ชาจีน นักท่องเที่ยว และการขอแบบผสมผสาน


Appreciative Inquiry : การขอแบบผสมผสาน

Blog "จิตวิทยาการขอ"แห่งนี้ได้นำเสนอประสบการณ์

เกี่ยวกับการขอในทุกแง่มุมด้วยวิถีแห่ง AI มาแล้วทั้งสิ้น 30 บทความ

ดีใจมากครับที่มาถึงจุดนี้ได้ ต้องขอขอบคุณชาว Gotoknow ทุกท่านครับ

ที่ติดตามผลงานของผมมาโดยตลอด และผม"นายเอิร์ท"หวังเป็นอย่างยิ่งว่า

บทความใน Blog "จิตวิทยาการขอ"แห่งนี้ จะเป็นประโยชน์กับทุกๆท่าน

และผมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะนำเสนอผลงานดีๆต่อไป ติดตามอ่านได้เป็นประจำทุกวันครับ ^^



เรื่องราวในวันนี้เป็นเรื่องที่ติดค้างกันไว้เมื่อวันก่อนครับ ที่ว่าจะพา Go Inter กัน

วันนี้ก็ตามสัญญาครับ... ส่วนเรื่องราวจะเป็นยังไงนั้น จะไปที่ประเทศไหน เกี่ยวกับธุรกิจอะไร... ตามผมมาเลยครับ

เรื่องราวในวันนี้เกิดขึ้นที่ประเทศจีนครับ ( ต้องขอบคุณบทความของพี่แจ๋วแหววที่จุดประเด็นให้ผมเขียนเรื่องในวันนี้ขึ้น )

ท่านที่มีประสบการณ์ในการเที่ยวที่เมืองจีนจะทราบครับว่า ไม่ว่าเราจะไปเที่ยวที่ไหนก็ตาม รัฐบาลของเขาก็จะจัด(บังคับ)

ให้เราแวะในสถานที่ที่รัฐบาลจัดเอาไว้ให้ ( ว่าง่ายๆก็คือที่ขายของฝากนั้นละครับ ) สถานที่ที่ผมกล่าวถึงนี้ก็คือ "ที่ซื้อชาจีน" ครับ



เคยสงสัยไหมครับ... ว่าทำไมเรามักจะหลวมตัวไปซื้อของฝากพวกนี้ ทั้งๆที่ซื้อมาแล้วก็ไม่ได้กินได้ใช้

ปล่อยให้ฝุ่นเกาะเล่นซะอย่างงั้นละ จนสุดท้ายก็ทิ้งไป... ลองนึกภาพตามผมดูนะครับ

"เมื่อเราไปถึงที่นั้น... พวกเขาก็จะพาเราไปที่ห้องประกอบพิธีชงชา พร้อมจัดแสดงวิธีชงชาแบบต่างๆของจีน ภายในห้องนั้น

มีการควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นที่เหมาะสมสำหรับเก็บรักษาใบชา การแสดงก็จะใช้ "ผู้หญิง" แต่งกายในชุดประจำชาติ

พร้อมอุปกรณ์การชงชาแบบพื้นเมือง ด้วยลีลาที่อ่อนช้อยในการแสดงไม่ว่าจะเป็น การตักใบ การคีบก้อนชา การบดใบชา

การหยิบกาน้ำร้อน หรือแม้กระทั้งการเทชาลงสู่ถ้วย ล้วนแล้วแต่สะกดพวกเราไว้ไม่ให้คลาดสายตาไปไหน เมื่อการแสดงจบ

นักแสดงก็จะหยิบถ้วยชามาให้พวกเราได้ลิ้มลองรสชาติของชา แม้แต่การถือถ้วยชาก็ยังดูสง่างาม สมกับเป็นต้นตำหรับอย่างแท้จริง"

และท้ายที่สุด มักจะจบลงด้วยการออกจากห้องประกอบพิธีชงชา พร้อมกับถุงบรรจุชาคนละใบสองใบกลับบ้าน... ซะอย่างงั้น - -"



ตัดมาที่จุดนี้ครับ.... มาดูกันครับว่าประเทศจีนเขาใช้วิธีการขอแบบไหนถึงทำให้พวกเรายอมควักเงินซื้อใบชากลับบ้านซะงั้น...

จะเห็นได้ว่า... รัฐบาลจีนใช้เทคนิค"การขอแบบอาศัยตัวนำร่อง"โดยการจัดให้"ทัวนักท่องเที่ยว"แวะในสถานที่ที่พวกเขาได้จัดเตรียมไว้

เพื่อ... สร้างโอกาส ...ในการขายสินค้าของพวกเขา และใช้ "การขอด้วยบรรยากาศ"คือพิธีชงชา เป็นตัวสะกดให้พวกเรายอมที่จะควัก

กระเป๋าซื้อใบชาพวกนี้กลับประเทศไป เป็นเทคนิคการขอที่ผสมผสานกันได้อย่างลงเลยตัวทีเดียวครับ... สุดยอดมาก


 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ... กับ"เทคนิคการขอแบบผสมผสาน" ผมว่าถ้ารัฐบาลไทยใช้วิธีนี้กับสินค้า OTOP ของเรา

ประเทศเราคงจะมีรายได้เพิ่มเติมจากจุดนี้อย่างมหาศาลเลยละครับ ทั้งยังเป็นการส่งเสริม และสนับสนุนภูมิปัญญาไทยด้วย

การจัดให้มีการแสดงแบบนั้น มันช่วยสร้างบรรยากาศ และเพิ่มแรงจูงใจในการซื้อได้ดีจริงๆครับ โดยเฉพาะกับผู้หญิงที่มัก

จะตัดสินใจซื้อสินค้าต่างๆ เพียงเพราะอารมณ์ และความอยากได้ของเธอเท่านั้น... สำหรับธุรกิจทั่วไป ก็ลองนำไปปรับใช้ดูครับ

ผมว่าถ้าส่วนผสมของการขอลงตัว... มันก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไรที่จะทำให้ผู้บริโภคยอมที่จะควักเงินซื้อสินค้าของเรา... จริงไหมครับ


แล้วคุณละคิดยังไง ^^

หมายเลขบันทึก: 331344เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2010 00:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

เมื่อคืนดูรายการช่องเก้าค่ะ

พูดถึงเรื่องการตบหน้าอก (นม) ของ ผู้หญิง

เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านแบบไทย ที่ถึงกับชาวญี่ปุ่นมาขอซื้อลิขสิทธิ์ ถึง 20 ล้าน เลยนะคะ

แต่เจ้าของกลลับบอกว่า "ไม่ขายค่ะ " ทำไมหน่ะหรอคะ ก็เจ้าของบอกว่าถ้าจะมาตบก็ต้องนึกถึงเค้าเพียงผู้เดียว

และสามารถดึงคนต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในไทยด้วยนะคะ ..น่าส่งเสริม ^^

www.bantobnom.com ใครสนใจลองเข้าไปดูนะคะ ^^

ขอบคุณสำหรับสาระดีๆ นะคะ

ว๊าววว ขอบคุณค่ะสำหรับสาระที่นำมาฝาก

เคยเหมือนกันค่ะ โดนล่อให้ซื้อ ชา ตอนไปเชียงใหม่

โดยที่เป็นคนไม่ชอบชา

แต่บรรยากาศพาไปเหมือนกันค่ะ

บุญรักษาค่ะ ^_^

ประเทศอื่นเค้าก็มีเทคนิคการขายกันดีนะ ใช้วัฒนธรรมเป็นตัวชูโรง

ประเทศไทยใช้อะไร????

แม้แต่ชุดประจำชาติยังไม่แต่งกันเลย

เคยไปที่คุนหมิงค่ะ เขาพาไปนวดเท้าฟรี แล้วแนะนำน้ำมันนวด เราก็ซื้อมาคนละขวดสองขวด แล้วก็เขาชงชาแพงๆให้ดื่ม หอมสุดยอด ป้าๆที่ไปซื้อหมดไปหลายพัน พอมาชงที่บ้านมันไม่เหมือนที่เขาชงให้เลย ไปเที่ยวแบบนี้ไม่รวยจริงต้องใจแข็งค่ะ เพราะน่าซื้อจริงๆ ใครๆก็ซื้อ ^_^

ขอบคุณทุกความเห็นครับ

@คุณเพลินเพลง >>> ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ... เดี๋ยวจะลองไปศึกษาดูเผื่อนำมาต่อยอดได้ ^^

@คุณsOul_ >>> การขอด้วยบรรยากาศเป็นอะไรที่ทำให้อารมณ์คุณผู้หญิงเผลอใจควักกระเป๋ากันได้ง่ายๆครับ ไม่แปลกหรอกครับ ขอบคุณที่มาแชร์ประสบการณ์ครับ ^^

@คุณMink >>> ผมชอบคำว่า ใช้วัฒนธรรม นะ ยิ่งวัฒนธรรมของไทยเรา เป็นเอกลักษณ์ที่ชาติอื่นๆยังต้องอิจฉา ถ้าเราจับจุดนี้มาใช้กับการขอในรูปแบบอื่นๆได้อย่างลงตัว ผมว่าสถานที่ท่องเที่ยวในไทยคงจะดึงดูดเงินจากชาวต่างชาติได้อีกเยอะเลยละครับ ขอบคุณสำหรับมุมมองใหม่ๆครับ ^^

@าจารย์ อ้อม ฐิติรัตน์ สุวรรณสม >>> ครับ... ผมก็ได้ยินมาเหมือนกันเรื่องที่ว่าตอนชิมมันช่างหอมหวาน แต่พอเอามาชงทานเอง มันไม่เหมือนตอนนั้นเลย สงสัยเค้าจะมีเทคนิคเฉพาะ หรือไม่ก็ที่ขายให้เรามันคนละเกรดกับที่โชว์หนะครับ อันนี้ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน แต่วิธีการนี้ก็ทำให้เราๆท่านๆหลงกลซื้อสินค้ามาแล้วนักต่อนัก บรรยากาศพาไปจริงๆ ขอบคุณที่นำประสบการณ์ดีๆมาแชร์กันครับ ^^

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมานะครับ

ท่านใดมีประสบการณ์ในลักษณะนี้แชร์กันได้เต็มที่เลยนะครับ

หรือจะแสดงความคิดเห็นในแง่มุมอื่นๆก็ได้ตามอัธยาศัยนะครับ

Blog "จิตวิทยาการขอ" แห่งนี้ยินดีเสมอครับที่ได้เห็นคอมเม้นต่างๆของทุกท่าน ^^

ขอบคุณครับ

  • ช่ายเลยค่ะ...เคยไปที่ปักกิ่ง ก็เจอคล้ายๆกัน
  • การจัดบรรยากาศดีๆ บริการดีๆก่อนซื้อเนี่ย
  • ใช้ได้มากเลยยย
  • ยิ่งคนไทยเป็นคนจิตใจอ่อนโยน ...
    พอเห็นการบริการดีๆ ดูแลอย่างดี
  • บางคนก็คล้อยตามสรรพคุณ
  • แต่บางคนซื้อเพราะ บริการที่ดี ..บรรยากาศมันพาไปค่ะ

เทคนิคแบบนี้ในประเทศไทยเองก็มีให้เห็นอยู่บ้างนะครับ

เช่น ที่เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรีครับ

มีแหล่งท่องเที่ยวของกลุ่มหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา

กับศูนย์บ้านขนมหวานครับ ที่โชว์การผลิตสินค้าทุกขั้นตอน

นักท่องเที่ยวเองก็สามารถเข้าไปแจมกับเขาได้ครับ

อยากให้ลองไปเที่ยวกันนะครับ

"ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ" ครับ

"ขอบคุณเรื่องราวดีๆ ครับ"

เป็นแนวคิดที่ดีค่ะ ต้องส่งเสริมกันให้มากขึ้น

สินค้า และการบริการแบบไทยๆเรา ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณทุกท่านครับ

@คุณพิชชา >>> ขอบคุณมากครับ... บริการที่ดี บรรยากาศเป็นใจ เสร็จทุกรายครับ คุณผู้หญิง น่าจะเป็นสูตรสำเร็จทางการตลาดที่ประเทศเราน่าจะนำมาใช้บ้างนะครับ ขอบคุณสำหรับประสบการณ์ดีๆที่แชร์มาครับ ^^

@อาจารย์โย >>> ขอบคุณมากครับอาจารย์ เดี๋ยวผมจะไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมนะครับอาจารย์ จะได้เอามาเป็นเคสตัวอย่างแนวๆนี้ ที่เกิดในประเทศเนเธอแลนด์ ^^

@คุณWhat women want? >>> ขอบคุณที่นำความรู้มาแชร์กันครับ... ผมคิดว่าถ้ารัฐบาลสนับสนุน และจัดรูปแบบการท่องเที่ยวให้เป็นระบบเหมือนประเทศจีน ทำไมสินค้า OTOP ถึงจะไม่เกิดจริงไหมครับ... แต่นี้ ผมคิดว่า OTOP เราบางอันมันธรรมดาจนเกินไป อย่างผ้าไหม... มีเยอะเหลือเกิน หลายจังหวัดมากมาย ไม่รู้ของใครเป็นของจริง ผมว่าผู้บริโภคสับสนพอสมควรครับ ว่าควรจะซื้อของจังหวัดอะไรดี แต่ก็ดีใจครับ ที่บางแห่งก็มีการใช้เทคนิคการขอด้วยบรรยกาศบ้างแล้ว ขอบคุณมากครับ ^^

@คุณpoo >>> ใช้แล้วครับ... ถ้ามีการสนับสนุนที่ดี ผมว่าสินค้าไทยเราไม่แพ้ชาติใดในโลกครับ ขอบคุณมากครับ ^^

ขอบคุณทุกท่านที่แวะเข้ามาครับ

แสดงความคิดเห็นกันได้เต็มที่นะครับ.. หรืออยากให้ผมนำเคสการขอที่ท่านประสบปัญหาอยู่ลง

หรือหาวิธีแก้ไขปัญหาการขอทีคาใจท่านอยู่ โพสบอกกันได้ครับ แล้วผมจะเสาะหาเคสตัวอย่างดีๆมาช่วยแก้ปัญหาคาใจให้ครับ

ขอบคุณทุกท่านมากครับ ^^

จ้า พิธีชงชา เป็นพิธีที่สูงส่ง

ความจริง ถ้าชาวต่างชาติรับรู้ว่า

ชาจีนคือของคู่คนจีน

แต่เราเอาไปวางขายตามท้องตลาดโดยที่

ไม่ได้สร้าง อิมเมจอะไรให้เลย

คงจะได้รับความสนใจน้อยทีเดียว

แต่พิธีชงชา หาใครที่รู้ดี และทำได้ถูกต้องนั้น มีน้อยคนนัก

มันจึงเป็นศิลปะที่มีคุณค่า เพื่อให้ได้รับรู้และผลักดันถึง

สินค้าตัวนี้ ให้เป็นสินค้าชั้นนำ ของประเทศจีนได้

j

จะว่าไปแล้ว ตอนกลับมาบ้านนี่ เจอชาหมดอายุแล้วฝุ่นเกาะเยอะเหมือนหันนะเนี่ย

แล้วพวกสปากับนวดแผนโบราณนี่เข้าข่ายเคสนี้ไหมคะ พวกลูกประคำประคบเนี่ย

ขอแนะนำเรื่อง ผ้าไหม นิดนึงนะครับ

ด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงห่วงใย

และทรงมุ่นมั่นส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาของผ้าไหม

ให้ร่วมใจกันในการรักษาและสืบสานไหมไทยไว้เป็นมรดกวัฒนธรรมของชาติไทยสืบไป

พระองค์จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญลักษณ์ "นกยูง" หรือ Peacock Logo ๔ ชนิด

(ประกอบด้วย...Royal Thai Silk ตรานกยูงสีเหลือง, Classic Thai Silk ตรานกยูงสีฟ้า,

Thai Silk ตรานกยูงสีน้ำเงิน และ Thai Silk Blend ใช้ตรานกยูงสีเขียว

ซึ่งมีการจดทะเบียนไปแล้วเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2547 และกำลังยื่นจดในอีก 16 ประเทศ คือ...

อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน เดนมาร์ก สวีเดน นอร์เวย์ เบเนลักซ์ รัสเซีย

สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม อินโดนีเซีย และอินเดีย)

ให้เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย

และเป็นการใช้เครื่องหมายรับรองอย่างกว้างขวาง ทั้งในและต่างประเทศ

เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในด้านมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย

และการแอบอ้างนำคำว่า "ไหมไทย (Thai Silk)" ไปใช้เพื่อการค้า

ทั้งนี้เป็นการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ อย่างแท้จริง

ดังสมญาในชื่อเสียงไหมไทยว่า Thai silk : The Queen of Textile

แวะมาแบ่งปันเรื่องราวดีๆ ครับ "ขอบคุณครับ"

ขอบคุณสำหรับความเห็นครับ

@พี่แจ๋วแหวว >>> ขอบคุณสำหรับข้อคิดดีๆครับพี่ ผมลองมองมาดูที่สินค้า OTOP ของเราครับ ว่าทำไมถึงไปได้ไม่ไกล สาเหตุหนึ่งคงมาจากการเรื่องอิมเมจของตัวผลิตภัณฑ์ด้วยครับ หลายๆคนคงมองว่ามันเป็นอะไรที่โบราณเฉยๆ จึงทำให้ไม่เป็นที่นิยม ^^

@น้องชาม >>> เหอๆ แสดงว่าน้องชามติดกับการขอด้วยบรรยากาศซะแล้วละครับ ส่วนพวกลูกประคบของสปา ก็ถือว่าใช่ครับ เคสเดียวกันนี้เลย เพราะตอนเราไปทำสปานั้นมันรู้สึกสบาย ผ่อนคลายจนรู้สึกที่จะซื้อมาทำเองที่บ้าน แต่พอเอามาแล้วมันคนละฟิวครับ คล้ายกัน ^^

ขอบคุณทุกความคิดเห็นนะครับ เป็นประโยชน์อย่างมากเลยครับ ^^

ขอบคุณ ยะ มากนะ

ถือเป็นความรู้ใหม่สำหรับเอิร์ทเลย

และผมเชื่อเหลือเกินว่าคนไทยส่วนมากยังไม่รู้ตรงจุดนี้

เดี๋ยวนำมาขยายผลกันครับ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท