Context based learning การเรียนโดยใช้บริบทเป็นฐาน


เอาคนของเรา มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของเรา ในที่ทำงานของเรา เพื่อเอาไปพัฒนางานของเรา

Context based learning การเรียนโดยใช้บริบทเป็นฐาน

   26 มค. 53 ไปประชุมเรื่อง context based learning ที่โรงแรมท้อปแลนด์ จ. พิษณุโลก จัดโดย สปสช. เขตนครสวรรค์ ร่วมกับ คณะสาธารณสุขศาสตร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร  วิทยากรหลักคือ รศ นพ. สุรเกียรติ อาชานานุภาพ  และ ดร. นพ . ยงยุทธ พงษ์สุภาพ   มีประเด็นที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟังคือ

      Context based learning แปลตรงตัวว่า  การเรียนโดยใช้บริบทเป็นฐาน   ความหมายคือ  การเรียนรู้ในบริบทของตนเอง ( สถานที่ตนเอง , งานของตนเอง , คนของตนเองซึ่งรวมทั้งผู้เรียนและผู้สอน ) เพื่อนำไปพัฒนางานของตนเองที่ทำอยู่   จะต่างจากการเรียนรู้แบบเดิมที่เรามีการปฏิบัติอยู่ คือ การประชุม อบรม เรียนต่อ นอกสถานที่ ซึ่งต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง ใช้เวลามาก และบางครั้งความรู้ที่ได้มาอาจไม่เหมาะกับงานที่ทำเพราะต่างบริบทกันกับที่เรียน  โดยสรุปง่ายๆของ context based learning ตามความเข้าใจของผู้เขียนคือ “ เอาคนของเรา มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของเรา  ในที่ทำงานของเรา   เพื่อเอาไปพัฒนางานของเรา “   

      CUP มโนรมย์ ตกลงปลงใจจะรับโครงการนี้มาทำเป็นโครงการนำร่องของ สปสช. เขต นครสวรรค์ โดยกำหนดกิจกรรมสำคัญหลักที่มุ่งเน้นไปในการพัฒนาเจ้าหน้าที่ใน สอ. ของ CUP มโนรมย์ ดังนี้

     1 .จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องที่สนใจเป็นประจำทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ โดยทำร่วมกับกับ แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่อื่นทั้ง รพ. และ สอ

     2  จัด Training ให้เจ้าหน้าที่ใน สอ.  ให้เข้ามาฝึกทักษะในเรื่องที่สนใจ

     3. เปิดช่องทางการให้คำปรึกษาให้แก่เจ้าหน้าสถานีอนามัยให้ได้รับการปรึกษาได้สะดวกและทันการณ์โดยเฉพาะเรื่องการดูแลรักษาผู้ป่วย

     4. จัดให้ทุกสถานบริการเข้าถึง Internet ได้สะดวกเพื่อเป็นอีกช่องทางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เช่นใน blog ของ gotoknow

 

 ทั้งหมดก็เป็นแผนการที่วางไว้เพื่อการพัฒนางานบริการปฐมภูมิ (ในด้านหนึ่ง)  ต้องขอความร่วมมือทั้งเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยและโรงพยาบาลช่วยๆกันครับ

คำสำคัญ (Tags): #cbl#context based learning
หมายเลขบันทึก: 331375เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2010 07:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ถ้าทำได้ ทำให้การบริการด้านสุขภาพของเราแทรกซึมไปทุกอนูในทุกพื้นที่ คนที่ได้ประโยชน์คือ ประชาชน

รู้ตน รู้คน รู้งาน สู่การพัฒนาค่ะ

ให้กำลังใจค่ะ

ขอร่วมแสดงความคิดเห็น ถ้าทำได้และทุกคนในองค์กรทั้งหมดมามีส่วนร่วม ทำกันนานๆ ก็ทุกคนจะเป็น "ดูตนออก บอกตนได้ ใช้ตนเป็น เห็นตนชัด" เหมือนกับซุนวู กล่าวว่า "รู้เขา รู้เรา รบ100ครั้ง ชนะ 100 ครัง้"งานก็ก้าวหน้า สุขภาพประชาชนย่อมดีขึ้น สุดท้าย ก็ WIN-WIN กันทั่วหน้า ผมขอเป็นกำลังใจในฐานะคนไทยที่อยากเห็นเมืองไทยดีขึ้นเร็วๆครับ

จาก นักศึกษาพยาบาลเวชปฏิบัติ รุ่น 6 ฝึกที่ รพ.มโนรมย์ คนหนึ่ง ครับ

ที่กระสัง กำลังจะทำแบบอาจารย์บ้างอยากสอบถามว่า เมื่อเจ้าหน้าที่สอ.มาเรียนรู้ที่รพ. เรามีการจัดการการเรียนรู้อย่างไรบ้างคะ พอดีกำลังวางแผนการเรียนรู้อยู่คะ

สุชาดา

ก็มีหลายแบบครับ ส่วนใหญ่ก็แล้วแต่ ทาง สอ. ชอบแบบไหน เท่าที่ทำก็มี

 - ประชุมวิชาการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้

   -สังเกตุแพทย์ในห้องตรวจ

   -ตาม round ward ตอนเช้า

   -ปรึกษาทางโทรศัพย์

   -ฝึกที่ ER

   -สอบวัดผลประมวลความรู้

  ประเด็นสำคัญคือ ต้องสำรวจความต้องการก่อนเรียน และไม่จำเป็นต้องเรียนเหมือนกันทุกคน อยากรู้อะไร ก็เรียนไปเพื่อพัฒนาไปทำงาน มากกว่าจะเรียนให้ครบหลักสูตร และต้องต่อเนื่องครับ สำคัญมาก / บรรพต 

ขอบคุณที่เผยแพร่สิ่งดีดี ให้ได้เรียนรู้ แต่สิ่งสำคัญควรเปิดใจรับฟังกันและยอมรับในสิ่งที่ไม่รู้เพราะผู้ไม่รู้ไม่ผิดหากรู้จักที่จะแสวงหาความรู้ ทำให้ถูกต้องถูกที่ถูกเวลา

วีระ สุเจตน์จิตต์

เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา 

-ขอบคุณสำหรับความรู้ และสิ่งดีๆที่ให้เรียนรู้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท