global Communication เป็นการสื่อภาพลักษณ์ที่ดีให้ต่างชาติได้รับรู้

 

กลุ่มที่ 3

ไม่ว่าใครจะเป็นตัวละคร ทุกคนต้องรู้จักมองภาพใหญ่ Macro เพราะคนไทยแก้ปัญหาที่ปลายเหตุตลอดเวลา ต้องมีการบริหารจัดการมองความรู้ คนไทยต้องแก้เรื่องการตามอย่างคนอื่นเพราะคนไทยมีแต่ข้อมูลไม่มีองค์ความรู้ การแก้ปัญหาต้องแก้เป็นจุดและต่อเนื่อง ในเรื่อง Micro ต้องแก้ที่จิตใจของคนก่อนให้เข้าใจว่าสิ่งที่เราต้งอทำคืออะไรละแก้ที่บุคคล ตัวละครไม่สำคัญ แต่ตัวละครต้องคิดเป็นวิเคาระห์เป็น รู้จักตนเอง ช่วยองค์กร และช่วยประเทศ

 

อ.จีระ Comment Workshop

สิ่งที่เราพูดกันมาทั้งหมด เราอาจะหมายถึง รัฐบาล เอกชน NGO นักวิชาการ แต่รัฐบาลมีจุดอ่อนคือเรื่องการที่รัฐบาลไม่มีแนวรวม ไม่มีเครือข่าย อย่างรัฐบาลที่มีเครือข่ายจะประสบความสำเร็จได้มาก ต้องมีแนวรวมจากภาคอื่นๆ เช่นการศึกษา อาชญากรรม ก็ต้องเปิดโอกาสภาคประชาชนเข้ามาเราสามารถเอาคนที่มีมันสมองของประเทสเข้ามาร่วมทำงาน ในส่วนลูกค้าแบ่งเป็น sector คือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ยังมีตัวแปรที่สำคัญที่แทรกอยู่ใน 3 sector นี้ที่ส่งผลกระทบเช่นเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องการจ้างงาน นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงการที่จะให้ตัวแทน ภาครัฐ เอกชน ประชน ไปชี้แจ้งต่อต่างชาติต้องแน่ใจว่าเขามีความสามารถในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทยด้วย

 

ยกตัวอย่างหัวข้อวิทยานิพนธ์ 1 เรื่องแล้วอธิบายว่าเป็นอย่างไร โดยตั้งหัวข้อแบบ Hypostasis

หัวข้อ แนวทางในการนำจุดยืน จุดรวมของคนในการพัฒนาประเทศ เน้นที่เรื่องการต่อรอง เพราะแต่ละคนต้องมีจุดยืน และจุดรวม การวิจัยเพื่อหาตรงกลางให้ได้เพราะให้บรรลุเป้าหมายในการหาจุดรวม จะเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีประสบการณ์ และศึกษาจาก Case-study

Commend น่าจะเป็นวิจัยที่ทำอยาก เพราะเราจะทำให้อยู่ต้องกลางให้ได้และใจเย็น การทำตรงนี้ต้องเพื่อองค์ความรู้ให้มาก

 

หัวข้อ สิทธิทางด้านมนุษยชนที่เท่าเทียบกันเน้นที่เด็กและผู้สูงอายุ โดยใช้หลักเพื่อลดปัญหาความรุนแรงที่มีต่อเด็ก และสตรี กำหนดเป็นเป้าหมายในอนาคตเพื่อมาเป็นตัวกำหนดการดำเนินงานในปัจจุบัน ในบทบาทของสื่อมวลชนคือการสื่อเรื่องผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหา การนำองค์ความรู้ไปสู่เด็กโดยใช้สื่อการสอนต่างๆ

Commend หัวข้อน่าสนใจมาก แต่กว้างมากไป แต่อาจะทำเป็นลักษณะ experimental โดยแบ่งคน เป็น 2 กลุ่ม แล้วมาเปรีบยเทียบกัน และมาทำเป็น case study ได้

UNESCO ส่งเสริม เรื่อง Human Right

  • Education
  • Science
  • Cultural 

 MOST = Managing of Social Transformation

 

หัวข้อ เรื่องสิทธิส่วนบุคลเพราะนวัตกรรมการสื่อสารทันสมัยขึ้น จุดสมดุลระหว่างการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลกับความมั่นคงของัรฐ กรณีศึกษา การดักฟังการสนทนาทางโทรศัพท์

Commend เน้นเรื่องกฎหมายว่าถ้าไปล้ำสิทธิส่วนบุคคลว่าทำอย่างไร

งานกลุ่มเพื่อเสนอในวันที่ 17-18 ก.พ. ระหว่าง study-tour ที่วังน้ำเย็น

กลุ่มที่ 1 ให้ศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ 1850-1945 (หลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง) ให้ข้อสังเกตุว่าเศรษฐกิจไทยเกิดจาก 2 อย่าง คือข้าวและแม่น้ำเจ้าพระยา ให้ศึกษา สรุปและวิเคราะห์ประเด็นจากบทความของ Ingram (ประมาณ 3 หน้า) เข้าไปที่ Google พิมพ์ Ingram/Thailand

 

กลุ่มที่  2 ศึกษาเศรษฐกิจระหว่างปี 1945-1980 ซึ่งประเทศไทยกำลังเปิดประเทศและจะต้องอธิบายให้โลกรู้ว่าเรามีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร

 

กลุ่มที่ 3 ศึกษาเศรษฐกิจระหว่างปี 1980-2010 เศรษฐกิจในปัจจุบันที่มีผลต่ออนาคต

หมายเหตุ กลุ่ม 2 และ 3 ให้หาข้อมูลจากธนาคารชาติ ศึกษาจากตัวเลขว่าเศรษฐกิจไทยโตอย่างไร ดูจุดอ่อนจุดแข็ง

งานเดี่ยวส่งทาง Blog

หลังจากฟังการสัมภาษณ์ ดร.ศุภชัย หล่อโลหะการ แล้วให้วิเคราะห์ว่าอะไรคือนวัตกรรมการสื่อสารในความเห็นของท่าน

นายวุฒิวิทย์ ก่าแก้ว

กำหนดการ

สัมมนานอกสถานที่ “วิชานวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการพัฒนาประเทศ”

ระหว่างวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2553

ณ วังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว

โดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553

07.00 น. รับประทานอาหารเช้า ห้องโครงการปริญญาเอกนิเทศศาสตร์

08.00 น. เดินทางออกจากมหาวิทยาลัย โดยรถมหาวิทยาลัย

12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ณ เทศบาลตำบลวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว

13.00 – 17.00 น. สัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง”นวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการพัฒนาประเทศ”

18.00 น. รับประทานอาหารเย็น

พักผ่อนตามอัธยาศัย

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553

06.00 – 8.30 น. รับประทานอาหารเช้า

09.00 น. บรรยายสรุป สภาพเศรษฐกิจด้านชายแดนอรัญประเทศ โดยนายด่านศุลกากร

อรัญประเทศ

12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 น. เดินทางกลับกรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ

อาจารย์จิรายุ อัครวิบูลย์กิจ

รองผู้อำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชานิเทศศาสตร์นวัตกรรม

โครงการปริญญาเอกนิเทศศาสตร์

โทรศัพท์ 085 0990908

ประธานรุ่น นายอธิกิต นัยพินิจ 081 6287822

นายสุริยา ประดิษฐ์สถาพร

หลังจากฟังการสัมภาษณ์ ดร.ศุภชัย หล่อโลหะการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ได้ให้สัมภาษณ์

ในความเห็นของผม Innovation communication หรือ นวัตกรรมสื่อสารหมายถึง รูปแบบหรือเทคนิคการสื่อสารที่อาศัยเทคโนโลยีในการสื่อสารเพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจสารที่ผู้ส่งเจตนาส่งออกไป ซึ่งจะต้องใช้ความรู้ ,ความคิดและความสร้างสรรค์ และจะต้องมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วย ดังนั้นนวัตกรรมการสื่อสารจะเน้นในเรื่องของการใช้ความรู้ การสร้างความเข้าใจเพื่อแก้ปัญหาต่างๆในสังคม ซึ่งจะเห็นว่า หากมีการสร้างสิ่งใดขึ้นมาแล้วไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ สิ่งนั้นจะไม่เรียก นวัตกรรม แต่จะเรียกว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์แทน

นวัตกรรมการสื่อสารสมารถเป็นเครื่องมืในการแก้ปัญหา ทางเศรษกิจ ทางสังคม และการเมือง

ปัญหาของการทำนวัตกรรมมี 3 ประการ ได้แก่ การไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง(Change), ไม่สนใจความต้องการของลูกค้า(Customer) และไม่ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น (Command and Control)

เรียนท่าน ศ ดร จีระ หงส์ลดารมภ์ คณะอาจารย์และเพื่อนนักศึกษาปริญญาเอก

ในโอกาสวันตรุษจีนปี2553นิ้ ขออวยพรให้ท่านและเพื่อนๆ

ชินเจียงยู่อี่ ชินนิ้อู่ใช้ ตั๊วทั่ง ตั๊วทั่ง

โชคดีปีใหม่ ร่ำรวย ร่ำรวย มีเงินใช้มากๆ

มีความสุขตลอดปี2553 ปีขาลทอง

จาก นาย วิรัช จินดากวี นักศึกษาปริญญาเอก นิเทศศาสตรนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเกริก

study tour วิชานวัตกรรมการสื่อสารเพื่อพัฒนาประเทศ

นำโดย ท่าน ศ ดร จีระหงส์ลดารมภ์ สถานที่สำนักงานเทศบาลตำบลวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว

วันที่ 17 ภุมภาพันธ์ 2553 เวลา13.00น ณ ห้องประชุมชั้น2

ท่านอาจารย์ จิรายุ รองผู้อำนวยการโครงการปริญญาเอก กล่าวแนะนำ นายก วันชัย นารีรีตน์ นายกเทศมนตรีตำบลวังน้ำเย็น

กล่าวรายงานถึงสภาพเมืองวังน้ำเย็น สิ่งที่นายกวันชัยได้พัฒนาเมืองวังน้ำเย็นผมในสถานะอดีตนายกเทศมนตรีตำบลลำนารายณ์

ต้องขอชื่นชมว่านายกวันชัยเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความสามารถพัฒนาท้องถิ่นได้ยอดเยี่ยมมากๆ สมแล้วที่เป็นนายก3สมัย

ท่านศ ดร จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้บรรยาศเรื่องเศรษฐศาสตร์มหภาค และ เศรษฐศาสตร์จุลภาค ฃึ่งผู้ร่วมรับฟังเป็นสมาฃิกสภาท้องถิ่น

ผู้นำท้องถิ่นรวมถึงข้าราชการท้องถิ่นทุกระดับจำนวนเกือบ100คน ร่วมแสดงความคิดเห็นจำนวน3กลุ่มแล้วให้นักศึกษาปริญญาเอก

นิเทศศาสตร์นวัตกรรม มหาวิทยาลัยเกริก คอมเม้นท์จำนวน3กลุ่ม โดยผมในฐานะนักศึกษาก็ได้แสดงความคิดเห็นอยากให้ท่าน

นายก วันชัย สร้างศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในวันนิ้พวกเรานักศึกษาและชาวท้องถิ่นวังน้ำเย็นมีความสุขมากๆและได้ความรู้ประสพการณ์

จากท่าน ศ ดร จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นอย่างมาก

ตอนเย็นวันที่17 ภุมภาพันธ์ 2553 ที่โรงแรมอินโดจีน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว พวกเรานักศึกษาก็มีเฃอร์ไพร์วันเกิดย้อน

หลังท่าน ก็หวังว่าท่านคงมีความสุขเช่นกัน ท่านอาจารย์ได้ร่วมร้องเพลง ท่านร้องเพลงได้ไพเราะมาก หลังจากนั้นพวกเราได้ร่วม

เสวนาสมานฉันท์เป็นบรรยากาศแห่งความเป็นพี่น้องเพื่อนนักศึกษา

เช้าวันที่18 ภุมภาพันธ์ 2553 ที่โรงแรมอินโดจีน ได้เชิญท่าน รัชพล อ่อนนิ่ม นักวิชาการศุลกากร ชำนาญการ มาบรรยาศเรื่อง

สภาพเศรษฐกิจ การค้าชายแดน ฃึ่งพวกเรานักศึกษาปริญญาเอกได้ความรู้จากท่านวิทยากรเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่อง ข้าว

เรืองทองคำและเรื่องอื่นๆ หลังจากนั้นพวกเราไดร่วมรับประทานอาหารกลางวันป็นอาหารเวียตนามแสนอร่อย ตืนเต้นนิดหน่อยเกิด

เหตุการ ไฟฟ้าฃ๊อตไหม้ที่ร้านอาหาร และพวกเรานักศึกษาก็ได้ไปศึกษาเศรษฐกิจชายแดนของจริงที่ประเทศกัมพูชาโดยการ

อนุเคราะห์จากท่านอาจารย์จีระ และท่านรัชพลให้โอกาสการท่องเที่ยวในครั้งนิ้ จบการศึกษาในครั้งนิ้เป็นอย่างดีเลิศ

ต้องขอขอบคุณบุคคลเหล่านิ้อาทิเช่น ท่าน ศ ดร จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านอาจารย์ จิรายุ ท่าน นายก วันชัย นารีรัตน์

ท่าน รัชพล อ่อนนิ่ม เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรทุกท่าน เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงที่นำขบวนรถเดินทาง โดยเฉพาะท่านที่สำคัญที่สุดที่

ดำริจัดโครงการการนิ้และเป็นเจ้าภาพดูแลตลอดทริปนิ้คือ ท่านประธานรุ่น นาย อธิกิต นัยพินิจ เป็นอย่างสูง ยังไม่จบครับ

ควันหลงจากstudy tour ตอนเดินทาง คุณประจ้กษ์ หมอดูใหญ่ของเราไม่เคยเดินทางโดยรถตู้เกิดกลัวอุบัติเหตุขอลงจากรถพวกเรา

เลยทิ้งไว้ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา(ท่านหมอดูใหญ่เคยแต่นั่งรถเก๋ง นั่งหลังอย่างดี) เย็นวันที่17ภุมภา คุณ โสภิต คุณ ศศิสุภา เพื่อนนัก

ศึกษาได้ไปตื่นเต้นกับสินค้าที่ตลาดโรงเกลือกันใหญ่(สงสัยไม่เคยไปเพราะเป็นแต่ไฮโฃ) คืนวันที่17ภุมภา คุณ ไพบลูย์ สามีเป็น

นักร้อง คุณ วัชรี ภรรยาเป็น หางเครื่อง (มันกันใหญ่) มีการดวลกันเกิดขึ้น2กลุ่ม กลุ่มแรก คุณ พูนศักด์ คุณ สุริยา คุณ จิตรการ

คุณ อธิกิตดื่มแต่น้ำเปล่า กลุ่ม2 คุณ ประจักษ์ คุณ อักษร คุณ วุฒิวิทย์ คุณ วิรัช คุณ รมย์ธีรา ดื่มสุราโฃดาบางๆเหล้าแก้วเดียวกัน

สรุบว่าดีมากครับสมานฉันท์ ได้ความรู้ มีประสพการณ์ ขอให้มีกิจกรรมอย่างนิ้ต่อไปครับ

นาย วิรัช จินดากวี นักศึกษาปริญญาเอก นิเทศศาสตร์นวัตกรรม มหาวิทยาลัยเกริก

กลุ่มที่ 1 ศศิสุภา สังวริบุตร

ประจักษ์ เพ็งจางค์

จิตรการ กาญจนเลขา

รมย์ธีรา คล้ายขยาย

วิรัช จินดากวี

คำถาม “18 ประเทศ ส่งคำเตือนมา ไม่ให้คนต่างประเทศเดินทางเข้ามา ประเทศไทย”

คำตอบ "กรณีที่อยู่ ในบทบาทของภาครัฐ”

สมมติฐาน ภาคธุรกิจการลงทุน ภาคบริการ และการท่องเที่ยวเติบโต เกิดความเชื่อมั่น จากชาวต่างชาติ

ต้นเหตุของปัญหา 1) การข่าวและการประชาสัมพันธ์ในเรื่องภาพลักษณ์ของประเทศ ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เกิด สับสน จาก “18 ประเทศ” (ในที่นี้ถือเป็นประเทศเป้าหมาย)

2) ขาดความสามัคคี อันมีต้นเหตุจาก ความสับสนของคนในชาติ การมีทัศนคติ เชิงลบกับภาครัฐ

3) ความร่วมมือในระหว่างขององค์กรภาครัฐ ด้วยกันบกพร่อง นโยบายไม่ส่งผลเอื้อต่อกัน หรือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

4) บทบาท จรรยาบรรณ และจริยธรรม ของสื่อมวลชน รวมถึงทัศนคติในเชิง สร้างสรรค์เพื่อให้เกิดผลดีกับประเทศชาติโดยรวม เกิดปัญหา

ผลที่คาคว่าจะได้รับ

ภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นของประเทศนำสู่ความเชื่อมั่น” ประชาสัมพันธ์ในสิ่งดีด้วยกลยุทธ์ใหม่ๆ ในมาตรการเชิงรุก เพื่อผลลัพธ์ตรงเป้าและหมายและทันเวลา

กลยุทธ์เชิงปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย

1) การข่าวและการประชาสัมพันธ์ในเรื่องการสร้างภาพลักษณ์

(ในทางตรง) กำหนดทิศทาง การข่าวและการประชาสัมพันธ์อย่างมีขั้นตอน เนื้อหาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ในทุกสื่อ วางลำดับของ Content ตามลำดับ 1 ..... 2 ให้เกิด Message ที่เป็นทิศทางเดียวกัน น่าเชื่อถือ ทั้งนี้การวาง Content จะต้องมีการศึกษา ในเชิงลึก โดยเฉพาะกลุ๋มประเทศ 18 ประเทศ ถึงสาเหตุ ที่เป็นประเด็นปัญหา เพื่อการส่งสารให้เกิดการรับ ขัอเสนอ ที่ตรงใจ นำความเชื่อมั่นให้กล้บมา

(ในทางอ้อม) การสร้างความเชื่อมั่นกับกลุ่มเป้าหมาย โดยวิธีสร้างสัมพันธภาพ กับกลุ่มนอกเป้าหมาย ในจำนวนมากพอ อาทิ การเริ่มสร้างสัมพันธภาพกับกลุ่มประเทศอื่นๆ มีการข่าวให้กลุ่มเป้าหมาย ได้เห็นว่า กลุ่มประเทศอื่นๆ มีความเชื่อมั่น และให้ความไว้วางใจประเทศของเรา (ในที่นี้อาจใช้วิธีการ Offer เรื่องสิทธิ พิเศษ ชวนเชื่อ เชื้อเชิญ) นานาประเทศในโลกย่อมมีเป้าหมายในเรื่องการแข่งขันอยู่แล้ว จึงไม่ต้องการเสียโอกาส ดังนั้นวิธีนี้อาจทำให้ กลุ่มประเทศเป้าหมาย ลดกำแพงลง และหันกลับมาติดต่อ กับเราในที่สุด

2. การขาดความสามัคคี และความสับสนของคนในชาติ

(ในทางตรง) ศึกษาละเอียดถึงความต้องการของแกนนำในการก่อปัญหา (ทางลับ) ดำเนินวิธีการต่อรองหาความลงตัว ระหว่าง จุดยืน และ จุดสนใจ เพื่อให้เกิดความขัดแย้งน้อยที่สุด อาจต้องเลือกตัวละคร และบทบาทให้สอดคล้อง ทั้ง บู๋และบุ๋น

(ในทางอ้อม)ใช้การประชาสัมพันธ์และการสร้างบรรยากาศ ให้เกิด Message ซ้ำๆจนคล้อยตาม อาทิ ทำให้เห็นว่า หากเกิดการแตกแยก ผลย้อนจะกลับมาหาตัวเองในที่สุด อาจต้องใช้วิธีการ ตัดแนวร่วม ทำให้พลังของผู้ขัดแย้งอ่อนแรงลง

- ส่งเสริมให้เรื่องดีๆ ให้เกิดข่าวเชิงบวกให้มากๆ อย่างเช่นในปัจจุบันมีการรณรงค์ ในเรื่องความรัก ภักดีต่อพระเจ้าอยู่หัว แต่ทั้งนี้อย่าทำวิธีเดิมซ้ำๆ นานเกินไป ต้องหาแนวทางใหม่ๆ ให้เกิดการตื่นเต้นเสมอ

- หาแนวร่วมจากผู้นำระดับองค์กรต่างๆ ให้เกิดลัทธิการตามอย่างในสิ่งที่ดี การรณรงค์ในสังคมชนบทและเมือง การสื่อสารและเครื่องมือ การสื่อสารท้นสมัย รวตเร็วและเป็นทิศทางเดียวกัน ศึกษาคู่ต่อสู้เพื่อดักทางให้รู้เท่าทัน

3.ความร่วมมือภายในองค์กรภาครัฐเอง

ศึกษาเชิงลึก และเชิงรุก อย่างจริงจัง ถึงประเด็นปัญหาของระบบราชการที่ยังเป็น Red Tape ส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งของภาคประชาชน ให้ชุมชนได้ตรวจสอบกันเอง พยายามลดขั้นตอนความยุ่งยาก ส่งเสริมในเรื่องงาน บริการประชาชน เพื่อพยายามลดช่องว่าง ระหว่าง อำมาตย์และประชาชน การรณรงค์หรือการใดๆที่จะเป็นภาพลักษณ์เชิงบวกต่อรัฐต้องเร่งให้เกิดกระแส ในทางกลับกันข่าวเชิงลบต้องระมัดระวัง

4. บทบาทของสื่อ

ศึกษาธรรมชาติของคนสื่อ อย่างจริงจัง เพื่อวางแผนด้วยวิธี เกลือจิ้มเกลือ” คนของภาครัฐต้องสนใจและศึกษา คนสื่อหรือธรรมชาติอย่างจริงจัง การจะให้คนสื่อ มาเชื่อถือ ภาครัฐนั้น มิใช่เพียงบอกกล่าว แถลงข่าว แต่ต้องมีแผนและวิธีการที่ แยบยลกว่านี้

มุ่งสร้างสื่อที่ดี สนับสนุนสื่อทางเลือกที่เป็นสื่อบวก ให้มีปริมาณมาก เพื่อบดบัง “เติมน้ำดี เพื่อเจือจางน้ำเสีย”

จากฟังการสัมภาษณ์ ดร.ศุภชัย หล่อโลหะการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ได้ให้สัมภาษณ์

ความเห็นของผม นวัตกรรมสื่อสารหมายถึง เทคโนโลยีในการสื่อสารเพื่อให้เปิดใจรับข้อมมูลข่าวสารได้ง่าย หากเรื่องนั้นอยู่ในความสนใจ ตอบสนองความต้องการบางอย่างของเขาได้ ซึ่งจะต้องใช้ความรู้ ,ความคิดสร้างสรรค์ และจะต้องมีประโยชน์สูงสุดทางเศรษฐกิจด้วย ดังนั้นนวัตกรรมการสื่อสารจะเน้นในเรื่องของการใช้ความรู้ การสร้างความเข้าใจเพื่อแก้ปัญหาต่างๆในสังคม ต้องเป็นคิดค้นสิ่งใหม่ๆ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา

นวัตกรรมการสื่อสารสมารถเป็นเครื่องมืในการแก้ปัญหา ทางเศรษกิจ ทางสังคม และการเมือง

ปัญหาของนวัตกรรมได้แก่ การไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง(Change)นั้นทำให้คนไม่พัฒนาการตามวิวัฒนาการสมัยใหม่, ไม่สนใจความต้องการของลูกค้า(Customer) ทำให้ยอดการซื้อขายไม่เป็นไปตามเป้าหมายและไม่ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น (Command and Control) ทำให้โลกทัศน์แคบ และไม่เกิดการพัฒนา

องค์ความรู้ที่ได้รับจากบทสนทนาระหว่าง

ศาสตราจารย์ ดร. จิระ หงส์ลดารมณ์

กับ คุณศุภชัย หล่อโลหะกาญจน์ (ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ)

ถึงความเข้าใจในเรื่องของนวัตกรรมและความสำคัญของนวัตกรรมกับความอยู่รอดของประเทศ รวมถึงมุมมองในเรื่องของความเชื่อมโยงระหว่างทุนมนุษย์กับทุนทางนวัตกรรม

มีผู้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับนวัตกรรมหลากหลายเป็นจำนวนถึง 3 ล้านรายการทั่วโลกและกว่า 17,000 รายการในไทย ซึ่งพอสรุปเป็นประเด็นหลัก ๆ ได้ดังนี้

1) นว แปลว่าใหม่ นวัตกรรม คือการทำสิ่งใหม่

2) การทำสิ่งใหม่ในเชิงนวัตกรรมนั้น ต้องมีการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ ไม่ใช่เพียงสร้าง แต่ต้องใช้ประโยชน์ได้ด้วย

3) นวัตกรรมต้องมีประโยชน์ มีแบบแผน

4) นวัตกรรมในทางเศรษฐกิจ ต้องไปในตลาด มีผู้บริโภคเข้ามาเกี่ยวข้อง

5) นวัตกรรม มักมีความเกี่ยวพันกับทรัพย์สินทางปัญญา เพราะทรัพย์สินทางปัญญาเกิดจากกระบวนการของนวัตกรรม

6) การวิจัยไม่ใช่นวัตกรรม แต่การวิจัยเป็นกระบวนการนำไปสู่ความเป็นนวัตกรรม

7) นวัตกรรม คือ ความคิดสร้างสรรค์ บวกกับความรู้ที่เป็นระบบ (System Thinking) ไม่ใช่ความเพ้อฝัน (not dream)

8) นวัตกรรมทำแล้วอาจไม่สำเร็จก็ได้ แต่หากไม่ทำก็จะทำให้ล่าช้า ตามไม่ทัน และในที่สุดก็จะอยู่ไม่ได้ในโลกาภิวัฒน์ซึ่งโลกไร้พรมแดน

9) นวัตกรรมอาจพัฒนาจากสิ่งที่มีอยู่แล้วก็ได้ ตราบใดที่เกิดจากความคิดที่มีระบบ มีองค์ความรู้ มีประโยชน์ในแขนงอื่น ๆ

“ทุนนวัตกรรม เชื่อมโยงกับทุนมนุษย์อย่างไร”

ทุนนวัตกรรมเปรียบเหมือนปลายน้ำ ส่วนทุนมนุษย์คือต้นน้ำ

ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นโดยมนุษย์ หากแต่ความคิดนั้นจะเป็นนวัตกรรมได้ต้องมีองค์ความรู้ และประโยชน์นำสู่ Action จากนั้นต้องมีกระบวนการ Follow up Follow through และ Feed back จึงนำไปสู่โอกาสสู่ความสำเร็จ

ดังนั้น การทำงานในการพัฒนามนุษย์ให้คิดเป็น รู้ว่าจะจัดการอย่างไร เอาความรู้จากไหน

และความรู้มีอะไรบ้าง จึงเปรียบเหมือนต้นน้ำ หากแต่มนุษย์ก็ต้องมีปัจจัยสำคัญคือ ความกล้า

กล้าคิด กล้าทำ champion of change

ความกล้าจะทำงานได้ดีเมื่อมีทุนสนับสนุน สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติจึงถูกตั้งขึ้นในปี 2540 หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายในการให้การสนับสนุนทางทุน ให้ความช่วยเหลือ ลักษณะการทำงานจึงเปรียบเสมือนปลายน้ำ

“ทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเอื้อให้นวัตกรรม “สัมฤทธิ์ผล”

สังคมไทยต่อนวัตกรรม :

C – Culture change วัฒนธรรมที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง หากไม่กล้าคิด ไม่ยอมเปลี่ยนความคิดจึงเกิดไม่ได้ นวัตกรรมต้อง Ready for change

C – Customer base (Marketing Mind)

นวัตกรรมต้องนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เพิ่มมูลค่านำเข้าสู่ตลาด เกี่ยวพันกับผู้บริโภค จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึงลูกค้า จะทำเพียงตามใจผู้คิดเพียงทางเดียวไม่ได้ ต้องได้รับความนิยมด้วยจึงถือว่าสำเร็จ

C – Command Control สังคมหรือองค์กรที่ไม่เปิดโอกาส หรือไม่ยอมรับฟังความคิดใหม่ ๆ จึงไม่สามารถเกิดนวัตกรรมได้

สรุป

นวัตกรรมคือสิ่งจำเป็นในการพัฒนาประเทศ การพัฒนาจะมุ่งเน้นเพียงเรื่องของเศรษฐกิจอย่างเดียวไม่ได้ ต้องส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมในทุก ๆ ด้าน ทั้งสังคม, วัฒนธรรม, การจัดการ, การศึกษา, สื่อสาร ฯลฯ ประเทศจึงจะอยู่รอดได้

นายวุฒิวิทย์ ก่าแก้ว

อาทิตย์ที่ผ่านมาพวกเราได้ไปสัมมนาและรับฟังการบรรยายนอกสถานที่ ณ เทศบาลตำบลวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว อันเป้นเทสบาลที่ผู้บริหารซึ่งมีวิสัยทัศน์ที่ดี มุ่งมั่นในการพัฒนาองค์กรส่วนท้องถิ่นให้เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งโครงการที่เห็นได้ชัดหลากหลายโครงการ ภูมิทัศน์ดดยรอบที่ทำการของเทศบาลเอง ทำให้มองเห็นว่าผู้บริหารอย่างท่านนายก มีวิสัยทัศน์ที่จะบริหารองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

และในวันเสาร์ที่ผ่านมาก็ได้เรียนปรกติผมเองได้อยู่กลุ่มที่ 1ได้รายงานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เศรษฐกิจในยุค 1850 ซึ่งในยุคนี้สยามประเทศ (หรือประเทศไทยในขณะนี้) นั้นเห็นถึงความสำคัญในด้านเศรษฐกิจอย่างดี ซึ่งสมัยนั้นเราเองก็ยอมรับว่าเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งทรัพยากรทางด้านการเกษตรกรรม ข้าวจึงเป็นพืชเศรษฐกิจขณะนั้น เพราะเราสามารถส่งออกข้าวให้กับต่างชาติได้อย่างสบาย

อะไรคือนวัตกรรมการสื่อสารในความเห็นของท่าน

ด้วยปัจจัยของสภาพการณ์ปัจจุบัน คำจำกัดความของการสื่อสารคงต้องเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต การสื่อสารก็คือการสื่อหรือนำ สาร คือ เนื้อหาที่ต้องการสื่อเพื่อให้ผู้รับสารได้เข้าใจ

นว แปลว่าใหม่ นวัตกรรม คือ การคิดใหม่บวกความรู้ที่เป็นระบบและสามารถนำไปใช้ประโยชน์

สำหรับนวัตกรรมการสื่อสารในภาวะปัจจุบันโดยเฉพาะในประเทศไทยที่กำลังเผชิญปัญหาอย่างหนักหน่วงในเรื่องของความแตกแยกในสังคมภายในและความไม่เข้าใจจากสังคมภายนอกต่อภาพลักษณ์ของประเทศ ความจำเป็นในการสื่อสารด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ และผลลัพธ์ที่สร้างสรรค์จึงมีความจำเป็นอย่างมาก

ดังนั้นนวัตกรรมการสื่อสารน่าจะหมายถึง การคิดวิธีการใหม่อย่างน่าสนใจในการสื่อสารและควรต้องคำนึงถึง สารที่จะสื่อด้วยว่าต้องเป็นสารที่สร้างสรรค์ เพื่อหวังผลลัพธ์ในการพัฒนาสันติสุข ภาพลักษณ์ และความเข้าใจในเชิงบวกสำหรับ สังคม องค์กร รวมถึงระดับประเทศโดยรวมอีกด้วย

จากฟังการสัมภาษณ์ ดร.ศุภชัย หล่อโลหะการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์

ความเห็นของผม นวัตกรรมสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีในการสื่อสารที่ทำให้ผู้รับข่าวสารสามารถรับข่าวสารได้ง่าย และทำให้เกิด

1. ความรู้ใหม่

2. ความคิด และความสร้างสรรค์

3. มีประโยชน์สูงสุดทางเศรษฐกิจด้วย

4. สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

ดังนั้น จะเห็นได้ว่านวัตกรรมการสื่อสารจะเน้น การใช้ความรู้ การสร้างความเข้าใจเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆในสังคม ต้องเป็นคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ซึ่งสิ่งสร้างสรรค์หรือความคิดใหม่ อาจมาจาเค้าโครงเดิมมาต่อยอดก็ได้ แต่ต้องสามารถนำมาปฏิบัติได้ จึงถือเป็นนวัตกรรม

ปัญหาของการสร้างนวัตกรรมมี 3 ประการ ได้แก่

1. การไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง (Change)

2. การไม่สนใจความต้องการของลูกค้า (Customer)

3. การไม่ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น (Command and Control)

นวัตกรรมในการพัฒนาประเทศ จะมุ่งเน้นเรื่องของเศรษฐกิจอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีการส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมในทุก ๆ ด้าน ทั้งสังคม, วัฒนธรรม, การจัดการ, การศึกษา, การสื่อสารสื่อสาร ฯลฯ ไปพร้อม ๆ กันประเทศจึงจะอยู่รอดได้

นายพูนศักดิ์ ศิริชัย โทร. 08 - 9200 7788

นายวุฒิวิทย์ ก่าแก้ว

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553

ช่วงเช้า 09.00 - 12.00 น. - อาจารย์จีระ บรรยายตามปรกติ

12.00 - 13.00 น. - รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 น. - ออกเดินทางไปห้างดิเอ็มโพเรี่ยม สุขุมวิท (โดยรถบัสมหาวิทยาลัย)

(โดย อาจารย์จะแนะนำหนังสื่อที่มีประโยชน์ ณ ร้านชิโนคุนาย่า)

การวิเคราะห์ การสัมภาษณ์ ดร.ศุภชัย หล่อ โลหะการ เรื่อง นวัตกรรมการสื่อสาร ( Inmovation Communication)

... ผู้เขียนคิดว่า ...

< คำว่า ... กรรม... คือ การกระทำ >

< คำวา ...นวัต... คือ การวิวัฒนาการสิ่งใหม่ๆ >

นวัฒกรรมการสื่อสารใดๆก็ตาม โดยเฉพาะทางด้านสังคม และการเมือง

"ผู้สื่อสารและผู้รับสาร" จะต้องเป็นผู้ใช้(สติปัญญา)รับรู้ และเรียนรู้ถึง...

 (a)จุดมุงหมาย ความมีคุณธรรม จริยธรรม ความตั้งใจดี และ เจตนาของ(ผู้สื่อสาร)

 (b)ผลประโยชน์ ความต้องการ ความหมาย ความสำคัญ และเจตนาของ(ผู้รับสารเอง) 

  jitrakan kanjanarekha tel 0863004409

วัชรี ปรัชญานุสรณ์

จากการฟังการสัมภาษณ์ ดร.ศุภชัย หล่อโลหะการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ได้ให้สัมภาษณ์

คำว่า นวัตกรรมการสื่อสาร (Innovation communication) เป็นการสื่อสารในสิ่งที่ต้องมีอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ ไม่จำเป็นจะต้องใหม่แบบถอดด้าม เป็นการปรับปรุง การต่อยอดก็ได้ ต้องมีความคิดสร้างสรรค์โดยมีจินตนาการ คิดอะไรแปลกๆ แตกต่าง และต้องเน้นสังคมการเรียนรู้ เช่น ฟังข้อมูลข่าวสาร ฟังการสัมมนา อ่านข้อมูลเพิ่มพูนความรู้ให้เยอะๆ และที่สำคัญจะต้องมีการทำให้สำเร็จ ซึ่งเขียนเป็นแผน หรือทำเป็นโปรเจค นำเสนอให้คนอื่นเห็น โดยมีการประเมินผลด้วย

เพราะฉะนั้นจึงเห็นได้ว่านวัตกรรมเป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาประเทศซึ่งจะต้องส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมหลากหลายด้าน เช่น การศึกษา สังคม การเมือง เศรษฐกิจ ฯลฯ โดยมีการถ่ายทอด ซึ่งต่อไปในยุคโลกาภิวัฒน์ เศรษฐกิจของโลกหรือของชาติจะเดินไปได้จะต้องขึ้นอยู่กับการศึกษา การได้ความรู้ การรับข้อมูลข่าวสาร ซึ่งจะถึงกันหมด จะต้องสอนให้รู้จักคิด คิดเป็น ใช้การเรียนรู้ ใช้ปัญญาให้มากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ

ส่วนสังคมไทยต่อนวัตกรรมนั้นมีอุปสรรค คือ

1.วัฒนธรรมของคนไทยไม่ชอบเปลี่ยนแปลง และไม่ยอมเปลี่ยนแปลง

2.ต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า ได้รับความนิยมด้วย อย่าทำตามความคิด ความต้องการของผู้คิดเท่านั้น

3.สังคมหรือองค์กรจะต้องเปิดกว้างสำหรับการแสดงความคิดเห็นและต้องยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น

สรุป

การนำนวัตกรรมมาพัฒนาประเทศเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งซึ่งจะต้องสนับสนุน ส่งเสริมในทุกด้านดังที่กล่าวมา เพื่อให้ประเทศชาติพัฒนาต่อไปและอยู่รอดได้

ไพบูลย์ ปรัชญานุสรณ์

จากบทสัมภาษณ์ ดร.ศุภชัย หล่อโลหะการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

เรื่องของความสำคัญของนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศเพื่อความอยู่รอด ปัจจุบันการสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญมาก จะต้องสื่อสารอย่างไรให้เกิดความเข้าใจ เกิดความรัก ความสามัคคี เข้าใจอันดีต่อกันอย่างทั่วถึง เช่น

-การเมืองภาคประชาชน / ชุมชนที่ดี การสื่อสารต้องเป็นคนที่สามารถถ่ายทอดถึงประชาชนจริง

-มีการจัดการที่ดีในการวางแผนการสื่อสาร เพื่อที่จะให้เกิดความน่าเชื่อถือ เช่น นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องนั้นๆ เป็นต้น

-ต้องสื่อสารเพื่อทำให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อนำไปซื้อน้ำมัน ,รถ หรือ ที่เราเรียกว่าเป็นการแลกเปลี่ยน

-ต้องสื่อให้รู้จักพึ่งตนเองในท้องถิ่นรู้จักใช้ของที่มีอยู่ในท้องถิ่น ผลิตของเพื่อใช้ในท้องถิ่น

-ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

-ต้องให้รู้จักคิด Brand สร้างสินค้าหรือทรัพย์สินทางปัญญา และการจดลิขสิทธิ์เป็นของตัวเอง

-การที่เศรษฐกิจของโลกหรือของชาติจะเดินไปได้ จะต้องขึ้นอยู่กับ"การศึกษา การเรียนรู้" เพราะเราอยู่ในโลกาภิวัฒน์ ข้อมูลข่าวสารจะถึงกันหมด ต้องเรียนรู้และหาข้อมูลทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และวัฒนธรรม

-ต้องอธิบายปัญหาต่างๆ ให้รู้ทั่วถึงกัน เพื่อทุกคนสามารถที่จะเข้าถึงแหล่งข้อมูลเหล่านั้นได้

และที่สำคัญมากสำหรับเรื่องของความสำคัญของนวัตกรรมกับความอยู่รอดของประเทศได้นั้น นอกจากการพัฒนาทรัพยาการมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งแรกที่จะต้องมีให้กับทุกคนได้รับแล้ว เรื่องของนวัตกรรมที่จะสื่อสารออกไปนั้น ต้อง

1.ต้องเป็นอะไรใหม่ๆ

2.ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการ คิดอะไรที่แปลกๆ มีความแตกต่าง

3.ต้องมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

4.ต้องทำให้สำเร็จ เพื่อนำเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาให้กับประเทศชาติได้ ไม่ว่าทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม

แต่ปัญหาและอุปสรรคของนวัตกรรมก็คือ การไม่ยอมเปลี่ยนแปลง การที่ไม่คำนึงถึงลูกค้า เอาความคิดของตนเองเป็นหลัก โดยไม่ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น

        เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนรวม เช่น ศึกษาถึงผลผลิตรวมของประเทศ อัตราการจ้างงานของประเทศ การเงินและการธนาคาร การพัฒนาประเทศ การค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น และจะมีการที่ทำให้เกิดประโยชน์ไปสู่ประชาชน กล่าวคือ

ดุลยภาพทั่วไป = General equilibrium

     หมายถึง สภาวการณ์ที่ทุก ๆ ตลาดในระบบเศรษฐกิจอยู่ในดุลยภาพพร้อม ๆ กันเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว จะไม่มีแนวที่หน่วยเศรษฐกิจใด ๆ มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อการปรับตัวอีก เช่น ราคา และปริมาณซื้อขายจะไม่เปลี่ยนแปลงในทุกตลาด เนื่องจากกิจกรรมหรือตัวแปรทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ในระบบเศรษฐกิจหนึ่ง ๆ มักมีปฏิสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องกัน ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในตลาดใดตลาดหนึ่ง  (เช่น ตลาดน้ำมันเบนซิน ) ย่อมจะส่งผลกระทบไปยังตลาดอื่น ๆ (เช่น ตลาดก๊าซธรรมชาติ ) ผลกระทบเรียกว่า  ผลกระทบล้นไหล (spillover effect) ทำให้ตลาดอื่น ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย และการเปลี่ยนแปลงในตลาดอื่น ๆ นั้น  อาจส่งผลกระทบกลับมายังตลาดนี้ (ตลาดน้ำมัน) อีกครั้งหนึ่ง ผลกระทบประการหลังนี้เรียกว่า ผลกระทบย้อนกลับ (feedback effect)  แต่ละตลาดจะรับผลกระทบ และส่งผลกระทบต่อกันไปมา และจะต้องมีการปรับตัวจนกว่าจะเข้าสู่ดุลยภาพใหม่อีกครั้งหนึ่ง อันเป็นภาวะที่ไม่มีผลกระทบต่อกันอีก อาจกล่าวในเชิงเปรียบเปรยได้ว่า ตราบใดที่การโยนหินลงไปในสระก่อให้เกิดระลอกคลื่นที่แผ่วงกว้างออกไป การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในระบบเศรษฐกิจย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่อง และแผ่รัศมีออกไปด้วยกำลังที่ค่อย ๆ  ลดน้อยถอยลงเช่นกัน และตราบใดที่เมื่อระลอกคลื่นไปถึงชายฝั่ง และย้อนกลับมาที่จุดเดิมอีก การเปลี่ยนแปลงในตลาดต่าง ๆ ในระบบเศรษฐกิจก็จะเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกัน เนื่องจากการวิเคราะห์ดุลยภาพทั่วไปเป็นการศึกษาผลลัพธ์ในตลาดต่าง ๆ หลายตลาดพร้อม ๆ กัน ดังนั้น การวิเคราะห์ดุลยภาพทั่วไปจึงต้องอาศัยการสร้างสมการเชิงซ้อนเพื่อหาค่าตัวแปรต่าง ๆ ซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างจะยุ่ง และสลับซับซ้อนกว่าการวิเคราะห์ดุลยภาพอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า  ดุลยภาพเฉพาะส่วน  ซึ่งเป็นการพิจารณาดุลยภาพเฉพาะตลาดใดตลาดหนึ่งเท่านั้น คนที่ได้รับการยอมรับกันว่า เป็นผู้ริเริ่ม และพัฒนาการวิเคราะห์ดุลยภาพทั่วไปคือ ลีออง วอลราส (Leon Walras ) นักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งแนวคิดของวอลราสได้รับการขยาย และพัฒนาต่อมาโดย วิลเฟรโด พาเรโต (Wilfredo Pareto ) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาเลียน

การตลาด = Marketing

     คือ  การดำเนินกิจกรรมในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งที่เกี่ยวกับการนำเสนอสินค้า และบริการ เพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ จนถึงขั้นการนำสินค้าหรือบริการนั้นไปถึงมือของผู้บริโภค เช่น การสร้างภาพลักษณ์ด้วยมาตรฐานสินค้า และหีบห่อ การโฆษณาชวนเชื่อ การขาย และการส่งเสริมการขาย การวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งการทำการค้าในระดับประเทศเรียกว่า การส่งออก (Export)

ความล้มเหลวตลาด = Market failure

     หมายถึง การที่ระบบตลาดหรือกลไกราคาไม่สามารถทำหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรชนิดหนึ่ง  ๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดหรือบรรลุซึ่งสวัสดิการสูงสุดได้ ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

1. โครงสร้างตลาดเป็นแบบผูกขาด
2.  สารสนเทศไม่สมบูรณ์
3.  สินค้านั้นเป็นสินค้าสาธารณะ
4. เกิดผลกระทบภายนอก จากการผลิตหรือการบริโภคสินค้าในกรณีที่เกิดความล้มเหลวของตลาด มักมีข้อเสนอให้รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงการจัดสรรทรัพยากรนั้น ๆ  เพื่อก่อให้เกิด

พลังตลาด = Market forces

     หมายถึง แรงผลักดันของอุปทานตลาดที่เกิดจากฝ่ายผู้ผลิตหรือผู้ขาย และแรงผลักดันของอุปสงค์ตลาด ที่เกิดจากฝ่ายผู้บริโภคหรือผู้ซื้อในตลาดหนึ่ง ๆ โดยที่แรงผลักดันทั้งสองนี้ ส่งผลให้มีการปรับตัวของระดับราคา และ /หรือปริมาณการซื้อขายจนสมดุลกัน นักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิกมีความเชื่อว่า ในระยะยาวพลังตลาดจะช่วยผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะสมดุล และก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการแทรกแซงรัฐบาล และไม่ต้องมี

การแปรรูปกิจการเป็นของรัฐ = Nationalization

     หมายถึง  การที่รัฐบาลเข้าไปถือครอง และควบคุมกิจการที่แต่เดิมเป็นของเอกชนให้มาอยู่ภายใต้การดำเนินงานโดยรัฐ เหตุผลการแปรรูปกิจการเป็นของรัฐมีหลายประการ เช่น เพื่อป้องกันการผูกขาดในธุรกิจขนาดใหญ่ของเอกชน หรือเข้าไปประคับประคองธุรกิจที่เอกชนดำเนินการแล้วล้มเหลวให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ หรือเป็นนโยบายทางการเมืองที่ต้องการให้กิจการต่าง ๆ ตกมาเป็นของรัฐ เช่น นโยบายของรัฐบาลในประเทศที่เป็นสังคมนิยม  การแปรรูปในอีกลักษณะหนึ่งที่ตรงกันข้ามกับวิธีนี้ คือ  การแปรรูปเป็นของเอกชน

ตลาดแข่งขัน = Competitive market

     หมายถึง  ตลาดที่มีผู้ซื้อและผู้ขายรายย่อย ๆ จำนวนมาก แต่ละรายจะทำการผลิตและขายสินค้าอย่างเป็นอิสระต่อกัน ไม่มีผู้ซื้อหรือผู้ขายรายใดมีอิทธิพลเหนือตลาด หรือไม่มีการสมรู้ร่วมคิด เพื่อกำหนดราคาหรือปริมาณสินค้าในตลาดได้  ซึ่งแบ่งแยกได้เป็น

ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ = Perfectly competitive market

     หมายถึง  ตลาดสินค้าหรือบริการประเภทหนึ่งที่มีลักษณะดังนี้ คือ

     1) มีหน่วยผลิตหรือผู้ขายรายเล็ก ๆ จำนวนมากจนกระทั่งไม่มีรายใดมีอิทธิพลต่อการกำหนดปริมาณและราคาในตลาด ผู้ขายแต่ละรายจึงเป็นผู้รับราคา (price taker) คือ ต้องขายสินค้าตามราคาตลาดเท่านั้น

      2) สินค้าหรือบริการของผู้ผลิตแต่ละรายมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ จึงสามารถทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ นั่นคือ ถ้าผู้ขายรายใดขายสินค้าในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด ผู้บริโภคจะไม่ซื้อสินค้าจากผู้ขายรายนั้นเลย

      3) การเข้า และออกจากตลาดของผู้ผลิตแต่ละรายเป็นไปอย่างเสรี ไม่มีอุปสรรคหรือการกีดกัน

     4) การเคลื่อนย้ายทรัพยากรการผลิต และสินค้าเป็นไปอย่างเสรี สะดวกรวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างน้อย โดยนัยของลักษณะในข้อนี้  ราคาสินค้าในแต่ละท้องที่จะมีแนวโน้มเท่ากัน

     5) ผู้ซื้อ และผู้ขายมีความรอบรู้เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารอย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าด้านราคา ปริมาณ คุณภาพ แหล่งซื้อขาย ฯลฯ ในโลกของความเป็นจริง ไม่มีสินค้าหรือบริการชนิดใดที่มีโครงสร้างตลาดที่มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้ง 5 ประการนี้ อย่างไรก็ตาม หากตลาดนั้นมีคุณสมบัติอย่างน้อย 3 ประการแรก ก็พอจะอนุโลมได้ว่า ตลาดดังกล่าวใกล้เคียงกับตลาดแข่งขันสมบูรณ์มากที่สุด เช่น โครงสร้างของตลาดข้าวเปลือกในประเทศไทย เป็นต้น ตามแบบจำลองของตลาดแข่งขันสมบูรณ์นั้น ในระยะยาวผู้ผลิตแต่ละรายจะมีกำไรปกติเท่านั้น เพราะถ้ารายใดมีกำไรเกินปกติ จะชักนำให้มีผู้ผลิตรายใหม่ เข้ามาในตลาดมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้อุปทานสินค้าในตลาดมีมากขึ้น ส่งผลให้ราคาหรือรายรับเฉลี่ยลดลง และกำไรจะค่อย ๆ หดหายไปในที่สุด  

  •      ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์  (Imperfect Competition)  แบ่งเป็น

ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด = Monopolistic competition

     หมายถึง  ตลาดแบบหนึ่งที่มีทั้งลักษณะของการแข่งขัน และการผูกขาดปรากฏอยู่ ลักษณะที่ส่อแสดงถึงการแข่งขันได้แก่ การมีผู้ผลิตเป็นจำนวนมาก และเข้าออกจากตลาดได้ง่าย ส่วนลักษณะที่แสดงถึงการผูกขาดที่มีอยู่บ้างก็คือ สินค้าของผู้ผลิตแต่ละรายมีความแตกต่างกัน ดังนั้น จึงทำให้ผู้บริโภคบางรายมีความนิยมชมชอบสินค้าของผู้ผลิตรายหนึ่งรายใดเป็นพิเศษ ทำให้ผู้ผลิตรายนั้นมีอำนาจในการกำหนดราคาสินค้าได้ในระดับหนึ่ง ตัวอย่างของสินค้า และบริการที่จัดอยู่ในตลาดประเภทนี้ ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า เครื่องเรือน สำนักงานทนายความ ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย เป็นต้น

ตลาดผูกขาด = Monopoly

     ในความหมายแคบ ๆ  หมายถึง  สถานการณ์ที่ตลาดมีผู้ผลิตหรือผู้ขายเพียงรายเดียวเท่านั้น ในขณะที่ผู้ซื้อหาสินค้าอื่นมาทดแทนสินค้าของผู้ผูกขาดยาก ในขณะเดียวกัน ผู้ผลิตรายอื่นก็ไม่สามารถเข้ามาผลิตเพื่อแข่งขันได้เลย เพราะจะถูกกีดกันหรือมีอุปสรรคต่อการเข้าสู่ตลาด มักเรียกการผูกขาดในความหมายนี้ว่า การผูกขาดอย่างแท้จริง (pure monopoly) หรือการผูกขาดอย่างสมบูรณ์ (absolute monopoly) อุปสงค์ที่ผู้ผลิตในตลาดประเภทนี้ต้องเผชิญก็คือ อุปสงค์ของตลาดนั้นนั่นเอง ผู้ผูกขาดอย่างแท้จริงจะมีอำนาจในการกำหนดราคาสินค้า หรือปริมาณสินค้าในตลาดอย่างใดอย่างหนึ่งได้อย่างเต็มที่ แต่จะกำหนดทั้งสองอย่างพร้อม ๆ กันไม่ได้ ตัวอย่างของตลาดที่มีลักษณะเช่นนี้ ได้แก่ การประปา การไฟฟ้า กิจการรถไฟ เป็นต้น ในระยะยาว ผู้ผูกขาดอาจจะมีกำไรเกินปกติได้ เพราะผู้ผลิตรายใหม่ ๆ ไม่สามารถเข้ามาผลิตเพื่อแข่งขันได้ ในความหมายกว้าง ๆ หมายถึง การที่ผู้ผลิตหรือกลุ่มผู้ผลิตในตลาดหรืออุตสาหกรรมหนึ่ง ๆ มีอำนาจในการกำหนดราคาหรือ ปริมาณของสินค้าอยู่บ้างไม่มากก็น้อย ดังนั้น ตามความหมายนี้จึงครอบคลุมทั้งตลาดผู้ขายน้อยราย (oligopoly) และตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (monopolistic competition)

ตลาดผู้ขายน้อยราย = Oligopoly

     หมายถึง  รูปแบบหนึ่งของตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ ตลาดผู้ขายน้อยรายมีลักษณะที่สำคัญดังนี้

  1. จำนวนผู้ผลิตเพียงไม่กี่ราย โดยที่สินค้าหรือบริการของผู้ผลิตแต่ละรายมีสัดส่วนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับปริมาณทั้งหมดในตลาด
  2. สินค้าหรือบริการของผู้ผลิตแต่ละรายอาจมีลักษณะเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้ แต่สามารถใช้ทดแทนกันได้

     ผู้ผลิตรายใหม่อาจถูกกีดกันหรือมีอุปสรรคต่อการเข้าสู่ตลาด หากมีการแข่งขันในตลาดประเภทนี้ก็มักจะเป็นการแข่งขันที่ไม่ใช้ราคา แต่ก็มีหลายกรณีที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายแต่ละรายร่วมมือกัน เพื่อร่วมกันกำหนดราคาหรือปริมาณสินค้าในตลาด แบบจำลองที่อธิบายพฤติกรรมของหน่วยผลิตในตลาดประเภทนี้จึงมีหลายแบบ

การขาดดุลงบประมาณ = Budget deficit

     หมายถึง  ภาวะที่รายจ่ายในปีหนึ่ง ๆ มากกว่ารายได้ในปีนั้น โดยทั่วไปมักจะนำมาใช้อธิบายสถานการณ์ที่รายได้ของรัฐบาลอันได้แก่ รายรับจากภาษี และรายรับอื่นที่รัฐบาลหามาได้มีน้อยกว่าค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของรัฐบาล ภาวะที่ตรงกันข้ามเรียกว่า การเกินดุลงบประมาณ

การไหลออกของเงินทุน = Capital outflow

     หมายถึง  การที่เงินทุนของประเทศหนึ่งมีการเคลื่อนย้ายไปยังประเทศอื่น เช่น การนำเงินไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ การลงทุนในหลักทรัพย์ของต่างประเทศ การให้กู้ยืมแก่ต่างประเทศ เมื่อมีการไหลออกของเงินทุนจะมีการบันทึกในด้านรายจ่ายในบัญชีดุลการชำระเงินของประเทศนั้น ๆ คำที่ตรงกันข้ามกับคำนี้ คือ การไหลข้าวของเงินทุน

การเคลื่อนย้ายทุน = Capital movement

     หมายถึง  การไหลเข้าออกของเงินทุนระหว่างประเทศทั้งในส่วนของภาคเอกชนและรัฐบาล ทั้งที่เป็นการลงทุนทางตรงและการลงทุนทางอ้อม การไหลเข้าออกของเงินทุนนี้มีการบันทึกไว้ในบัญชีเงินทุน ซึ่งเป็นบัญชีย่อยของบัญชีดุลการชำระเงิน

การวิเคราะห์ต้นทุน - ผลประโยชน์ = Cost - benefit analysis

     หมายถึง การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนกับผลประโยชนที่เกิดจากการลงทุนในโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล หรืออาจขยายรวมถึงโครงการของเอกชน เพื่อที่จะประเมินดูว่าโครงการนั้น ๆ ก่อให้เกิดผลได้หรือผลประโยชน์เท่าใด และเสียต้นทุนไปจำนวนเท่าใด ผลจากการศึกษาเปรียบเทียบต้นทุน - ผลประโยชน์นี้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการประกอบการตัดสินใจว่าควรจะลงทุนในโครงการนั้นหรือไม่ ซึ่งอาจจะใช้กับโครงการเดี่ยว ๆ หรือเปรียบเทียบระหว่างโครงการต่าง ๆ ก็ได้ การวิเคราะห์ตามแนวนี้จะแตกต่างจากการประเมินค่าทางการเงิน (financial appraisal) เพราะเป็นการพิจารณาถึงผลรับหรือผลประโยชน์ และต้นทุนทั้งหมด โดยไม่คำนึงว่าต้นทุน และผลประโยชน์นั้นจะตกอยู่กับใครในสังคมหรือประเทศ ในการวิเคราะห์ต้นทุนผลประโยชน์ ได้มีการสร้างตัววัดเพื่อนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจ เช่น มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราส่วนต้นทุนต่อผลประโยชน์ และอัตราผลตอบแทนภายใน เป็นต้น

ต้นทุนภายนอก = External cost

     หมายถึง  ต้นทุนหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก อันเนื่องมาจากการผลิตหรือการบริโภคของหน่วยผลิตหรือผู้บริโภคคนหนึ่ง ๆ ตัวอย่างเช่น ความเสียหายของประชาชนผู้ใช้น้ำอันเนื่องมาจากการปล่อยน้ำเสียลงในแม่น้ำลำคลองของโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งต้นทุนหรือความเสียหายนี้ โรงงานมิได้นำมาคิดเป็นต้นทุนของตน จึงเรียกว่าต้นทุนภายนอก

ผลกระทบภายนอก = externality

     หมายถึง  ผลกระทบอันเกิดจากการผลิตหรือการบริโภคของหน่วยเศรษฐกิจหนึ่ง ๆ ที่มีต่อหน่วยเศรษฐกิจอื่น ๆ ซึ่งมิได้มีส่วนโดยตรงในการผลิตหรือบริโภคนั้น ผลกระทบต่อภายนอกนี้อาจจะเป็นผลกระทบภายนอกเชิงบวก (positive externality) คือ ผลกระทบที่เป็นคุณต่อบุคคลภายนอก  ในทางตรงข้าม ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจจะเป็น ผลกระทบภายนอกเชิงลบ (negative externality) คือผลกระทบที่เป็นโทษหรือสร้างความเสียหายแก่บุคคลภายนอก อาจเรียกผลกระทบประเภทนี้ว่าผลกระทบล้นไหล (spillover effect) การก่อให้เกิดผลกระทบภายนอกไม่ว่าจะเป็นผลกระทบภายนอกเชิงบวกหรือผลกระทบภายนอกเชิงลบ จะส่งผลให้ต้นทุน และ/หรือผลประโยชน์ส่วนตัวหรือของเอกชนไม่เท่ากับต้นทุน และ/หรือผลประโยชน์ของสังคม อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปริมาณการผลิต และ/หรือการบริโภคที่ตัดสินใจโดยเอกชน ไม่อยู่ในระดับที่ทำให้สังคมได้รับสวัสดิการสูงสุด

ต้นทุนสังคม = Social cost

     หมายถึง    ต้นทุนค่าเสียโอกาสของทรัพยากรต่าง ๆ ในสังคม ที่เกิดจากการผลิต (หรือบริโภค) สินค้าหรือบริการชนิดหนึ่ง ๆ ต้นทุนทางสังคมจึงหมายรวมถึง ตันทุนทั้งที่เกิดขึ้นกับผู้ผลิต (ผู้บริโภค) เอง ซึ่งเรียกว่าต้นทุนเอกชน และต้นทุนที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่น ๆ ในสังคมที่เรียกว่า ต้นทุนภายนอก

ผลประโยชน์สังคม = Social benefit

     หมายถึง  ผลได้หรือผลประโยชน์ในรูปต่าง ๆ จากการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการใด ๆ ที่ตกแก่บุคคลหรือหน่วยเศรษฐกิจต่าง ๆ ในสังคม ตามความหมายนี้มิได้รวมเฉพาะผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นโดยตรงกับบุคคลหรือหน่วยผลิตที่เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงผลประโยชน์ทางอ้อมที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่น ๆ ภายนอกหน่วยเศรษฐกิจนั้นด้วย ดังนั้น ผลประโยชน์สังคมจึงประกอบด้วยผลประโยชน์เอกชน (private benefit) และ ผลประโยชน์ภายนอก (external benefit)

 การว่างงาน = Unemployment

     หมายถึง  การที่กำลังแรงงานหรือผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน ปรารถนาจะทำงานแต่ไม่มีงานทำ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือภาวะที่อุปทานของแรงงานมีมากกว่าอุปสงค์สำหรับแรงงานที่ระดับอัตราค่าจ้างหนึ่ง ๆ จำนวนแรงงานที่เกินความต้องการนี้คือผู้ว่างงานทั้งหมด การว่างงานอาจแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามสาเหตุ เช่น การว่างงานตามสภาพโครงสร้าง การว่างงานตามฤดูกาล การว่างงานชั่วคราว เป็นต้น

เงินเฟ้อ = Inflation

     หมายถึง  สถานการณ์ที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ กล่าวอีกแง่หนึ่งคือ ภาวะที่ระดับราคาโดยเฉลี่ยของสินค้า และบริการเพิ่มสูงขึ้นจากช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา เครื่องมือที่นำมาใช้วัดระดับเงินเฟ้อ คือ ดัชนีราคาผู้บริโภค โดยวัดในรูปของร้อยละของอัตราการเปลี่ยนแปลงราคาในช่วงเวลานั้นเทียบกับช่วงเวลาก่อน ความรุนแรงของอัตราเงินเฟ้ออาจแบ่งออกได้เป็นระดับต่าง ๆ เช่น เงินเฟ้ออย่างอ่อน (ไม่เกินร้อยละ 5) เงินเฟ้อปานกลาง (ระหว่างร้อยละ 5-20) และเงินเฟ้อขั้นสูง (เกินร้อยละ 20) ในกรณีที่เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นมาก ๆ อาจเรียกว่า เงินเฟ้ออย่างรุนแรง หรือเงินเฟ้อวิ่งห้อ แต่เป็นการยากที่จะแบ่งเขตให้ชัดเจนระหว่างเงินเฟ้อขั้นสูงกับเงินเฟ้ออย่างรุนแรง โดยทั่วไปจึงใช้สองคำนี้ในความหมายเดียวกัน ภาวะเงินเฟ้อเกิดขึ้นจากสาเหตุหลัก 2 สาเหตุ จึงเรียกเงินเฟ้อตามสาเหตุที่เกิดว่า เงินเฟ้อเนื่องจากแรงดึงของอุปสงค์ และเงินเฟ้อเนื่องจากแรงผลักของต้นทุน

เงินเฟ้อตามราคาสินค้าเกษตร = Agflation

     อาจเขียนในรูปอื่น ๆ เช่น ag - flation, agri – flation  เป็นคำศัพท์ที่เพิ่งบัญญัติขึ้นใหม่ในตอนปลายคริสต์ทศวรรษที่ 2000 นี่เอง คำนี้เกิดจากนำเอาคำสองคำคือ agriculture  และ  inflation  มาประสมกัน เพื่อสื่อความหมายของภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากแรงผลักดันของการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของผลผลิตทางการเกษตร ภาวะดังกล่าวนี้ ได้เริ่มปรากฏชัดเจนนับตั้งแต่ พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา และรุนแรงขึ้นในปี พ.ศ. 2551 เมื่อราคาสินค้าเกษตรและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง จะส่งผลให้เงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตรได้ ส่วนปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก คือ

    (1) การเพิ่มขึ้นในระดับรายได้หรือความมั่งคั่งของประชาชนในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศจีน และอินเดีย ทำให้อุปนิสัยในการบริโภคอาหารเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ คนเหล่านี้ได้ลดการบริโภคธัญพืชลง แล้วหันมาบริโภคเนื้อและนมมากขึ้น เมื่ออุปสงค์สำหรับเนื้อและนมสูงขึ้น ย่อมส่งผลให้ความต้องการธัญพืชเพื่อใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์(ซึ่งเป็นอุปสงค์สืบเนื่อง) พลอยเพิ่มสูงขึ้นด้วย เมื่ออุปสงค์สำหรับธัญพืชเพิ่มขึ้นเกินกว่าเกินกว่าที่อุปทานจะตอบสนองได้ทัน ราคาของธัญพืช จึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

    (2) การสูงขึ้นของราคาน้ำมัน ได้ส่งผลให้แหล่งพลังงานทางเลือก เช่น  เชื้อเพลิงชีวภาพ ได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอทานอล (ethanol) ที่ทำจากอ้อย และข้าวโพด ซึ่งสามารถนำมาผสมกับน้ำมันเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ ได้อุปสงค์สำหรับอ้อย และข้าวโพดจึงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาอ้อย และข้าวโพดสูงขึ้น นอกจากนั้น การสูงขึ้นของผลกำไรจากการปลูกพืชที่นำเอาผลผลิตไปเป็นส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพ ได้ทำให้เกษตรกรหันเหการใช้ที่ดินจากการปลุกพืชชนิดอื่นที่มีปริมาณน้อยลงมีราคาสูงขึ้น

    (3) การบิดเบือนกลไกตลาด จากมาตรการต่างๆ ของรัฐ เช่น การให้การอุดหนุนการเกษตรในประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้ง ๆ ที่การผลิตไม่มีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็จำกัดการนำเข้าสินค้าเกษตร ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรในประเทศเหล่านี้สูงกว่าที่ควรจะเป็น

การคลังสาธารณะ = Public finance

     หมายถึง  การศึกษาเกี่ยวกับการจัดการทางด้านรายได้ รายจ่าย และหนี้สินของรัฐบาล รวมไปจนถึงการใช้นโยบายการคลัง (การเก็บภาษี และการใช้จ่ายของรัฐ) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจของประเทศ อันได้แก่ การกระจายรายได้ที่เป็นธรรม เศรษฐกิจเจริญเติบโต และมีเสถียรภาพ การจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ

ภาษีก้าวหน้า = Progressive tax

     หมายถึง  การที่รัฐบาลเรียกเก็บภาษีจากองค์กรธุรกิจหรือประชาชน  ภาษีที่เรียกเก็บในอัตราก้าวหน้า นั่นคือ ถ้าเงินได้หรือฐานภาษีสูงขึ้น อัตราภาษีที่เรียกเก็บจะสูงขึ้นตามลำดับ การเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นตัวอย่างหนึ่งของภาษีก้าวหน้า

ภาษีถอยหลัง = Regressive tax

     หมายถึง  ภาษีที่จัดเก็บในอัตราถอยหลัง กล่าวคือ เมื่อฐานภาษีมีขนาดใหญ่ขึ้น ผู้เสียภาษีจะเสียภาษีในอัตราที่ต่ำลง ในทางตรงกันข้าม  ถ้าฐานภาษีต่ำลงจะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้น ภาษีที่เรียกเก็บในอัตราถอยหลังโดยตรงจริง ๆ มีน้อยมาก ที่ถือกันว่าพอจะเทียบเคียงได้คือ ภาษีสรรพสามิตหรือภาษีต่อหน่วยสินค้าที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อที่มีรายได้ต่างกัน  เพราะคนมีรายได้น้อยจะเสียภาษีในอัตราสูงกว่าคนที่มีรายได้มากเมื่อเทียบภาษีที่จ่ายกับระดับรายได้ของผู้ซื้อ อีกตัวอย่างหนึ่งคือ  ภาษีเหมาจ่ายที่เรียกเก็บจากหน่วยผลิต เพราะหน่วยผลิตที่ผลิตเป็นจำนวนมากจะเสียภาษีในอัตราที่น้อยกว่าหน่วยผลิตที่ผลิตในจำนวนน้อยเมื่อเทียบภาษีที่จ่ายกับปริมาณการผลิต

 

     เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับหน่วย ระดับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือหน่วยงานการผลิตแต่ละกลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของราคา หน่วยธุรกิจ ตลอดจนการดำเนินงานของตลาดต่าง ๆ นักเศรษฐศาสตร์บางท่านจึงเรียกว่า  "ทฤษฎีราคา"  (The Theory of Price) หรือ "ทฤษฎีของหน่วยธุรกิจ"  (The Theory of the Firm)

ทำเลที่ตั้ง = Location

     หมายถึง  ตำแหน่งที่ตั้งของหน่วยผลิตหนึ่ง ๆ ซึ่งใช้เป็นแหล่งผลิตหรือขายสินค้าหรือบริการต่าง ๆ การเลือกทำเลหรือที่ตั้งเหมาะสมของหน่วยผลิตต่าง ๆ จะมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจเป็นสำคัญ ธุรกิจการจำหน่ายอาจต้อง การทำเลที่การคมนาคมขนส่งสะดวก และมีลูกค้าหนาแน่น แต่ก็ไม่เสมอไป หากที่ตั้งนั้นต้องจ่ายค่าเช่าสูงเขาอาจจะเลือกที่อื่นที่ถูกกว่า ธุรกิจธนาคารมักจะตั้งอยู่ในแหล่งที่เป็นย่านธุรกิจสำคัญ ๆ โรงแรมอาจเลือกทำเลที่ตั้งที่ใกล้กับแหล่งท่องเที่ยวและแวดล้อมด้วยธรรมชาติที่ดึงดูดผู้เข้าพัก แต่สำหรับอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าขั้นกลางบางประเภท เช่น โรงงานถลุงเหล็ก โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานอาหารสัตว์ อาจเลือกทำเลที่อยู่ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบหลัก นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของกฎหมายหรือประเพณีของแต่ละประเภทด้วย ผู้ที่บุกเบิกทฤษฎีหรือสร้างแบบจำลองเกี่ยวกับการเลือกทำเลที่ตั้งเป็นคนแรก ๆ คือ โจฮัน ฟอน ทูเน นักเศรษฐศาสตร์ชาวเยอรมัน

ราคาดุลยภาพ = Equilibrium price

      หมายถึง  ระดับราคาของสินค้าหรือบริการที่ทำให้ตลาดสินค้าหรือบริการชนิดนั้นเกิดดุลยภาพ กล่าวคือ เป็นระดับราคาที่ทำให้อุปสงค์เท่ากับอุปทาน หรือปริมาณซื้อเท่ากับปริมาณขายพอดี ถ้าใช้วิธีทางกราฟในการแสดงดุลยภาพของตลาด ราคาดุลยภาพก็คือ ราคาตรงจุดตัดระหว่างเส้นอุปสงค์กับเส้นอุปทานนั่นเอง

ดุลยภาพผู้บริโภค = Consumer equilibrium

     หมายถึง  สภาวการณ์ที่ผู้บริโภคได้รับ อรรถประโยชน์ หรือความพอใจสูงสุดจากการบริโภคสินค้าหรือบริการภายใต้งบประมาณหรือรายได้ที่มีอยู่อย่างจำกัดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง  ในการอธิบาย และวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคโดยใช้ ทฤษฎีอรรถประโยชน์ ดุลยภาพของผู้บริโภคจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้บริโภคได้ใช้งบประมาณที่มีอยู่ทั้งหมดเลือกซื้อสินค้าหรือบริการทั้งสองชนิดในส่วนผสมที่ทำให้อรรถประโยชน์หน่วยท้าย หรืออรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มของเงินหนึ่งบาทที่ได้จากการบริโภคสินค้าแต่ละชนิดมีค่าเท่ากันพอดี

มูลค่า = Value

     หมายถึง  ค่าหรือราคาของสินค้า และบริการหรือทรัพย์สินต่างๆที่วัดในรูปของตัวเงินหรือในรูปของสิ่งของอื่น มูลค่าของสิ่งของใด ๆ อาจแบ่งออกได้เป็นสองอ่าง คือ มูลค่าใช้สอย (use value) อย่างหนึ่งกับมูลค่าการแลกเปลี่ยน (exchange value) อีกอย่างหนึ่ง มูลค่าการใช้สอยวัดจากอรรถประโยชน์ หรือความพอใจของผู้บริโภค ซึ่งอาจตีค่าออกมาเป็นตัวเงินได้โดยพิจารณาจากจำนวนเงินสูงสุดที่ผู้บริโภคยินดีจ่ายเพื่อสิ่งนั้น ส่วนมูลค่าในการแลกเปลี่ยนวัดจากราคาตลาดที่มีการซื้อนายหรือแลกเปลี่ยนกันในขณะนั้น

ทฤษฎีอรรถประโยชน์ = Utility theory

       ทฤษฎีที่อธิบายพฤติกรรมของผู้บริโภคในการตัดสินใจบริโภคสินค้า และบริการต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับอรรถประโยชน์ (utility) หรือความพอใจสูงสุด ภายใต้งบประมาณที่มีอยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ การอธิบายตามแนวทางของทฤษฎีนี้ มักอยู่ภายใต้ข้อสมมติที่ว่า ผู้บริโภคมีการบริโภคสินค้าหรือบริการแต่ละชนิดในเวลาที่ต่อเนื่องกัน และการบริโภคสินค้าแต่ละชนิดเป็นอิสระต่อกัน นอกจากนั้นยังมีข้อสมมติว่า อรรถประโยชน์สามารถวัดเป็นหน่วย ๆ ได้ ซึ่งหน่วยของอรรถประโยชน์นี้เรียกว่า  "ยูทิล"  (util)  ตามนัยแห่งทฤษฎีนี้ ผู้บริโภคจะได้รับอรรถประโยชน์สูงสุดหรือบรรลุดุลยภาพก็ต่อเมื่อบริโภคสินค้าทั้งสองชนิดจนกระทั่งอรรถประโยชน์หน่วยท้ายของเงินหนึ่งบาทที่ได้จากการซื้อสินค้าแต่ละชนิดมีค่าเท่ากันพอดี นักเศรษฐศาสตร์ที่มีส่วนสำคัญในการสร้าง และพัฒนาทฤษฎีอรรถประโยชน์ได้แก่ เฮอร์มานน์ ไฮน์ริค กอสเซน, วิลเลียม สแตนลีย์ เจวอนส์, คาร์ล เมนเกอร์, ลีออง วาลราส, เฟรดริค ฟอน วีเสอร์

ต้นทุนค่าเสียโอกาส = Opportunity cost

     หมายถึง  มูลค่าสูงสุดของกิจกรรมทางเลือกอื่นที่เสียไปอันเนื่องมาจากการตัดสินใจเลือกเอากิจกรรมหนึ่ง ๆ ในบรรดากิจกรรมทางเลือกทั้งหมด ต้นทุนค่าเสียโอกาสเกิดขึ้นเนื่องจากทรัพยากรต่าง ๆ มีอยู่อย่างจำกัด ถ้านำมาใช้เพื่อกิจกรรมหนึ่งมากขึ้นย่อมทำให้โอกาสที่จะนำไปใช้ในกิจกรรมอื่นมีน้อยลง ต้นทุนค่าเสียโอกาสนี้อาจพิจารณาได้ทั้งในแง่ของการบริโภค และการผลิต ส่วนในแง่ของการผลิตก็จะมีแนวคิดที่เหมือนกัน กล่าวคือ ต้นทุนค่าเสียโอกาสของการผลิตสินค้าหรือบริการชนิดหนึ่ง ๆ ก็คือ มูลค่าสูงสุดของสินค้าหรือบริการชนิดอื่น ๆ ที่จะสามารถผลิตได้ด้วยทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตจำนวนเดียวกันนั้น ซึ่งจะเท่ากับผลรวมของต้นทุนค่าเสียโอกาสของปัจจัยการผลิตแต่ละชนิดนั่นเอง หากปัจจัยการผลิตชนิดใดไม่อาจนำไปใช้ในทางเลือกอื่นได้เลย ต้นทุนค่าเสียโอกาสของปัจจัยชนิดนั้นย่อมมีค่าเท่ากับศูนย์

ผลได้ต่อขนาด = Returns to scale

      หมายถึง  สัดส่วนการเปลี่ยนแปลงของจำนวนผลผลิตเมื่อเทียบกับสัดส่วนการเปลี่ยนแปลงของจำนวนปัจจัยการผลิตที่ใช้ในการผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง ๆ ผลได้ต่อขนาดเป็นสิ่งที่บอกให้ทราบว่า หากหน่วยผลิตหนึ่ง ๆ เพิ่มการใช้ปัจจัยการผลิตทุกชนิดในสัดส่วนเดียวกันแล้ว ผลผลิตที่ได้จะเปลี่ยนไปอย่างไร ถ้าผลผลิตที่ได้เพิ่มขึ้นมากกว่าขนาดของการเพิ่มปัจจัยการผลิต เช่น ถ้าปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า ก็เรียกว่า ผลได้ต่อขนาดเพิ่มขึ้น (increasing  returns to scale)  ถ้าผลผลิตที่ได้เพิ่มขึ้นเท่ากับสัดส่วนของการเพิ่มปัจจัยการผลิต เช่น ถ้าปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้นสองเท่าแล้ว ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นสองเท่าด้วย ก็เรียกว่าผลได้ต่อขนาดคงที่  (constant returns to scale)  และหากผลผลิตที่ได้เพิ่มขึ้นน้อยกว่าขนาดของการเพิ่มปัจจัยการผลิต เช่น ถ้าปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้นสองเท่า แต่ผลผลิตเพิ่มขึ้นไม่ถึงสองเท่า ก็เรียกว่า ผลได้ต่อขนาดลดลง (decreasing returns to scale)

รายได้ = income

     หมายถึง  จำนวนเงิน สินค้าหรือบริการที่ปัจเจกบุคคล ธุรกิจ หรือประเทศได้รับช่วง

                                                       (ต่อ)

รายได้ = income

     หมายถึง  จำนวนเงิน สินค้าหรือบริการที่ปัจเจกบุคคล ธุรกิจ หรือประเทศได้รับช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ รายได้จึงอาจอยู่ในรูปของตัวเงิน สิ่งของ หรือบริการใด ๆ ก็ได้ นอกจากนั้น ในแง่ของปัจเจกบุคคลอาจหมายรวมถึงรายได้จากการทำงานหรือค่าตอบแทนในการผลิต และรายได้ในรูปอื่น ๆ เช่น เงินโอน เงินช่วยเหลือ ดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ เนื่องจากรายได้เป็นจำนวนนับในช่วงเวลาหนึ่ง รายได้จึงเป็นตัวแปรเชิงกระแส ระดับรายได้เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดระดับการบริโภคของบุคคล และครัวเรือน

รายได้จากการทำงาน = Earned income

     หมายถึง  เงินรายได้ของบุคคลที่เป็นผลตอบแทนจากการทำงานให้บุคคลอื่นหรือจากการประกอบอาชีพอิสระด้วยตนเอง อันได้แก่ ค่าจ้าง เงินเดือน หรือกำไรจากการประกอบกิจการ รายได้ประเภทนี้ยังรวมถึงเงินได้ที่เป็นบำนาญ และสวัสดิการสังคมอื่น ๆ รายได้จากการทำงานนี้นำมาใช้เป็นฐานในการเก็บภาษีเงินได้ ซึ่งแตกต่างจากรายได้อีกประเภทหนึ่ง ที่ได้มาโดยมิได้เกี่ยวข้องกับการทำงานโดยตรง

 

รายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการทำงาน = Unearned Income

     หมายถึง  รายได้ที่ผู้มีเงินได้ได้รับมาจากกิจกรรมอื่นใดที่ถือว่าไม่ได้เป็นการทำงานหรือใช้แรงงานโดยตรง เช่น รายได้ในรูปของค่าเช่า ดอกเบี้ย และเงินปันผล เป็นต้น ส่วนรายได้อีกประเภทหนึ่งที่นอกเหนือจากนี้เรียกว่ารายได้จากการทำงาน การเก็บภาษีเงินได้นั้นรายได้ประเภทหลังนี้มักจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ส่วนรายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการทำงานมักมีการจัดเก็บภาษีในภายหลัง และมักจะเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่ารายได้จากการทำงาน

ดอกเบี้ย = Interest

     หมายถึง  ค่าตอบแทนจากการให้กู้ยืมเงินหรือสินเชื่อในรูปอื่น ๆ ดอกเบี้ยจึงเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้กู้ยืมต้องจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้ยืมนอกเหนือจากจำนวนเงินต้น การคิดดอกเบี้ยมักจะคิดในอัตราร้อยละของเงินต้นต่อช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เรียกว่า  อัตราดอกเบี้ย เช่น ร้อยละ 8 ต่อปี ร้อยละ 1 ต่อเดือน แต่โดยมากมักคิดจากระยะเวลา 1 ปี ส่วนการตกลงในการชำระค่าดอกเบี้ย อาจจะให้ชำระเป็นงวด ๆ พร้อมเงินต้นรายงวด หรืออาจจะชำระครั้งเดียวเมื่อครบกำหนดชำระหนี้พร้อมเงินต้นทั้งก้อนก็ได้ ในกรณีที่กำหนดให้ชำระดอกเบี้ยเป็นงวด ๆ หากผู้กู้ยืมไม่ชำระ ผู้ให้กู้อาจจะคิดดอกเบี้ยทบต้น (compound  interest) กล่าวคือ จะนำเอาดอกเบี้ยที่ผู้ให้กู้ควรได้รับทบเข้าไปเป็นเงินต้น เพื่อใช้เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยในช่วงเวลาที่เหลือต่อไป ในการคิดดอกเบี้ยเงินกู้ผู้ให้กู้อาจคิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่  (fixed interest)  ตลอดระยะเวลาที่ให้กู้ยืม หรืออาจคิดดอกเบี้ยอัตราผันแปร (variable interest) กล่าวคือ เป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวหรือผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยตลาด ขึ้นอยู่กับข้อตกลงในการให้กู้ยืม ในทางเศรษฐศาสตร์คำว่า  ดอกเบี้ย  ยังหมายรวมถึงค่าตอบแทนจากกการใช้ปัจจัยการผลิตประเภททุนอีกด้วย เหตุผลในการคิดดอกเบี้ยก็เพื่อเป็นค่าเสียโอกาสของเงิน ปัจจัยทุนนั้น ในการที่จะนำไปใช้ประโยชน์ทางอื่น

 

ค่าเช่าทางเศรษฐกิจ = Economic rent

     หมายถึง  ค่าตอบแทนพิเศษ ซึ่งหมายถึง  ค่าตอบแทนของปัจจัยการผลิตในส่วนที่เกินกว่าต้นทุนค่าเสียโอกาสของการใช้ปัจจัยนั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ส่วนแตกต่างระหว่างที่เจ้าของปัจจัยการผลิตได้รับจริงกับรายรับขั้นต่ำสุดที่เจ้าของปัจจัยนั้นควรจะได้รับ เพื่อให้ปัจจัยนั้นสามารถทำงานได้ ค่าเช่าทางเศรษฐกิจหรือค่าตอบแทนพิเศษนี้เกิดจากความสามารถพิเศษที่ปัจจัยนี้มีอยู่เป็นทุนเดิมหรือที่เรียกว่า  พรสวรรค์   เช่น นักร้องที่มีเสียงดี นางแบบที่มีรูปร่างหน้าตาดี ที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ หรือเป็นความสามารถพิเศษที่เกิดจากการฝึกฝนเล่าเรียนหรือยกระดับขึ้นภายหลัง เช่น หมอผ่าตัด วิศวกร ที่ดินที่มีระบบชลประทานหรือถนนตัดผ่าน หรืออาจเกิดจากการได้รับสิทธิพิเศษจากกฎหมายหรือนโยบายของรัฐ เช่น พ่อค้าที่รับโควตาในการส่งออกหรือนำเข้าสินค้า โรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการคุ้มครองหรือยินยอมให้มีการผูกขาด เป็นต้น

พฤติกรรมการบริโภค

      หมายถึง การกระทำ รวมถึงกระบวนการตัดสินใจซื้อ และบริโภคของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ซึ่งมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ความรู้ ความเชื่อ ความชอบ สังคม วัฒนธรรม

 

     สรุป  เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomic เศรษฐศาสตร์s) และ เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) มีความสัมพันธ์กันจากความหมายของคำบางส่วนที่ยกตัวอย่างมา จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 ส่วนมีความเกี่ยวข้องกัน และเป็นส่วนหนึ่งของกัน และกัน  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสื่อสารให้ประชาชน หรือธุรกิจเอกชน ตลอดจนองค์กรต่าง ๆ มีความเข้าใจในความหมายที่แท้จริงจึงจะสามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้

                                   นายพูนศักดิ์  ศิริชัย  โทร. 08 - 9200 7788

นายวุฒิวิทย์ ก่าแก้ว

เศรษฐศาสตร์จุลภาค ( Microeconomics)

1.ทฤษฎีราคา (Price Theory)

2.อุปสงค์ และ อุปทาน (Demand & Supply)

3.การจัดการอย่างเป็นระบบในด้านอุตสาหกรรม (Industrial Organization)

4.การควบคุม (Regulation)

5.การเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน

6.ผลทางเศรษฐกิจของนโยบาย

7.พฤติกรรมทางการเงินของบริษัท

8.วิวัฒนาการของ เศรษฐกิจ และ สถาบันทางเศรษฐกิจ

9.บทบาทของสถาบันทางการเมืองในการพิจารณาผลของนโยบาย

10.นโยบายของค่าใช้จ่าย

เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics)

1.ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

2.ความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

3.ความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ

4.เสรีภาพทางเศรษฐกิจ

5.นโยบายการเงิน(Monetary Policy)

6.นโยบายการคลัง(Fiscal policy)

7.ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

8.รายได้ประชาชาติ

9.การค้าระหว่างประเทศ

10.การพัฒนาเศรษฐกิจ

วัชรี ปรัชญานุสรณ์

สอบ MID TERM

ความหมายของคำที่ใช้ในเศรษฐกิจมหาภาค

GROSS DOMESTIC PRODUCT (GDP)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GROSS DOMESTIC PRODUCT=GDP) หมายถึงมูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ถูกผลิตในประเทศในช่วงเวลาหนึ่งๆ ซึ่งผลผลิตนั้นอาจผลิตจากทรัพยากรภายในประเทศเองหรือจากทรัพยากรที่นำเข้ามาจากต่างประเทศก็ได้

ผลิตภัณฑ์มวลรวมสามารถวัดได้ทั้งจาก

1.รายจ่ายที่จ่ายให้สินค้าและบริการขั้นสุดท้าย (EXPENDITURE APOROACH)

GDP= รายจ่ายเพื่อบริโภค+รายจ่ายเพื่อการลงทุน+รายจ่ายของรัฐบาล+รายจ่ายสุทธิในการซื้อ

วัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าในประเทศ

2.รายได้ที่ได้จากการขายสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย

GDP= ค่าจ้างและเงินเดือนลูกจ้าง+รายได้เจ้าของธุรกิจส่วนตัว+กำไรของบริษัท (รายได้ผู้ถือหุ้น)+

ดอกเบี้ย(รายได้เจ้าหนี้)+ค่าเช่า(รายได้เจ้าของสินทรัพย์)+ภาษีธุรกิจทางอ้อม+ค่าเสื่อมราคา+

รายได้สุทธิของคนต่างชาติในประเทศ

แต่การวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมด้วยรายจ่ายของประเทศเป็นการวัดที่เป็นที่นิยม เนื่องจาก สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายกว่าด้วยสมการ

GDP= C + I + G + (X-M)

C = การบริโภคภาคเอกชน (PRIVATE COMSUMPTION) เป็นการรวมค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลทั้งหมด ซึ่งเป็นสินค้าที่ใช้แล้วหมดไป เช่า ค่าอาหาร ค่าเช่า ค่ายา เป็นต้น

I = การลงทุนของธุรกิจในสินค้าทุน (INVESTMENT) เช่น การก่อสร้าง การซื้อเครื่องจักรกล แต่การซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เช่น หุ้นสามัญหรือ หุ้นกู้ ไม่วัดว่าเป็นการลงทุน

G = ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของรัฐบาลที่ใช้ซื้อสินค้า และบริการขั้นสุดท้าย ได้แก่ เงินเดือนข้าราชการ การซื้ออุปกรณ์ของหน่วยงานรัฐ หรือการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ แต่ไม่รวมเงินที่รัฐจ่ายเป็นสวัสดิการสังคม หรือการชดเขยการว่างงาน

NE หรือ (X-M) หมายถึงการส่งออกสุทธิ (NET EXPORTS) คือมูลค่าสินค้าส่งออก (EXPORTS=X) ลบด้วยมูลค่าสินค้า หรือบริการ (IMPORTS=M) เพื่อการผลิตหรือบริโภค

ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อ GDP ทั้งสิ้น ดังนั้น ถ้ามีข่าวสารที่มากระทบทำให้ การบริโภคของภาคประชาชน การลงทุน การใช้จ่ายของภาครัฐหรือการส่งออกสุทธิตัวใดตัวหนึ่ง มีปริมาณลดลง จะทำให้ GDP ลดลงด้วย ซึ่งจะทำให้เกิดการลดการจ้างงาน ทำให้คนตกงานไม่มีรายได้ ทำให้การผลิตลดลง เป็นวงจรที่ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมแย่ลง เช่น ข่าวสารเรื่องความรุนแรงของสถานการณ์เมืองไทย ภายหลังจากการตัดสินคดียึดทรัพย์ของอดีตนายกทักษิณ ทำให้ประเทศต่างๆ ชะลอการเดินทางมาท่องเที่ยวในไทย มีผลกระทบต่อรายได้ของคนในภาคบริการการท่องเที่ยว เช่น บริษัทนำเที่ยว การขนส่งและโรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น

CONSUMPTION

การบริโภค

การใช้สินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการโดยตรงของมนุษย์และได้รับผลจากการใช้ในรูปของอรรถประโยชน์หรือความพอใจ การบริโภคตามความหมายข้างต้นนี้จึงมีความหมายกว้างไม่จำกัดเฉพาะการกินเท่านั้น แต่กินความถึงการใช้ประโยชน์ในลักษณะต่างๆ ที่เป็นการตอบสนองความต้องการโดยตรงในขณะนั้น ตัวอย่างเช่น การสวมใส่เสื้อผ้า การนั่งรถโดยสาร การฟังเพลง การเดินทางท่องเที่ยว การใช้บริการต่างๆ จากสถานบริการ ฯลฯ

EXPORT

การส่งออก

การขายสินค้าหรือบริการที่ผลิตขึ้นในประเทศนั้นให้แก่ประเทศอื่นหรือผู้พำนักอาศัยของประเทศอื่นสินค้าหรือบริการที่ส่งออกนั้นอาจผลิตโดยภาคเอกชนหรือรัฐบาลก็ได้ ถ้าเป็นการขายสินค้าอาจเรียกว่า การส่งออกที่มองเห็น(VISIBLE EXPORT) เนื่องจากสินค้าเป็นสิ่งที่มองเห็นและจับต้องได้ เช่น การส่งออกข้าว เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ฯลฯ แต่ถ้าเป็นการขายบริการ ก็เรียกว่าการส่งออกที่มองไม่เห็น(INVISIBLE EXPORT) เช่น การให้บริการด้านการขนส่งและสื่อสาร การประกันภัย กิจการโรงแรม ฯลฯ การส่งออกมีความสำคัญสำหรับทุกประเทศเนื่องจากเป็นแหล่งที่มาของเงินตราต่างประเทศแหล่งใหญ่ที่สุด

FISCAL YEAR

ปีงบประมาณ

ช่วงระยะเวลาในรอบ 1 ปี ที่กำหนดขึ้นโดยองค์กรธุรกิจหรือรัฐบาล เพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินการทางการเงิน จัดทำบัญชีและลงประมาณ รอบปีงบประมาณอาจจะไม่ตรงกับปีทางปฏิทินก็ได้ เช่น ปีงบประมาณของรัฐบาลไทยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 30 กันยายน ของปีถัดไป เป็นต้น

GOVERNMENT BOND

พันธบัตรรัฐบาล

หมายถึง หลักทรัพย์หรือตราสารหนี้ที่รัฐบาลสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกู้ยืมเงินในระยะยาว โดยขายให้แก่เอกชนทั้งภายในและต่างประเทศ ในพันธบัตรจะระบุผลตอบแทน(ดอกเบี้ย) และระยะเวลาในการชำระคืนเอาไว้ การขายและซื้อคืนพันธบัตรของรัฐบาลยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจด้วย ในประเทศไทยมีการออกพันธบัตรรัฐบาลครั้งแรกในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อเป็นการระดมเงินภายในประเทศมาฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังตกต่ำในขณะนั้น

GOVERNMENT EXPENDITURE

การใช้จ่ายของรัฐบาล

การใช้จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ของรัฐบาล ทั้งที่เป็นการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการ เช่นการจ่ายค่าจ้างเงินเดือน ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น และการใช้จ่ายเพื่อการลงทุน เช่น การซื้อที่ดิน การก่อสร้างถนน อาคารสำนักงาน เป็นต้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น เงินโอน เงินอุดหนุน และดอกเบี้ยเงินกู้ การใช้จ่ายของรัฐบาลเป็นส่วนประกอบสำคัญของอุปสงค์มวลรวม ซึ่งเป็นตัวกำหนดรายได้ประชาชาติ และรัฐบาลอาจใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการนำไปสู่เป้าหมายทางเศรษฐกิจได้ด้วย

IMPORT

การนำเข้า

การที่ประเทศหนึ่งซื้อสินค้าหรือบริการจากประเทศอื่นเพื่อนำเข้ามาใช้ในการบริโภคหรือเป็นปัจจัยการผลิต หรือเพื่อจำหน่ายไปยังประเทศอื่นอีกทอดหนึ่ง การนำเข้าอาจแบ่งออกได้เป็นการนำเข้าที่มองเห็น(VISIBLE IMPORT) อันได้แก่การนำเข้าสินค้าประเภทต่างๆ และการนำเข้าที่มองไม่เห็น (INVISIBLE IMPORT) อันได้แก่การใช้บริการต่างๆ จากต่างประเทศ เช่นการขนส่ง การประกันภัย การท่องเที่ยว เป็นต้น

INTEREST RATE

อัตราดอกเบี้ย

หมายถึง ราคาหรืออัตราค่าตอบแทนจากการใช้บริการของเงินกู้หรือสินเชื่อหรือปัจจัยการผลิตประเภททุน ในแง่ของเงินกู้มักคิดเป็นอัตราร้อยละของเงินต้นต่อช่วงเวลาหนึ่ง เช่น 1 ปี ส่วนแง่ของค่าตอบแทนจากปัจจัยทุนนั้น ค่าตอบแทนไม่ใช่ราคมของปัจจัยทุนแต่เป็นอัตราค่าเช่าปัจจัยทุนนั้นๆ อัตราดอกเบี้ยจะถูกกำหนดโดยอุปสงค์สำหรับสินเชื่อและอุปทานของการให้สินเชื่อ เงื่อนไขของอุปสงค์และอุปทานยังขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาในการให้กู้ จำนวนเงินกู้ ความเสี่ยง ประเภทของเงินกู้ และคุณสมบัติของผู้กู้ ตัวอย่างเช่น เงินกู้ระยะยาว มักคิดอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าในระยะสั้น อัตราดอกเบี้ยในกรณีมีความเสี่ยงสูงมักจะสูงกว่ากรณีที่มีความเสี่ยงต่ำ ดอกเบี้ยที่คิดกับธนาคารด้วยกันมักต่ำกว่าที่คิดกับบุคคลทั่วๆ ไป เป็นต้น

INVESTMENT

การลงทุน

หมายถึง การเพิ่มพูนหรือดำรงไว้ซึ่งปริมาณของสินค้าทุนหรือสินทรัพย์ที่แท้จริงและส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณการผลิตสินค้าและบริการโดยตรง อันได้แก่ เครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ อาคารโรงงาน สำนักงาน เป็นต้น สินค้าประเภททุนเหล่านี้ถือว่าเป็นสิ่งที่จะก่อให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการโดยตรง การที่ปริมาณสินค้าทุนเพิ่มขึ้นก็แสดงว่าระบบเศรษฐกิจนั้นๆ สามารถจะผลิตสินค้าและบริการได้เพิ่มขึ้นในอนาคต และส่วนเปลี่ยนแปลงของปริมาณสินค้าทุนนี้เอง คือ ปริมาณการลงทุน กรณีที่หน่วยผลิตหนึ่งซื้อเครื่องจักรใหม่มาทดแทนเครื่องจักรเก่าที่เลิกใช้แล้วนั้น จะเห็นได้ว่าปริมาณสินค้าทุนยังคงเดิม อย่างนี้เรียกว่า การลงทุนทดแทน(REPLACEMENT INVESTMENT) ถ้าเป็นการซื้อเครื่องจักรใหม่มาเพิ่มโดยเครื่องเก่าก็ยังใช้อยู่ ส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้เรียกว่า การลงทุนสุทธิ (NET INVESTMENT) การลงทุนในอีกความหมายหนึ่งก็คือ การซื้อสินทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งมาไว้ในครอบครองเพื่อหวังผลตอบแทนในส่วนต่างของราคา ได้แก่ การซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไร การซื้อสินทรัพย์ทางการเงินต่างๆ เช่น พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง ฯลฯ การลงทุนตามความหมายนี้เรียกว่า การลงทุนทางการเงิน( FINANCIAL INVESTMENT) แม้ว่าอาจจะเกี่ยวข้องอยู่กับการเพิ่มปริมาณการผลิตได้ แต่ถือว่ายังไม่เกี่ยวโดยตรงจึงไม่นับเป็นการลงทุนตามความหมายทางเศรษฐศาสตร์จนกว่าธุรกิจจะนำเงินที่ได้จากการขยายหลักทรัพย์เหล่านี้ไปซื้อสินค้าทุนเสียก่อน

PROGRESSIVE TAX

ภาษีก้าวหน้า

ภาษีที่เรียกเก็บในอัตราก้าวหน้า นั่นคือถ้าเงินได้หรือฐานภาษีสูงขึ้น อัตราภาษีที่เรียกเก็บจะสูงขึ้นตามลำดับ การเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นตัวอย่างหนึ่งของภาษีก้าวหน้า

ความหมายของคำที่ใช้ในเศรษฐกิจจุลภาค

DEMAND

อุปสงค์

ปริมาณสินค้าหรือบริการชนิดหนึ่งชนิดใดที่ผู้บริโภคต้องการซ้อในช่วงเวลาหนึ่งๆ ณ ระดับราคาต่างๆ ของสินค้าหรือบริการชนิดนั้น ความต้องการซื้อดังกล่าวมิใช่เป็นความต้องการอย่างลอยๆ จะต้องประกอบด้วยความเต็มใจที่จะซื้อและมีเงินหรือมีอำนาจซื้อด้วย ความต้องการซื้อที่มีองค์ประกอบครบถ้วนนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อุปสงค์ที่แท้จริง หรืออุปสงค์ที่ทรงประสิทธิผล (EFFECTIVE DEMAND) ปัจจัยสำคัญที่มีผลให้อุปสงค์สำหรับสินค้าหรือบริการชนิดหนึ่งๆ เปลี่ยนแปลงไปได้แก่ ระดับรายได้ของผู้บริโภค ราคาสินค้าชนิดอื่นที่ใช้ประกอบกันหรือทดแทนกัน รสนิยมของผู้บริโภค จำนวนผู้บริโภคและการคาดคะเนเกี่ยวกับราคาในอนาคต

LAW OF DEMAND

กฎของอุปสงค์

กฎว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสินค้าหรือบริการที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ (ปริมาณซื้อ) กับระดับราคาของสินค้าหรือบริการชนิดนั้นๆ กฎข้อนี้กล่าวว่าปริมาณซื้อของสินค้าหรือบริการชนิดหนึ่งชนิดใดจะแปรผกผัน(ในทางตรงกันข้าม) กับระดับราคาของสินค้าหรือบริการชนิดนั้นเสมอ กล่าวคือ ถ้าให้ราคาลดลงโดยปัจจัยอื่นๆ ที่กำหนดอุปสงค์ไม่เปลี่ยนแปลง ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าชนิดนั้นในปริมาณที่เพิ่มขึ้น แต่ถ้าราคาเพิ่มขึ้นปริมาณซื้อจะลดลง

SUPPLY

อุปทาน

ปริมาณสินค้าหรือบริการชนิดหนึ่งชนิดใดที่ผู้ผลิตต้องการผลิตออกขายในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆ ของสินค้าหรือบริการชนิดนั้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง อุปทานก็คือความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณขายกับระดับราคาต่างๆ ของสินค้าหรือบริการชนิดนั้น อุปทานของสินค้าหรือบริการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งจะมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ราคาของสินค้านั้น จำนวนผู้ผลิต ต้นทุนผู้ผลิต เทคโนโลยีการผลิต สภาพดินฟ้า อากาศ เป็นต้น

LAW OF SUPPLY

กฎของอุปทาน

กฎที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนสินค้าหรือบริการที่ผู้ผลิตต้องการขายหรือปริมาณขาย กับระดับราคาสินค้าหรือบริการชนิดนั้น กฎนี้กล่าวว่าปริมาณขายของสินคาหรือบริการชนิดหนึ่งชนิดใดย่อมผันแปรโดยตรง(ในทางเดียวกัน) กับระดับราคาสินค้าหรือบริการชนิดนั้นเสมอ กล่าวคือ ถ้าราคาสูงขึ้นปริมาณเสนอขายจะมากขึ้น แต่ถ้าราคาลดลงปริมาณเสนอขายลดลงด้วยเช่นกัน

ELASTICITY OF DEMAND

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์

ความอ่อนไหวของการเปลี่ยนแปลงในปริมาณซื้อที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์ปัจจัยตัวหลักๆ ประกอบด้วยราคาของสินค้าชนิดนั้น รายได้ของผู้บริโภคและราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้องกับสินค้าชนิดอื่น การหาค่าความยืดหยุ่นเป็นกาเปรียบเทียบร้อยละของการเปลี่ยนแปลงในปริมาณซื้อกับร้อยละของการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรที่กำหนด ถ้าตัวแปรที่กำหนดเป็นราคาของสินค้าชนิดนั้นก็เรียกว่า ความยืนหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา ถ้าตัวแปรที่กำหนดเป็นรายได้ก็เรียกว่า ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ และถ้าตัวแปรที่กำหนดเป็นราคาสินค้าอื่นก็เรียกว่าความยืดหยุ่นไขว้ของอุปสงค์

ELASTICITY OF SUPPLY

ความยืดหยุ่นของอุปทาน

อาจเรียกให้สื่อความหมายได้ดีขึ้นว่า ความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา (PRICE ELASTICITY OF SUPPLY) หมายถึง ความอ่อนไหวของปริมาณสินค้าหรือบริการชนิดหนึ่งๆ ซึ่งผลิตออกขายในช่วงเวลาที่กำหนดให้ ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของสินค้าหรือบริการชนิดนั้น วัดได้จากสัดส่วนร้อยละของการเปลี่ยนแปลงปริมาณขาย เทียบกับร้อยละของการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าหรือบริการชนิดนั้น

WAGE

ค่าจ้าง

ค่าตอบแทนในการทำงานที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือคนงานโดยเฉพาะ หมายถึง ค่าตอบแทนที่จ่ายเป็นรายสัปดาห์ รายวัน รายชั่วโมง หรือจ่ายตามรายชิ้นของผลงานที่ทำได้ ถ้าจ่ายเป็นรายเดือนเรียกว่าเงินเดือน(salary) ค่าจ้างนี้จะไม่รวมเงินโบนัส เงินบำเหน็จ บำนาญ และค่าตอบแทน ประเภทอื่นๆ ค่าจ้างนับว่ามีความสำคัญที่สุดในบรรดาผลตอบแทนของปัจจัยการผลิตทั้งหลายเพราะค่าจ้างเป็นแหล่งรายได้ใหญ่ที่สุดของประชาชน พิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบื้องต้น (Gross National Products) ของประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย จะพบว่ามากกว่าร้อยละ 50 เป็นเงินเดือนและค่าจ้าง ดังนั้นนักเศรษฐศาสตร์จึงให้ความสนใจแก่เรื่องค่าจ้างเป็นพิเศษในฐานะที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าและบริการ

ค่าจ้างแบ่งได้เป็นค่าจ้างตัวเงิน (money wages) และค่าจ้างแท้จริง (real wages) ค่าจ้างตัวเงินหมายถึงจำนวนเงินที่แรงงานได้รับเป็นค่าตอบแทนในการทำงานเพื่อการผลิต ส่วนค่าจ้างแท้จริงหมายถึงจำนวนสินค้าและบริการที่จะซื้อได้จากค่าจ้างตัวเงิน ค่าจ้างแท้จริงจึงแสดงอำนาจซื้อ(purchasing power) ที่แท้จริง ค่าจ้างแท้จริงขึ้นอยู่กับค่าจ้างตัวเงินและราคาสินค้าและบริการทั่วไปหรือดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภค(consumer price index) ถ้าดัชนีราสินค้าผู้บริโภคเพิ่มขึ้นในอัตราสูงกว่าค่าจ้างตัวเงินที่เพิ่มขึ้น ค่าจ้างแท้จริงจะลดลง อนึ่ง ค่าจ้างที่ระบุในทฤษฎีค่าจ้างโดยทั่วไปหมายถึงค่าจ้างแท้จริง โดยมีข้อสมมติว่าราคาสินค้าและบริการอยู่คงที่

WAGE RESTRAINT

การตรึงค่าจ้าง

การที่รัฐบาลพยายามจำกัดการขึ้นค่าจ้างของคนงานเอาไว้ ซึ่งอาจจะใช้วิธีการปรามหรือขอร้องต่อสหภาพแรงงานหรือกลุ่มคนงานให้ลดการเรียกร้องเพื่อขอขึ้นค่าจ้าง หรือถ้าจะให้มีการเพิ่มค่าจ้าง รัฐบาลจะพยายามควบคุมให้เพิ่มได้ในระดับที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น วัตถุประสงค์หลักของการตรึงค่าจ้างก็คือ การป้องกันมิให้เกิดเงินเฟ้อหรือการสูงขึ้นของราคาสินค้าอันเป็นสาเหตุมาจากแรงผลักของค่าจ้าง

RENT

ค่าเช่า

มีอยู่สองความหมาย ความหมายแรก เป็นความหมายกว้างๆ หรือความหมายทั่วไป ซึ่งหมายถึงค่าตอบแทนที่จ่ายสำหรับการให้เช่าทรัพย์สินใดๆ เช่น ที่ดิน อาคาร โรงงาน บ้านอยู่อาศัย เครื่องจักรยนต์ ฯลฯ ค่าเช่านี้เป็นรายได้ประเภทหนึ่งของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ซึ่งจะถูกนับรวบอยู่ในรายได้ประชาชาติตามวิธีการคำนวณทางด้านรายได้ที่นอกเหนือจากค่าจ้าง ดอกเบี้ย และกำไร ส่วนความหมายที่สองเป็นความหมายที่ใช้จำเพาะ หมายถึง ค่าตอบแทนพิเศษที่ปัจจัยการผลิตชนิดใดๆ ได้รับนอกเหนือจากค่าตอบแทนขั้นต่ำสุดในอันที่จะชักจูงหรือรักษาให้ปัจจัยการผลิตชนิดนั้นอยู่ในกระบวนการผลิตนั้นต่อไป ซึ่งความหมายประการหลังนี้ มักเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า ค่าเช่าทางเศรษฐกิจ เช่น ถ้าต้นทุนค่าเสียโอกาสหรือรายรับขั้นต่ำสุดที่นาย ก ควรจะได้รับจากการร้องเพลงคือวันละ 500 บาท แต่นาย ก มีรายรับจริงถึง 1,500 บาท ดังนั้นส่วนต่างคือ 1,000 บาท ในที่นี้ก็คือค่าเช่าทางเศรษฐกิจหรือค่าตอบแทนพิเศษนั่นเอง ค่าเช่าทางเศรษฐกิจหรือค่าตอบแทนพิเศษนี้อาจเกิดจากความสามารถพิเศษที่ปัจจัยนี้มีอยู่เป็นทุนเดิมหรือที่เรียกว่า “พรสวรรค์” เช่น นักร้องที่มีเสียงดี นางแบบที่มีรูปร่างหน้าตาดี ที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ หรือ ที่ดินที่มีระบบชลประทานหรือถนนตัดผ่าน หรืออาจเกิดจากการได้รับสิทธิพิเศษจาการกฎหมายหรือนโยบายของรัฐ เช่น พ่อค้าที่รับโควต้าในการส่งออกหรือนำเข้าสินค้า โรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการคุ้มครองหรือยินยอมให้มีการผูกขาด เป็นต้น

INTEREST

ดอกเบี้ย

ค่าตอบแทนจากการให้กู้ยืมเงินหรือสินเชื่อในรูปอื่นๆ ดอกเบี้ยจึงเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้กู้ยืมต้องจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้ยืมนอกเหนือจากจำนวนเงินต้น การคิดดอกเบี้ยมักจะคิดในอัตราร้อยละของเงินต้นต่อช่วงเวลาหนึ่งๆ เรียกว่า อัตราดอกเบี้ย เช่น ร้อยละ 12 ต่อปี ร้อยละ2 ต่อเดือน แต่โดยมากมักคิดจากระยะเวลา 1 ปี ส่วนการตกลงในการชำระค่าดอกเบี้ย อาจจะให้ชำระเป็นงวดๆ พร้อมเงินต้นรายงวด หรืออาจจะชำระครั้งเดียวเมื่อครบกำหนดชำระหนี้พร้อมกับเงินต้นทั้งก้อนก็ได้ ในกรณีที่กำหนดให้ชำระดอกเบี้ยเป็นงวดๆ หากผู้กู้ยืมไม่ชำระ ผู้ให้กู้อาจจะคิดดอกเบี้ยทบต้น( compound interest) กล่าวคือ จะนำเอาดอกเบี้ยที่ผู้ให้กู้ควรได้รับทบเข้าไปเป็นเงินต้น เพื่อใช้เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยในช่วงเวลาที่เหลือต่อไป ในทางเศรษฐศาสตร์คำว่า “ดอกเบี้ย” ยังหมายรวมถึงค่าตอบแทนจากการใช้ปัจจัยการผลิตประเภททุนอีกด้วย เหตุผลในการคิดดอกเบี้ยก็เพื่อเป็นค่าเสียโอกาสของเงินหรือปัจจัยนั้น ในการที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในทางอื่น

ผลกระทบของการสื่อสารต่อเศรษฐกิจมหภาคและจุลภาค

ถ้ามีข่าวสารที่มากระทบทำให้ การบริโภคของภาคประชาชน การลงทุน การใช้จ่ายของภาครัฐหรือการส่งออกสุทธิตัวใดตัวหนึ่ง มีปริมาณลดลง ซึ่งจะทำให้เกิดการลดการจ้างงาน ทำให้คนตกงานไม่มีรายได้ ทำให้การผลิตลดลง เป็นวงจรที่ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมแย่ลง เช่น ข่าวสารเรื่องความรุนแรงของสถานการณ์เมืองไทย ภายหลังจากการตัดสินคดียึดทรัพย์ของอดีตนายกทักษิณ ทำให้ประเทศต่างๆ ชะลอการเดินทางมาท่องเที่ยวในไทย มีผลกระทบต่อรายได้ของคนในภาคบริการการท่องเที่ยว เช่น บริษัทนำเที่ยว การขนส่งและโรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น

ดังนั้น การสื่อสารในยุคนี้ หรือในสภาพสังคมเช่นนี้ จึงควรเน้นการสื่อสารในทางสร้างสรร เพื่อให้โอกาสกับประเทศในการดำเนินกิจการของประเทศ เพื่อให้ประเทศได้ก้าวเดินต่อไป ให้ทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการสร้างงาน การส่งออก การหารายได้จากการออกพันธบัตรของรัฐบาล การกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่เอื้อกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ จึงจะนับว่าเป็นการสื่อสารเพื่อการพัฒนาประเทศ

นายอธิกิต นัยพินิจ

Microeconomics

1.Positive Statement :คือสภาวะว่า เกิดอะไรขึ้น สามารถพิสูจน์ได้ว่าจริงหรือเท็จ

2.Normative Statement: คือสภาวะ อะไรที่ควรจะเป็น ตามค่านิยม

3.อุปสงค์และอุปทานในการวิเคราะห์ปัญหาทางเศรษฐกิจ

4.ความสัมพันธ์ของอุปสงค์และอุปทาน

5.ประสิทธิภาพตลาด

6.บทบาทของรัฐในการนำเข้าและส่งออกในระบบเศรษฐกิจ

7.ราคาเป็นกลไกตลาดของการรักษาดุลยภาพในตลาดของระบบเศรษฐกิจทุนนิยม

การกำหนดราคาหรือการแทรกแซงราคา

8.ดุลยภาพของผู้บริโภค

9.การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าในตลาด

10.การกำหนดราคาของปัจจัยการผลิต

Macroeconomics

1.การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของประเทศ

2.รายรับรายจ่ายของรัฐบาล

3.ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

4.การค้าและการเงินระหว่างประเทศ

5.รายได้ประชาชาติ

6.บทบาทของนโยบายการเงินการคลัง

7.การลงทุน การออม การใช้จ่าย เพื่อการบริโภคของประเทศ

8.บทบาทและหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย

9.ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

10.ความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ

นายรมย์ธีรา คล้ายขยาย

เศรษฐศาสตร์จุลภาค ( Microeconomics)

1.Positive Economics และ Normative Economics

2.ต้นทุนค่าเสียโอกาส

3.ปัจจัยกำหนดอุปทาน

4.ดุลยภาพตลาด

5.ปัจจัยที่กำหนดความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา

6.ดุลยภาพของผู้บริโภค

7.ปัจจัยการผลิต

8.ต้นทุนการผลิต

9.กลไกตลาดซึ่งเป็นตัวกำหนดราคาเปรียบเทียบระหว่างสินค้าและบริการ

10.ระบบเศรษฐกิจแบบเสรี

เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics)

1.ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ คือ เงินตราต่างประเทศ และ พันธบัตรที่ถือครองโดย ธนาคารกลาง และ หน่วยงานที่ดูแลทางการเงิน อย่างไรก็ตาม ด้วยความหมายที่ใช้กันอย่างแพร่หลายนั้น รวมไปถึง อัตราแลกเปลี่ยน,ทองคำ,สิทธิพิเศษในการถอนเงิน

2.ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หมายถึง การเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนของผลผลิตต่อวัตถุดิบที่ใช้เพื่อการผลิต และเป็นการเพิ่มขึ้นของประสิทธิผลของแรงงานและการเพิ่มประสิทธิผลของปัจจัยการผลิต สมถรรนะในการผลิตของแรงงานจะเพิ่มขึ้นโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยการศึกษาอย่างเป็นระบบหรือการอบรม สมถรรนะในการผลิตของทุนจะเพิ่มขึ้นด้วยการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตและการใช้ปัจจัยทุนเข้มข้นมากขึ้น การขยายตัวทางเศรษฐกิจยิ่งเร็วเท่าใดแสดงว่ามีการเสียสละทรัพยากรเพื่อการบริโภคในปัจจุบันเพื่อนำไปใช้ในการลงทุนยิ่งมากขึ้น

3.ภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง การที่ระดับราคาราคาของสินค้าหรือการบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหน่วยวัดในรูปแบบของอัตราร้อยละจากดรรชนีราคา เงินเฟ้อ เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินฝืด อัตราเงินเฟ้ออาจมีได้หลายอัตรา เนื่องจากเราสามารถคำนวณหาอัตราเงินเฟ้อได้จากสินค้าแต่ล่ะชนิด หรือ อัตราเงินเฟ้อที่มีอิทธิพลและผลกระทบเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น ดัชนีเงินเฟ้อที่สำคัญมี 2 ดัชนี ได้แก่ ดรรชนีราคาผู้บริโภค (CPI) , เกิดจากการสุ่มสินค้าบางตัวมาคำนวณ, ตัวหักลด GDP (GDP deflator) , ค่าที่แสดงระดับราคาของ GDP ในช่วงระยะเวลานั้นเปรียบเทียบกับระดับราคาของผลิตภัณฑ์ในปีฐาน

4.ภาวะเงินฝืด หรือเงินฝืด (Deflation) เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดต่ำลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากอุปสงค์รวมมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอที่จะซื้อสินค้าและบริการทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลงเพราะว่าถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้น้อย ผลที่ตามมาจะก่อให้เกิดผลเลวร้ายต่อเศรษฐกิจเพราะการจ้างงานจะลดลงตามไปด้วย ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อมาตราฐานความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะเงินฝืด อำนาจซื้อของบุคคลทั่วไปจะสูงขึ้นด้วย

5.มาตรวัดรายรับและผลผลิตของประเทศ (Measures of national income and output) เป็นเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อประมาณมูลค่าของสินค้าและบริการภายในระบบเศรษฐกิจ ในการคำนวณใช้ระบบของ บัญชีประชาชาติ หรือ การทำบัญชีประชาชาติ ที่ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 มาตรวัดที่ใช้ทั่วไป

6.ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ หรือ จีเอ็นพี (Gross national product, GNP) คือมาตรวัดผลผลิตทางเศรษฐกิจภายในดินแดนใด ๆ ในเชิงของทุนการคลัง ในช่วงเวลาหนึ่ง ผลิตภัณฑ์มวลรวมเป็นหนึ่งในมาตรวัดรายรับและผลผลิตของประเทศ

7.นโยบายการเงิน (MONETARY POLICY) ( Demand Size ) คือ นโยบายทางเศรษฐกิจประเภทหนึ่ง ที่กระทำผ่านเครื่องมือทางการเงินเพื่อหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรทางการเงิน ซึ่งเป็นเป้าหมายชั้นกลางเพื่อหวังว่าการเปลี่ยนแปลงในเป้าหมายชั้นกลางนั้นจะส่งผลกระทบไปถึงเป้าหมายขั้นสุดท้าย

8.อัตราแลกเปลี่ยน (ผูกขาดกับตะกร้าเงิน) คือ เราผูกค่าเงินบาทเอาไว้กับสกุลเงินไทยที่อยู่ในตะกร้า (คือเงินดอลล่าร์สหรัฐ) โดยที่คุมค่าเงินบาทไว้ในระดับที่กำหนดไว้ตามนโยบาย เช่น สมมุติว่าเรากำหนดค่าเงินบาทไว้ 25 บาทต่อเงินดอลล่าร์สหรัฐใช้ตามกรอบเป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยนก็คือ ใช้เครื่องมือทางการเงินที่ดีเพื่อที่จะดูแลให้ค่าเงินบาทเท่ากับ 25 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ ในช่วงเวลาตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ในขณะนั้นเราเรียกนโยบายการเงินว่า เป็นเป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยน หลังจากที่เราลอยตัวค่าเงินบาทเราก็ยึดและกำหนดเป้าหมาย

9.บทบาทของนโยบายการเงินการคลังก็คือ การรักษาให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ ในด้านบทบาทหลักและบทบาทรอง ในทางทฤษฎีในการวิจัยนโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในขณะเดียวกันนโยบายการคลังก็ดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิจ ไม่ใช่ว่าจะใช้เงินอย่างเดียว

10.“เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ” หมายถึง ภาวะที่ตัวแปรทางเศรษฐกิจต่าง ๆ มีการเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมสอดคล้อง และไม่ผันผวนจนเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจมหภาคประกอบไปด้วยต่าง ๆ เหล่านี้คือ ไม่ต้องการให้เงินเฟ้อสูงเกินไปเพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชน ไม่ต้องการให้มีการว่างงานมากเกินไป ไม่ต้องการให้มีหนี้สาธารณะสูงเกินไป ทุนทรัพย์ไม่ผันผวนเกินไป อัตราแลกเปลี่ยนหรือค่าเงินบาทไม่มีการผันผวนขึ้นลงเกินไป ดุลบัญชีเดินสะพัดหรือเป็นดุลราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เราติดต่อกับต่างประเทศ แล้วส่งออกเพื่อให้เข้าบัญชี ทั้งส่งออก ทั้งสินค้าและบริการ จัดกลุ่มว่าเป็นเงินเท่าไหร่ ปกติประเทศที่กำลังพัฒนามักจะมีเงินดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบ ถ้าหากติดลบก็ไม่ควรติดลบสูงเกินไปเป็นเรื่องของการดูแลดุลบัญชีเดินสะพัด ในขณะเดียวกันหนี้ต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐบาลกู้เงินต่างประเทศเข้ามาโดยไม่ต้องมีหนี้สูงเกินไปที่กระทบความเชื่อมั่นที่มีการติดต่อการขายกับเรา ทุนสำรองระหว่างประเทศหมายถึง เงินตราต่างประเทศที่สะสมอยู่ในธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะหากเราทำการค้าขายกับต่างประเทศแล้วมีเงินสำรองเพียงพอไหมเมื่อเรามีหนี้แล้วเรามีปัญญาจ่ายให้ต่างประเทศไหม ต่างประเทศก็จะดูเงินสำรองต่างประเทศ

นางโสภิต พิสิษฐบรรณากร

เศรษฐศาสตร์จุลภาค ( Microeconomics)

  1. พฤติกรรมทางเศรษฐกิจ
  2. พฤติกรรมผู้บริโภค
  3. ทางเลือกของผู้ผลิต
  4. การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้า
  5. โครงสร้างการตลาด
  6. ปัจจัยการผลิต
  7. อุปสงค์
  8. อุปทาน
  9. การเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน
  10. พฤติกรรมทางเศรษฐกิจในระดับหน่วยย่อยหรือครัวเรือน

เศรษฐศาสตร์มหภาค

  1. รายได้ประชาชาติ
  2. การลงทุน
  3. การออม
  4. การเงินและการธนาคาร
  5. นโยบายการเงิน
  6. นโยบายการคลัง
  7. เสรีภาพทางเศรษฐกิจ
  8. การค้าระหว่างประเทศ
  9. การพัฒนาประเทศ
  10. ผลผลิตรวมของประเทศ

 

นายอำนวย เพชรวิจิตรภักดี

เศรษฐศาสตร์จุลภาค ( Microeconomics)

1.อุปสงค์

2. อุปทาน

3. ราคาดุลยภาพ

4. ความยืดหยุ่น

5. พฤติกรรมผู้บริโถค

6. ต้นทุนการผลิต

7. รายรับ

8. กำไรจากการผลิต

9. ตลาดแข่งขันสมบูรณ์

เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics)

1. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ

2. รายได้ประชาชาติ

3. บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ

4. เงินเฟ้อ

5. เงินฝืด

6. การเงินและการธนาคาร

7. นโยบายการคลัง

8. การเงินระหว่างประเทศ

9. การคลังรัฐบาล

10. การเงินระหว่างประเทศ

นายประจักษ์ เพ็งจางค์

เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics)

  1. ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
  2. ภาวะเงินเฟ้อ
  3. ความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ
  4. ภาวะเงินฝืด
  5. รายรับและผลผลิตของประเทศ
  6. มวลรวมประชาชาติ
  7. นโยบายการเงิน
  8. การคลัง
  9. การเงินการธนาคาร
  10. พัฒนาการทางเศรษฐกิจ

เศรษฐศาสตร์จุลภาค ( Microeconomics)

  1. พฤติกรรมผู้บริโภค
  2. ทุนการผลิต
  3. ดุลยภาพตลาด 
  4. ต้นทุนการผลิต
  5. อุปสงค์ และ อุปทาน (Demand & Supply)
  6. ปัจจัยการผลิต
  7. ราคาสินค้าในตลาด
  8. การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าในตลาด
  9. รายรับ
  10. รายจ่าย
นางกิรณา เนื่องจำนงค์

เศรษฐศาสตร์จุลภาค

1. ระบบเศรษฐกิจแบบดั่งเดิม

2. เสรีภาพของผู้บริโภค

3. เสรีภาพของหน่วยการผลิต

4. การกระจายรายได้

5. ระบบเศรษฐกิจแบบครัวเรือน

6. อุปสงค์ตลาด

7. อุปสงค์มวลรวม

8. อุปสงค์ต่อราคา

9. อุปทานมวลรวม

10. อุปทานตลาด

เศรษฐศาสตร์มหภาค

1. ภาวะเงินเฟ้อ

2. ภาวะเงินฟืด

3. การเงินการธนาคาร

4. รานได้ประชาชาติ

5. การลงทุนทางการเงิน

6. การคลังของรัฐบาล

7. งบประมาณแผ่นดิน

8. รายได้ของรัฐบาล

9. รายจ่ายของรัฐบาล

10. นโยบาลการคลัง

นายสุริยา ประดิษฐ์สถาพร

เศรษฐกิจมหภาค

1.บัญชีประชาชาติ

2.ดุลการชำระเงิน

3.การคลังรัฐบาล

4.การค้าระหว่างประเทศ

5.ดัชนีราคา

6.พลังงาน

7.รายได้ประชาชาติที่แท้จริง(real national income)

8.รายได้ที่แท้จริงต่อหัวของประชากรในประเทศ (per capital real income)

9.ดัชนีราคาสินค้า(Price Index)

10.ดัชนีราคาผู้บริโภค(Consumer Price Index)

เศรษฐกิจจุลภาค

1.กฎแห่งอุปทาน (Law of Supply)

2.กฎแห่งอุปสงค์ (Law of Demand)

3.อุปทานของหน่วยผลิตและอุปทานของตลาด

4.ปัจจัยกำหนดอุปทาน

5.อุปสงค์ของบุคคล กับอุปสงค์ของตลาด (Individual demand และ Market demand)

6.ปัจจัยกำหนดอุปสงค์ (Demand determinants)

7.ความแตกต่างของทฤษฎีอรรถประโยชน์ และการวิเคราะห์ด้วยเส้นความพอใจเท่ากัน

8.ดุลยภาพของผู้บริโภค (Consumer equilibrium) : วิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีอรรถประโยชน์

9.การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคด้วยเส้นความพอใจเท่ากัน (Indifference Curve - IC)

10.แนวคิดของ “ผลการทดแทน” (Substitution effects) และ “ผลทางรายได้” (Income effects)

นาย วิรัช จินดากวี

รายงาน เศรษฐศาสตร์ มหภาค macro

1 เงินเฟ้อ

2 เงินฝืด

3 การตลาด

4 พลังงาน

5 พฤติกรรมทางเศรษฐกิจ

6 พฤติกรรมผู้บริโภค

7 ต้นทุนการผลิต

8 ราคาสินค้าในตลาด

9 รายได้ประชาฃาติ

10การเงินระหว่างประเทศ

รายงาน เศรษฐศาสคร์ จุลภาค micro

1 อุปสงค์

2 อุปทาน

3 ทฤษฎีราคา

4 การควบคุมการผลิต

5 ประสิทธิภาพการตลาด

6 ดุลยภาพของผู้บริโภค

7 การเปลี่ยนแปลงสินค้าในตลาด

8 การกระจายรายได้

9 ความยืดหยุ่น

10 การเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน

นาย วิรัช จินดากวี นิเทศศาสตร์นวัตกรรม มหาวิทยาลัยเกริก

นางสาวอักษร จุลวรรณ

เศรษฐศาสตร์จุลภาค

1. อุปสงค์

2. อุปทาน

3. การแข่งขันสมบูรณ์

4. การเลี่ยนแปลงทางการตลาด

5. การกระจายรายได้

6. ประสิทธิภาพการผลิต

7. ต้นทุนการผลิต

8. บทบาทเครื่องหมายการค้า

9. ความล้มเหลวของตลาด

10. พฤติกรรมผู้บริโภค

เศรษฐศาสตร์มหภาค

1. ภาวะเงินเฟ้อ-เงินฟืด

2. การลงทุน การผลิต และการบริโภคสินค้า

3. เสถียรภาพ ดัชนีราคาสินค้า

4. นโยบายการเงิน

5. นโยบายการคลัง

6. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

7. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคม

8. การเงินการธนาคาร

9. คลังรัฐบาล

10. ดรรชนีราคาผู้บริโภค

นายไพบูลย์ ปรัชญานุสรณ์

สอบ MID TERM

เศรษฐกิจมหภาค (MACROECONOMICS) มุ่งศึกษาถึงพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจโดยรวมทั้งระบบ ตัวแปรที่กล่าวถึงในเศรษฐกิจมหภาค จึงเป็นตัวแปรในระดับมวลรวม ตัวอย่างของการศึกษาในวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค ได้แก่ การศึกษาเกี่ยวกับรายได้ประชาชาติ การจ้างงาน การค้าระหว่างประเทศ เงินเฟ้อและเงินฝืด นโยบายการเงินและการคลัง เป็นต้น

ความหมายของคำที่น่าสนใจในเศรษฐกิจมหาภาค

BALANCE OF TRADE

ดุลการค้า

ผลต่างระหว่างมูลค่าของสินค้าออกกับมูลค่าของสินค้าเข้าของประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง (เช่น 1 ปี) ถ้ามูลค่าของสินค้าออกมากกว่ามูลค่าของสินค้าเข้าเรียกว่า ดุลการค้าเกินดุล (SURPLUS) ถ้ามูลค่าสินค้าออกน้อยกว่ามูลค่าสินค้าเข้าเรียกว่า ดุลการค้าขาดดุล (DEFICIT) ถ้าเท่ากันพอดี เรียกว่า ได้ดุลหรือสมดุล(BALANCE) ดุลการค้านี้บางครั้งเรียกว่า การค้าที่มองเห็น (VISIBLE TRADE) เพราะเป็นการค้าที่คิดเฉพาะรายการของสินค้าที่จับต้องได้โดยไม่รวมบริการ ดุลการค้าเป็นส่วนหนึ่งของบัญชีเดินสะพัดในดุลการชำระเงิน

CUSTOMS DUTY

ภาษีศุลกากร

ภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้านำเข้าและส่งออกบางชนิด ภาษีดังกล่าวจะเรียกเก็บเมื่อสินค้าผ่านด่านเข้าออกระหว่างประเทศ จุดประสงค์สำคัญในการเก็บภาษีประเภทนี้ก็เพื่อหารายได้ให้กับรัฐบาล

DEFLATION

เงินฝืด

หมายถึงภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปลดต่ำลงเรื่อยๆ ภาวะเงินฝืดมักเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการลดลงของระดับผลผลิตและการจ้างงาน ภาวะเงินฝืดมักเกิดขึ้นจากการลดลงของอุปสงค์มวลรวม ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการลดลงของการใช้จ่ายในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านพร้อมๆกัน เช่นการบริโภคและการลงทุนของเอกชน การลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลหรือการส่งออก เป็นต้น

EXCHANGE RATE

อัตราการแลกเปลี่ยน

เรียกชื่อเต็มว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงินตามต่างประเทศ(FOREIGN EXCHANGE RATE) ซึ่งหมายถึงราคา หรืออัตราของเงินตราสกุลหนึ่งที่จะใช้แลกเปลี่ยนกับเงินตราสกุลอื่น อัตราการแลกเปลี่ยนยังแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ และ อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ในระบบอัตราการแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว อัตราการแลกเปลี่ยนที่แท้จริงจะถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของเงินตราสกุลนั้นในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ อุปสงค์และอุปทานจะมีสภาพเป็นเช่นไรนั้นขึ้นอยู่กับฐานะดุลการชำระเงินของประเทศที่เป็นเจ้าของเงินตราสกุลนั้นเป็นอย่างไรด้วย

EXCISE TAX

ภาษีสรรพสามิต

ภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าหรือบริการเฉพาะอย่างโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจำกัดปริมาณการบริโภคสินค้านั้นและเพื่อเพิ่มรายรายให้แก่รัฐบาล ตัวอย่างของสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต ได้แก่ สุรา ยาสูบ เครื่องดื่ม ไพ่ เป็นต้น

FISCAL POLICY

นโยบายการคลัง

นโยบายทางด้านรายรับและรายจ่ายของรัฐบาลซึ่งหมายถึงการเก็บภาษีรวมทั้งการหารายได้ในทางอื่นกับการใช้จ่ายของรัฐเพื่อการซื้อสินค้าและบริการ การใช้นโยบายการคลังถือเป็นเครื่องมือสำคัญอันหนึ่งที่จะนำไปสู่เป้าหมายทางเศรษฐกิจของประเทศ ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการกระตุ้นให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รัฐบาลอาจจะเพิ่มการใช้จ่ายในขณะเดียวกันก็ลดการเก็บภาษีลง

INFLATION

เงินเฟ้อ

สถานการณ์ที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ กล่าวอีกแง่หนึ่งคือ ภาวะที่ระดับราคาโดยเฉลี่ยของสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นจากช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาเครื่องมือที่นำมาใช้วัดระดับเงินเฟ้อคือดัชนีราคาผู้บริโภค โดยวัดในรูปของร้อยละของอัตราการเปลี่ยนแปลงราคาในช่วงเวลานั้นเทียบกับช่วงเวลาก่อน อัตราดังกล่าวนี้เรียกว่า อัตราเงินเฟ้อ(INFLATION RATE) อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดๆ เรียกว่า อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นจริง (ACTUAL INFLATION RATE) ส่วนอัตราเงินเฟ้อในอนาคตที่มีการคาดการณ์เอาไว้ล่วงหน้าเรียกว่า อัตราเงินเฟ้อที่คาดคะเน(EXPECTED INFLATION RATE)

MONETARY POLICY

นโยบายการเงิน

นโยบายที่รัฐบาลหรือธนาคารกลางกำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการควบคุมปริมาณเงิน ภายในระบบเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่ต้องการ ทั้งนี้ก็เพื่อให้การใช้นโยบายดังกล่าวบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่นระดับหรืออัตราความเจริญเติบโตของผลผลิตที่แท้จริง อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา ระดับราคาทั่วไปดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น มาตรการที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงินได้แก่ การกำหนดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงอัตราธนาคารหรืออัตรารับช่วงซื้อลด การซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาล การควบคุมการให้สินเชื่อบางประเภท และการขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินต่างๆ นโยบายการเงินเป็นนโยบายสำคัญอย่างหนึ่งในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่ใช้ควบคู่กับนโยบายการคลัง

VALUE ADDED TAX(VAT)

ภาษีมูลค่าเพิ่ม(แวต)

ภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการชนิดต่างๆ แต่แทนที่จะเรียกเก็บโดยเอามูลค่าหรือราคาของสินค้ามาเป็นฐานเหมือนภาษีการค้าโดยทั่วไป ภาษีประเภทนี้จะเรียกเก็บจากมูลค่าเพิ่มของสินค้าชนิดนั้นในแต่ละขั้นตอนการผลิตหรือการขายเท่านั้น การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นการแก้ปัญหาในการเก็บภาษีซ้อน ประเทศไทยเริ่มนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทนภาษีการค้า เมื่อ พ.ศ.2535 เป็นต้นมา อัตราภาษีที่เคยเรียกเก็บอยู่ระหว่างร้อยละ 7 ถึง 10 ของมูลค่าเพิ่ม

CONSUMPTION

การบริโภค

การใช้สินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการโดยตรงของมนุษย์และได้รับผลจากการใช้ในรูปของอรรถประโยชน์หรือความพอใจ การบริโภคตามความหมายข้างต้นนี้จึงมีความหมายกว้างไม่จำกัดเฉพาะการกินเท่านั้น แต่กินความถึงการใช้ประโยชน์ในลักษณะต่างๆ ที่เป็นการตอบสนองความต้องการโดยตรงในขณะนั้น ตัวอย่างเช่น การสวมใส่เสื้อผ้า การนั่งรถโดยสาร การฟังเพลง การเดินทางท่องเที่ยว การใช้บริการต่างๆ จากสถานบริการ ฯลฯ

…………………………………………………………………..

เศรษฐกิจจุลภาค (MICROECONOMICS) ศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วยเศรษฐกิจหน่วยย่อยๆ หน่วยใดหน่วยหนึ่ง เช่น พฤติกรรมของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการชนิดหนึ่งๆ พฤติกรรมของผู้ผลิตแต่ละรายในการตัดสินใจด้านการผลิตและเสนอขายสินค้าหรือบริการของตน การกำหนดราคาสินค้า หรือปัจจัยการผลิตชนิดหนึ่งๆ เป็นต้น

ความหมายของคำที่น่าสนใจในเศรษฐกิจจุลภาค

COST

ต้นทุน

โดยทั่วไปหมายถึงค่าของสิ่งใดๆ ก็ตามที่ต้องเสียไปเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งหนึ่งไม่ว่าจะโดยการซื้อ การแลกเปลี่ยน หรือการผลิต นักเศรษฐศาสตร์มักจะใช้แนวคิดของต้นทุนค่าเสียโอกาส เพื่อใช้วัดต้นทุนต่างๆ ซึ่งได้แก่มูลค่าของทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้สูญเสียไปเพื่อให้ได้รับอีกสิ่งหนึ่งมา ไม่ว่าการสูญเสียสิ่งนั้นจะวัดเป็นตัวเงินได้หรือไม่ หรือจะได้จ่ายออกไปเป็นตัวเงินจริงๆ หรือไม่ ส่วนที่ได้จ่ายออกไปเป็นตัวเงินจริงๆ เรียกว่า ต้นทุนชัดแจ้ง ส่วนที่ไม่ได้จ่ายเป็นตัวเงินจริงๆ เรียกว่า ต้นทุนแอบแฝง ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์(ECONOMIC COST) จึงหมายถึง ต้นทุนค่าเสียโอกาสซึ่งจะครอบคลุมทั้งต้นทุนชัดแจ้งและต้นทุนแอบแฝง ซึ่งอาจจะแตกต่างจากต้นทุนทางบัญชี (ACCOUNTING COST) ที่ครอบคลุมเฉพาะต้นทุนชัดแจ้งเท่านั้น

OPPORTUNITY COST

ต้นทุนค่าเสียโอกาส

มูลค่าสูงสุดของสิ่งใดๆ จากกิจกรรมทางเลือกอื่นที่เสียไป อันเนื่องมาจากการตัดสินใจเลือกเอากิจกรรมหนึ่งๆ ในบรรดากิจกรรมทางเลือกทั้งหมด ต้นทุนค่าเสียโอกาสเกิดขึ้นเนื่องจากทรัพยากรต่างๆ มีอยู่อย่างจำกัด ถ้านำมาใช้เพื่อกิจกรรมหนึ่งมากขึ้นย่อมทำให้โอกาสที่จะนำไปใช้ในกิจกรรมอื่นมีน้อยลง ต้นทุนค่าเสียโอกาสนี้อาจพิจารณาได้ทั้งในแง่ของการบริโภค และการผลิต ตัวอย่าง เช่น นักศึกษาคนหนึ่งมีกิจกรรมให้เลือกทำในเวลา 1 ชั่วโมงของตอนเช้า 3 อย่าง คือ ฟังบรรยายในห้องเรียน นอนอยู่กับบ้าน และออกกำลังกาย ถ้าหากเขาตัดสินใจใช้เวลาไปฟังคำบรรยาย ค่าเสียโอกาสของการเข้าฟังคำบรรยายไม่ใช่เวลาของการนอนอยู่กับบ้านและออกกำลังกายรวมกัน แต่ต้องเป็นกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งเท่านั้น เพราะเขาไม่อาจทำกิจกรรมทั้งสองอย่างนี้พร้อมกันได้ ค่าเสียโอกาสในการฟังคำบรรยายจะเป็นเท่าใดขึ้นอยู่ว่า นักศึกษาผู้นี้ตีค่าให้กิจกรรมใดสูงกว่ากัน ค่าเสียโอกาสของการฟังคำบรรยายสำหรับคนชอบออกกำลังกายมากกว่าการนอน ก็คือการออกกำลังกาย แต่สำหรับคนที่ชอบนอนพักผ่อนมากกว่าการออกกำลังกาย ค่าเสียโอกาสในการฟังคำบรรยายของเขาก็คือ การนอนอยู่กับบ้าน ส่วนในแง่ของการผลิตก็จะมีแนวคิดที่เหมือนกัน กล่าวคือ ต้นทุนค่าเสียโอกาสของการผลิตสินค้าหรือบริการชนิดหนึ่งๆ ก็คือ มูลค่าสูงสุดของสินค้าหรือบริการชนิดอื่นๆ ที่จะสามารถผลิตขึ้นได้ด้วยทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตจำนวนเดียวกันนั้น ซึ่งจะเท่ากับผลรวมของต้นทุนค่าเสียโอกาสของปัจจัยการผลิตแต่ละชนิดนั่นเอง หากปัจจัยการผลิตชนิดใดไม่อาจนำไปใช้ในทางเลือกอื่นได้เลย ต้นทุนค่าเสียโอกาสของปัจจัยชนิดนั้นย่อมมีค่าเท่ากับศูนย์ การคิดต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ เป็นการคิดจากต้นทุนค่าเสียโอกาสนี้เอง ดังนั้น ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์จะรวมทั้งต้นทุนที่ผู้ผลิตได้จ่ายเป็นค่าตอบแทนแก่ปัจจัยการผลิตต่างๆ ออกไปเป็นตัวเงินจริงๆ หรือที่เรียกว่า ต้นทุนชัดแจ้ง และค่าตอบแทนที่ไม่ได้จ่ายแก่เจ้าของปัจจัยการผลิตโดยตรงที่เรียกว่า ต้นทุนแอบแฝง

PRIVATE COST

ต้นทุนเอกชน

หมายถึง ต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการเฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นกับหน่วยผลิตผู้ทำการผลิตสินค้าหรือบริการนั้น ในทางเศรษฐศาสตร์จะหมายรวมทั้งต้นทุนชัดแจ้งและต้นทุนแอบแฝง ในการตัดสินใจผลิต หน่วยผลิตจะถือเอาต้นทุนเอกชนเป็นเกณฑ์ในการกำหนดระดับผลผลิตแต่ในการผลิตสินค้าและบริการอาจมีต้นทุนที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่นได้ ถ้าการผลิตนั้นก่อให้เกิดผลกระทบภายนอกเชิงลบ ต้นทุนส่วนหลังนี้เรียกว่าต้นทุนภายนอก เมื่อรวมต้นทุนทั้งสองประเภทนี้เข้าด้วยกัน จะกลายเป็นต้นทุนสังคม

SOCIAL COST

ต้นทุนสังคม

ต้นทุนค่าเสียโอกาสของทรัพยากรต่างๆ ในสังคมที่เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้าหรือบริการชนิดหนึ่งๆ ต้นทุนทางสังคมจึงหมายถึงต้นทุนทั้งที่เกิดขึ้นกับผู้ผลิตเองที่เรียกว่า ต้นทุนเอกชน และต้นทุนที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่นๆ ในสังคมที่เรียกว่า ต้นทุนภายนอก

MARKET

ตลาด

ในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง บริบทใดๆ ที่มีการตกลงซื้อขายหรือบริการเกิดขึ้น ตามความหมายนี้ถือเอาการเกิดขึ้นของการซื้อขายเป็นสำคัย ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีแหล่งที่ตั้งหรืออาณาเขตแน่นอนตายตัวเสมอไป และไม่จำเป็นว่าผู้ซื้อกับผู้ขายจะต้องมาพบปะกันโดยตรง การตกลงซื้อขายอาจกระทำได้โดยมีการติดต่อกันทางเครื่องมือสื่อสารก็ได้ อย่างไรก็ตาม คำว่าตลาดอาจจะใช้ในความหมายแคบที่หมายถึงสถานที่หรือศูนย์กลางสำหรับการซื้อขายสินค้าหรือบริการบางชนิดก็ได้ เช่น ตลาดกลางยางพารา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลาดหุ้นวอลล์สตรีท เป็นต้น

PERFECTLY COMPETITIVE MARKET

ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ หรือตลาดสมบูรณ์ (PERFECT MARKET)

หมายถึง พฤติกรรมการแข่งขันในตลาดแบบหนึ่งที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

1.มีหน่วยผลิตหรือผู้ขายรายเล็กๆ จำนวนมากจนกระทั่งไม่มีรายใดมีอิทธิพลต่อการกำหนดปริมาณและราคาสินค้าหรือบริการในตลาด

2.สินค้าหรือ บริการของผู้ผลิตแต่ละรายมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ จึงสามารถทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์

3.การเข้าและออกจากตลาดของผู้ผลิตแต่ละรายการเป็นไปอย่างเสรี ไม่มีอุปสรรคหรือการกีดกัน

4.มีการเคลื่อนย้ายทรัพยากรการผลิตและสินค้าได้อย่างเสรี และรวดเร็ว

5.ผู้ซื้อและผู้ขายมีความรอบรู้เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารอย่างสมบูรณ์

MONOPOLY

การผูกขาด

ในความหมายแคบ หมายถึง สถานการณ์ที่ตลาดสินค้าและบริการหรือปัจจัยการผลิตชนิดหนึ่งๆ มีผู้ผลิตหรือผู้ขายเพียงรายเดียวเท่านั้น ในขณะที่ผู้ซื้อจะไม่สามารถหาสินค้าอื่นมาทดแทนสินค้าของผู้ผูกขาดได้เลย ในขณะเดียวกัน ผู้ผลิตรายอื่นจะไม่สามารถเข้ามาผลิตเพื่อแข่งขันได้ เพราะจะถูกกีดกันหรือมีอุปสรรคต่อการเข้าสู่ตลาด อาจเรียกการผูกขาดในความหมายแคบนี้ว่า การผูกขาดอย่างแท้จริง( PURE MONOPOLY) หรือการผูกขาดอย่างสมบูรณ์ (ABSOLUTE MONOPOLY) ในตลาดที่มีลักษณะตามความหมายนี้ อุปสงค์ที่ผู้ผลิตเผชิญก็คือ อุปสงค์ตลาดของสินค้านั้นนั่นเอง ผู้ผูกชาดอย่างสมบูรณ์จะมีอำนาจในการกำหนดราคาสินค้าหรือปริมาณสินค้าในตลาดอย่างใดอย่างหนึ่งได้อย่างเต็มที่ แต่จะกำหนดทั้งสองอย่างพร้อมๆ กันไม่ได้ ในความหมายกว้าง หมายถึง การที่ผู้ผลิตหรือกลุ่มผู้ผลิตในตลาดสินค้าหรือบริการ มีอำนาจในการกำหนดราคาหรือปริมาณของสินค้าอยู่บ้างไม่มากก็น้อย

OLIGOPOLY

ตลาดผู้ขายน้อยราย

เป็นรูปแบบหนึ่งของตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ ตลาดผู้ขายน้อยรายมีลักษณะที่สำคัญดังนี้

1.มีจำนวนผู้ผลิตเพียงไม่กีราย โดยที่สินค้าหรือบริการของผู้ผลิตแต่ละรายมีสัดส่วนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับปริมาณทั้งหมดในตลาด ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการผลิตและการขายของผู้ผลิตรายหนึ่งๆ จะกระทบกระเทือนต่อผู้ผลิตรายอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด

2.สินค้าหรือบริการของผู้ผลิตแต่ละรายอาจมีลักษณะเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้ แต่ก็สามารถใช้ทดแทนกันได้

3.ผู้ผลิตรายใหม่อาจถูกกีดกันหรือมีอุปสรรคต่อการเข้าสู่ตลาด ตัวอย่างของสินค้าหรือบิการที่จัดว่าเป็นตลาดผู้ขายน้อยรายได้แก่ ปูนซีเมนต์ น้ำมัน รถยนต์ เบียร์ ธนาคารพาณิชย์ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น หากมีการแข่งขันในตลาดประเภทนี้ก็มักจะเป็นการแข่งขันที่ไม่ใช้ราคา แต่ก็มีหลายกรณีที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายแต่ละรายร่วมมือกัน เพื่อร่วมกันกำหนดราคาหรือปริมาณสินค้าในตลาด

MONOPOLISTIC COMPETITION

ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด

ตลาดสินค้าหรือบริการชนิดหนึ่งชนิดใดที่มีทั้งลักษณะของการแข่งขันและการผูกขาดปรากฏอยู่ลักษณะที่ส่อแสดงถึงการแข่งขัน ได้แก่ การมีผู้ผลิตเป็นจำนวนมากและเข้าออกจากตลาดได้ง่ายส่วนลักษณะที่แสดงถึงการผูกขาดที่มีอยู่บ้างก็คือ สินค้าของผู้ผลิตแต่ละรายมีความแตกต่างกันอย่างน้อยที่สุดก็แตกต่างกันในความรู้สึกของผู้บริโภค ดังนั้น จึงทำให้ผู้บริโภคบางรายมีความนิยมชมชอบสินค้าของผู้ผลิตรายหนึ่งรายใดเป็นพิเศษ ทำให้ผู้ผลิตรายนั้นมีอำนาจในการกำหนดราคาสินค้าได้ในระดับหนึ่ง ตัวอย่างของสินค้าและบริการที่จัดอยู่ในตลาดประเภทนี้ ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า เครื่องเรือน สำนักทนายความ ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย เป็นต้น

OLIGOPSONY

ตลาดผู้ซื้อน้อยราย

ตลาดสินค้าและบริการหรือปัจจัยการผลิตที่มีผู้ซื้อเพียงไม่กี่ราย ในกรณีนี้ผู้ซื้อจะมีอำนาจในการกำหนดราคาสินค้าหรือปัจจัยการผลิตในระดับหนึ่ง ตลาดที่มีลักษณะเช่นนี้คล้ายกับตลาดผู้ขายน้อยราย เพียงแต่ในที่นี้แทนที่จะเป็นผู้ขายกลับเป็นผู้ซื้อ พฤติกรรมของผู้ซื้อจึงอาจจะมีทั้งการแข่งขันกันและร่วมมือกัน ตัวอย่างของผู้ซื้อน้อยรายได้แก่ โรงงานปลาป่นที่รับซื้อปลากจากชาวประมง โรงสีที่รับซื้อข้าวจากชาวนา โรงงานผลิตยางแท่งที่รับซื้อยางแผ่นจากชาวสวนยางเป็นต้น

ผลกระทบของการสื่อสารต่อเศรษฐกิจมหภาคและจุลภาค

การสื่อสารในปัจจุบันเป็นไปอย่างกว้างขวาง ข่าวสารต่างๆ แพร่ไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ข่าวที่ไม่ปกติเป็นไปในเชิงลบต่อความปกติความสงบเรียบร้อยต่อภาคส่วนใดๆ ขององค์ประกอบของประเทศ ย่อมส่งผลทางจิตวิทยาต่อประชากรในประเทศ หรือหน่วยงาน องค์การที่มีส่วนได้เสียกับข่าวสารนั้น ทำให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งของประชาชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง (เศรษฐกิจจุลภาค) และเศรษฐกิจ ความมั่นคั่งของประเทศ (เศรษฐกิจมหภาค) ยกตัวอย่างเช่น กรณี มาบตาพุด ซึ่งเป็นกรณีขัดแย้งระหว่างองค์กรภาคอุตสาหกรรมกับประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทางด้านสุขอนามัยหรือสุขภาพ จากองค์กรภาคอุตสาหกรรมเหล่านั้น ทำให้เกิดการชะงักงันในการดำเนินงานของอุตสาหกรรมต่างๆ เหล่านั้น สิ่งแรกที่เกิดขึ้นคือ กระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน เนื่องจากเกิดชะงักงันของการจ้างแรงงาน และผลกระทบที่ตามมาเป็นลูกโซ่ คือ เกิดความไม่แน่นอนในด้านการลงทุนจากต่างประเทศทำให้สถานะเศรษฐกิจของประเทศเกิดความล่าช้าไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ดังนั้น ทางภาครัฐจึงควรจะดำเนินงานแก้ไขปัญหานี้โดยเร็วพร้อมกับในทุกด้าน ไม่ว่าในด้านประชาชนที่เกี่ยวข้องให้ได้รับความพอใจตามมาตรฐานของกฎระเบียบหรือกฎหมายที่มี มิใช่ให้ได้รับความพอใจอย่างที่ต้องการ และให้ข่าวสารแก่ประชาชนที่เกี่ยวข้องเหล่านั้น อย่างครบถ้วน ชัดเจน ในด้านองค์กร หรือบริษัทที่เข้ามาลงทุน ก็ต้องเร่งสร้าความเข้าใจในมาตรฐานใหม่เรื่องความรับผิดชอบ สุขอนามัยของภาคอุตสาหกรรมที่ต้องมีต่อประชาชนใกล้เคียงตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการในระยะยาวที่ว่าไม่มีความขัดแย้งกับชุมชนโดยรอบในอนาคต เกิดความมั่นคงในการลงทุนระยะยาว ซึ่งการสื่อสารจะต้องทำอย่างรวดเร็วและทำให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน ผลกระทบที่เกิดจากปัญหานี้ก็จะดูไม่รุนแรง ร้ายแรง จนทำให้ภาพลักษณ์การลงทุนในประเทศไทยเสียหาย เนื่องจากมิใช่เกิดวิกฤติใดๆ แต่เป็นเพียงข้อกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติเท่านั้น ซึ่งเมื่อทุกฝ่ายมีความเข้าใจก็จะไม่ตื่นตระหนกจนทำให้เกิดผลกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาใหลุล่วงไปโดยรวดเร็ว อันจะเป็นผลดีต่อชุมชนและองค์กรหรือบริษัทผู้ลงทุนในที่สุด การสื่อสารในเชิงบวกจึงเป็นการสื่อสารเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง

เกศสุพิชญ์ ธนนันท์โสภณ

Midterm Test

วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจมหภาค

โลกนั้นคงมีอัตราการเติบโตในระดับปานกลางไม่อู้ฟู่เพราะคนยังนิยมเก็บเงิน มากกว่าใช้เงิน โดยเฉพาะคนในประเทศแถบเอเชียนั้นยังมีอัตราการออมเงินอยู่ในระดับสูง และรัฐบาลของประเทศต่างๆ ในเอเชียก็ยังดำเนินนโยบายเศรษฐกิมหภาคอย่างประหยัดมัธยัสถ์ (Prudent macroeconomic policies)

ดังนั้นคาดว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้จะไปได้ดี แม้ว่าสภาพตลาดจะยังไม่ซู่ซ่าก็ตามที ในขณะที่สถานการณ์ของปีนี้มีทั้งโอกาสให้เห็น แต่ก็มีคู่แข่งมากระแทกไหล่หายใจรดต้นคอด้วย การจะบริหารงานในปีนี้ให้นาวาธุรกิจไม่ล่มหรือชนภูเขาน้ำแข็งแบบเรือไททานิค บรรดา CEO จำนวน 1,351 จากประเทศในเอเชียแปซิฟิก ที่ได้รับการสำรวจจาก EIU มีความเห็นตรงกันว่า แนวทางการบริหารด้านเศรษฐกิจที่จะเป็นกุญแจหลักในการไขประตูสู่ความอยู่รอดและความสำเร็จ ประกอบด้วยปัจจัย 4 ประการคือ

1. ต้องมีความยืดหยุ่น (Flexibility) เพื่อที่องค์กรจะสามารถสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และบริการในระยะยาว องค์กรต้องสามารถปรับเปลี่ยนสินค้าและบริการรวมทั้งวิธีการทำงานเพื่อที่จะ สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดความต้องการและรสนิยมของลูกค้า ไม่เฉพาะองค์กรธุรกิจของเอกชนเท่านั้น แม้แต่หน่วยงานของภาครัฐก็ต้องมีความยืดหยุ่นคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนเช่น กัน เพราะหากรัฐบาลไม่สามารถทำงานสนองความต้องการของประชาชนที่มีหลายเชื้อชาติ วัฒนธรรมและเผ่าพันธุ์ ก็เป็นการยากที่รัฐบาลจะอยู่ครบเทอมดังที่เราเห็นในข่าวอยู่บ่อยๆ ว่ารัฐบาลในประเทศต่างๆ ไม่ค่อยมีเสถียรภาพเท่าใดนักและมีการเข้า-ออก ปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีของรัฐบาลในหลายประเทศกันให้เห็นมากขึ้นกว่าในสมัยก่อน

2. ต้องมีนวัตกรรม (Innovation) เมื่อต้องการสร้างความยืดหยุ่น ก็หมายความว่าต้องมีแนวคิดและแนวทางการทำงานใหม่ มีการเลือกใหม่จึงจะยืดหยุ่นได้ การคิดใหม่ ทำใหม่ (แบบสร้างสรรค์) นี่แหละนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการใหม่ ทั้งนี้ก่อนที่จะมีนวัตกรรมที่ออกมาในรูปของสินค้าหรือบริการ ก็ต้องมีนวัตกรรมด้านแบบจำลองทางธุรกิจ (Business model) ก่อน เพราะถ้าไม่มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงความคิดและแบบจำลองในการทำงาน ก็ยากที่จะสร้างนวัตกรรมขึ้นมา

3. ต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ (Specialization) ปัจจัยที่ตามมาติดๆ ก็คือ องค์กรต้องรู้ว่าจุดเด่นของตนคืออะไร และจะนำจุดเด่นนั้นมาเจียระไนให้ฉายแสงโดดเด่นกว่าคู่แข่งได้อย่างไร จุดเด่นนั้นคือ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน องค์กรชั้นนำของโลกล้วนต้องสร้างจุดเด่นของตนทั้งสิ้น เช่น Toyota มีจุดเด่นดั้งเดิมเรื่องการบริหารต้นทุน Apple เด่นเรื่องนวัตกรรม Microsoft เด่นเรื่องเทคโนโลยี เป็นต้น องค์กรก็เหมือนกับคนตรงที่ไม่สามารถเก่งได้ทุกอย่าง จึงต้องรู้จักสร้างจุดเด่นที่เป็นแบรนด์ขององค์กร

4. ต้องแน่นด้วยข้อมูล (Command of information) การทำธุรกิจที่แข่งขันกันรุนแรงในสังคมที่ประชากรของโลกมีการศึกษาสูง ย่อมแข่งขันกันด้วยข้อมูลมิใช่การล่อลวงยกเมฆหรือการสร้างภาพเอาตัวรอดไป วันๆ อยากอยู่อย่างยั่งยืนก็ต้องหมั่นสำรวจวิจัยหาข้อมูลมา เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจมิให้พลาด องค์กรจึงต้องมีความสามารถในการหาและประมวลข้อมูลที่เที่ยงตรงว่องไวทัน เหตุการณ์ ใครรู้ก่อนและไวกว่าก็ออกตัวสินค้าและคว้าตัวลูกค้าได้ก่อน ใครรู้รอบรู้ก่อนก็ตัดสินใจลงทุนซื้อหุ้นหรือขายหุ้นบริษัทได้ในช่วงเวลาที่ เหมาะสม

วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจจุลภาค

ในขณะที่หากเป็นการแข่งขันในตลาดระดับประเทศ ควรพิจารณาการวางตำแหน่ง สินค้าและกำหนดจุดยืนที่ชัดเจนของ Brand (Brand Position) มากขึ้น ใช้ความคิดเชิงสร้างสรรค์ผสมผสานกับจุดเด่น ทั้งในเชิงวัฒนธรรม วัตถุดิบ ทักษะ ความชำนาญ และเอกลักษณ์เฉพาะตัว และต้องจับตาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Creative Industry) ที่จะมีบทบาทขับเคลื่อนการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น การสี่อสารการตลาด โฆษณา ประชาสัมพันธ์ อีเวนท์ ดีดตัวรับมาตั้งแต่กลางปี 2009 เมื่อภาพรวมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการตลาดด้วยการสื่อสาร เริ่มฟื้นตัว มีทิศทางที่ดีต่างจากเดิมที่อยู่ในสภาพที่น่าเป็นห่วงมาตั้งแต่กลางปี 2009 ทั้งนี้เกิดจากการใช้งบประมาณของภาครัฐเป็นส่วนใหญ่ทั้งการขับเคลื่อน โครงการสำคัญให้เกิดการรับรู้ การชี้แจงนโยบาย ผลงานที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ภาคเอกชน ต้องเร่งทำยอดขายในช่วงสินค้าและบริการในช่วงปลายปีถึงต้นปี ผลจากการฟื้นตัวเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญต่อการใช้งบโฆษณา ประชาสัมพันธ์ นอกจากภาครัฐแล้วกลุ่มธุรกิจที่เน้นด้านสื่อสารการตลาดเข้ามาอย่างรุนแรง เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สถาบันการเงิน กลุ่มธุรกิจประกันชีวิต ธุรกิจขายตรง อาหาร Fast Food และ Consumer Product สื่อสารแบรนด์ 360 องศา และ มัดใจลูกค้าด้วยยุทธศาสตร์ การแข่งขันในปี 2010 ต้องใช้การสื่อสารสร้างแบรนด์แบบ 360 องศา เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งควบคู่ไปกับการสร้างระบบการพัฒนาความสัมพันธ์กับ ลูกค้าในระยะยาว นั่นคือทำให้ธุรกิจมีช่องทางสื่อสารไปยังลูกค้าเป้าหมายได้มากที่สุดทุกช่อง ทาง ต้องมีกลยุทธ์มัดใจลูกค้าไว้ด้วย ขณะที่งานด้านประชาสัมพันธ์ สื่อสารองค์กรอาศัยการพัฒนาช่องทางสื่อดิจิทัล และการทำตลาดรูปแบบ Green Marketing / การสื่อสาร CSR และการจัดการ เรื่อง Brand Imageนับเป็นแนวโน้มที่สำคัญที่ทั้งกิจการข้ามชาติ และไทยต่างให้ความสนใจ หากมีการนำกลยุทธ์ทางด้านการสื่อสารทางตลาดเข้ามาพัฒนากระบวนทัศน์ภายในองค์กรเพิ่มขึ้น โดยการนำ กลยุทธ์การสื่อสารใหม่ๆ อาทิ

การตลาดเชิงสัมพันธ์ภาพ (Relationship Marketing)

การตลาดแบบผสมผสาน (Integrated Marketing Communication)

การตลาดเพื่อสังคม (Socially Responsible Marketing)

การตลาดเชิงรุก (Proactive Marketing)

การตลาดภายในองค์กร (Internal Marketing)

สรุปผลกระทบทางเศรษฐกิจมหภาค และเศรษฐกิจจุลภาค คือ องค์กรธุรกิจควรเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การสื่อสาร การตลาด และควรวางแผนการสื่อสารโดยเลือกใช้สื่ออย่างเฉพาะเจาะจง ควบคู่กับการติดตามสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศแบบเกาะติด เพราะเชื่อว่านี่คือแนวทางที่ดีที่สุดท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่ยากแก่การ คาดเดา จากประเมินแนวโน้ม เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งนโยบายของภาครัฐ ค่าเงิน อัตราดอกเบี้ย ความเคลื่อนไหวของตลาดทุน และทิศทางภาคอุตสาหกรรม ผนวกกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว

ขณะที่ยังต้องเผชิญปัญหาความเสี่ยงในฐานะทางการคลังของประเทศอุตสาหกรรมชั้น นำ ตลาดการเงินมีความผันผวนสูงจากสภาพคล่องส่วนเกิน คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2010 จะดีขึ้นจาก ภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวทางลงทุนภาคเอกชน ภาคอสังหาริมทรัพย์ โอกาสของภาคส่งออก ขณะที่ต้นทุนทั้งด้านแรงงาน ดอกเบี้ยและน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น นโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐส่วนใหญ่เน้นนโยบายแบบประชานิยม ไปพร้อมๆ กับการเมืองที่ยังขาดเสถียรภาพที่เป็นปัญหาใหญ่ อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่า ผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจมากกว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจ คือ ความไม่มีเสถียรภาพของการเมือง ความรุนแรงทางการเมืองและยังเป็นทางตันของปัญหาที่ไร้ทางแก้แต่ส่งผลต่อการ พัฒนาและสร้างความเติบโตให้กับประเทศต่อไป

จากการที่ได้ฟังบทสัมภาษณ์ ดร.ศุภชัย หล่อโลหะการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

ขอออกแสดงความคิดเห็นของ นวัตกรรมสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีในการสื่อสารออกไปเพื่อให้ผู้ได้รับข่าวสารหรือการรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง และสามารถนำข้อมูลเหล่านี้สื่อสารออกไปเพื่อเป็นประโยชน์สูงสุด ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม ซึ่งทำให้เกิดแนวคิดใหม่ ความรู้ใหม่ มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์ในการทำธุรกิจหรือการสร้างผลงานที่ดี และต้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ในทางกลับกันจะเห็นได้ว่านวัตกรรมการสื่อสาร ก็มีปัญหาของการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้อย่างเห็นได้ชัดเจนว่า

    1. การไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง (Change)

    2. การไม่สนใจความต้องการของลูกค้า (Customer Command and Control)

พอสรุปได้ว่านวัตกรรมในการพัฒนาประเทศ ต้องมุ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมสิ่งใหม่ๆ มีข้อมูลข่าวสารที่พร้อมให้ประชาชนรับรู้ได้ตลอดเวลา และต่อเนื่อง จะมุ่งเน้นเรื่องของการสร้างเศรษฐกิจอย่างเดียวไม่ได้ ต้องควบคู่กันไปทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา สังคม และเศรษฐกิจเป็นต้น ประเทศชาติเราถึงจะอยู่รอด ปลอดภัย น่าอยู่ และอบอุ่น ดังที่นานาประเทศได้รู้จักกันดี ว่าเราเป็น "ประเทศสยามเมืองยิ้ม"

นวัตการการสื่อสาร

เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของต่างชาติในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยใช้สื่อทางเลือก

สื่อทางเลือก (Alternative media)

การใช้สื่อทางเลือกเพื่อแก้ไขปัญหาในภาวะวิกฤต นักธุรกิจ ข้าราชการ ประชาชน และนักท่องเที่ยวที่ไม่ได้มีวิชาชีพประชาสัมพันธ์

HOW

ตัวละคร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจด้านท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจด้านโรงแรมนักวิชาการที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญ ด้าน เศรษฐกิจ การลงทุน การเมือง และท่องเที่ยว นักท่องเที่ยว ทั้งคนไทยและต่างชาติ โดยรวมถึงอยู่ภายในและภายนอกประเทศไทย

Why

ผู้ประกอบการธุรกิจด้านท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจด้านโรงแรม รวมตัวกัน เพื่อทำการแถลงข่าวด้านการท่องเที่ยว ในภาวะวิกฤตการณ์ทางการเมืองไม่มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวภายในประเทศ เพราะส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นภายในกรุงเทพ เท่านั้น

นักวิชาการที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญ ด้าน เศรษฐกิจ การลงทุน การเมือง เขียนคอลัมน์หรือ บทความ

ทางวิชา เกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อเผยแพร่ในสื่อต่างๆ ในการถ่ายทอดข้อเท็จจริงให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้รับทราบความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ผ่าน อินเตอร์เน็ต ทวิทเตอร์ รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ต่างประเทศ ในแง่มุมต่างๆ ตามความรู้ของนักวิชาการแต่ละท่าน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ

ประชาชน นักท่องเที่ยว ทั้งคนไทยและต่างชาติ โดยรวมถึงอยู่ภายในและภายนอกประเทศไทย สามารถ

จัดตั้งบล็อคเพื่อให้ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวภายในประเทศ ตลอดจนใช้วิธีการสัมภาษณ์สดผ่าน ทวิทเตอร์ เพราะช่องทางการสื่อสารดังกล่าวสามารถโต้ตอบได้ทันท่วงที และสามารถถ่ายทอดบรรยากาศได้ตลอดเวลา

อุปสรรค

ผู้ประกอบการธุรกิจด้านท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจด้านโรงแรม ขาดการรวมตัวเพื่อการสื่อสารด้านการท่องเที่ยว สืบเนื่องมาจากจำนวนของสมาชิกมีเพิ่มมากขึ้น

ผู้ประกอบการธุรกิจด้านท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจด้านโรงแรม ดำเนินการโดยผ่านนโยบายของรัฐ

ผู้ประกอบการธุรกิจด้านท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจด้านโรงแรม ขาดงบประมาณในการประชาสัมพันธ์ เพราะงบประมาณส่วนใหญ่จะอยู่ในความดูแลของภาครัฐ

ผู้ประกอบการธุรกิจด้านท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจด้านโรงแรม ไม่มีอำนาจที่แท้จริงในการให้ข้อมูลข่าวสาร ด้านการท่องเที่ยว

นักวิชาการส่วนใหญ่ที่มีความรู้ ความสามารถ ต้องรอการเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชา ไม่มีความเป็นอิสระด้านความคิด บางครั้งอาจส่งผลต่อตำแหน่งทางวิชาการ

นักวิชาการส่วนใหญ่ที่มีความรู้ ความสามารถ ยังขาดงบประมาณในการขับเคลื่อนข้อมูลทางวิชาการ ผ่านสื่อ เนื่องจากในปัจจุบันพื้นที่สื่อมวลชนต้องใช้งบประมาณสูง

ประชาชน นักท่องเที่ยว ทั้งคนไทยและต่างชาติ ไม่สามารถถ่ายทอดข้อมูลได้ เนื่องจาก ไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ตรงประเด็น และสามารถชี้แนะ กลุ่มเป้าหมาย

ประชาชน นักท่องเที่ยว ทั้งคนไทยและต่างชาติ ขาดความรับผิดชอบในการรักษาชื่อเสียง เนื่องจาก โดยส่วนใหญ่ ประชาชน นักท่องเที่ยว ทั้งคนไทยและต่างชาติ จะอยู่กระจัดกระจาย และที่สำคัญ ประชาชน นักท่องเที่ยว ทั้งคนไทยและต่างชาติ ไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษ ได้ หรือในบางครั้ง นักท่องเที่ยว ไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษ เป็นสื่อกลางได้

ปัจจัยที่สามารถส่งผลให้ การใช้สื่อทางเลือก ที่ประสบความสำเร็จ

1. การสร้างการรับรู้ของประชาชนทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น นักวิชาการ ประชาชน นักท่องเที่ยว ในมีความพร้อมในการเป็นนักประชาสัมพันธ์ ที่ดี ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ในระดับประเทศ

2. สร้างความเป็นหนึ่งเดียวในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี

3. ส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนสามารถพูดภาษาต่างประเทศ เป็นภาษาที่สอง เพื่อให้ประชาชนสามารถประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง

4. กระตุ้นให้รัฐบาลกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชน เพื่อเป็นพื้นฐานการสื่อสารที่ดีและเหมาะสม

5. กระตุ้นรัฐบาลเพิ่มงบประมาณประชาสัมพันธ์ในระดับประเทศ

6. กระตุ้นรัฐบาลใส่ใจในการพัฒนาประชาชนในประเทศ

-

สมาชิก กลุ่ม 3

นางเกศสุพิชญ์ ธนนันท์โสภณ

นายสุริยา ประดิษฐ์สถาพร

นายพูนศักดิ์ ศิริชัย

นางวัชรี ปรัชญานุสรณ์

นายไพบูลย์ ปรัชญานุสรณ์

นางกิรณา เนื่องจำนงค์

หมายเหตุ ต้นฉบับส่งไปแล้วเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน

เศรษฐกิจมหภาค คือ??

เศรษฐศาสตร์มหภาค ศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ โดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์อทิ

นโยบายด้านการเงิน เช่นอัตราดอกเบี้ย

นโยบายด้านการค้าระหว่างระหว่างประเทศ เช่นการส่งออก และ นำเข้า

นโยบายด้านการคลัง เช่น การบริโภคของภาครัฐ

ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะ และสภาวะทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ในขณะนั้น เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจขับเคลื่อน หรือ ชะลอ โดยมีเป้าหมาย ให้เศรษฐกิจดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และ มีเสถียรภาพ ตามทิศทางของการบริหารประเทศนั้นๆ

สมการ Y = C + I + G + X – M

Y = ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ GNP (Gross National Product)

C = การบริโภคของภาคเอกชน (Consumption)

I = การลงทุน (Investment)

G = การบริโภคของภาครัฐบาล (Government)

X = การส่งออก (Export)

M = การนำเข้า (Import)

ต่อจากบล็อก ที่43

เศรษฐศาสตร์มหภาค ??

10 factors ที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ มหภาค

อัตราดอกเบี้ย

การลงทุน

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศ

การกระตุ้นเศรษฐกิจ

อัตราการว่างงาน

ดัชนีราคาสินค้า

นโยบายทางภาษี

การก่อหนี้สาธารณะ

ทุนสำรองระหว่างประเทศ

กิรณา เนื่องจำนงค์

การบ้านครั้งที่1

จากการฟังบทสัมภาษณ์ ดร.ศุภชัย หล่อโลหะการ

ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

ให้แสดงความคิดเห็น นวัตกรรมคืออะไรในความคิดของท่าน ส่วนงานครั้งที่ 2 ได้ส่งเรียบร้อยแล้ว

นว แปลว่า ใหม่

นวัตกรรม คือ ความคิดสร้างสรรค์ การผลิต การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย เมื่อนำไปสู่การปฏิบัติจะได้ผลดียิ่งขึ้น และสามารถช่วยประหยัดเวลา และแรงงานได้ด้วย

นวัตกรรมการสื่อสาร หมายถึง การสื่อสารในรูปแบบที่มีเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้รับสารได้เข้าใจสารจากผู้ส่งสารได้ส่งออกไปอย่างรวดเร็ว

นวัตกรรมเป็นของใหม่ซึ่งต้องใช้เวลาในการพิสูจน์คุณประโยชน์ของมันให้ประจักษ์แก่สังคม เพราะสังคมอาจจะไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และไม่ยอมรับความเห็นของคนอื่น แต่นวัตกรรมการสื่อสารมีความสำคัญต่อประเทศเป็นอย่างมาก และมีประโยชน์อย่างมหาศาล เช่น

1. ทำให้การสื่อสารสะดวกรวดเร็วขึ้น

2. ทำให้โลกแคบลง เช่น FACEBOOK

3. ทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศดูดี เพราะว่าดูเหมือนเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วมีแต่ความเจริญ

4. นวัตกรรมเป็นลิขสิทธิ์ทางปัญญา

5. นวัตกรรมการสื่อสารสามารถทำรายได้ให้แก่เจ้าของ

6. ใช้ในการพัฒนาทั้งทางด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมและวัฒนธรรม

ทุนนวัตกรรมสามารถเชื่อมโยงกับทุนมนุษย์โดยทำให้มนุษย์เกิดการคิดสร้างสรรค์

การที่มนุษย์จะสร้างนวัตกรรมใดขึ้นมาสักอย่างจะต้องมีทฤษฎี 5 K’s ใหม่ ดังนี้

1. Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

2. Knowledge Capital ทุนทางความรู้

3. Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

4. Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

5. Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

สรุป

นวัตกรรมการสื่อสารมีความสำคัญต่อประเทศเป็นอย่างมากที่จะใช้ในการพัฒนาทั้งด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และวัฒนธรรม ประเทศใดที่มีนวัตกรรมมากประเทศนั้นก็จะร่ำรวย

เศรษฐศาสตร์มหภาค (MACROECONOMICS)

กับ นวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการพัฒนาประเทศ (WITH INNOVATIVE COMMUNICATION FOR DEVELOPMENT.)

มองภาพเศรษฐกิจโดยรวม และ การ เติบโตโลกาภิวัตน์( Viewing the overall economy and growth.) Globalization.

1 การ เปิด เสรี การค้าระหว่างประเทศการ ค้าโดย รวม (Liberalization of international trade and overall trade.)

2    การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย (Changes in interest rates.)

3    ตรวจสอบ เศรษฐกิจ โดย รวม (Check the overall economy.)

4    การขาดดุลงบประมาณ(The budget deficit.)

5    การธนาคาร และ การ ตัดสินใจการเงิน(Banking and financial decisions.)

7    อัตราการจ้างงานของประเทศ Employment rate of the country.

8    การพัฒนาประเทศ ธุรกิจ วัฏจักร Business development cycle.

9    ทรัพยากร ที่ มี ประโยชน์Useful resources.

10   การเงินปัจจัยสำคัญ บัญชี ปัจจุบันประสิทธิภาพเศรษฐกิจ

 

เศรษฐกิจจุลภาค(MICROECONOMICS)

นโยบาย เศรษฐกิจ ของ รัฐบาล (Government's economic policy.)

1 ความ เข้าใจ ของ เศรษฐศาสตร์ จุลภาค  (Understanding of microeconomics.)

2 ค่าใช้จ่าย ภาพ ขนาดใหญ่ หรือทั้งหมด  (Costs or all the big picture.)

3 ธุรกิจ การค้าที่ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงปฏิรูป ใน ประเทศ (Business, trade reforms need to make improvements or changes in the country.)

4 ผลกระทบภายนอก ต้นทุนค่าเสียโอกาส (External impact. Lost opportunity cost.)

5 ต้นทุนค่าเสียโอกาสความ ยืดหยุ่น ของ โอกาศ การ ลงทุน และ ตลาด แรงงาน(Lost opportunity cost, flexibility of investment occasion and labor market.)

6 การตลาดพฤติกรรมการบริโภคThe market behavior of consumers.

7 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศรายได้จากการทำงาน Gross domestic product.

8 ต้นทุนสังคม การศึกษาใหม่ต้นทุนภายนอก Social costs of education.

9 อัตราเงินเฟ้อการ เจริญ เติบโต เศรษฐกิจ Inflation and economic growth.

10 อัตราการว่างงานผลประโยชน์สังคม

jitrakan  kanjanalekha

นายพูนศักดิ์ ศิริชัย

ความรู้ที่ได้จากการฟังบรรยายของ รศ.ดร อัษฎางค์

การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสื่อนั้นควรหันมาทำหน้าที่ตรวจสอบนักการเมืองท้องถิ่นและนักการเมืองระดับชาติให้มากขึ้น เช่น โครงการนมโรงเรียน และอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน ซึ่งนักการเมืองทุจริตกันอย่างกว้างขวาง อันเห็นได้ชัดว่าสื่อมวลชนนั้นยังทำหน้าที่ของสื่อที่ดี ได้ไม่ดีนัดเท่าใด เพราะในบางครั้งสื่อเองก็ถูกนักการเมืองครอบงำ หรือมีผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน อันนี้จึงเป็นผลร้่ายอย่างยิ่งที่ สื่อเองควรจะพิจารณาบทบาทขอสื่อเองให้มากขึ้น

เพราะเด็กเองเป็นเยาวชนที่หลากหลายองค์กรโดยเฉพาะกระทรวงศึกษา ที่จะต้องบมเพาะ ให้พวกเขาเหล่านั้นเป็นผู้นำที่ดีในอนาคต หากนักการเมืองยังมุ่งมั่นที่จะหาแต่ประโยชน์ให้แต่พวกพ้อง ก็จะทำให้เกิดผลร้ายต่อประเทศชาติ

นายวุฒิวิทย์ ก่าแก้ว

สรุปประเด็นบรรยายของ รศ.ดร.อัษฎางค์

พอสรุปประเด็นได้ดังนี้ คือเรื่องการที่กลุ่มเสื้อแดง(นปช) ชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภา จะเห็นได้ว่าการเรียกร้องของกลุ่มเสื้อแดงนั้นควรจะใช้การสื่อสารในเรื่องประเด็นของ สองมาตรฐาน ที่รัฐเองปฎิบัติต่อคดีต่างๆอันเกี่ยวเนื่องกับกลุ่มเสื้อแดงและกลุ่มเสื้อเหลืองที่แตกต่างกัน เช่น คดียุบพรรค คดีของทักษิณ เป็นต้น รวมทั้งกลุ่มเสื้อแดงความจะชี้นำประเด็นให้ชัดเจน และการที่กลุ่มทหารได้อยู่เบื้องหลังรัฐบาลก็ควรจะหาประเด็นมาเรียกร้องให้ตรงประเด็น เป็นต้น

นายสุริยา ประดิษฐ์สถาพร

รศ.ดร.อัษฎางค์ จากบุคลิกของนักกีฬาที่มุ่งมั่นดุดัน กล้าได้กล้าเสีย เพราะฉนั้นบทบาทของอาจารย์ในฐานะนักวิชาการจึงออกมาด้วยจิวิญาณในตัวของอาจารย์เองที่กล้าได้กล้าเสีย การวิจารณ์ทางการเมืองในปัจจับันจึงทำให้อาจารย์เองวิพากษ์วิจารณ์อย่างดุดัน กล้าที่จะพูดความจริง ตรงไปตรงมา และท่านได้เสนอแนะทางออกของการพัฒนาประเทศด้วนการสื่อสาร เพราะสื่อมวลชนเองนั้นควรจะเป็นกลางนำเสนอข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา และสื่อมวลชนนั้นจะเป็นแรงกำลังสำคัญในการพลักดันด้านการเมืองอย่างให้นักการเมืองพัฒนาประเทศได้ด้วยความเที่ยงตรง ไม่โกงบ้านเมือง

นายอธิกิต ยันพินิจ

จากการได้ฟังบรรยายจาก รศ.ดร.อัษฎางค์

อาจารย์เองได้กล่าวว่าปัจจุบันนี้ในทางการเมืองได้มีการเลือกข้างไปแล้วเราเองในผฐานะนักศึกษา นักวิชาการ หรือสื่อมวลชนเอง ต้องชี้ให้เห็นว่าเมื่อประชาชนเลือกข้างแล้ว ผู้ที่มีบทบาททางการเมืองจะต้องชี้ประเด็นว่าควาจะหันหน้าเพื่อพูดคุยประเด็นปัญหา เพื่อให้เกิดความยุติโดยเร็ว สื่อมวลชนจึงเป็นแรงกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนข้อมูลขช่าวสารให้ประชาชนให้เห็นถึงความถูกต้อง วิเคราะห์ข่าวสารอย่างเป็นกลาง เพื่อให้เกิดแรงกดดันน้อยที่สุด สื่อมวลชนอย่าขายข่าวเพียงอย่างเดี่ยว ต้องชีประเด็นให้เห็นให้ประชาชนได้วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นด้วยตัวประชาชนเอง

นายอำนวย เพชรวิจิตรภักดี

สรุปประเด้นในการฟังบรรยาย โดย รศ.ดร.อัษฎางค์

เรื่องโครงสร้างสังคมไทย

คนไทยประกอบด้วยบุคคลหลากหลายเชื้อชาติ ให้อิสระทางด้านความคิดให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ทำให้เกิดความคิด ความเห็นที่แตกต่างหลากหลาย การนำเอาอารยะรรม ระเบียบ ประเพณีมาปรับเปลี่ยนใช้ดดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม จึงทำให้เกิดการขาดความเป็นเอกภาพ เป็นอันหนึ่งอันเดี่ยวกัน ฉนั้นสื่อมวลชนจึงเป็นจุดกำลังสำคัญในการเผยแพร่ในการปลูกสร้างจิตสำนึกให้รู้จักคิด รู้จักวิเคราะห์และแยกแยะ รู้จักไตร่ตรองให้รอบครอบให้คนไทยหรือประชาชนชาวไทยรู้จักรักในชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

นายรมย์ธีรา คล้ายขยาย

ในครั้งที่ได้เข้าฟังบรรยายโดย รศ.ดร.อัษฎางค์ ซึ่งมายรรยายประกอบการเรียน โดยในครั้งนี้จะเห้นว่าได้ข้อสรูปในเรื่องของ Political เป็นส่วนใหญ่ ประเด็นที่พอสรุปได้คือ ประสบการณ์ของท่านอาจารย์อัษฎางค์ที่พาคณะไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ ในเรื่องของการพัฒนา เช่น การเมืองการปกครองที่เยอรมัน ซึ่งผู้เข้าร่วมคณะก็ได้ศึกษาประวัติสาสตร์และความเป็นมาของการเมืองของเยอรมันได้เป้นอย่างดี

นางโสภิต พิสิษฐบรรณากร

สรุปประเด็นบรรยายโดย ดร.อัษฎางค์

ท่านเน้นในเรื่องของการมีคุณธรรมจริยธรรม โดยเฉพาะนักการเมืองในปัจจุบัน ซึ่งมุ่งประโยชน์ของตนเป็นสำคัญ หลากหลายโครงการที่รัฐทำ มีการคอรัปชั่น กันอย่างกว้างขวาง เพราะฉนั้นสื่อมวลชน ในฐานะที่เป็นผู้นำเสนอข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชนต้องมีจิตเป้นสาธารณะ คือ มีความเป็นกลางให้มากที่สุด เพราะจะได้นำเสนอข่าวสารที่ออกไปอย่างมีคุณภาพ และนำเสนออย่างตรงไปตรงมา ให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินและวิเคราะห์ด้วยตัสของประชาชนเอง สื่อเองอย่างชี้นำให้ผู้รับสารคล้อยตาม ซึ่งอันนรี้จะเป้นอัตรายที่สุด เพราะสื่อสามารถชีนำให้ประชาชนคล้อยตามได้ง่าย ฉะนั้นสื่อมวลชนเอง นักการเมืองเอง ประชาชนเอง ต้องเข้าใจในบทบาทและทำหน้าที่ของตนด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต

นาย วิรัช จินดากวี

ในการมาบรรยายพิเศษของท่าน รศ ดร อัษฏางค์

สรุปประเด็นการบรรยาย ด้านการเมืองว่าในปัจจุบันนิ้ การเมืองได้มีการเลือกข้าง

ไม่ว่าจะอยู่ข้างเสื้อสีเหลือง เสื้อสีแดง และมีการปฏิบัติสองมาตรฐาน โดยผู้มีอำนาจรัฐ

ส่วนด้านการสื่อสารมวลชนนั้น สื่อควรทำหน้าที่ตรวจสอบนักการเมืองหรือนักการเมืองท้องถิ่น

ให้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าเป็นการจัดฃื้อจัดจ้าง มีแต่การทุจริต ทั้งสิ้น

นาย วิรัช จินดากวี นักศึกษาปริญญาเอก นิเทศศาสตร์นวัตกรรม มหาวิทยาลัยเกริก

นายประจักษ์ เพ็งจางค์

อาจรย์ ดร.อัษฎางค์ ได้บรรยายในเรื่องของการเมือง และสิ่งที่เป็นจุดสนใจก็คือเรื่องของการสร้างหรือการปลูกจิตสำนึกให้รู้จักรักชาติ สร้างความรัก ความสามัคคี รวมทั้งการจะทำอะไรก็ควารจะต้องไตร่ตรอง ให้รอบคอบ

นางกีรณา เนื่องจำนงค์

อาจารย์อัษฎางค์ ได้ยรรยายเรื่องของการเมือง ซึ่งก็ได้พูดว่า นักการเมืองในปัจจุบันนี้มุ่งที่จะแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าเห็นประโยชน์ของประเทศชาติ การได้มาซึ่งตำแหน่ง สส. ก็ใช้เงินจำนวนมาก เมื่อเข้ามาแล้วก็กรอบโกยเพื่อประโยชน์ตนและพวกพ้อง การขาดซึ่งคุรธรรม จริยะรรมอันนี้จึงมีผลต่อการพัฒนาประเทสอย่างชัดเจน เช่น โครงการต่างๆที่รัฐได้ทำไปอาจจะเช่นโครงการไทยเข้มเเข็งที่มีการทุจริตกันมา ต้องออกมาแก้ไขชีแจง ซึ่งผลที่เห้นก็ชัดเจนว่าของที่ใช้ในโครงการนั้นไม่มีทั้งคุณถาพและประสิทธิภาพ

นายประจักษ์ เพ็งจางค์

เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (economic growth) หรืออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หมายถึง การขยายตัวของปริมาณสินค้าและบริการที่แท้จริงของระบบเศรษฐกิจ แสดงถึงปริมาณสินค้าที่เพิ่มขึ้น การพัฒนาเศรษฐกิจ (economic development) คือ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง เพื่อทำให้ระบบเศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในระยะยาว พิจารณาจากคุณภาพชีวิต การศึกษา อายุขัย เป็นต้น เครื่องชี้วัดระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ - ประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (industrially advanced countries :IACs) คือ ประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูง มีการสะสมเงินทุน มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และประชากรมีการศึกษาสูง และผลิตสินค้าในหมวดอุตสาหกรรม เช่น สหรัฐฯ แคนาดา ออสเตรเลีย เป็นต้น - ลักษณะของประเทศที่มีการพัฒนาน้อย (less-developed countries :LDCs) คือ ประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่ำ ขาดการสะสมเงินทุน ขาดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ขาดแคลนแรงงานที่มีความรู้ การผลิตสินค้าทางการเกษตร เช่น ประเทศในทวีปอาฟริกา เอเชีย และประเทศลาตินอเมริกา หรือชื่อเรียกว่าประเทศกำลังพัฒนา (developing countries 

 

นางกีรณา เนื่องจำนงค์

Macroeconomics : งบประมาณแผ่นดิน

งบประมาณแผ่นดิน หมายถึง แผนเกี่ยวกับการใช้จ่ายของรัฐบาลและการจัดหารายรับให้เพียงพอกับการใช้จ่ายในรอบระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติมีระยะเวลา 1 ปี ดังนั้น จึงเรียกว่า งบประมาณแผ่นดินประจำปี ซึ่งจะเริ่มต้นในวันที่ 1 ตุลาคมของปีไปจนถึงวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป สำนักงบประมาณเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำงบประมาณแผ่นดินและนำเสนอเพื่อพิจารณา เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงตราออกมาเป็นพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีเพื่อใช้บังคับต่อไป

การจัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้รัฐบาลมีการวางแผนที่จะดำเนินการไว้ล่วงหน้าและรายจ่ายของรัฐบาลเป็นส่วนประกอบของอุปสงค์รวม การวางแผนการใช้จ่ายและการหารายรับจะทำให้สามารถคาดคะเนสภาพเศรษฐกิจในปีต่อไปได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้รัฐบาลบริการการคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในขอบเขตของงบประมาณที่จัดทำขึ้น

ประเภทของงบประมาณ

งบประมาณในแต่ละปี อาจมีรายได้รายจ่ายแตกต่างกันไปตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้เป็นผลดีแก่เศรษฐกิจ

ของประเทศ การจัดทำงบประมาณแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. งบประมาณสมดุล (Balanced Budget) คือรายได้และรายจ่ายของรัฐบาลมีจำนวนเท่ากัน เช่น รัฐบาลมีรายจ่าย 800,000 ล้านบาท และรัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ประเภทต่าง ๆ ได้ 800,000 ล้านบาท เท่ากับรายจ่ายพอดี

2. งบประมาณขาดดุล (Deficit Budget) รายได้ของรัฐบาลต่ำกว่ารายจ่าย เช่น รัฐบาลมีรายจ่าย 800,000 ล้านบาท แต่รัฐบาลจัดเก็บรายได้ประเภทต่าง ๆ ได้เพียง 780,000 ล้านบาท รายได้ยังน้อยกว่ารายจ่ายอยู่อีก 20,000 ล้านบาท ส่วนที่ขาดอยู่นี้รัฐบาลอาจแก้ไขโดยกู้เงินจากสถาบันการเงินมาชดเชยส่วนที่ขาด หรืออาจนำเงินคงคลัง คือ เงินที่รัฐบาลมีอยู่ออกมาใช้ เพื่อจะได้เพียงพอกับรายจ่าย

3. งบประมาณเกินดุล (Surplus Budget) คือ รายได้ของรัฐบาลสูงกว่ารายจ่าย เช่น รัฐบาลมีรายจ่าย 800,000 ล้านบาท แต่รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ประเภทต่าง ๆ ได้ถึง 810,000 ล้านบาท รายได้ของรัฐบาลจึงสูงกว่ารายจ่าย 10,000 ล้านบาท เป็นต้น

งบประมาณรายรับของรัฐบาลไทย

งบประมาณรายรับของรัฐบาลไทย หมายถึง รายได้ต่างๆ ที่รัฐบาลสามารถจัดหามาได้จากแหล่งที่สำคัญๆ และมาจากการกู้ยืมเงินของรัฐบาล เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในโครงการต่างๆ

รายรับของรัฐบาลประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ รายได้และเงินกู้ มีรายละเอียดดังนี้

1. รายได้

รายได้ของรัฐบาล หมายถึง รายได้ที่นำส่งคลังในแต่ละปีงบประมาณซึ่งประกอบด้วย รายได้จากภาษีอากร รายได้จากการขายสิ่งของและบริการ รายได้จากรัฐพาณิชย์ และรายได้อื่น ๆ ดังนี้

1. รายได้จากภาษีอากร

2. รายได้จากการขายสิ่งของและบริการ การขายหลักทรัพย์และทรัพย์สินต่าง ๆ ของราชการ

เช่น ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง รถยนต์ หนังสือราชการ และค่าธรรมเนียมการให้บริการ เป็นต้น

3. รายได้จากรัฐพาณิชย์ หมายถึง รายได้จากผลกำไรขององค์กรรัฐบาล หน่วยธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้า

ของ เช่น โรงงาน ยาสูบ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และเงินปันผลจากบริษัทที่รัฐบาลถือหุ้น

4. รายได้อื่น หมายถึง ค่าสแตมป์ ค่าฤชา ค่าปรับต่าง ๆ

2. เงินกู้

หมายถึง เงินที่รัฐบาลกู้จากเอกชนและสถาบันการเงินในประเทศหรือต่างประเทศ เช่น กู้จากธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินของเอกชน เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยใช้วิธีออกตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล ตราสารอื่น ๆ หรือทำสัญญากู้ อย่างไรก็ตามการกู้เงินของรัฐบาลจะก่อให้เกิดหนี้สาธารณะขึ้น

3. เงินคงคลัง

เงินคงคลัง หมายถึง เงินที่เหลือจากการใช้จ่ายในปีก่อนๆ ซึ่งรัฐบาลเก็บสะสมไว้ ในปีที่รายจ่ายสูงเกินกว่ารายได้และรัฐบาลไม่ต้องการก่อหนี้เพิ่มขึ้นสามารถนำออกมาใช้ ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

งบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลไทย

1. รายจ่ายจำแนกตามโครงสร้างแผนงาน ได้แก่

1. ด้านการบริหารงานของรัฐบาล

2. ด้านการพัฒนาระบบการเมือง

3. ด้านสนับสนุนกิจการในพระองค์

4. ด้านการผลิตและสร้างรายได้

5. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการพลังงาน

6. ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

7. ด้านการขนส่ง

8. ด้านการบริหารรายได้ รายจ่ายของรัฐบาล

9. ด้านการพัฒนาประเทศ

10. ด้านการบริการสังคมและชุมชน

11. ด้านความมั่นคง

2. รายจ่ายจำแนกตามลักษณะงาน

เป็นการแสดงงบประมาณรายจ่ายตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการต่างๆ ของรัฐบาล โดยถือหลักการในการจำแนกรายจ่ายของรัฐบาล ของสำนักงานสถิติแห่งสหประชาชาติ ซึ่งจำแนกอย่างกว้างๆ ออกเป็น 14 ด้าน ภายใต้ลักษณะงาน 4 ประเภท ดังนี้

1. การบริหารทั่วไป

2. การบริการชุมชนและสังคม

3. กลุ่มภารกิจทางสังคม

4. กลุ่มภารกิจทางความมั่นคง

นายรมย์ธีรา คล้ายขยาย

สรุป Macroeconomic : ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ

ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ (อังกฤษ: Foreign exchange reserves - ย่อ Forex reserves) ความหมายตรงตัวคือ เงินตราต่างประเทศ และ พันธบัตรที่ถือครองโดย ธนาคารกลาง และ หน่วยงานที่ดูแลทางการเงิน อย่างไรก็ตาม ด้วยความหมายที่ใช้กันอย่างแพร่หลายนั้น รวมไปถึง อัตราแลกเปลี่ยน,ทองคำ,สิทธิพิเศษในการถอนเงิน (Special Drawing Rights ย่อ - SDRs) และ การจัดอันดับเงินสำรองจาก IMF ด้วยความหมายที่กว้างขึ้นนี่เอง จึงมีการใช้คำที่มีความตรงตัวยิ่งขึ้นด้วยคำว่า "ทุนสำรองระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการ" หรือ "ทุนสำรองระหว่างประเทศ" ซึ่งหมายถึงสินทรัพย์ของธนาคารกลางที่อยู่ในหลายสกุลเงิน โดยมากมักเป็นสกุล เหรียญสหรัฐ รวมไปถึง สกุลเงิน ยูโร ปอนด์สเตอร์ลิง และ เยน ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นหลักประกัน ได้แก่การผลิตเงินในสกุลของประเทศนั้นนั้น และ เป็นทุนสำรองต่างๆที่ฝากไว้ ณ ธนาคารกลาง โดยรัฐบาล หรือ สถาบันการเงิน

นายอำนวย เพชรวิจิตรภักดี

เศรษฐศาสตร์มหาภาค : รายได้ประชาชาติ รายได้ประชาชาติ หมายถึง มูลค่าที่เป็นตัวเงินของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ประเทศสามารถผลิตได้ในระยะเวลาหนึ่งโดยปกติจะใช้ระยะเวลา 1 ปี รายได้ประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์รายได้ประชาชาติ 1.ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Product : GDP) - มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นได้ภายในประเทศนั้นๆ ในระยะเวลา 1 ปี (GDP= รายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในประเทศ) 2.ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (Gross National Product : GNP) - มูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ประชาชนของประเทศทำการผลิตขึ้นได้ในระยะเวลา 1ปี (GNP=GDP + รายได้สุทธิจากต่างประเทศ) 3.ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ (Net National Product :NNP) - มูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ประชาชนของประเทศทำการผลิตขึ้นได้ในระยะเวลา 1 ปี โดยหักค่าเสื่อมราคาของสินค้าออกแล้ว (NNP=GNP - ค่าเสื่อมราคา) 4.รายได้ประชาชาติ (National Income : NI) - มูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่แท้จริงที่ ประชาชนของประเทศทำการผลิตขึ้นได้ในระยะเวลา 1 ปี (NI=NNP - ภาษีทางอ้อม + เงินอุดหนุน) 5. รายได้ส่วนบุคคล (Personal Income : PI) - รายได้เฉพาะส่วนที่บุคคลได้รับจากการผลิตสินค้าและบริการ รวมกับรายได้ส่วนที่ไม่ได้เกิดจากการผลิตสินค้าและบริการ (PI = NI – (กำไรที่ยังไม่ได้จัดสรร + ภาษีเงินได้บริษัท + ภาษีประกันสังคม) + เงินโอน) 6.รายได้สุทธิส่วนบุคคล (Disposable Income : DI) -รายได้ทั้งหมดที่บุคคลได้รับหลังหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (DI = PI - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) 7.รายได้เฉลี่ยต่อบุคคล (Per Capita Income) per Capita = รายได้ …. จำนวนประชากร (N)

นายอธิกิต นัยพินิจ

การค้าระหว่างประเทศ (International Trade) การค้าระหว่างประเทศ (International Trade) คือ กิจกรรมที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน (Exchange) สินค้าและบริการระหว่างประเทศ อาจเป็นการแลกเปลี่ยนสิ่งของกันโดยตรง (Barter System) หรือการค้าโดยใช้เงินเป็นสื่อกลาง ทำให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนและวิทยาการเทคโนโลยีต่างๆ ระหว่างประเทศ การค้าระหว่างประเทศจะต้องมีการตกลงว่าจะใช้เงินสกุลใดในการค้านั้น แล้วจึงมีการแลกเปลี่ยนเงินตามอัตราการแลกเปลี่ยนของสกุลที่ตกลงกันแล้วจึงนำมาชำระค่าสินค้าตามที่ตกลงกัน สาเหตุที่ต้องมีการค้าระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยต่อไปนี้

-ขาดวัตถุดิบในประเทศ เนื่องจากทรัพยากรในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ในกรณีที่ประเทศขาดวัตถุดิบสำหรับใช้เป็นปัจจัยการผลิตจึงจำเป็นต้องซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศมาเพื่อใช้ในการผลิตสินค้านั้น

- จำนวนของพลเมือง ในกรณีที่ประเทศมีพลเมืองหนาแน่นและผลผลิตของประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน รัฐบาลจำเป็นต้องสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการนั้น

-การเลียนแบบการบริโภค (Demonstration Effect) ประเทศที่มีมาตรฐานการครองชีพสูง ยิ่งประชาชนมีรายได้มากขึ้นก็จะต้องการสินค้าที่มีคุณภาพสูงและสินค้าฟุ่มเฟือยมากขึ้นด้วย ทำให้ต้องมีการนำเข้าสินค้าบางชนิดจากต่างประเทศ

- การประกอบอุตสาหกรรม ถ้าประเทศมีอุตสาหกรรมมากขึ้นก็จะมีการนำเข้าปัจจัยการผลิตมากด้วยเช่น ประเทศไทยต้องมีการนำเข้าชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องยนต์เพื่อประกอบขายภายในประเทศและส่งออก

ความสำคัญของการค้าระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศก่อให้เกิดผลดีต่อประเทศคู่ค้าและประเทศอื่นๆ ดังนี้

1. ประเทศคู่ค้ามีสินค้าให้เลือกบริโภคจำนวนมากขึ้นและหลากหลายชนิด

2. ประเทศผู้ผลิตมีความชำนาญในการผลิตสินค้ามากขึ้น เกิดการปรับปรุงและพัฒนาการผลิตเพื่อให้สามารถผลิตได้มากขึ้นรวมทั้งขยายการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกด้วย

3. ทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิต เนื่องจากการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศความรู้และเทคโนโลยีในการผลิตต่างๆ จะมีการถ่ายทอดไปยังประเทศต่างๆ เป็นผลดีต่อการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีในการผลิต มีการพัฒนาปรับปรุงวิธีการผลิตในประเทศให้ดีขึ้น

4. ช่วยให้ผู้บริโภคในประเทศที่ไม่สามารถทำการผลิตสินค้าได้หรือผลิตได้แต่ต้นทุนการผลิตสูงมีสินค้าเพื่อการบริโภค

ผลดีของการค้าระหว่างประเทศ

ผลดีของการค้าระหว่างประเทศที่ประเทศต่างๆ ได้รับคือ

- การจัดสรรทรัพยากร การค้าระหว่างประเทศจะทำให้ประเทศต่างๆ สามารถจัดสรรทรัพยากรของตนได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

- การผลิตสินค้า การค้าระหว่างประเทศนอกจากจะผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศแล้วยังมีการผลิตเพื่อส่งออกด้วย การผลิตที่จำนวนมากขึ้นจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง ประเทศผู้ผลิตมีรายได้เพิ่มขึ้น การจ้างงานเพิ่มขึ้น และประชากรมีรายได้สูงขึ้น

- มาตรฐานการครองชีพของประชาชนดีขึ้น เนื่องจากการจ้างงานภายในประเทศเพิ่มขึ้นทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น

ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจแก่ประเทศคู่ค้าดังนี้

การผลิตสินค้า ประเทศคู่ค้ามีโอกาสเลือกผลิตสินค้าที่ตนถนัดและชำนาญ ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตสินค้าดีขึ้น สินค้ามีมาตรฐานสูงขึ้น การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างประหยัดและได้ประโยชน์สูงสุด

การบริโภค การค้าระหว่างประเทศทำให้ประชากรทั่วโลกมีโอกาสได้บริโภคสินค้าและบริการต่างๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้และได้รับความพอใจจากการบริโภคเต็มที่

การให้วิทยาการใหม่ (Know-How) การค้าระหว่างประเทศทำให้เกิดการกระจายวิทยาการใหม่ๆ ไปทั่วโลก การพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านการบริหาร การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม

การกระจายรายได้ การค้าระหว่างประเทศจะช่วยให้การกระจายรายได้ดีขึ้น เมื่อมีการผลิต การจ้างงานจะเพิ่มขึ้น ประชาชนมีงานทำ มีรายได้ ทำให้รายได้ประชาชาติและมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น

การตลาด การค้าระหว่างประเทศช่วยให้ตลาดของสินค้าและบริการขยายตัว ส่งผลให้ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น อุปสงค์รวมทั่วโลกเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจโดยทั่วไปดีขึ้นด้วย

การเงินระหว่างประเทศ

ในการทำการค้าระหว่างประเทศ จำเป็นต้องมีเงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเช่นเดียวกับการค้าภายในประเทศ แต่งเนื่องจากทุกประเทศต่างก็มีเงินเป็นสกุลของตนเอง ในทางปฏิบัติการชำระเงินจะต้องชำระด้วยเงินสกุลสำคัญ ๆ ที่นานาชาติยอมรับว่า เป็นสื่อกลางของการแลกเปลี่ยนได้ ในปัจจุบันที่มีการยอมรับกันมากที่สุดในโลก ได้แก่ เงินปอนด์ ดอลล่าร์สหรัฐ เงินเยน เงินมาร์ก และเงินฟรังค์

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

หมายถึงราคาของเงินสกุลหนึ่งที่คิดเทียบอยู่ในหน่วยของเงินอีกสกุลหนึ่ง

เช่น 1 US$ = 42.50 บาท

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในทางปฏิบัติจะมีดังนี้

1. อัตราซื้อ หมายถึง อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารพาณิชย์ใช้รับซื้อเงินตราต่างประเทศ

2. อัตราขาย หมายถึง อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารพาณิชย์ใช้ขายเงินตราต่างประเทศ

* โดยปกติ อัตราขายจะสูงกว่าอัตราซื้อ

3. อัตราแลกเปลี่ยนทางการ หมายถึง อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารกลางกำหนดในการซื้อ

ขายเงินตราต่างประเทศ

4. อัตราแลกเปลี่ยนตลาด หมายถึงอัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพที่กำหนดโดยอุปสงค์และอุป-ทานของเงินตราต่างประเทศ

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหว นอกจาก D & S เงินตราต่างประเทศแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ดังนี้

1. D สินค้าจากต่างประเทศ

ถ้า Import $ ไหลออก ค่าเงินบาทอ่อนตัวลง

2. Y สูงขึ้น Import $ ไหลออก ค่าเงินบาทอ่อนตัวลง

3. Cost สูงขึ้น Export รับ $ ค่าเงินบาทอ่อนตัวลง

4. Export รับ $ หรือ I จากต่างประเทศ

รับ $

ค่าเงินบาทอ่อนตัวลง ค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้น

นางโสภิต พิสิษฐบรรณากร

ผลผลิตรวมของประเทศ

มาตรวัดรายรับและผลผลิตของประเทศ (Measures of national income and output) เป็นเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อประมาณมูลค่าของสินค้าและบริการภายในระบบเศรษฐกิจ ในการคำนวณใช้ระบบของ บัญชีประชาชาติ หรือ การทำบัญชีประชาชาติ ที่ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 มาตรวัดที่ใช้ทั่วไปคือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product, GNP) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross domestic product, GDP) รายได้มวลรวมประชาชาติ (Gross National Income, GNI) ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ (Net National Product, NNP) และ รายได้ประชาชาติสุทธิ (Net National Income, NNI)

นายวุฒิวิทย์ ก่าแก้ว

เศรษฐกิจระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศ เป็นการนำสินค้าและบริการไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง เนื่องจากความแตกต่างกันทางทรัพยากรและความสามารถในการผลิต

นโยบายการค้า

1. การค้าแบบเสรี ไม่มีการเก็บภาษีคุ้มกัน, ไม่ให้สิทธิพิเศษ ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า

2. การค้าแบบคุ้มกัน มีการตั้งกำแพงภาษี, ไม่ให้สิทธิพิเศษ, ห้ามนำเข้า ห้ามส่งสินค้าบางชนิดออก ให้อุดหนุนเพื่อผลิตแข่งกับต่างประเทศ

ดุลการค้า คือการเปรียบเทียบมูลค่าสินค้าขาออกและมูลค่าสินค้าขาเข้า ในรอบ 1 ปี แบ่งเป็นดุลการค้าขาดดุล, ดุลการค้าเกินดุล และดุลการค้าสมดุล

ลักษณะการค้าระหว่างประเทศของไทย

1. ใช้นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน

2. ใช้ระบบภาษีศุลกากรพิกัดอัตราเดียว

3. ประเทศคู่ค้าสำคัญคือ ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา, ซาอุดิอาระเบีย

4. สินค้าออก ส่วนใหญ่คือ สินค้าจากภาคเกษตรกรรม

5. สินค้าเข้า เป็นสินค้าอุตสาหกรรม เครื่องจักร และเชื้อเพลิง

การแก้ไขดุลการชำระเงินขาดดุล

1. ลดการส่งสินค้าเข้า

2. ชักชวนชาวต่างชาติมาท่องเที่ยว

3. ส่งเสริมการส่งออกมากขึ้น

4. ลดบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย

บัญชีดุลการค้าชำระเงินระหว่างประเทศ ประกอบด้วย

1. บัญชีเดินสะพัด เป็นบัญชีรวมดุลการค้าและดุลบริการ

2. บัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย เป็นการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศรวมถึงเงินกู้

3. บัญชีเงินโอนและเงินบริจาค เป็นเงินช่วยเหลือระหว่างประเทศ

4. บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นบัญชีบอกจำนวนเงินสำรองระหว่างประเทศ และชี้ให้เห็นฐานะของดุลการชำระเงินของประเทศ

ข้อเปรียบเทียบระหว่างดุลการค้ากับดุลการชำระเงิน

1. ดุลการชำระเงินนั้นรวมรายจ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประเทศทั้งหมดทั้งที่เป็นรายรับ รายจ่ายจากสินค้าและบริการ เงินลงทุน เงินกู้ เงินบริจาค

2. ดุลการค้า หมายถึง ส่วนต่างของสินค้าเข้าและสินค้าออก โดยดุลการค้าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของดุลการชำระเงิน

3. บางประเทศอาจมีการค้าขาดดุล แต่มีดุลการชำระเงินเกินดุลก็ได้

ทุนสำรองระหว่างประเทศ คือ ทรัพย์สินของประเทศที่เป็นทองคำและเงินตราต่างประเทศสกุลสำคัญ เช่น เงินดอลลาร์สหรัฐ สิทธิพิเศษในการเบิกเงินกองทุนสำรองระหว่างประเทศ เงินสำรองระหว่างประเทศมีประโยชน์คือ

1. ใช้เป็นทุนสำรองเงินตราส่วนหนึ่ง

2. ใช้เป็นทุนหมุนเวียนสำหรับชำระเงินให้กับต่างประเทศ

3. ใช้เป็นทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราประเทศส่วนหนึ่ง เพื่อให้มีเสถียรภาพมั่นคง

การลงทุนระหว่างประเทศ

เป็นการที่รัฐบาลหรือเอกชนของประเทศหนึ่งนำเงินไปลงทุนดำเนินธุรกิจ เพื่อแสวงหาผลกำไร สาเหตุของการลงทุนระหว่างประเทศเพื่อต้องการขยายการผลิตและการลดต้นทุน

ผลที่เกิด

1. ประเทศกำลังพัฒนา ได้เรียนรู้วิทยาการ เทคโนโลยีใหม่ ๆ

2. ประเทศกำลังพัฒนา มีการว่าจ้างงานมากขึ้น

3. เกิดการเอาเปรียบประเทศที่รับการลงทุน

4. อาจก่อความขัดแย้งระหว่างประเทศได้

นายวุฒิวิทย์ ก่าแก้ว

ความรุ้ทั่วไปเกี่ยวกับ FTA น่าจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ พี่ๆ

ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับ 6 ประเทศ(Comprehensive Economic Partnership in East Asia: CEPEA)

ความเป็นมา

§ ใ ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AEM-METI) และ AEM+3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อเดือนสิงหาคม 2549 ญี่ปุ่นเสนอให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญภาควิชาการ (Track II) ของกลุ่มประเทศ East Asia Summit (EAS ประกอบด้วยอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง Comprehensive Economic Partnership in East Asia (CEPEA) ซึ่งเป็น FTA ระหว่าง ประเทศอาเซียน+6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์)

§ ที่ประชุม EAS ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2550 ณ เมืองเชบู ประเทศฟิลิปปินส์ มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการศึกษาดังกล่าว โดยญี่ปุ่นจะจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างนักวิชาการซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละประเทศครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2550

§ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญฯ ของ CEPEA (รศ. ดร. สุทธิพันธ์ จิราธิวัฒน์ ประธานศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญฯ ฝ่ายไทย) ได้ทำการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) โดยมีการประชุมร่วมกันทั้งหมด 6 ครั้ง

ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 15-16 มิถุนายน 2550 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 3-4 สิงหาคม 2550 ที่โอ๊กแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์

ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 26-27 ตุลาคม 2550 ที่กรุงเทพฯ

ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2551 ที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย

ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 18-19 เมษายน 2551 ที่ประเทศฟิลิปปินส์

ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 19-20 มิถุนายน 2551 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

§ ผู้เชี่ยวชาญฯ ได้สรุปผลการศึกษา (Final report of CEPEA Track Two: Phase I) และนำเสนอต่อที่ประชุมผู้นำเอเชียตะวันออก (East Asia Summit: EAS) ในเดือนธันวาคม 2551 ณ กรุงเทพฯ โดยระบุว่าการจัดทำ CEPEA นั้น จะทำให้ GDP ของประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.11% โดยในส่วนของอาเซียนนั้น จะได้รับประโยชน์มากกว่าโดย GDP ของอาเซียน เพิ่มขึ้น 3.83% ในส่วนของไทย GDP จะเพิ่มขึ้นเท่ากับ 4.78%

§ นอกจากนี้ ผลการศึกษาได้ครอบคลุมประเด็นอื่นๆสำคัญ ได้แก่ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ องค์ประกอบของ CEPEA ซึ่งประกอบด้วย การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ พลังงานและสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้ ได้เสนอแนะแนวทางสู่การทำเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก โดยเสนอให้ประเทศสมาชิกต้องเริ่มที่เข้าใจหลักพื้นฐานและเป้าหมายของ CEPEA อันจะมุ่งไปสู่การเปิดเสรี การอำนวยความสะดวก และความร่วมมือระหว่างกัน

ผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน+6 หรือ CEPEA (Comprehensive Economic Partnership in East Asia) ระยะที่ 1 (รายละเอียด)

บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) (รายละเอียด)

§ ต่อมาที่ประชุม AEM ครั้งที่ 40 และ AEM-METI Consultations ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 25-28 สิงหาคม 2551 ณ ประเทศสิงคโปร์ มีมติเห็นชอบและสนับสนุนกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาต่อในระยะที่ 2 (CEPEA Track Two Study Group: Phase II) โดยเน้น 3 เสาหลัก คือ ด้านความร่วมมือ (Cooperation) ด้านการอำนวยความสะดวก (Facilitation) และการเปิดเสรี (Liberalization) นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการศึกษา CEPEA Phase II โดยให้ครอบคลุมถึงการศึกษาวิเคราะห์ในความตกลง ASEAN+1 FTAs ที่มีอยู่ รวมไปถึงกฎ Special & Differential Treatment ที่มีประสิทธิภาพ แนวทางของการเปิดเสรี (Liberalization) และการอำนวยความสะดวก (Facilitation) ที่เหมาะสมซึ่งนำไปสู่แนวทางที่จะช่วยลดช่องว่างของระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิก และระบุแนวทางด้านความร่วมมือต่างๆ ที่ช่วยสร้างความสามารถ (Capacity) ของประเทศสมาชิก เพื่อรองรับการเปิดเสรีภายใต้อาเซียน+6 (CEPEA)

§ การศึกษา CEPEA Track Two Study Group: Phase II นั้น ได้มีการประชุมทั้งหมด 4 ครั้ง

ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ที่โอ๊กแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์

ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 29-30 พฤษภาคม 2552 ที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย

ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2552 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

§ ผู้เชี่ยวชาญฯ ได้สรุปผลการศึกษา CEPEA Phase II (Final report of CEPEA Track Two: Phase II) และนำเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 41 (41st AEM) ณ กรุงเทพ ระหว่างวันที่ 13-16 สิงหาคม 2552 โดยผู้เชี่ยวชาญฯ มองว่า CEPEA ควรให้ความสำคัญในเรื่องความร่วมมือ (Cooperation) เป็นอันดับแรก เพื่อมุ่งลดช่องว่างระดับการพัฒนาของแต่ละประเทศสมาชิก โดยเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) การถ่ายทอดเทคโนโลยี (Transfer of Technology) และสร้างความเข้มแข็งให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และที่สำคัญคือการสร้าง Capacity Building ให้แก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด รวมทั้งควรพิจารณาจัดตั้งกองทุนเอเชียตะวันออก (East Asia Fund) เพื่อช่วยรองรับโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นและสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนาต่อไป

ผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน+6 หรือ CEPEA (Comprehensive Economic Partnership in East Asia) ระยะที่ 2 (รายละเอียด)

สำนักเอเชีย

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

สิงหาคม 2552

โทร 02 507 7249

นาย วิรัช จินดากวี

เศรษฐศาสตร์มหภาคmacroเป็นการศึกษาของเศรษฐกิจส่วนรวม เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจทุกหน่วยในสังคม

เช่น รายได้ประชาซาติ ระดับราคาสินค้า การกระจายรายได้ การคลังรัฐบาล การค้าระหว่างประเทศ การรักษาเสถียรภาพทาง

เศรษฐกิจของประเทศ เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจระดับประเทศ ระหว่างประเทศ

1 เงินเฟ้อ คือ ภาวะที่เงินมีอำนาจการซื้อลดลง ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น

ผลกระทบ ผู้เสียเปรียบคือ เจ้าหนิ้ และผู้มีรายได้แน่นอน

ผู้ได้เปรียบคือ ลูกหนิ้ และนักธุรกิจ

วิธีแก้ปัญหา ขึ้นอัตราดอกเบิ้ย และขายพันธบัตรรัฐบาล ใช้นโยบายงบประมาณเกินดุลด้วยการเพิ่มภาษีอากร

2 เงินฝืด คือ ภาวะที่เงินมีอำนาจซื้อเพิ่มขึ้น ปริมาณเงินลดลง ราคาสินค้าและบริการถูถลงแต่ไม่มีคนมาซื้อ

ผลกระทบ ผู้เสียเปรียบคือ ลูกหนิ้ นักธุรกิจ

ผู้ได้เปรียบคือ เจ้าหนิ้ และผู้มีรายได้แน่นอน

วิธีแก้ปัญหา ลดอัตราดอกเบิ้ย ซื้อพันธบัตรรัฐบาล ใช้นโยบายงบประมาณขาดดุลด้วยการลดหนิ้และเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล

3 การตลาด หมายถึง การดำเนินกิจกรรมในขั้นตอน การนำเสนอสินค้าและบริการ เพื่อให้ผู้บริโภคซื้อ และเป็นการนำสินค้าไปให้ถึง

มือผู้บริโภคเช่น การสร้างภาพลักษณ์และบรรจุภัณท์ การส่งเสริมการขายและการพัฒนาผลิตภัณท์

4 พลังงาน หมายถึง พลังงานที่มีใช้อยู่ในทุกวันนิ้จะหมดไปเช่น น้ำมัน ก๊าซ ถ่านหิน เราจะต้องเตรียมหาพลังงานทดแทน อาทิเช่น

พลังงานจาก ดวงอาทิตย์ พลังงานจากขยะ พลังงานจากพืชผลเกษตร

5 พฤติกรรมทางเศรษฐกิจคือ ผลผลิตของชาติ ผลผลิตภัณท์ประชาซาติ ผลิตภัณท์ภายในประเทศ ค่าใช้จ่ายในการบริโภค การออม

การลงทุนของทั้งสังคม การคลังรัฐบาล การค้าระหว่างประเทศ ดุลการชำระเงินของทั้งระบบเศรษฐกิจ ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด วัฎจักร

ธุรกิจ

6 พฤติกรรมผู้บริโภค คือ ปัญหาในการบริโภคของคนแต่ละคน ก็เป็นปัญหาระดับย่อยแต่ถ้ามองเป็นปัญหาการบริโภคของทั้งสังคม

ก็เป็นระดับส่วนรวม

7 ต้นทุนการผลิต หมายถึง ต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการเฉพาะที่เกิดขึ้นกับหน่วยผลิตสินค้าหรือบริการขึ้น หมายถึงรวมทั้งต้น

ทุนชัดเจนและต้นทุนแอบแฝง ในการตัดสินใจผลิต

8 ราคาสินค้าในตลาด หมายถึง การศึกษากลไก การซื้อขาย แลกเปลี่ยนหรือการกระจายสินค้าในตลาดสินค้าแต่ละชนิด การแทรก

แซงราคาสินค้า บางชนิดของรัฐบาล

9 รายได้ประชาซาติ หมายถึง ความสำคัญของบัญชีรายได้ประชาซาติและระบบบัญชีรายได้ประชาซาติ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิด

ขึ้นเกี่ยวกับการผลิต การบริโภค การใช้ปัจจัยการผลิต มูลค่าที่คำนวนได้จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจเรียกรายได้ประชาซาติ

10การเงินระหว่างประเทศ หมายถึง ในการทำการค้าระหว่างประเทศจำเป็นต้องมีเงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเช่นเดียวกับ

การค้าในประเทศ แต่เนื่องจากทุกประเทศต่างก็มีเงินเป็นสกุลของตนเอง ในทางปฏิบัติการชำระเงินจะต้องชำระด้วยเงินสกุลสำคัญ

ที่เป็นที่ยอมรับ เช่น เงินดอลล่าร์ อเมริกา เงินยูโร ยุโรป เงินเยน ญี่ปุ่น

นาย วิรัช จินดากวี นักศึกษาปริญญาเอก นิเทศศาสตร์นวัตกรรม มหาวิทยาลัยเกริก

นายพูนศักดิ์ ศิริชัย

            ความล้มเหลวตลาด = Market failure หมายถึง การที่ระบบตลาดหรือกลไกราคาไม่สามารถทำหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรชนิดหนึ่ง ๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดหรือบรรลุซึ่งสวัสดิการสูงสุดได้ ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

           1. โครงสร้างตลาดเป็นแบบผูกขาด

           2. สารสนเทศไม่สมบูรณ์

           3. สินค้านั้นเป็นสินค้าสาธารณะ

           4. เกิดผลกระทบภายนอก จากการผลิตหรือการบริโภคสินค้าในกรณีที่เกิดความล้มเหลวของตลาด มักมีข้อเสนอให้รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงการจัดสรรทรัพยากรนั้น ๆ เพื่อก่อให้เกิด พลังตลาด = Market forces

           แนวคิดใหม่ ๆ นวัตกรรมใหม่ ๆ และเงินลงทุนที่หลั่งไหลเข้ามา ทำให้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้านการตลาดเป็นกระแสใหม่ของโลกในช่วงทศวรรษนี้ แต่เราจะเร่งกระแสการเปลี่ยนแปลงให้เร็วพอกู้วิกฤติสภาพแวดล้อมที่เรากำลังเผชิญอยู่ได้หรือไม่?

            ความล้มเหลวของตลาด อาจหมายความว่า ระบบเศรษฐกิจของโลกไม่ได้อยู่ในสภาพพร้อมรับมือกับวิกฤตการณ์สภาพแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้น และการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ก็ไม่ได้ช่วยให้เราเข้าใจปัญหาได้อย่างถ่องแท้ ดัชนีทางเศรษฐกิจที่เราใช้อยู่อย่างกว้างขวาง เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวม ไม่ได้คิดคำนวณมูลค่าทางเศรษฐกิจของสภาพแวดล้อมที่เสื่อมทรามลง ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่า อากาศเป็นพิษ หรือมลภาวะ สิ่งเหล่านี้จำต้องเปลี่ยนแปลงไป ความเจริญก้าวหน้าของมนุษยชาติในเวลานี้อาจขึ้นอยู่กับพัฒนาการของระบบเศรษฐกิจที่ก้าวหน้ากว่าที่เราเคยรู้จักในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา เราจำเป็นต้องพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่ฉวยประโยชน์จากศักยภาพของตลาด ในการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน และในขณะเดียวกันก็ตระหนักรู้ถึงคุณค่าของระบบนิเวศที่เป็นพื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจ

            การกำหนดเส้นทางสู่เศรษฐกิจยั่งยืนเป็นกิจกรรมที่เต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนามกีดขวางอยู่ แต่ก็เป็นทางสายเดียวที่เรามีอยู่หากต้องการหลีกจากหายนะของสภาพแวดล้อม ปัญหาใหญ่ของมนุษยชาติทุกวันนี้มีอยู่ว่า ทำอย่างไรเราจะเร่งกระแสการเปลี่ยนแปลงให้เร็วพอกู้วิกฤติสภาพแวดล้อม และในขณะเดียวกันก็หลีกเลี่ยงสภาวะล้มละลายของระบบเศรษฐกิจการเมืองของโลก อย่างประเทศไทยกำลังประสบอยู่ทุกวันนี้ ถือเป็นความล้มเหลวทางการตลาด เนื่องมาจากปัญหาด้านการเมืองมีผลทำให้ต่างประเทศขาดความมั่นใจที่จะเข้ามาลงทุนค้าขาย ตลาดการท่องเที่ยวก็ล้มเหลวอย่างเห็นได้ชัด

                          นายพูนศักดิ์  ศิริชัย  โทร. 08 - 9200 7788

นาย วิรัช จินดากวี

เศรษฐศาสตร์จุลภาค(micro)เป็นเศรษฐศาสตร์สาขาหนึ่งซึ่งศึกษาพฤติกรรมและการตัดสินใจของบุคคล ครัวเรือน และบริษัท

ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยเฉพาะในตลาดซึ่งมีการซื้อขายสินค้าและบริการ เศรษฐศาสคร์จุลภาคศึกษาว่า

พฤติกรรมและการตัดสินใจเหล่านิ้มีผลกระทบอย่างไรต่ออุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการซึ่งเป็นตัวกำหนดราคา

1 อุปสงค์(demand)เป็นความต้องการซื้อสินค้าและบริการขึ้นกับราคาสินค้า

กฏทั่วไปของอุปสงค์คืออุปสงค์แปรผันโดยอ้อมหรือผูกพันกับราคาสินค้าและบริการ(สินค้าที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตเป็น

สินค้าที่มีความยืดหยุ่นของอุปสงค์น้อย)

2 อุปทาน(supply)เป็นปริมาณความต้องการที่จะขายสินค้าและบริการซึ่งจะขึ้นกับราคาของสินค้าและบริการ

กฏทั่วไปของอุปทานคืออุปทานจะแปรผันโดยตรงกับราคาสินค้าและบริการ ราคาดุลยภาพและปริมาณดุลยภาพ

3 ทฤษฎีราคา ปัจจัยการผลิต

(1)อุปสงค์ของปัจจัยการผลิต เมื่อหน่วยธุรกิจอยู่ในตลาดปัจจัยของตลาด ผลผลิตที่มีการแข่งขันสมบรูณ์

เมื่อหน่วยธุรกิจในตลาดปัจจัยที่มีการแข่งขันสมบรูณ์แต่ตลาดผลผลิตมีการแข่งขันไม่สมบรูณ์

(2)อุปทานของปัจจัยการผลิต

(3)ดุลยภาพของตลาดปัจจัยการผลิต

4 การควบคุมการผลิต การที่ทรัพยากรมีจำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด ทำให้เกิดปัญหาพื้น

ฐานเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญคือ ปัญหาการขาดแคลนซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการจัดระบบผลิต(ปัญหาการจัดสรรทรัพยากร)โดยสาระ

สำคัญของปัญหาการจัดสรรทรัพยากรคือ จะผลิตอะไร อย่างไร เพื่อใคร

(1)จะผลิตอะไร ควรผลิตสินค้าบริการอะไร ในปริมาณเท่าใด

(2)จะผลิตอย่างไรโดยใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

(3)จะผลิตเพื่อใครจะจำหน่ายสินค้า บริการไปให้ใคร

5 ประสืทธิภาพการตลาด ศึกษาว่าสินค้านั้นมีโครงสร้างตลาดประเภทใด โดยพิจารณาจากประเด็นต่างๆจะทำให้ทราบถึงพฤติกรรม

ในการกำหนดราคา ปริมาณและคุณภาพของสินค้า ตลอดจนประสิทธิภาพทางการตลาด ซึ่งหากพบว่าโครงสร้างมีลักษณะคล้ายคลึง

กับตลาดผูกขาดมากกว่าตลาดแข่งขันสมบรูณ์ ก็คาดได้ว่าประสิทธิภาพทางการตลาดจะต่ำส่วนเหลื่อมทางการตลาดจะสูงกว่าที่ควร

จะเป็น

6ดุลยภาพของผู้บริโภค คือการที่ผู้บริโภคที่มีรายได้จำกัดจำนวนหนึ่งสามารถบริโภคสินค้า2ชนิดโดยได้รับความพอใจสูงสุด หรือ

แสดงถึงจำนวนต่างๆของสินค้าที่ซื้อแล้วให้ความพอใจสูงสุด ภายใต้เงินงบประมาณที่มีอยู่จำกัด

7 การเปลี่ยนแปลงสินค้าในตลาด เกิดจาก

(1)การเปลี่ยนแปลงจำนวนซื้อ ซึ่งหมายถึงการที่จำนวนซื้อสินค้าและบริการเปลี่ยนไปเนื่องจากราคาเปลี่ยนแปลง

(2)การเปลี่ยนแปลงอุปสงค์หมายถึง การที่ปัจจัยกำหนดอุปสงค์ เช่น ระดับรายได้เฉลี่ยของครัวเรือน การเปลี่ยนแปลงระดับราคา

สินค้าและบริการชนิดอันที่เกี่ยวข้องกัน ขนาดของประชากรทั้งหมด ตัวใดตัวหนึ่งหรือหลายตัวในจำนวนนี้เปลี่ยนแปลงไป และมีผล

ทำให้จำนวนซื้อเพิ่มขึ้นหรือลดลง

การเปลี่ยนแปลงทั้งสองตัวนี้ มีผลทำให้ผู้ประกอบการเกิดการตัดสินใจผลิตสินค้า เพื่อตอบสนองความเปลี่ยน

แปลงของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ตามหลักการเปลี่ยนแปลงของตลาดทำให้สินค้าในตลาด เกิดการเปลี่ยนแปลงไปด้วย

8 การกระจายรายได้ เมื่อรายได้ส่วนใหญ่ไปตกอยู่กับผู้บริโภคโดยส่วนใหญ่จะทำให้ปริมาณซื้อสินค้าจะมากขึ้น แต่ถ้ารายได้ส่วน

ใหญ่ตกอยู่กับผู้บริโภคส่วนน้อยจะทำให้ปริมาณเสนอซื้อสินค้าลดลง

9ความยืดหยุ่นคือ เครื่องมือวัดค่าของการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเสนอซื้อหรือปริมาณเสนอขาย เปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลง

ของตัวกำหนดอุปสงค์หรืออุปทาน

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์คือเครื่องมือวัดค่าของการเปลี่ยนแปลง ของปริมาณเสนอซื้อ เปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงของตัว

กำหนดอุปสงค์

ความยืดหยุ่นของอุปทานคือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเสนอขายสินค้าหรือบริการต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า

นั้นโดยกำหนดให้ปัจจัยอื่นคงที่

10 การเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน ข้อมูลตลาดแรงงานมีความไม่สมบรูณ์ การขาดระบบข้อมูลด้านตลาดแรงงานที่ดี ทั้งๆที่มี

ตำแหน่งงานรองรับ อาทิ ผู้หางานไม่สามารถค้นพบตำแหน่งงานที่ต้องการหรือนายจ้างไม่สามารถค้นพบแรงงานที่มีคุณสมบัติตาม

ต้องการ ส่งผลให้ค่าจ้างสูงเกินจริง และทำให้ผู้จบการศึกษาบางส่วนว่างงาน

นาย วิรัช จินดากวี นักศึกษาปริญญาเอก นิเทศศาสตร์นวัตกรรม มหาวิทยาลัยเกริก

นายสุริยา ประดิษฐ์สถาพร

อุปสงค์ผู้บริโภคแต่ละราย และอุปสงค์ตลาด

อุปสงค์ผู้บริโภคแต่ละราย คือ ข้อมูลที่บอกความสัมพันธ์ระหว่างราคาๆ และปริมาณอุปสงค์ต่างๆในช่วงหนึ่ง ปริมาณอุปสงค์ในแต่ละราคา ความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณตามกฎอุปสงค์ ของบุคคลหรือผู้บริโภครายเพียงรายเดียวตัวอย่างเช่น

สมมติว่ามีนักศึกษาคนแรก มีรายได้ 500บาท ต่อ สัปดาห์ มีความต้องการบริโภคปาท่องโก๋ ในรอบสัปดาห์ดังนี้

  • ถ้าปาท่องโก๋ราคาตัวละ 5 บาท เขาจะไม่กินเลย
  • ถ้าปาท่องโก๋ราคาตัวละ 4 บาท เขาจะกินสัปดาห์ละ 2 ตัว
  • ถ้าปาท่องโก๋ราคาตัวละ 3 บาท เขาจะกินสัปดาห์ละ 4 ตัว
  • ถ้าปาท่องโก๋ราคาตัวละ 2 บาท เขาจะกินสัปดาห์ละ 6 ตัว
  • ถ้าปาท่องโก๋ราคาตัวละ 1 บาท เขาจะกินสัปดาห์ละ 8 ตัว
  • ถ้าแม่ค้าแจกฟรี เขาจะกินมันวันละ 2 ตัว ทุกวันที่ไปมหาวิทยาลัย สัปดาห์ละ 10 ตัว นี้คืออุปสงค์รายบุคคลของนักศึกษาคนแรก

นักศึกษารายที่สองมีฐานะดี มีเงินใช้สัปดาห์ละ 1,000 บาท มีความต้องการบริโภคปาท่องโก๋ ในรอบสัปดาห์ดังนี้

  • ถ้าปาท่องโก๋ราคาตัวละ 5 บาท เขาจะกินสัปดาห์ละ 2 ตัว 
  • ถ้าปาท่องโก๋ราคาตัวละ 4 บาท เขาจะกินสัปดาห์ละ 4 ตัว
  • ถ้าปาท่องโก๋ราคาตัวละ 3 บาท เขาจะกินสัปดาห์ละ 6 ตัว
  • ถ้าปาท่องโก๋ราคาตัวละ 2 บาท เขาจะกินสัปดาห์ละ 8 ตัว
  • ถ้าปาท่องโก๋ราคาตัวละ 1 บาท เขาจะกินสัปดาห์ละ10 ตัว
  • ถ้าแม่ค้าแจกฟรี เขาจะกินสัปดาห์ละ 12 ตัว

อุปสงค์ตลาด(market demand) คือ อุปสงค์ที่ผู้บริโภคมีต่อสินค้าชนิดเดียวกันในช่วงเวลาเดียวกัน ในตลาดเดียวกัน เราจะหาอุปสงค์ตลาดได้โดยเอาอุปสงค์ของผู้บริโภคทุกรายที่มีความต้องการสินค้าชนิดเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกัน ในตลาดเดียวกันมารวมกัน ถ้าทั้งมหาวิทยาลัยมีคนกินปาท่องโก๋กันแค่ 2 คน คือนายคนแรกกับนายคนที่สอง ดังนั่นอุปสงค์ตลาดที่มีต่อปาท่องโก๋บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยฯในช่วงสัปดาห์ก็คือ

  • ถ้าปาท่องโก๋ราคาตัวละ 5 บาท จะมีผู้ซื้อสัปดาห์ละ 2 ตัว
  • ถ้าปาท่องโก๋ราคาตัวละ 4 บาท จะมีผู้ซื้อสัปดาห์ละ 6 ตัว
  • ถ้าปาท่องโก๋ราคาตัวละ 3 บาท จะมีผู้ซื้อสัปดาห์ละ 10 ตัว
  • ถ้าปาท่องโก๋ราคาตัวละ 2 บาท จะมีผู้ซื้อสัปดาห์ละ 14 ตัว
  • ถ้าปาท่องโก๋ราคาตัวละ 1 บาท จะมีผู้ซื้อสัปดาห์ละ 18 ตัว
  • ถ้าแม่ค้าแจกฟรี จะมีผู้มาขอกินฟรีสัปดาห์ละ 22 ตัว
เกศสุพิชญ์ ธนนันท์โสภณ

ภาวะเงินฝืดคืออะไร

ภาวะเงินฝืด หรือที่เรียกว่า Deflation คือภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงเรื่อยๆ โดยปกติ อาการของภาวะเงินฝืดที่เห็นได้ชัดคือ เราจะเห็นตัวเลขเงินเฟ้อที่เป็นตัวเลขติดลบ โดยตัวเลขที่ติดลบดังกล่าว จะต้องมีสาเหตุมาจากการที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงเรื่อย ๆ ไม่ใช่เกิดขึ้นแค่ในสินค้ากลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง ซึ่งความน่ากลัวของภาวะเงินฝืดจะไม่ได้อยู่ที่ว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อมีค่า เป็นลบแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องประกอบไปด้วยเงื่อนไขอื่น ๆ อีก ซึ่งจะได้กล่าวถึงในส่วนต่อไป โดยจะขออธิบายก่อนว่าภาวะเงินฝืดนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร

ภาวะเงินฝืดเกิดขึ้นได้อย่างไร

สาเหตุของภาวะเงินฝืด หรือสาเหตุที่ทำให้ราคาสินค้าและบริการลดลงเรื่อย ๆ นั้น มาได้จากทั้งด้านอุปทาน (Supply side) และด้านอุปสงค์ (Demand side) โดยด้านอุปทานได้แก่ การเกิดการเพิ่มของผลผลิตอย่างมากมายในระยะเวลาอันสั้น ดังที่ได้กล่าวแล้วในเรื่องของอุปสงค์และอุปทานที่ว่า หากอยู่ ๆ สินค้ามีจำนวนมากขึ้น เช่น อาจเกิดจากผลิตภาพการผลิตหรือที่เรียกว่า productivity เพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น เราอาจเคยใช้คน 4 คน ผลิตแก้ว 4 ใบ แต่ตอนนี้แรงงานเราเก่งขึ้น ทำให้ใช้แค่ 3 คน ก็ผลิตแก้ว 4 ใบเท่าเดิมได้ อันนี้ก็ทำให้ต้นทุนการผลิตแก้วถูกลง และทำให้ราคาแก้วถูกลง เป็นต้น ซึ่งการเพิ่มขึ้นของ productivity นี้ อาจเกิดจากผลของการพัฒนาเทคโนโลยี เช่น การเกิดขึ้นของ Internet ที่มีผลทำให้โลกเราอยู่ใกล้กันแค่เพียงปลายนิ้วสัมผัส หรืออยู่ ๆ มีแรงงานราคาถูกจำนวนมหาศาลเข้ามาในตลาดแรงงาน สิ่งเหล่านี้ย่อมทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าปรับลดลง และมีผลทำให้ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปปรับลดลงตามไปด้วย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในช่วงที่ผ่านมาได้แก่ การเปิดประเทศของจีน ซึ่งทำให้มีแรงงานชาวจีนที่ค่าจ้างแรงงานต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ โดยเปรียบเทียบ เข้ามาผลิตสินค้าในตลาดเป็นจำนวนมาก ซึ่งตัวอย่างของสินค้าเช่น เราอาจเห็นเสื้อผ้า กระเป๋า รวมทั้งสินค้าอื่นๆ อีกมากมายที่แม้เราจะซื้อมาจากประเทศในยุโรป แต่เมื่อพลิกป้ายดูจะพบว่า Made in China หรือผลิตในจีนแทบทั้งสิ้น ทั้งนี้ ก็เพราะว่าค่าแรงงานของคนจีนถูกกว่าการจ้างคนที่ยุโรปผลิต หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือที่เราอาจเคยได้ยินกันว่าที่ประเทศสหรัฐอเมริกานั้น หากเราโทรศัพท์ไป Call center ของบริษัทบางบริษัทจะพบว่าคนที่รับโทรศัพท์นั้น นั่งทำงานอยู่ที่ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นอีกประเทศที่มีประชากรมหาศาลและมีค่าแรงงานถูก โดยลือกันว่าค่าใช้จ่ายจ้างคนรับสาย Call center ที่ประเทศอินเดียนั้นถูกกว่าจ้างคนที่นั่งอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกามาก เป็นต้น

ในช่วงตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมาจนเกือบถึงต้นปี 2551 ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปของเกือบทุกประเทศทั่วโลกจึงถูกลง (ยกเว้นราคาน้ำมัน ซึ่งมีเรื่องของอำนาจเหนือตลาด หรือ Market power ของกลุ่ม OPEC และเรื่องของข้อจำกัดของแหล่งผลิตน้ำมันเข้ามาเกี่ยวข้อง) และทั้งโลกก็มีตัวเลขเงินเฟ้อที่ค่อนข้างต่ำมาโดยตลอด ซึ่งหากภาวะเงินฝืดเกิดจากการเพิ่มขึ้นของ productivity ซึ่งเป็นด้านอุปทาน จะไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว เพราะเงินฝืดประเภทนี้จะไม่ทำให้คนตกงานและส่งผลกระทบต่อรายได้ของคน เนื่องจากไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งแตกต่างจากภาวะเงินฝืดอีกประเภทหนึ่งคือ ภาวะเงินฝืดที่มีสาเหตุมาจากด้านอุปสงค์

ภาวะเงินฝืดที่มาจากด้านอุปสงค์ หรือ Demand side คือสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์กลัว โดยอาการของภาวะเงินฝืดนั้น จะเห็นว่าราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงและทำให้เงินเฟ้อติดลบเช่นกัน แต่คราวนี้ การติดลบเกิดจากความ ต้องการบริโภคของผู้คนที่ลดลง เช่นเกิดจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ คนตกงาน คนไม่มีรายได้จะจับจ่ายใช้สอย คนขายสินค้าจึงลดราคาสินค้าลงเพื่อให้ยังขายได้ โดยการติดลบของเงินเฟ้อจะน่ากลัวและมีผลต่อเศรษฐกิจได้ จะต้องประกอบด้วยเงื่อนไขอีก 2-3 ประการได้แก่

(1) ราคาสินค้าและบริการลดลงโดยทั่วไป ไม่ได้เกิดขึ้นจากสินค้าหรือบริการในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการบริโภคที่ลดลง

(2) ราคาสินค้าและบริการลดลงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จนทำให้ผู้คนชะลอการบริโภคและการลงทุนออกไป โดยหวังว่า (Expect) ราคาสินค้าและบริการจะถูกลงไปอีก

(3) เมื่อคนคิดเหมือน ๆ กันคือรอให้ราคาสินค้าถูกลง โดยคิดว่า “ถ้าซื้อพรุ่งนี้ ราคาน่าจะถูกกว่าซื้อวันนี้” ในที่สุดจะส่งผลทำให้สินค้าของผู้ผลิตขายไม่ออก ก็เริ่มมีสินค้าเหลือในสต็อก ผู้ผลิตเริ่มขาดทุน และเริ่มปลดคนงานออก คนก็เริ่มตกงาน เมื่อตกงานก็ไม่มีกำลังซื้อไปซื้อสินค้า ก็ทำให้ผู้ผลิตขาดทุนขายของไม่ออกไปอีก และในที่สุดก็ทำให้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยติดต่อกันไปอีกหลายปี

ภาวะ ดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า Downward spiral ซึ่งเป็นวงจรที่ไม่มีใครอยากให้เกิด โดยภาวะดังกล่าว เคยเกิดขึ้นที่เห็นเด่นชัดคือ การเกิดภาวะเงินฝืดในสหรัฐอเมริกาเมื่อทศวรรษที่ 1930 ที่เรียกว่า Great depression และอีกครั้งที่ชัด ๆ คือ ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2545 ซึ่งมีผลทำให้เศรษฐกิจตกต่ำต่อเนื่องไปอีกหลายปี

อีกคำหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการลดลงของราคาสินค้าและบริการคือ คำว่า Disinflation ซึ่งจะหมายถึงภาวะที่ตัวเลขเงินเฟ้อยังมีค่าเป็นบวก แต่มีค่าที่เป็นบวกลดลงเรื่อย ๆ เช่น เงินเฟ้อของไทยในเดือนกรกฎาคม 2552 อยู่ที่ร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อน แต่พอเดือนสิงหาคม 2552 เงินเฟ้อลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.4 และเดือนถัด ๆ มาอยู่ที่ร้อยละ 6 เป็นต้น

คำถามต่อมาคือ แล้วตัวเลขเงินเฟ้อของไทยล่าสุดแสดงสัญญาณภาวะเงินฝืดหรือเปล่า โดยเฉพาะภาวะเงินฝืดที่มาจากด้านอุปสงค์ ซึ่งพบว่าในปัจจุบัน แม้ตัวเลขเงินเฟ้อของไทยในเดือนมกราคม 2552 จะมีตัวเลขติดลบเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 10 ปี โดยติดลบที่ร้อยละ 0.4 จากเดือนเดียวกันปีก่อน หรือแปลว่า ราคาสินค้าและบริการโดยเฉลี่ยลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.4 แต่เมื่อดูในรายละเอียดจะพบว่าเป็นผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลงมากเป็น สำคัญ โดยราคาน้ำมันเบนซิน 91 ที่เดือนมกราคม 2551 เฉลี่ยอยู่ที่ 31.88 บาทต่อลิตร แต่ปีนี้ลดลงถึงร้อยละ 31 มาอยู่ที่เฉลี่ย 21.99 บาทต่อลิตร นอกจากนี้ หากใครติดตามข่าวสารบ้านเมืองจะพบว่าเงินเฟ้อในเดือนมกราคม 2552 ยังได้รับผลจากมติของรัฐบาลชุดก่อนที่จะช่วยลดค่าครองชีพของประชาชน โดยการ ลดค่าไฟฟ้า ลดค่าน้ำประปา และยังให้ขึ้นรถเมล์ฟรีในกรุงเทพฯ รถไฟฟรีทั่วประเทศ ลดค่าน้ำมันจากการลดการเก็บภาษีสรรพสามิต หรือที่รู้จักกันในชื่อของ "6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน" ซึ่งมีผลมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2551 และปัจจุบันคณะรัฐมนตรียังมีมติต่ออายุไปอีก 6 เดือน ทำให้มาตรการนี้เปลี่ยนไปสิ้นสุดลงในเดือนกรกฎาคม 2552 แทน จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมอัตราเงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมารวมถึงเดือนปัจจุบันจึงลดลงและไปอยู่ในแดน ลบได้

ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่ติดลบทำให้มีหลายหน่วยงานเริ่มพูดถึงคำว่าภาวะเงิน ฝืดว่าอาจจะเกิดขึ้นในเศรษฐกิจไทย และเริ่มมีความกลัวว่าเศรษฐกิจตกอยู่ในภาวะเงินฝืด ซึ่งถามว่า ณ ปัจจุบันนี้ นอกจากตัวเลขเงินเฟ้อที่เป็นลบแล้ว ยังมีเงื่อนไขอื่น ๆ ที่ทำให้เราต้องกลัวภาวะเงินฝืดประเภทที่เป็นอันตรายต่อภาวะเศรษฐกิจหรือไม่ ก็พบว่า เศรษฐกิจยังไม่ถึงกับจะต้องกลัว เนื่องจากหากไม่รวมผลของราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างมากและรวดเร็ว และผลของ 6 มาตรการ 6 เดือนของภาครัฐ จะพบว่าราคาสินค้าและบริการอื่นๆ ดูจะไม่ได้ปรับลดลงแต่อย่างใด นอกจากนี้ คนยังไม่ได้คาดการณ์ว่าราคาข้าวของในพรุ่งนี้จะถูกกว่าวันนี้ แล้วเลื่อนการซื้อไปก่อนอีกด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่า เศรษฐกิจไทยน่าจะยังไม่ได้เข้าสู่ภาวะเงินฝืดประเภทที่เป็นอันตรายต่อ เศรษฐกิจไทย และไม่ใช่แค่เพียงตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของไทยที่มีลักษณะลดลงอย่างรวดเร็วแบบ นี้ ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของต่างประเทศก็มีลักษณะคล้าย ๆ กัน ด้วยเหตุนี้ จึงเริ่มทำให้มีนักเศรษฐศาสตร์ทั้งในและต่างประเทศได้ให้คำนิยามการติดลบของ เงินเฟ้อประเภทที่ราคาสินค้าในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งลดลงอย่างมากจนทำให้อัตรา เงินเฟ้อติดลบว่าควรจะเรียกเป็นภาวะ Disinflation เพราะภาวะการติดลบไม่ได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางกับทุกกลุ่มสินค้า โดยคาดหมายกันว่ายังไม่ถึงกับภาวะ Deflation โดยเห็นว่าเศรษฐกิจจะตกอยู่ในภาวะเงินฝืด หรือ Deflation ได้ก็ต่อเมื่อจะต้องเห็นว่าผู้คนเริ่มคาดการณ์ว่าราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ จะถูกลงเรื่อยๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อย่างไรก็ตาม การเกิดภาวะ เงินเฟ้อลดลงเรื่อย ๆ (Disinflation) นาน ๆ ไปก็ไม่ดีเช่นกัน เพราะอาจจะมีผลเปลี่ยนการคาดการณ์ของประชาชนและภาคธุรกิจได้ในที่สุด และอาจจะนำไปสู่ภาวะเงินฝืดประเภทที่น่ากลัวได้จริง ๆ และทำให้เศรษฐกิจตกต่ำได้จริง ๆ

เราจะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืดที่ส่งผลเสียต่อ เศรษฐกิจได้อย่างไร

เราสามารถหลีกเลี่ยง ไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืดได้โดยอาศัยการกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปแบบต่าง ๆ ของผู้ที่เกี่ยวข้องเช่น จากการใช้นโยบายการเงิน เช่น การลดอัตราดอกเบี้ย หรือการใช้นโยบายการคลัง เช่น การลดภาษี การใช้จ่ายของภาครัฐในโครงการต่าง ๆ เพื่อสร้างงานและการลงทุน ซึ่งเท่าที่ทราบ ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังก็ได้ ดำเนินไปในแนวทางที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืดในประเทศไทยอยู่แล้ว

ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจปี 2553

หากพิจารณาปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในปี 2553 เราจะพบว่า ปัจจัยบวกที่จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจในปี 2553 ได้แก่ เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้การส่งออกอาจกลับมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้มากขึ้นในปีข้างหน้า เห็นได้จากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในช่วงไตรมาสที่ 2 เทียบกับไตรมาสที่ 3 แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัว เศรษฐกิจสหรัฐ ขยายตัว ร้อยละ 0.9 (จากหดตัว ร้อยละ -0.2) ญี่ปุ่น ขยายตัว ร้อยละ 1.2 ซึ่งถือเป็นการขยายตัวที่ต่อเนื่องจากการขยายตัว ร้อยละ 0.6 ไตรมาสก่อน ส่วนจีนนั้นเศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างร้อนแรง โดยในไตรมาส 3 ปี 2552 ขยายตัวถึงร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

นโยบายภาครัฐสามารถช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ รัฐบาลตั้งงบเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2553 ไว้ในโครงการไทยเข้มแข็งถึง 3.5 แสนล้านบาท นอกจากนี้ยังมีโครงการอื่น เช่น โครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ที่อาจช่วยบรรเทาภาระหนี้ของประชาชนให้เบาลง ทำให้การบริโภคและการลงทุนปีหน้าอาจดีขึ้นบ้าง

ส่วนปัจจัยด้านลบที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ได้แก่

ปัญหามาบตาพุด แม้ว่าศาลปกครองจะอนุญาตให้ 11 โครงการ จาก 76 โครงการที่เคยถูกระงับไว้สามารถดำเนินการได้ แต่ปัญหายังคงมีตามมาอย่างต่อเนื่อง เช่น ปัญหาก๊าซรั่วที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานนี้ เป็นต้น ซึ่งเรื่องนี้จะกระทบต่อการลงทุนในปัจจุบันและความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ จะมาลงทุนในอนาคต

สถานการณ์ทางการเมืองยังคงไร้เสถียรภาพ รัฐบาลไม่ต้องการให้มีการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ จึงพยายามประคองสถานการณ์ ในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามพยายามดิ้นรนให้พ้นผิด จึงพยายามใช้วิธีการสร้างความแตกแยกในรัฐบาลและในประเทศ ทำให้รัฐบาลไม่สามารถขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจได้เต็มที่ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค นักลงทุนและนักท่องเที่ยวในปี 2553

อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้น เนื่องจาก ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยมีแนวโน้มเกินดุลจากการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีกว่า การนำเข้า ประกอบกับเงินทุนที่ไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่อง

ราคาน้ำมันในปี 2553 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจาก อุปสงค์ต่อน้ำมันจะเพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจที่คาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้นทั้ง เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ประกอบกับการอ่อนค่าลงของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนบางส่วนลดการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐและหันมาถือครองสินทรัพย์ อื่น เช่น ทองคำและน้ำมัน เพื่อการเก็งกำไรเพิ่มมากขึ้น

การคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจปี 2553

อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจาก เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวทำให้อุปสงค์ในการบริโภคสินค้าและบริการ เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ราคาสินค้าปรับตัวขึ้นตาม ประกอบกับต้นทุนการผลิต เช่น วัตถุดิบ และน้ำมันดิบที่ราคามีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นต้น

การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจาก มีทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่ส่งผลหักล้างกัน โดยปัจจัยบวกเห็นได้จากดัชนีด้านการบริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นและมีแนวโน้มที่ จะดีขึ้นอีก ทั้ง ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น หรือการจัดเก็บภาษีมูลค่าที่ขยายตัวขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้การว่างงานที่เริ่มลดลงและมาตรการช่วยเหลือของรัฐ เช่น การแก้หนี้นอกระบบ หรือ การประกันรายได้เกษตรกร เป็นต้น ที่ช่วยให้ประชาชนมีกำลังซื้อมากขึ้น ส่วนปัจจัยลบที่ทำให้การบริโภคไม่เพิ่มขึ้นมากนัก ได้แก่ แนวโน้มเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในความคิดของดิฉันคิดว่าปัจจัยบวกจะมีผลมากกว่า ซึ่งจะมีผลทำให้การบริโภคภาคเอกชนในปี 2553 ปรับตัวดีขึ้นจากปี 2552

การลงทุนภาคเอกชนจะไม่เพิ่มขึ้นมากนัก เพราะแม้เศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นและแรงมีผลักจากนโยบายของรัฐบาลใน โครงการไทยเข้มแข็ง แต่ยังมีปัจจัยด้านลบที่กระทบต่อการลงทุน นั่นคือ ปัจจัยทางการเมือง แนวโน้มราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและปัญหามาบตาพุดที่ยังคงต้องรับการแก้ไข

การส่งออกขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ค่อยฟื้นตัวขึ้น แม้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะแข็งค่าขึ้น แต่เป็นการแข็งค่าขึ้นที่เกาะกลุ่มกับภูมิภาค จึงไม่กระทบการส่งออกมากนัก

เศรษฐกิจปี 2553 จะปรับตัวดีขึ้นจากปี 2552 เนื่องจาก การบริโภคภาคเอกชนที่ฟื้นตัวขึ้นจากการที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นจากวิกฤติเมื่อ ปีที่ผ่านมา ประกอบกับการส่งออกที่ดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แม้ว่าอาจมีปัจจัยเรื่องการเมือง รวมทั้งภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นและค่าเงิน บาทที่แข็งค่าขึ้นมาฉุดการบริโภคและการส่งออกบ้างก็ตาม

สรุปและข้อเสนอแนะการจัดการเศรษฐกิจปี 2553

ในระยะสั้น ภาครัฐควรมีมาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการ ในการลดต้นทุนการผลิตที่อาจเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่อาจเพิ่มขึ้น เช่น การสนับสนุนการนำเข้าเครื่องจักรใหม่เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต หรือการผลักดันโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ จำเป็น เช่น ระบบขนส่งมวลชน ระบบน้ำ ระบบโลจิสติกส์ เป็นต้น เนื่องจากการก่อสร้างโครงการเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดการบริโภคและการจ้าง งานอย่างต่อเนื่องด้วย

นอกจากนี้ยังควรร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยในการดูแลค่าเงินบาท เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการส่งออกต้องได้รับผลกระทบมากนัก เช่น การพิจารณากำหนดมาตรการควบคุมการไหลเข้าของเงินลงทุนระยะสั้นอย่างเจาะจงและ มีประสิทธิภาพ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนในภาพรวม เป็นต้น

ในระยะยาว ประเด็นที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญ คือ การพัฒนาพลังงานทดแทน ไม่ว่าจะเป็นไบโอดีเซลหรือก๊าซโซฮอล์เพื่อทดแทนการนำเข้าพลังงานโดยเฉพาะ น้ำมัน ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าทุกครั้งที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นนั้น จะส่งกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมาก นอกจากเรื่องนี้แล้วยังมีเรื่องอื่นๆ อีก เช่น การพัฒนาฝีมือแรงงาน การพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต การพัฒนาระบบสถาบันการเงินและตลาดทุน ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น และมีความสามารถในการปรับตัวต่อความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ดียิ่งขึ้น

วัชรี ปรัชญานุสรณ์

Bond

พันธบัตร ,ตราสารหนี้

ตราสารทางการเงินที่ออกโดยรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน หรือองค์กรระหว่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่น โดยวิธีนำตราสารดังกล่าวออกขาย ผู้ออกพันธบัตรนั้นสัญญาว่าจะจ่ายเงินกลับคืนพร้อมดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือเมื่อถึงกำหนด พันธบัตรเป็นตราสารที่สามารถโอนหรือเปลี่ยนมือกันได้ พันธบัตรที่ออกโดยเอกชนนิยมเรียกว่า หุ้นกู้ ซึ่งหุ้นกู้บางประเภทสามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ในภายหลัง ตามเงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้

สถานที่หรือช่องทางในการตกลงซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนพันธบัตร(Bond market) อาจจะมีการ ตกลงซื้อขายพันธบัตรนั้นเฉพาะภายในประเทศโดยผ่านตัวแทนนายหน้า(โบรกเกอร์) ที่ทำหน้าที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หรืออาจมีการซื้อขายกันระหว่างประเทศตลาดพันธบัตรระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียงคือ ตลาดพันธบัตรยูโร(Euro bond)

ผลตอบแทนที่ผู้ถือพันธบัตรจะได้รับจากพันธบัตร(Bond yield) อาจจะอยู่ในรูปของอัตราดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนด หรือผลตอบแทนจากส่วนต่างระหว่างราคาซื้อและราคาขายในกรณีที่ผู้ถือขายพันธบัตรให้แก่บุคคลอื่น ผลตอบแทนส่วนหลังนี้เรียกว่า ผลกำไรจากมูลค่าทุน

Government bond

พันธบัตรรัฐบาล

หมายถึงหลักทรัพย์หรือตราสารหนี้ที่รัฐบาลสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกู้ยืมเงินในระยะยาว โดยขายให้แก่เอกชนทั้งภายในและต่างประเทศ ในพันธบัตรจะระบุผลตอบแทน(ดอกเบี้ย) และระยะเวลาในการชำระคืนเอาไว้ วิธีการนี้เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของรัฐบาลโดยธนาคารกลางสำหรับควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ เพราะ การซื้อขายพันธบัตรของรัฐบาลจะมีผลต่อการขยายตัว หรือหดตัวของปริมาณเงิน ถ้าต้องการให้ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น ธนาคารกลางจะซื้อคืนหลักทรัพย์หรือพันธบัตร ทำให้เงินกลับไปสู่มือของภาคเอกชน ปริมาณเงินที่ใช้จ่ายหมุนเวียนในมือของเอกชนเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าต้องกาลดปริมาณเงิน ธนาคารกลางจะนำหลักทรัพย์หรือพันธบัตรออกขาย เมื่อภาคเอกชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์หรือพันธบัตร จะทำให้ปริมาณเงินที่จะนำมาใช้จ่ายหมุนเวียนมีน้อยลง

ประเทศไทยมีการออกพันธบัตรรัฐบาลครั้งแรกในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อเป็นการระดมเงินภายในประเทศมาฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังตกต่ำในขณะนั้น พันธบัตรดังกล่าวใช้ชื่อว่า “บัตรช่วยชาติ”

ไพบูลย์ ปรัชญานุสรณ์

Market

ตลาด

ในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง บริบทใดๆ ที่มีการตกลงซื้อขายสินค้าหรือบริการเกิดขึ้นตามความหมายนี้ถือเอาการเกิดขึ้นของการซื้อขายเป็นสำคัญ ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีแหล่งที่ตั้งหรืออาณาเขตแน่นอนตายตัวเสมอไป และไม่จำเป็นว่าผู้ซื้อกับผู้ขายจะต้องมาพบปะกันโดยตรง การตกลงซื้อขายอาจกระทำได้โดยมีการติดต่อกันทางเครื่องมือสื่อสารก็ได้ อย่างไรก็ตาม คำว่าตลาดอาจจะใช้ในความหมายแคบที่หมายถึงสถานที่หรือศูนย์กลางสำหรับการซื้อขายสินค้าหรือบริการบางชนิด ก็ได้ เช่น ตลาดกลางยางพารา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลาดหุ้นวอลล์สตรีท เป็นต้น การแบ่งประเภทของตลาดในทางเศรษฐศาสตร์แบ่งตามระดับของการแข่งขัน โดยพิจารณาตามโครงสร้างของผู้ซื้อผู้ขาย ได้แก่ จำนวนผู้ผลิตหรือความสามารถของสินค้าที่จะใช้ทดแทนกัน ความสามารถในการข้าวของผู้แข่งขัน ของผู้ผลิตรายใหม่ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น

1.ตลาดแข่งขันสมบูรณ์(PERFECT MARKET)

ซึ่งเป็นพฤติกรรมการแข่งขันในตลาดที่มีลักษณะดังนี้

-มีหน่วยผลิตหรือผู้ขายรายเล็กๆ จำนวนมากจนกระทั่งไม่มีรายใดมีอิทธิพลต่อการกำหนดปริมาณและราคาสินค้าหรือบริการในตลาด เช่น ร้านอาหารหรือร้านค้าประเภทหาบเร่แผงลอย โดยทั่วไป

-สินค้าหรือบริการของผู้ผลิตแต่ละรายมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ จึงสามารถทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ เช่น เครื่องใช้อุปโภคในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ผงซักฟอก สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม เป็นต้น

-การเข้าและออกจากตลาดของผู้ผลิตแต่ละรายเป็นไปอย่างเสรี ไม่มีอุปสรรคหรือการกีดกัน ได้แก่สินค้าที่สามารถใช้กับบุคคลโดยทั่วไป ไม่เป็นสิ่งต้องห้ามโดยกฎหมาย

-มีการเคลื่อนย้ายทรัพยากรการผลิตและสินค้าได้อย่างเสรีและรวดเร็ว มีเทคโนโลยีในการผลิตที่ไม่สูง และใช้แรงงานพื้นฐานการผลิต ไม่ต้องใช้แรงงานที่ชำนาญเป็นพิเศษ

-ผู้ซื้อและผู้ขายมีความรอบรู้เกี่ยวกับข้อมูลอย่างสมบูรณ์ สินค้าไม่มีความยุ่งยาก ซับซ้อนในการบริโภค

2.ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (IMPERFECT MARKET)

ตลาดที่ไม่มีความสมบูรณ์ทำให้กลไกขอตลาดดังกล่าวไม่สามารถชักนำให้เกิดการผลิตและการแลกเปลี่ยนที่มีประสิทธิภาพ ความไม่สมบูรณ์ของตลาดอาจเกิดจากตลาดนั้นมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้

-มีผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน ผู้ขายหรือผู้ซื้อมีจำนวนน้อย

-มีอุปสรรคในการเข้าและออกจากตลาด

-ผู้ซื้อ/ผู้ขายมีสารสนเทศไม่สมบูรณ์

-สินค้าเคลื่อนย้ายไม่สะดวกและมีต้นทุนธุรกรรมสูง

-ผู้บริโภคไม่ได้แสวงหาความพอใจสูงสุด และ/หรือ ผู้ผลิตไม่แสวงหากำไรสูงสุด

-มีการสมรู้ร่วมคิดกันระหว่างผู้ผลิตหรือผู้บริโภค หากตลาดสินค้าหรือบริการชนิดใดมีลักษณะข้างต้นนี้ในระดับที่มากเท่าใด จะทำให้ตลาดยิ่งไม่สมบูรณ์มากเท่านั้น

ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ ได้แก่

2.1ตลาดผู้ขายผูกขาด(MONOPOLY) เป็นสถานการณ์ที่ตลาดสินค้าและบริการหรือปัจจัยการผลิตชนิดหนึ่งๆ มีผู้ผลิตหรือผู้ขายเพียงรายเดียวเท่านั้น ในขณะที่ผู้ซื้อจะไม่สามารถหาสินค้าอื่นมาทดแทนสินค้าของผู้ผูกขาดได้เลย ในขณะเดียวกัน ผู้ผลิตอื่นจะไม่สามารถเข้ามาผลิตเพื่อแข่งขันได้ เพราะจะถูกกีดกันหรือมีอุปสรรคต่อการเข้าสู่ตลาดผู้ผูกขาดอย่างสมบูรณ์จะมีอำนาจในการกำหนดราคาสินค้าหรือปริมาณสินค้าในตลาดอย่างใดอย่างหนึ่งได้อย่างเต็มที่แต่จะกำหนดทั้งสองอย่างพร้อมๆ กันไม่ได้ ในความหมายกว้าง หมายถึง การที่ผู้ผลิตหรือกลุ่มผู้ผลิตในตลาดสินค้าหรือบริการ มีอำนาจในการกำหนดราคมหรือปริมาณของสินค้าอยู่บ้างไม่มากก็น้อย

2.2ตลาดผู้ซื้อผูกขาด(MONOPSONY) หมายถึงตลาดสินค้าหรือปัจจัยการผลิตที่มีผู้ซื้อเพียงรายเดียว เช่น โรงงานยาสูบเป็นผู้ซื้อใบยาสูบเพียงรายเดียวในประเทศ เป็นต้น ในความหมายกว้าง หมายถึง สถานการณ์ที่เจ้าของปัจจัยการผลิตไม่ค่อยมีทางเลือกในการขายปัจจัยการผลิตของตนมากนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้ขายปัจจัยการผลิตไม่มีข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งขายหรืออาจเป็นเพราะในตลาดนั้นมีผู้ซื้อเพียงไม่กี่รายในสถานการณ์ที่ผู้ซื้อมีอำนาจผูกขาดในการซื้อ

2.3ตลาดแข่งขันกึ่งผูกขาด (MONOPOLISTIC COMPETITION) ตลาดสินค้าหรือบริการชนิดหนึ่งชนิดใดที่มีทั้งลักษณะของการแข่งขันและการผูกขาดปรากฏอยู่ลักษณะที่ส่อแสดงถึงการแข่งขัน ได้แก่ การมีผู้ผลิตเป็นจำนวนมากและเข้าออกจากตลาดได้ง่าย ส่วนลักษณะที่แสดงถึงการผูกขาดที่มีอยู่บ้างก็คือ สินค้าของผู้ผลิตแต่ละรายมีความแตกต่างกัน อย่างน้อยที่สุดก็แตกต่างกันในความรู้สึกของผู้บริโภค ดังนั้น จึงทำให้ผู้บริโภคบางรายมีความนิยม ชมชอบสินค้าของผู้ผลิตรายหนึ่งรายใดเป็นพิเศษ ทำให้ผู้ผลิตรายนั้นมีอำนาจในการกำหนดราคาสินค้าได้ในระดับหนึ่ง ตัวอย่างของสินค้าและบริการที่จัดอยู่ในตลาดประเภทนี้ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า เครื่องเรือน สำนักงานทนายความ ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย เป็นต้น

2.4ตลาดผู้ขายน้อยราย(OLIGOPOLY) ตลาดผู้ขายน้อยรายมีลักษณะที่สำคัญดังนี้

-มีจำนวนผู้ผลิตเพียงไม่กี่ราย โดยที่สินค้าหรือบริการของผู้ผลิตแต่ละรายมีสัดส่วนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับปริมาณทั้งหมดในตลาด ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการผลิ-ตและการขายของผู้ผลิตรายหนึ่งๆ จะกระทบกระเทือนต่อผู้ผลิตรายอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด

-สินค้าหรือบริการของผู้ผลิตแต่ละรายอาจมีลักษณะเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้ แต่ก็สามารถใช้ทดแทนกันได้

-ผู้ผลิตรายใหม่อาจถูกกีดกันหรือมีอุปสรรคต่อการเข้าสู่ตลาด ตัวอย่างของสินค้าหรือบริการที่จัดว่าเป็นตลาดผู้ขายน้อยรายได้แก่ ปูนซีเมนต์ น้ำมัน รถยนต์ เบียร์ ธนาคารพาณิชย์ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น หากมีการแข่งขันในตลาดประเภทนี้ก็มักจะเป็นการแข่งขันที่ไม่ใช้ราคา แต่ก็มีหลายกรณีที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายแต่ละรายร่วมมือกัน เพื่อร่วมกันกำหนดราคาหรือปริมาณสินค้าในตลาด

2.5 ตลาดผู้ซื้อน้อยราย (OLIGOSONY) ตลาดสินค้าและบริการหรือปัจจัยการผลิตที่มีผู้ซื้อเพียงไม่กี่ราย ในกรณีนี้ผู้ซื้อจะมีอำนาจในการกำหนดราคาสินค้าหรือปัจจัยการผลิตในระดับหนึ่ง ตลาดที่มีลักษณะเช่นนี้คล้ายกับตลาดผู้ขายน้อยราย เพียงแต่ในที่นี้แทนที่จะเป็นผู้ขายกลับเป็นผู้ซื้อ พฤติกรรมของผู้ซื้อจึงอาจจะมีทั้งการแข่งขันกันและร่วมมือก้น ตัวอย่างของผู้ซื้อน้อยราย ได้แก่ โรงงานปลาป่นที่รับซื้อปลาจากชาวประมง โรงสีที่รับซื้อข้าวจากขาวนา โรงงานผลิตยางแท่งที่รับซื้อยางแผ่นจากชาวสวนยาง เป็นต้น

  หลักเศรษฐศาสตร์ได้ให้ความหมายของแต่ละประเภทตามที่ได้เลือกหัวข้อพอสรุปเป็นสังเขปในความเข้าใจดังนี้

  1. ภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืด

    • เงินเฟ้อ เป็นภาวะทางเศรษฐกิจที่ระดับราคาและบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วผิดปกติหรือเป็นภาวะที่ค่าหน่วยเงินตราลดลงไปเรื่อยๆเป็นเหตุให้เงินจำนวนกันนี้ ไม่สามารถจะซื้อสินค้าและบริการจำนวนเดียวกันได้ เมื่อเวลาล่วงเลยไป กล่าวอีกนัยได้ว่า ปริมาณเงินมากกว่าปริมาณสินค้า

    • เงินฝืด หมายถึง ภาวะที่ระดับสินค้าและบริการลดลงเรื่อยๆแม้สินค้าจะมีราคาถูก แต่ก็ขายไม่ออก เพราะประชาชนยากจนไม่มีเงินซื้อ เมื่อเกิดภาวะนี้ จะไม่มีใครอยากลงทุน ลงทุนแล้วสิ้นค้าจะขายไม่ได้ กรรมกรจะว่างงานจำนวนมาก

  2.  การลงทุน การผลิต และการบริโภคสินค้า 
  • การลงทุน คือ การใช้สอยทรัพยากรในลักษณะต่างๆ โดยหวังจะได้รับผลตอบแทนกลับมามากกว่าที่ลงทุนไปในอัตราที่พอใจ ภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสม โดยทั่วไปหมายถึงการใช้เงินลงทุน เช่น การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ การลงทุนในบ้านและที่ดิน การลงทุนทองคำฯ

  • การผลิต หมายถึง การจัดทำ การประกอบ หรือการสร้างขึ้นมาซึ่งสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ โดยผ่านกระบวนการแปรสภาพจากวัตถุดิบ

  • การบริโภค เมื่อกล่าวขึ้นมาลอยๆ อาจหมายถึง การรับประทานอาหาร แท้จริงแล้ว การบริโภคนั้นหมายความว่า การใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเอง โดยที่มีสิ่งนั้นอยู่ จะเสื่อมสภาพ เรื่อยหรอ หรือหมดไปในชั่วระยะเวลาหนึ่ง และอาจจะต้องหาสิ่งใหม่มาเพิ่มเติมเมื่อต้องการใช้อีก

   3. เสถียรภาพ ดัชนีราคาสินค้า

  •          การดูแลให้ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพด้านราคา ซึ่งหมายถึง การมีอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับ ต่ำและไม่ผันผวน (Low and stable inflation) ซึ่งจะช่วยเอื้อต่อการตัดสินใจและวางแผนการบริโภค การผลิต การออมและการลงทุนของภาคเอกชน และช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการจ้างงานอย่างยั่งยืนในระยะยาว

   4. นโยบายการเงิน

  •       นโยบายการเงิน (Monetary Policy) คือ นโยบายที่ธนาคารกลางใช้สำหรับควบคุมปริมาณเงิน ละต้นทุนของเงิน (ดอกเบี้ย) ที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้เพื่อให้เศรษฐกิจ ทั้งนี้เพื่อให่เศรษฐกิจมีเสถียรภาพและมีการเจริญเติบโตในทิศทางที่ต้องการ ส่วนใหญ่จะใช้นโยบายนี้รวมกับนโยบายการคลังของรัฐบาล

  5.   นโยบายการคลัง

  •           นโยบาย (Fiscal Policy) คือ นโยบายที่จะเกี่ยวกับการตัดสินใจของรํฐบาลทางด้านการใช้จ่ายเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ เช่น การเพิ่มหรือลดภาษีและหนี้สิน การตัดสินใจของรัฐ เกี่ยวกับเรื่องต่างๆดังกล่าว จะก่อให่เกิดผลกระทบต่อระดับอุปสงค์รวม เช่นระดับราคาสินค้า อัตราดอกเบี้ย ระดับรายได้ประชาชาติ ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ประชาชาติ ดุลการชำระเงินและอัตราแลกเปลี่ยน

     6. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

  •   ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีนิยม (Capitalism or Liaises-fair) ระบบเศรษฐกิจนี้เป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้เสรีภาพแก่เอกชนในการเลือกดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจแต่ทว่า เสรีภาพดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย

  7.   ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

  • ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialism) ระบบเศรษฐกิจแบบนี้เป็นระบบที่ใกล้เคียงกับระบบคอมมิวนิสต์ ภายใต้ระบบนี้รัฐจะเป็นผู้ครอบครองทรัพยากรพื้นฐานไว้เกือบหมด แต่อย่างไรก็ตาม รัฐยังให้เสรีภาพแก่ประชาชนบ้างพอสมควร เอกชนมีเสรีภาพและกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ระบบกลไกราคามีผลอยู่บ้างในระบบเศรษฐกิจนี้

 8.  การเงินการธนาคาร 

  • เงิน คือ สิ่งที่ทุกคนในสังคมเดียวกันยอมรับให้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนในการใช้ชำระหนี้ตามกฎหมายและมีค่าค่อนข้างคงที่

  • ธนาคาร เป็นสถาบันการเงินที่ทำหน้าที่ระดมเงินฝาก และให้บุคคลหรือหน่วยธุรกิจกู้ยืมและให้บริการต่างๆซึ่งำนวยความสะดวกให้ธุรกิจ

9. การคลังรัฐบาล

  •   การคลังรัฐบาล (Public Finance) หมายถึง การคลังในส่วนรัฐบาล หรือการคลังในกิจกรรมที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ การคลังภาครัฐหรือการคลังของรํฐบาลเป็นเรื่องเกี่ยวกับกิจกรรมทางการคลัง การเงินต่างๆ ของรัฐบาลที่ถือเป็นหน่วยที่สำคัญหน่วยหนึ่งของระบบสังคม เนื่องจากผลผูกพันและกระทบไม่เฉพาะชีวิตความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังมักจะส่งผลกระทบและผูกพันถึงคนในอนาคตหรือยุคต่อไปด้วย

  10.  ดัชนีราคาผู้บริโภค

  •   ดัชชนีราคาผู้บริโภค(Consumer Price Index: PCI) หมายถึง ตัวเลขทางสถิติที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการที่ครอบครัวหรือผู้บริโภคซื้อหามาบริโภคเป็นประจำในปัจจุบันเปรียบเทียบกับราคาในปีที่กำหนดไว้ในปีฐาน

 

สรุปประเด็นการบรรยายของท่าน รศ ดร อัษฎางค์

จากการฟังบรรยายของท่าน ดร อัษฎางค์ท่านป็นคนพูดตรงไปตรงมาเปิดเผยและเข้าใจง่ายโดยเฉพาะเรื่องที่ท่านได้

เสนอแนวทางออกของการพัฒนาประเทศด้านการสื่อสารและเสนอให้สื่อมวลชนเสนอข่าวที่เป็นกลางอย่างตรงไปตรงมา

และทางด้านการเมืองท่านเน้นให้นักการเมืองมีคุณธรรม จริยธรรม ไม่มุ่งหาผลประโยชน์ใส่ตนเอง สอนให้นักการเมืองท้องถิ่น

อย่าคอรัปชั่น ต้องเป็นคนมีจิตสาธารณะ

วัชรี ปรัชญานุสรณ์

แนวคิดต่อยอดจากการบรรยายของ อ.อัษฎางค์

เรื่อง “ผลกระทบด้านปัจจัยการเมืองปัจจุบันต่อนวัตกรรมการสื่อสาร”

ในการบรรยายของ อ.อัษฎางค์ นั้น ท่านได้กล่าวถึงปัญหาของสังคมไทยที่มีมาเป็นเวลานาน และพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ ได้แก่ปัญหา

-การขาดความเป็นธรรมในสังคม คนที่มีโอกาสมักจะเอาเปรียบคนที่ด้อยโอกาสกว่า

-ปัญหาการ CORRUPTION ซึ่งคนที่มีโอกาสกว่าก็จะ CORRUPTION ได้มากกว่าและแนบเนียนกว่าจนเอาผิดได้ยาก

-ปัญหาทางการศึกษา เป็นการขาดแคลนทางการศึกษาแบบครบวงจร ทั้งบุคลากรที่ขาดคุณภาพ อุปกรณ์การศึกษาที่ขาดแคลน และขาดปัจจัยเสริมทางการศึกษา เช่น อาหารกลางวันเด็ก เป็นต้น

-ปัญหาทางเกษตรกร เป็นปัญหาของคนส่วนใหญ่ในประเทศ มีปัญหาทั้งต้นทุนหรือเงินทุน ได้แก่ ที่ดิน ปุ๋ย น้ำ ยาฆ่าแมลง ผลผลิตต่ำจากการขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสมและราคาพืชผลตกต่ำ ไม่แน่นอน เป็นวัฏจักรกันมาเป็นเวลานาน

ปัญหาเหล่านี้ค่อยๆ สะสมเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ เหมือนดินพอกหางหมู สื่อมวลชนไม่ให้ความสนใจ ทำหน้าที่ของผู้บอกเหตุ หรือเตือนภัยแก่สังคมเลย ปล่อยให้ปัญหาลุกลาม บานปลาย เพราะคำนึงถึงความอยู่รอดของตนเอง จึงควรที่ประชาชนที่มีความตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ได้รวมตัวเรียกร้องให้สื่อหันมาสนใจนำเสนอปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจัง และต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ที่รับผิดชอบในการบริหารงานประเทศที่เกี่ยวข้องได้เกิดความรู้สึกตระหนักถึงปัญหา และมุ่งมั่นในการแก้ปัญหามากยิ่งขึ้น

สำหรับสื่อทางเลือก ที่เป็นนักวิชาการ ก็ควรที่จะนำเสนอความคิดหรือแนวคิดในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น มากกว่าการวิจารณ์ปัญหาเหล่านั้น และเผยแพร่แนวคิดเหล่านั้นอย่างเต็มความสามารถให้สมกับเป็นผู้มีปัญญาที่แท้จริง และทางภาครัฐก็จะต้องถือว่า แนวคิดของนักวิชาการในเชิงสร้างสรรเหล่านั้นสมควรได้รับการสนับสนุนให้เผยแพร่เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีความรู้และเกิดความร่วมมือในการช่วยกันแก้ไขปัญหาเหล่านั้นเพื่อให้ปัญหาเหล่านั้นได้รับการแก้ไข และส่งผลให้ประเทศได้พัฒนาและก้าวหน้าไปในแนวทางที่คนส่วนใหญ่ของประเทศต้องการ

ไพบูลย์ ปรัชญานุสรณ์

แนวคิดต่อยอดจากการบรรยายของ อ.อัษฎางค์

เรื่อง “ผลกระทบด้านปัจจัยการเมืองปัจจุบันต่อนวัตกรรมการสื่อสาร”

เนื้อหาการบรรยายของท่านอาจารย์อัษฎางค์ ได้กล่าวถึงสภาพการเมืองของไทย ส่งผลให้เกิดปัญหาสะสมในหลายด้านคือ

-ด้านความเป็นธรรมในสังคม ผู้มีโอกาสที่ดีกว่า โดยเฉพาะนักการเมืองจะฉวยโอกาสเอาเปรียบบุคคลในอาชีพอื่นๆ

-ปัญหาการ CORRUPTION มีการ CORRUPTION ทุกระดับของพนักงานของรัฐ โดยมีนักการเมืองเป็นผู้สนับสนุนไม่ทางตรงก็ทางอ้อม

-ปัญหาด้านการศึกษา ขาดการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและวิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษา การใช้งบประมาณไม่เหมาะสม มุ่งผลประโยชน์ทางการเมืองของนักการเมืองผู้มีอำนาจ

-ปัญหารด้านเกษตรกร มีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไม่ครอบคลุมครบวงจร แก้แต่ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น ภัยแล้ง ปุ๋ยราคาแพง เกษตรกรตกต่ำ และปัญหาที่ดินทำกิน เพื่อรักษาฐานเสียงในการเลือกตั้งมากกว่าการแก้ไขที่ยั่งยืน รวมทั้งการใช้งบประมาณโดยมุ่งการหาเสียงมากกว่าการแก้ปัญหาที่แท้จริง

และที่เป็นปัญหาที่เรื้อรังมาเป็นเวลานานก็เพราะขาดการตรวจสอบนักการเมือง และผู้ที่มีอำนาจในการบริหารประเทศ ถึงแม้จะมีองค์กรอิสระหลายองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบตั้งแต่การเข้ามาทำหน้าที่ของนักการเมือง โดยคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) การตรวจสอบโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของนักการเมือง(ปปช.) แต่ก็ยังไม่เพียงพอ และไม่ได้ผลเท่าที่ควร สื่อมวลชนซึ่งเป็นสถาบันที่อยู่ระหว่างนักการเมืองและประชาชน จำเป็นจะต้องมีบทบาทมากกว่าการนำเสนอข่าวโดยทั่วไป แต่ควรจะทำหน้าที่การนำเสนอข่าวสารในเชิงเฝ้าระวังและตรวจสอบความประพฤติของนักการเมืองและผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศพร้อมไปด้วย เพื่อให้นักการเมืองระมัดระวังในความประพฤติและสำนึกถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากประชาชนอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งนักวิชาการที่มีความคู้ในด้านต่างๆ ไม่ว่า สังคม เศรษฐกิจและการเมือง ก็ควรจะเป็นสื่อทางเลือกเพื่อนำเสนอแนวคิดที่สร้างสรรและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ รวมทั้งเป็นผู้นำทางความคิดที่ถูกต้องแก่ประชาชนทุกภาคส่วนของประเทศ และทางผู้บริหารของประเทศเองก็ต้องให้ความสำคัญในการเผยแพร่ แนวคิดที่ถูกต้องเหล่านี้ ให้แพร่หลายออกไปให้มากที่สุด เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมและประเทศชาติ

รศ ดร อัษฎางค์ บรรยาย แทน ( Prof Atsadang lecture instead.)

โดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ (By Prof. Dr. Jhira Hong Lada Rom)

 เรื่องสื่อสารการเมือง On political communication. และ

การปกครองของประเทศไทย Government of Thailand

(นวัตกรรมการสื่อสาร) (Innovative Communications).

= สื่อไทยไม่สามารถเปิดเผยความจริงได้ทั้งหมด Thai media not to reveal the truth.

= ประเทศไทยมีการปกครองที่เสรีย์มากเกินไปหรือไม่ Thailand's government to free Way too much.

= การเมืองการปกครองมีอยู่สามส่วน Politics has three parts.

1 นักการเมืองถูกเลือกมาให้รับใช้ประชาชนในประเทศ สื่อมีอิธิพนธ์สามารถตรวจสอบนักการเมือง ให้นักการเมืองปฏิบัติให้ถูกต้องได้ แต่ในปัจจุบรร อำนาจและผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายเกื้อกูลกัน จึงไม่สามารถแก้ปัญหาได้

1 is a politician to the people in the country. Impact Media Works has Phon ธ์ check politician The politicians perform correctly. But its currentoPower and interests of both aid each other. Can not solve the problem.

2 ข้าราชการ ต้องถอนทุนเนื่องจาก ที่มาของการเข้ารับตำแห่นงต้องเสียค่าหัว ประเทศ แย่ รวมถึงนักการเมือง โกงแผ่นดิน

2 officers due to capital retirement. Source of taking positions of poor countries lose ค่าหัว including politicians cheat the earth.

3 ประชาชนบางส่วน ไม่เข้าใจการเมืองและบางส่วนให้ความร่วมมือเพราะผลประโยชย์

3 people some Some do not understand politics and to cooperate because the benefits Bay.

นาย วิรัช จินดากวี

ฟังรายการ ไทยมุง โดยพิธีกร ทีวีไทยทีพืเอส ดำเนินรายการ แขกรับเชิญมี2ท่าน

1ศ ดร จีระ หงส์ลดารมภ์ 2 รศ ธงทอง จันทรางศุ

(การปฏิรูปการศึกษา พัฒนาการเรียนรู้เด็กไทย)

work shop การสื่อสารมีผลกระทบอะไรกับการศึกษา

หลังจากดูรายการแล้วผมในฐานะที่เป็นสื่อทางเลือกผมจะสื่อสารไปยังผู้ปกครองนักเรียนในอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

ว่าการสอนคนจากครู อาจารย์ มี2ชนิดคือ1สอนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม หรือ2 สอนให้เรียนเก่ง ผมก็จะเลือกให้ครู อาจารย์

สอนนักเรียนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม ไม่จำเป็นต้องเป็นคนเรียนเก่ง การเป็นคนดีต้องมาก่อน คนเก่งต้องมาทีหลัง (เรียนรู้ชีวิต)

การศึกษาเป็นเรื่องที่ต้องทำตลอดชีวิต การศึกษาไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเรียน

การปฏิรูปการศึกษา พลังของการศึกษาในยุคนิ้ ไม่ใช่ทำอยู่แค่กระทรวงศึกษาธิการ แต่ต้องมีกระทรวงอื่นๆช่วยทำ

ต้องให้ความรู้ เกษตรกร สอนผู้นำชาวนา รับฟังเสียงจากผู้นำท้องถิ่น สร้างสังคมการเรียนรู้ ให้มีพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง

ต้องการคนดี มีคุณภาพ เป็นเป้าหมายปลายทาง

สื่อไปยังผู้ปกครองว่าเด็กต้องเรียนด้วย เล่นด้วย การเรียนของเด็กจะแผ้วตอนตั้งแต่ประถมถึงมัธยม

การสื่อสารตรงถึงผู้ปกครองนักเรียนจะเกิดประสิทธิผลโดยตรงเพราะผู้ปกครองบางท่านละเลย หลงลืมการดูแลนักเรียน นึกว่าเป็น

หน้าที่ของครู อาจาราย์ฝ่ายเดียว

นาย วิรัช จินดากวี นักศึกษาปริญญาเอก นิเทศศาสตร์นวัตกรรม มหาวิทยาลัยเกริก

การบ้านประจำวันเสาร์ที่ 3 เมษายน 53 ให้ทำเป็นงานเดี่ยว

ส่งทาง Blog

หลังจากดูรายการไทยมุงแล้วคิดอย่างไรในฐานะที่เราเป็นสื่อทางเลือก เราจะสื่อเรื่องการศึกษาในอนาคตของไทยอย่างไรและไปที่ใคร เช่นนักเรียน ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา

ส่งเป็น paper

นวัตกรรมการสื่อสารมีความสำคัญอย่างไรในการขับเคลื่อนปัจจัยด้านการเมือง การศึกษา การท่องเที่ยว ให้อธิบาย และยกตัวอย่างกรณีศึกษาโดยเน้นที่ตัวละครที่มีความสำคัญในการเป็นผู้ส่งสื่อเเละผู้รับสื่อ วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารไปยังตัวละครที่เป็นกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ และผลที่ได้หลังจากผ่านกระบวนการการสื่อสารเเล้วเป็นอย่างไร ในการยกตัวอย่างนั้นให้เน้นหลักทฤษฎี 2'Rs คือตรงประเด็นและเน้ความเป็นจริง

นายวุฒิวิทย์ ก่าแก้ว

การปฎิรูปการศึกษาถือได้ว่าเป็นภารกิจสำคัญอันหนึ่งของรัฐบาล เพราะการศึกษาคือรากฐานแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาประเทศให้เทียบเท่าอนารยะประเทศอย่างภาคภูมิใจ

ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าการพัฒนาด้านการศึกษาของรัฐนั้นยังไม่เป็นที่จริงจังสักเท่าใดนั้น การเปลี่ยนผู้บริหารประเทศจึงเป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้นโยบายแตกต่างและข้าราชการประจำจะต้องปรับการปฎิรูปตามนโยบายของรัฐบาล

ในฐานะสื่อทางเลือก กระทรวงศึกษาธิการเองจึงจำเป็นต้องสื่อให้ภาคประชาชนให้รู้ข้อมูลข่าวสารด้านการศึกษาอย่างแท้จริง สร้างให้ประชาชน เยาวชน ช่วยกันบ้าครั่งเรื่องการศึกษา ต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าในถึงความสำคัญทางการศึกษาแต่ต้องอธิบายให้เห็นว่าการศึกษานั้นไม่ได้มุ่งแต่เพียงเข้าโรงเรียน นั่งเรียนในห้องเรียน ให้ประชาชนเข้าในในบทบาท สามารถสร้างชุมชนในท้องถิ่นให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ปราช์ญชาวบ้าน วิถีชาวบ้าน คือแกร่นแท้แห่งการเรียนรู้ เมื่อรู้แล้วว่าแกร่นแท้เป็นอย่างไร การปฎิบัติตามท้องวิถีเป็นอย่างไร กระทรวงเองก็ค่อยๆให้หลักวิชาการเข้าไป เมื่อชุมชนมีบรรยากาศแห่งการเรียนรู้แล้ว ก็ต้องให้โอกาสที่จะให้เขาเหล่านั้นแสดงความสามารถออกมาเพื่อจะได้นำไปสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพต่อไป

นางโสภิต พิสิษฐบรรณากร

นางโสภิต พิสิษฐบรรณกร

หลังจากที่ได้ชมเทปบันทึกรายการไทยมุง ทาง tpbs แล้วจะเห็นได้ว่าหาเราเป้นสื่อทางเลือก แล้วสิ่งสำคัยประการหนึ่งที่เราจะต้องสื่อไปให้เขาเข้าใจในเรื่องของการศึกษานั้นก็ควรสื่อให้กับประชาชนชาวไทย เพราะท่านทั้งหลายเล่านี้ก็คือผู้ปกครองของเยาวชนที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติในวันข้างหน้า

การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะหากไม่สนใจเรื่องการศึกษาแล้วประเทศก็จะไม่พัฒนา เพราะฉะนั้นกระทรวงศึกษาธิการ รัฐบาล จึงจำเป็นต้องเร่งปฎิรูปการศึกษาเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ชาติ

การปฎิรูปการศึกษานั้นจำจะต้องปฎิรูปให้เป็นรูปมธรรม เน้นการสร้างการเรียนรู้ ไม่ควรจะเน้นแต่การเรียนที่ต้องนั่งแต่ในห้องเรียนเท่านั้น อย่างที่ท่าน รศ.ธงทอง กล่าวว่าวันนี้ปะเทศญี่ปุ่น เกาหลี อันซึ่งเป็นประเทศที่สามารถบอกได้ว่าเป้นประเทศที่เจริญแล้ว การศึกษาของประเทศเขา นักเรียน เรียนเพียง 60% เท่านั้น ในขณะที่นักเรียนไทยเรียน 100% ในหนึ่งวัน

นายประจักษ์ เพ็งจางค์

เมื่อได้ชมเทปบันทึกรายการไทยมุ่งแล้วเห็นว่าเราในฐานะสื่อทางเลือก จำเป้นอย่างยิ่งที่จะต้องสื่อในเรื่องของการศึกษาได้ให้ประชาชนเข้าใจ และที่สำคัญควรจะต้องสื่อไปยังรัฐบาลหรือกระทรวงศึกษาธิการ เพราะมีหน้าที่โดยตรงในการปฎิรูปการศึกษา กล่าวคือรัฐเองจำเป้นที่จะต้องเอาจริงเอาจังกับการปฎิรูปการศึกษา เพราะยังมีผู้ด้อยโอกาสอีกมาก ในพื้นที่ชนบทหรือกลุ่มประชาชนที่มักมีคนเรียกกันว่าประชาชนชายขอบ คนเหล่านี้ก็คือประชาชน รัฐจะทำอย่างไรให้ผู้ด้อยโอกาสเหล่านี้ได้ศึกษาอย่างเท่าเทียม รัฐโดยกระทรวงศึกษาธิการเองต้องสื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจ สื่อให้เห็นว่าการศึกษานั้นเท่าเทียมไม่ใช้ต้องเรียน สวนกุหลาบ เทพศิรินทร์ หรือ สาธิต ต้องอธิบายให้ประชาชนเข้าใจถึงการปฎิรูปการศึกษาที่ชัดเจนเข้าใจได้ง่าย เพื่อการพัฒนาประเทศในวันข้างหน้า

นายรมย์ธีรา คล้ายขยาย

เมื่อพูดถึงการศึกษาเราในฐานะเป็นสื่อทางเลือก สื่อที่จำเป็นอย่างยิ่งก็คือสื่อสิ่งพิมพ์ เพราะหนังสือพิมพ์เป็นสิ่งที่ประชาชนจับต้องได้ หาเราเลือกที่จะให้เพื่อทำการสื่อให้ประชาชนได้รู้ว่าการปฎิรูปทางการศึกษานั้นเป้นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศชาติ ประชาชนในฐานะผู้ปกครองก็จะได้เข้าใจว่าการศึกษานั้นไม่ใช่มุ่งแต่ดรงเรียนที่ดังๆ มุ่งแต่ศึกษาในโรงเรียน แต่เมื่อรัฐปฎิรูปการศึกษาแล้วก็ต้องแนะนำ สื่อให้ประชาชนได้รู้ถึงรูปแบบของการปฎิรูปว่าเมื่อทำแล้วประโยชน์เป้นอย่างไร การเรียนรู้ทั้งทางทฤษฎีและปฎิบัติจึงเป้นที่นิยม เพราะเป็นการกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้ในการปฎิบัติจริง และเด็กก็สามารถแก้ปัยหาร่วมกัน เกิดความสามัคคี เกิดการบ้าคลั่งการศึกษา ในอีกทางหนึ่งด้วย

นายอธิกิต นัยพินิจ

เมื่อได้ชมรายการไทยมุ่ง ที่ท่านอาจารย์จีระ และ อาจารย์ธงทอง พอสรุปได้ว่า เมื่อเราเป็นสื่อทางเลือก คือ สื่อใหม่ๆที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างทั่วถึง ก็คงจะเลือกใช้สื่อวิทยุ และเคเบิ้ลท้องถิ่นเพราะประชาชนสามารถเข้าถึงอย่างดีเยี่ยม ที่สำคัยการอธิบายถึงการปฎิรูปการศึกษาจำเป็นต้องให้ผู้รู้ทางการศึกษาจริงๆ เฉกเช่น อาจารย์จีระ อาจารย์ธงทอง เพราะก็รู้ถึงปัญหาทางการศึกษา และโดยเฑาะกระทรวงศึกษาธิการเองจำเป้นอย่างยิ่งที่จะต้องสื่อให้ประชาชนได้รู้ถึงการปฎิรูปการศึกษา

นางกีรณา เนื่องจำนงค์

ดิฉันเห็นว่าสื่อทางเลือกที่จะทำการสื่อสารในเรื่องของการปฎิรูปการศึกษานั้นควรจะเป็นสื่อทางโทรทัศน์ โดยใช้รายการอย่างเช่นรายการไทยมุง ที่สามารถถ่ายทอดเรื่องการศึกษาในหลากหลายรูปแบบ เช่น การนำผู้บริหารของกระทรวง มาออกรายการ นำตัวแทนผู้ปกครอง นักเรียน มาแสดงความคิดเห็น อันนี้ก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่พวกเขเหล่านั้นจะได้แสเงความคิดเห็น และเป้นเสียงสะท้อนให้ช่วยกันปฎิรูปการศึกษาอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม ไม่ใช้ทำเพื่อการเมือง พวกพ้อง ต้องเห็นเยาวชนทุกระดับเป็นรากฐานที่สำคัญเพื่อเขาเหล่านั้นจะพัฒนาประเทศต่อไป

นายอำนวย เพชรวิจิตรภักดี

การปฎิรูปการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ รัฐเองจำต้องรับดำเนินการอย่างรวดเร็วเพราะเรื่องการปฎิรูปการศึกษานั้นไม่สามารถรอได้ เยาวชนเองต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

สื่อที่ควรใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารนั้นจึงจำเป็นต้องเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ก้คือ ทางวิทยุ โทรทัศน์ ซึ่งจะเป็นช่องทางที่ช่วยให้ประชาชนรู้ถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างเร้วที่สุด

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ และ Prof. Dr. JhiraHong Lada Rom and

 รศ. ธงทอง จันทรางศุ Assoc. TongthongJhantrangsu.

 

หลังจากดูรายการไทยมุงแล้ว After viewingcrowd and Thailand.

 ในฐานะที่เราเป็นสื่อทางเลือก คิดว่า As wethink the alternative media.

 

 <ปัญหาเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข> Urgent need tofix the problem.

  1 จะปฏิรูปกันอย่างไร  How to reform eachother.

  2 ปัญหาเรื่องครู Problem of teacher

  3 และ ปริมาณครู And quantity of teachers

  4 คุณภาพครู และ  Quality teachers and

  5 ครูไม่ไผ่รู้ Teachers do not know bamboo.

ต้องแก้ไขมีอีกมาก Need to fix a lot.

 

 <ปัญหาการศึกษาในปัจจุบรร> Problems of its current accounting.'โดยคำกร่าวของอ.ทั้งสอง'

  1 คุณภาพของการศึกษาลดลง the quality of educationdecreased.

  2 คนไทยล้มละลายทางปัญญาThaiintellectualbankruptcy.

  3 ละหว่างปริญญาของเขา Master WangathisDegreebuilds each of them,

“กับปัญญา” "With wisdom".

ไม่ได้ไปทางเดียวกัน Not to the same

ในฐานะที่เป็นนักศึกษา ปริญญาเอก As aPh.D.student.

 

 <นวัตกรรมสื่อสารทางเลือก>InnovativeCommunicationalternatives

สิ่งที่สำคัณที่สุด The most important thingat.

สื่อบอกให้สังคมต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต Society must learn throughout life

ผู้นำในองค์กรต้องมีจิตนวัตกรรมและมีจิตเป็นสาธารณCorporate leaders must be innovative mind and the mind is public.

ควรต้องเปิดกว้างทางความคิดเน้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น Be open to the idea of

students.

 

 

<การปฎิรูปการศึกษาของ> Reform of education.

กระทรวงศึกษาทุกระบบ Ministry of Education in all systems.

การศึกษาในอนาคตของไทย Future studies in Thailand.

ควรต้องหยิบยกเอานวัตกรรมการศึกษามาใช้ในทุกระดับชั้น Requires innovation at all

levels.

นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ Students, parents, teachers

และผู้บริหารสถานศึกษา ควร and school

administrators. Should.

มุ่งปรับแนวคิดให้คู่ขนานไปทางเดียวConceptualized to focus parallel to the one

กับการศึกษาเพื่อลองรับทิศทางเศรษฐกิจ The

direction of the economy to try.

สู่ภาคสังคมใกล้ตัว (สังคมท้องถิ่น) และ ภาคสังคมโดยรวม To local society and society

as a whole.

เอาความรู้ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม Take the

knowledge to create value-added

เน้นเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ได้จริงและเน้นทำประโยชย์ให้ได้จริง Focus on learning in order to

make the benefits real Bay.

 

   ใจ    (Jai) Jitrakan kanjanalekha     

หลังจากที่ได้ฟังรายการ ไทยมุง โดยพิธีกร ทีวีไทยทีพืเอส ดำเนินรายการ แขกรับเชิญมี2ท่าน 1ศ ดร จีระ หงส์ลดารมภ์ 2 รศ ธงทอง จันทรางศุ (การปฏิรูปการศึกษา พัฒนาการเรียนรู้เด็กไทย) การสื่อสารมีผลกระทบอะไรกับการศึกษา

การปฎิรูปการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ ล้วนเป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้นรัฐเองจำต้องรับดำเนินการอย่างรวดเร็ว เพื่อการสร้างทุนปัญญาพื้นฐานให้กับเด็ก เยาวชน เพราะเรื่องการปฎิรูปการศึกษานั้นไม่สามารถรอได้ เยาวชนเองต้องเยควรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเองการปฏิรูปการศึกษาของรัฐ จึงจำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

อีกประเด็นหนึ่งก็คือเรื่องของภาคเกษตรกร ที่ต้องให้ความรู้ เกษตรกร สอนผู้นำชาวนา รับฟังความคิดเห็นจากผู้นำท้องถิ่น สร้างสังคมการเรียนรู้ ต่อยอดความคิดสิ่งใหม่ๆ ให้มีพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงในแนวทางที่ดี และเจริญงอกงามให้เห็นความภาคภูมิใจในสิ่งที่เปลี่ยนไปในทางบวก ต้องการเห็นคนดี เป็นคนที่มีคุณภาพ มีจุดมุ่งหมาย และเป้าหมายปลายทาง อย่างมีคุณภาพ

นายพูนศักดิ์ ศิริชัย

ในถึงการปฎิรูปการศึกษาในฐานะสื่อทางเลือกที่จะช่วยการปฎิรูปการศึกษาต้องจัดรายการเกี่ยวกับความรู้ในด้านเศรษฐศาสตร์เช่นภาษาเศรษฐศาสตร์วันละคำให้กับประชาชนทั่วไป เปิดเวทีแข่งขันทักษะวิชาการให้กับนักเรียนและโรงเรียนเกิดการแข่งขันทางวิชาการที่มีคุณภาพ การปฎิรูปการศึกษาจำเป็นต้องมีการร่วมมือกันหลายฝ่ายดังนั้นเพียงแค่สื่อมวลชนหรือสื่อทางเลือกไม่สามารถที่จะการปฎิรูปการศึกษาได้สำเร็จ

นายสุริยา ประดิษฐ์สถาพร

ชมรายการไทยมุ่ง ที่ท่านอาจารย์จีระ และ อาจารย์ธงทอง ในฐานะสื่อทางเลือกที่จะทำการสื่อสารในเรื่องของการปฎิรูปการศึกษานั้นควรจะสื่อสารกับนักเรียนให้รู้ถึงคุณค่าการเรียนให้มีความรู้เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตจริง ควรสื่อสารกับอาจารย์ผู้สอนและผู้บริหารการศึกษาเพื่อสร้างมาตรฐานการศึกษาโดยเน้นคุณภาพให้กับนักเรียน โดยมีกรอบมาตรฐานวิชาชีพกำหนด ข้อสังเกตุการปฎิรูปการศึกษาจะทำโดยส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้ดังนั้นเพื่อคุณภาพทางการศึกษา จึงต้องระดมทรัพยากรทุกกระทรวง ทบวง กรม มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า

นาย วิรัช จินดากวี

เนื่องในโอกาสเทศกาลวันสงกรานต์ วันปีใหม่ไทย

ขอให้ท่าน ศ ดร จีระ หงส์ลดารมภ์ คณะอาจารย์ นักศึกษาปริญญาเอก นิเทศศาสตร์นวัตกรรม มหาวิทยาลัยเกริก

จงมีความสุข ความเจริญในหน้าที่การงาน สำเร็จการศึกษาดั่งที่มุ่งมั่นตั้งใจ มีสุขภาพพลานามัยสมบรูณ์แข็งแรง

และเดินทางปลอดภัยถึงที่หมาย ทุกท่านเทอญ

นาย วิรัช จินดากวี นักศึกษาปริญญาเอก นืเทศศาสตร์นวัตกรรม มหาวิทยาลัยเกริก

สวัสดีวปีใหม่ไทย

 ( เส้นชัย, เจริญ , สุข, สำเร็จ, สมหวัง, อยู่ที่นำมือเรา )

 ( ถือกำเนิด, โชคลาภ, ชะตา, วาสนา, ฟ้าผู้กำหนด )

 ( จงพอใจในสิ่งที่เราได้, และจงภูมิใจในสิ่งที่เรามี )

 (ใจ) จิตรการ กาญจนเลขา

 

Happy that the Thai New Year.

(Chai, growth, happiness, success, fulfillment, at our hands).

 (Born, fortune, destiny, Vasana, blue determined).

 (Be satisfied with what we have, and be proud of what we have.)

 (Jai) Jitrakan kanjanalekha

สรุปการบรรยายวันเสาร์ที่ 10 เมษายน 53  ร่วมด้วย

  1. ดร.ละเอียด ศิลาน้อย
  2. หม่อมหลวงชาญโชติ ชมพูนุช
  3. อาจารย์วิสูตร เทศสมบรูณ์

หัวข้อ นวัตกรรมการสื่อสารจะทำอย่างไรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้อุตสาหกรรมหารท่องเที่ยวในประเทศไทย

หม่อมชาญโชติ : ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าการท่องเที่ยวคืออะไร และนักท่องเที่ยวต้องการมาเที่ยวเพื่ออะไร

วัตถุดิบทางด้านการท่องเที่ยวซึ่งแต่ละที่ แต่ละประเทศต่างก็มีเอกลักษณ์ในตัวเอง วัตถุดิบประกอบด้วย

สิ่งที่ธรรมชาติส้รางไว้ให้ ป่า เขา ทะเล

วัฒนธรรม อารยธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ จารีตประเพณี

แต่สิ่งที่คนไทยถือว่าเเป็นจุดเด่นมาก คือเรื่องความเป็นคนไทย ยกตัวอย่างเช่นเราถือว่านักท่องเที่ยวทางยุโรปจะมีค่ามากที่สุด แต่ตอนนี้เรามีเวียดนามเป็นคู่แข่ง โดยมีสิงคโปรเป็นคนช่วยขาย แต่อย่างไรก็ตามตอนนี้กลับมาประเทศไทยเพราะแพ้เรื่องคน การบริการ มีทั้งผู้ให้บริการและผู้จัดบริการ ทุกคนที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวมีวัตถุดิบที่ไม่จำเป็นต้องซื้อเพราะฉะนั้นวัตถุดิบเป็นของคนไทยทุกคน  การเสื่อมของวัตถุดิบเป็นการทำให้การขายสินค้าของเราด้อยคุณภาพลงไป

เราต้องดูว่าทำไมอยากได้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยอะคือการมาแย่งอากาศเราหายใจ การท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่ทำเงินได้แต่ต้องมีการจัดการ เราขายซ้ำซาก เราต้องหาความแตกต่าง การท่องเที่ยวจะต้องมีการบริหารแบบเป็นเรื่องราว เพราะเมื่อนักท่องเที่ยวกลับไปแล้วเข้าต้องมี story แต่ตอนนี้การวัตถุดิบแต่ละทีแทบจะไม่มีความแตกต่าง ยกตัวอย่างเรื่องมัคคุเทศน์ถือว่าเป็นทูตที่ดีในการเข้าถึงนักท่องเที่ยว ไม่ใช่แค่ขายสินค้า แต่ต้องทำตัวเป็นทูตวัฒนธรรมคอยบอกเล่าเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวกับประเทศไทย มัคคุเทศน์เป็นคนที่ใกล้ชิดนักท่องเที่ยวมาที่สุดการสร้างความประทับใจเกิดขึ้นได้ หรืออย่างพนักงานในโรงแรมต้องมีความรอบรู้เป็น Information ที่ดี สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สามารถส้รางมูลค่าได้มากมาย   เราต้องทำอย่างจริงจังเพื่อให้ธุรกิจท่องเที่ยยวเรายั่งยืนและผลประกอบการก็ได้กับคนไทยทุกคน

อ.จีระ : เวลาเราสื่อสารต้องมองไปที่ Steak holder ว่าใครมีส่วนได้ส่วนเสียบ้าง

อ.ละเอียด : ผมของพูดในมุมมองของ ททท. และในฐานะสื่อมวลชนที่ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว ถ้าเป็นนักสื่อก็ต้องเข้าใจสารที่จะส่งไปสู่ผู้รับ ต้องรู้รอบด้าน เศรษฐศาสตร์ การเมือง วัฒนธรรม สังคมเพราะเรื่องการท่องเที่ยวไม่มีศาสตร์ของตนเองต้องเอาทุกศาสตร์มาประยุกต์เขาด้วยกัน การสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวต้องนำ Information ต่างๆ มาขยายเกิดประโยชน์ และต้องให้ความสำคัญกับการตั้งโจทย์ว่าสื่อไปเพื่อใคร และต้องการเสนออะไร เพราะสิ่งที่เสนอออกไปเป็นภาพลักษณ์ของประเทศไทยทั้งสิ้น การสื่อสารเพื่อกาท่องเที่ยวต้องเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้ได้ สื่อรูปแบบใหม่ต้องถอยหลังกลับไป ต้องหาจริยธรรมในการเสนอข่าว

การท่องเที่ยวดูเหมือนง่ายแต่จริงๆมีอะไรซับซ้อนเพราะประกอบด้วยผู้มีส่วนร่วมหลายฝ่ายทั้ง นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ ภาพลักษณ์ ชุมชน ต้องให้มีการจัดการเรื่องผลประโยชน์ ต้องให้ทุกคนด้วยกระจายผลประโยชน์ให้ทั่วถึง

การสร้างภาพลักษณ์ต้องดีเพราะเดี๋ยวนี้สื่อมีทั่วและเข้าถึงประชาชนได้ง่าย การที่นกท่องเที่ยวต้องการเดินทางมาเที่ยวก็สามารถหาข้อมูลได้ง่ายทาง internet และข้อมูลจากหลายแห่งไม่ได้กลั่นกรองอาจทำให้เกิดความเสียหายได้ นักท่องเที่ยวเมื่อเข้ามาต้องการความพอใจ ต่างกับผู้ประกอบการที่ต้องการเงิน ภาพลักษณ์ชาวบ้านมีอาชีพมีรายได้

นักท่องเที่ยวมาเมืองไทยมาที่สุด มาเลเซียเข้ามามากที่สุด รองมาคือญี่ปุ่นอำนาจซื้อสูง  สามเกาหลี  ตลาดคนไทยคือตลาดคนกรุงเทพสูง

หม่อม :  เมื่อเราพูดนักท่องเที่ยวเยอะ แบ่งลักษณะการเดินทางเข้ามาคือ

การเดินทางเข้ามาเอง จัดการด้านการท่องเที่ยวเอง โดยใช้ข้อมูลทาง Internet

การเดินทางผ่าน Travel agent คือผู้ที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ประกอบการกับนักท่องเที่ยว เป็นเหมือนผู้ช่วยขาย

บริการ Information Tour operator ประกอบด้วยการจดการท่องเที่ยว

1. Domestic  

2. In brown

3. Out brown

อ.จีระ : Social Media สื่อยุคใหม่ถ้าเราจะเน้น นวัตกรรมสื่อสารเช่นใครเห็นอะไรที่เป็น information ก็ให้ technology ในการสื่อสารให้เป็นประโยชน์ อย่างไรก็ตามต้องผสมกันละหว่างรายได้ กับการจ้างงาน และการพัฒนาทางด้านการท่องเที่ยว เพื่อคิดถึงประโยชน์ระยะยาวระหว่างประเทศ การท่องเที่ยวต้องมีมูลค่าเพิ่มต้องมีความโปร่งใสทางการท่องเที่ยว ตัวละครที่สำคัญเนี่ยคือผู้นำท้องถิ่น

สื่อที่เราต้องแนะคือใครก็ได้ที่รับบริการจากเรา

การขาดธรรมาภิบาลในการใช้สื่อการทำธุรกิจ

สื่อต้องทำหน้าที่เรื่องการปลุกเล้าเรื่องความดี

อ.วิสูตร : การท่องเที่ยวสมัยนี้ไม่เหมือนเมื่อก่อน อาชีพบริการบ้านเราเป็นที่ให้การยอมรับเรื่องคุรภาพ คนไทยมีจิตวิญญาณจะให้บริการ

เรื่องนักท่องเที่ยวต้องสร้างภาพพจน์ให้ดี กับการแข่งขันกับเพื่อนบ้าน

การแก้ปัญหาบางอย่างของทางภาครัฐทำให้นักท่องเที่ยวลดลง เช่น มีปัญาเรื่องวีซ่าของชาวรัสเซีย เข้าประเทศไทยยากมาก ให้ทำง่ายขึ้น กว่าจะผ่านการพิจารณษ เราเสียประโยชน์ไปมาก

ความโปร่งใสในการทำธุรกรรม ปัญหาที่เกิดจากแหล่งท่องเที่ยวคือเรื่อง อบต.เป็นเจ้าของกิจการ

การร่วมือกันสร้างบุคลกรด้านการท่องเที่ยว โครงการบุคลากรระหว่างประเทศ ใน ASEAN

การศึกษาบุคลากร ต้องสอนอนย่างจริงจัง เชิงลึกและรอบรู้เพราะเป็นหน้าเป็นตาและเป็นตัวแทนชาวไทยในการต้อนรับนักท่องเที่ยว

หม่อมชาญโชติ  : สื่อแบ่งเป็นส่วน คือเรื่องภาพพจน์ประชาสัมพันธ์ สื่อ Social Media และสื่อบุคคลเพราะการท่องเที่ยวเป็นสื่อที่จับต้องไม่ได้สร้างได้คือความปรับใจ ความพอใจ อิทธิพลอยู่กับคนที่ส่งสื่อออกไป เราต้องบริหารสื่อในการโต้ตอบเราต้อง Compensate ได้ทั้งนี้เพื่อการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง

Question

  1. เรื่องต้นทุนการท่องเที่ยวเอกชนได้ประโยชน์แต่รัฐต้องมาจ่าย ต้องเอาเงินส่วนไหนมาจัดการ แล้วเจ้าภาพในการจัดการเป็นใคร
  • ขึ้นอยู่กับการจัดการทุกส่วนต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง ภาครัฐต้องเข้ามา ทำ Road map ในการบริหารจัดการการ และต้องจัดการองค์ความรู้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางการท่องเที่ยว การมีรายได้จากการจ้างงานในท้องถิ่น การดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม เจ้าภาพในการจัดการคือคนในชุมชนต้องตื่นตัวต้องมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง และได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ
  • ทุนวัฒนธรรมต้องอยู่กับมนุษย์ เป็นต้นทุนที่มองไม่เห็นในวันนี้แต่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้หลายอย่าง  
  • เรื่องความเสี่ยงเรื่องสื่อ เพราะไม่เคยปรับ Mind set ที่จะต้องวิเคราะห์ กลั่นในสื่อที่มีคุณค่าเพื่อ

การศึกษา

การท่องเที่ยว

วัฒนธรรม

ภูมิปัญญาชาวบ้าน

ศาสนา

  1. ททท. ต้องไม่ทำเรื่องการตลาดอย่างเดียว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาต้องวางแผนด้านการท่องเที่ยวเชิงรุกทางด้านการพัฒนบุคลากรลัวัตถุดิบ ยกตัวอย่างเช่นบุคลกรใน ททท. ที่ทำงานอยู่ไม่ใช่ nation ของเขา เขาจึงไม่เข้าใจเรื่องการจัดการการท่องเที่ยวเชิงรุก ไม่เข้าใจว่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้ารการท่องเที่ยวได้อย่างไร  ตัวละครทางด้านสื่อ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีใครบ้าง ให้สำเร็จเชิงนวัตกรรมเป็นแบไหน
  • เราต้องสร้างความเข้าใจใครบุคลากรในองค์กรด้านดารท่องเที่ยวให้รู้ถึงบทบาทที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไร พอไม่เข้าใจก็ขาดการประสานงานที่ดี อย่างเช่น ททท.ทำหน้าที่ขายแต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถสร้างความพอใจให้นักท่องเที่ยวได้ ขาดดการเข้าใจเรื่องการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง
  • ผู้ที่ให้บริการท่องเที่ยวเป็นจุดแข็ง แต่จุดอ่อนคือการมักง่าย ไม่ใส่ใจต่อประโยชน์ส่วนรวม ไม่มีการคิดต่อในชุมชน ผู้ประกอบการต้องเป็นผู้สร้างสื่อเพื่อถ่ายทอดในเรื่อง CSR คนที่เป็น Steak Holder ต้องมองให้ออกถึงส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องสิ่งแวดล้อมนั้นๆด้วยนอกจากนั้นยังมีอิทธิพลต่อผู้ประกอบการด้วย
  • น่าจะมีทฤษฎีใหม่เรื่องการบริหารความเสี่ยงกับการใช้สื่อ
  • ตัวละครที่สำคัญอีกตัวคือนักวิชาการเพราะจะเป็นผู้ที่เผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องและมีประโยชน์ นอกจากนี้ยังเพื่อการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีด้วย
  • ผู้ที่ทำสื่อเรื่องการท่องเที่ยวต้องมีความเข้าใจ เน้นเรื่องของแต่ละกลุ่ม ผู้ประกอบการเน้นเรื่อง CSR ผู้นำชุมชน ผู้ทำงานเกี่ยวกับการท่องเที่ยว รัฐบาลที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว Steak Holder จะเสนอไปสู่
  • บุคลากรไม่มีองค์ความรู้พอ ชุมชนต้องรู้เรื่องท่องเที่ยว ผู้นำชุมชนต้องมีการบริหารจัดการเรื่องการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบและรอบทิศทาง สื่อหลักและสื่อทางเลือกทุกหน่วยต้องรู้เรื่องท่องเที่ยว ต้องมีการบูรณาการ

ภาพบรรยายกาศ

ข้อสอบปลายภาค ( นำกลับไปทำที่บ้านส่งในวันเสาร์ที่ 25 โดยส่งที่มหาวิทยาลัยเป็น paper )

1. สรุปและอธิบาย สาระสำคัญ 3 เรื่อง และมี Data ประกอบ ทางด้านการเมืองหรือด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ

  • สื่อปัจุบันทำหน้าที่ชี้นำได้ดีแค่ไหน0o
  • ถ้ายังไม่ดี สื่อสารนวัตกรรมต้องอย่างไรบ้าง
  • ตัวละครที่ต้องเล่นมีใครบ้าง และ Steak holder ควรจะเป็นใคร
  • อธิบายอุปสรรคต่างๆ ที่จะต้องเอาชนะ และเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จ Execution

2. สรุปและอธิบาย สาระสำคัญ 3 เรื่อง และมี Data ประกอบ ทางด้านการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาประเทศ

  • สื่อปัจุบันทำหน้าที่ชี้นำได้ดีแค่ไหน
  • ถ้ายังไม่ดี สื่อสารนวัตกรรมต้องอย่างไรบ้าง
  • ตัวละครที่ต้องเล่นมีใครบ้าง และ Steak holder ควรจะเป็นใคร
  • อธิบายอุปสรรคต่างๆ ที่จะต้องเอาชนะ และเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จ Execution

 

เมื่อวันเสาร์ที่ 10 เมษายน 53 เป็นการปิดคอร์สของ Ph.D. นวัตกรรมเพื่อการสื่อสารที่เกริก เเละมีพิธีรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ลูกศิษย์ทุกคน จึงเก็บภาพบรรยากาศมาฝากกัน

 

นวัตกรรมสื่อสาร “นายกรัฐมนตรีของไทย”

Innovative Communication. "Politicians, President of FT. การสื่อสารด้านการเมือง กล่าวคือผู้นำสูงสุดทางการเมืองในปัจจุบัน ในสายตาของนักศึกษาปริญญาเอก

In the eyes of Ph.D. students. University of Kirk.

                                วันที่ ๑๐- ๑๘ เมษายน ๒๕๕๓

เรียน...ท่าน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ...ในนามนักศึกษาปริญญาเอก ของมหาวิทยาลัยเกริก ขอแสดงความคิดเห็น และนำเสนอมายังท่าน นายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยขอถือโอกาสนี้ใช้ ขบวนการการสื่อสารนวัตกรรมของ ท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

 Prof. Dr. JhiraHong Lada Rom and เป็นสะพานส่งผ่านไปยังท่านนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี สภาวะการทางการเมืองในปัจจุบัน ความขัดแย้งทางความคิด

 Conflict of ideas. ที่ดำเนินอยู่อย่างหนักหน่วงในขณะนี้ Seriously now. ขอเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา ‘ที่เรียกได้ว่า’ “ในฐานะผู้ชมที่มองดูแล้วเห็นการแสดง

As audiences watch and see the show. ทั้งสองฝ่าย คิดว่าข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาน่าจะตรงประเด็นที่สุด คือ Solutions should be most relevant. การลงมือทำด้วยตัวของท่านนายก นั้นเอง

 Acting with your President. ที่จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยง่ายดาย และใช้เวลาเพียงพลิกฝ่ามือเท่านั้น

Takes only turn your palm. ปัญหาสำคัญๆที่เกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับใจของท่านนายกเองทั้งสิ้น “ท่านพร้อมหรือไม่”

Are you ready or not. ที่จะแก้ไขปัญหานี้ เมื่อท่านพร้อม กระบวนการฐานความคิด

Process database idea ที่ท่านจำเป้นต้องใช้ “ในฐานะที่ท่านสวมใส่หัวโขนมงกุฎดอกไม้นายกแห่งประเทศไทยอยู่” เพื่อความสำเร็จผล

 To achieve ต่อการแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ มีแนวความคิดอยู่เพียง ๔ ประเด็นก็คือ

The concept is only 4 points is.

 ๑) ในมุมมองของท่านนายก

In your view, President. ท่าน ต้องเห็นว่าประชาชนทั่วประเทศ ทุกผู้ทุกนามเป็นพรรคพวกของท่าน หรือญาตพี่น้องของตัวท่านเอง โดยมองภาพรวมให้ทั่วถึง และพระยายามทำความเขาใจที่ดี ที่น่าเชื่อถือต่อประชาชน

Credible to the public. ให้ครบถ้วนทั่วทุกตัวนาม

 ๒) ในทางการสื่อสารท่านนายก

 the President of your communication. ท่านต้องใช้ความกล้าหาร แสดงความจริงใจต่อประชาชน

True to the people. ทั่วไป ทั้งทางวาจากิริยาท่าทางและเนื้อหา

Verbal manner and content.

 ๓) ในฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง

in opposing the politics ท่านต้องแสดงภาพลักษณ์ออกมาจากใจโดยคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงที่ท่านมีความจำเป็นที่จะต้องบริหารบ้านเมืองโดยต้องคำนึงถึงประชาชนทุกภาคส่วน The need to govern for all public sectors. การแสดงท่าทีที่จะยุดติบทบาททางการเมือง

Will end the political role. ด้วยเหตุต่างๆที่มีอยู่จริง และเหตุผลของฝ่ายการเมืองตรงข้าม ท่านต้องหยิบยกขึ้นมาอธิบาย โดยที่ท่านไม่ต้องรอเชิงให้สองฝ่ายมาเจรจาด้วยเลย

 Opposite political parties do not have to negotiate with

 ๔) ในฝ่ายมวลชล

Mass Department of lakes เพื่อแสดงให้ประชาชนเห็นถึงความจริงใจว่าตัวตนท่านนายกทำเพื่อประชนและประเทศชาติจริงๆ

Pracn and the country do to really โดยไม่จำเป็นต้องเสียเลือดเนื้ออีก และขอเวลาบ้างเมื่อประชาชนเข้าใจในความจริงใจของท่านแล้วประชาชนก็จะไว้วางใจให้โอกาส

People will give an opportunity กลับบ้านไปรอเวลาที่ท่านนายกขอ และหากฝ่ายการเมืองในสังกัดหรือฝ่ายตรงข้ามก็ตามไม่ยอมรับความคิดของประชาชนเขาก็จะถูกประชาชนจะคลางแคลงใจและไม่ชื่อถือไปเองโดยที่ท่านไม่ต้องออกแรงปิดกั้นสื่อและหรือใช้ความรุนแรงให้เสียคะแนนเลย.....

 Opponent will not accept public mistrust

 "ความคิคอันน้อยนิดหากผิดพรังโปรดอภัย"

 ( ด้วยความปรารถนาดีจาก) นายจิตรการ กาญจนเลขา

 

(Best wishes from). Mr.(Jai) Jitrakan kanjanalekha

 

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ขอเชิญร่วมสัมมนา โปรดคลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด

 

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/352750

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท