เรื่องเล่าจากบ้านจำรุง
เรื่อง วิทยุชุมชน
:
วิทยุชุมชนบ้านจำรุง เป็นวิทยุที่เกิดขึ้นมาท่ามกลางกระแสโลกที่มองทุกอย่างเป็นเรื่องของธุรกิจ เรื่องของผลประโยชน์ที่เป็นเงิน เรื่องความดี ความสุข ความพอเพียง ถูกมองว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมของสังคม คนทำดี ทำถูกต้องเป็นเรื่องแปลกจึงไม่ง่ายนักที่วิทยุชุมชนในหลักการ จะคงอยู่ได้ท่ามกลางกระแสโลกที่รุนแรง กระแสการแข่งขันทางธุรกิจ ที่มีเดิมพันในเรื่องของผลประโยชน์เป็นเป้าหมาย วิทยุชุมชนบ้านจำรุงได้เป็นห้องทดลองในหลักการของวิทยุชุมชนที่บอกว่า เป็นของชุมชน มีชุมชนเป็นเจ้าของร่วมกัน บริหารจัดการโดยชุมชน เพื่อประโยชน์ของชุมชนการเป็นวิทยุที่มีหลักการที่ว่า ทุกคนมีสิทธ์เข้าถึงอย่างเท่าเทียมกัน และทุกคนที่รับฟังได้เป็นเจ้าของ มีหน้าที่ในการดูแลบำรุงรักษามีหลายเรื่องราวที่เป็นเรื่องราวท้าทายสำหรับคนทำสื่อ ที่อยากเห็นหลักการวิทยุชุมชนเกิดขึ้นและมีจริง มีรูปธรรมความสำเร็จที่บอกคนที่ไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ และที่สำคัญจะได้ตอกย้ำให้ผู้คนที่เชื่อมั่นว่าถ้าทำเรื่องดี ๆ แล้วไม่แปลก มันสามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าทุกคนได้ช่วยกันทำให้เกิดกันอย่างจริงจังหลายปีที่ผ่านมา วิทยุชุมชนบ้านจำรุงได้ผ่านประสบการณ์ การเรียนรู้จากการปฏิบัติการจริงของชุมชน มีแนวทางการทำงานที่ยึดมั่นในหลักการวิทยุชุมชนอย่างแท้จริงวันนี้วิทยุชุมชนบ้านจำรุง มีอายุครบ 4 ปีไปแล้ว มีหลากหลายเรื่องราวได้เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมวิทยุชุมชนบ้านจำรุง มีผู้คนจากภายนอกชุมชน มองเข้าไปและเก็บเรื่องราวเอาไปบอกต่อ ทั้งที่เป็นงานเขียน งานสื่อทั้งโทรทัศน์ วิทยุภายในชุมชนเองก็ได้รับประสบการณ์ ในการดำเนินงานของวิทยุเช่นกันและได้ใช้ความพยายามทำเป็นเอกสาร เพื่อบอกให้ทุกคนได้รับรู้ครั้งนี้ก็จะเป็นอีกครั้งที่ได้รวบรวมเรื่องราว ของวิทยุชุมชนบ้านจำรุง เพื่อมอบให้สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดระยอง ได้รับรู้และคงนำไปเรียบเรียง เพื่อให้มีความน่าสนใจ น่าศึกษาและน่าติดตามผมได้จัดการรวบรวมจากหลาย ๆ มุมมอง ทั้งจากบุคคลภายนอกและภายในชุมชนและบางส่วนจากมุมมองของผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านที่สนใจในเรื่องของสื่อวิทยุ คงได้รับประโยชน์จากเรื่องราวของวิทยุชุมชนบ้านจำรุงในแง่มุมต่าง ๆ บ้างไม่มากก็น้อย ถ้ามีประโยชน์อันใดได้เกิดขึ้นจากนี้ ขอมอบคุณงามความดีให้กับพี่น้องบ้านจำรุงของผมทุก ๆ คนชาติชาย เหลืองเจริญ 1 พฤษภาคม 49
วิทยุชุมชนบ้านจำรุง
มีชื่อเป็นทางการว่า
“
จุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนบ้านจำรุง
”
สถานที่ตั้ง อยู่ที่ เลขที่ 9/1 อาคารศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนและผู้สูงอายุบ้านจำรุงหมู่ 7 ตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง รหัสไปรษณีย์ 21110โทรศัพท์ 0
–
3886
–
6402 / 0
–
3886
–
6218โทรสาร 0
–
3886
–
6218โทรศัพท์เคลื่อนที่ 0
–
7817 - 8030
ปัจจุบัน
จุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนบ้านจำรุง ออกอากาศทุกวัน ทางคลื่น
FM
ความถี่ 103.75
MHz
วันละ สี่ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่เวลา 11.00
–
15.00 นมีรายการสาระประมาณ 60 %รายการสาระ.และบันเทิง 30 %รายการบันเทิง 10 %ผู้ผลิตรายการ เป็นอาสาสมัครทั้งหมด ไม่มีรายได้ผู้ผลิตรายการ เป็นตัวแทนกลุ่มกิจกรรมในชุมชนวิทยุชุมชนบ้านจำรุง ไม่มีโฆษณาหารายได้ทางอากาศค่าไฟฟ้า ได้รับการสนับสนุนจากกิจกรรมร้านค้าชุมชน(เป็นกิจกรรมที่ทำรายได้ให้กับการพัฒนาชุมชนบ้านจำรุง )สถานที่ตั้ง ได้รับการสนับสนุนจากอาคารศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนและผู้สูงอายุบ้านจำรุงอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องเสียง
ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม (
SIF
) ปี 2545
( 100,000 บาท)การบริหารจัดการ คณะทำงานที่มาจากการเลือกของชุมชนงบประมาณ ได้รับจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีพัฒนาอื่น ๆ การบริหารงบประมาณ ใช้วิธีจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการเรียนรู้วิทยุชุมชนรับผิดชอบการเงิน
ที่ผ่านมา
:
วิทยุชุมชนบ้านจำรุง มีผู้สนใจและเข้ามาเรียนรู้ในการดำเนินกิจกรรมมาโดยตลอดทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศมีสื่อทั้งสื่อกระแสหลัก และสื่อกระแสรองสนใจเข้ามาเก็บข้อมูลและถ่ายทอดเรื่องราวของวิทยุชุมชนบ้านจำรุงหลายสื่อ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ สื่อเคเบิ้ลทีวี สื่อทีวี สื่ออินเตอร์เน็ตกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน ได้ใช้วิทยุเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชน ผู้คน เป็นการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพการสื่อสารของบุคลากรในชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม จะขอหยิบยกเรื่องราวจากมุมมองของคนภายนอก สักเรื่อง ชื่อเรื่องว่า
“
หัวใจสื่ออยู่ที่คน
”
คณะทำงานเอกสารชุดนี้ ได้มาเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชน และตามเก็บข้อมูล จากคนต้นเรื่องและนำมาเรียบเรียง พิมพ์เผยแพร่ในงาน
“
อยู่เย็นเป็นสุข
”
ที่เมืองทองธานี ในปี 2548 โดยนักเขียนที่มากประสบการณ์อย่างคุณ สุรกานต์ โตสมบุญและคุณประพจน์ ภู่ทองคำ
หัวใจสื่ออยู่ที่คน
วิทยุชุมชนบ้านจำรุง
/ ผู้เขียน สุรกานต์ โตสมบุญและประพจน์ ภู่ทองคำ
ปัญหาชุมชน
:
การขาดหัวใจเรียนรู้ที่มาจากภายในชุมชน
ความเปลี่ยนแปลงของบ้านจำรุง หมู่ที่ 7 ของตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เป็นไปเช่นเดียวกับความเปลี่ยนแปลงของชุมชนเกษตรแห่งอื่นๆ ในประเทศไทย ที่ถูกชักจูงโดย
“
กระบวนการพัฒนา
”
จากภาครัฐและ
”
ระบบทุนนิยม
”
ที่เป็นกระแสใหญ่ของโลกไม่ว่าจะเป็น ระบบการผลิตเพื่อขาย และการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ซึ่งราคาที่จะต้องจ่ายไปนั้น บางครั้งก็คือการทำลายล้างความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อม การเกิดหนี้เงินกู้ และการขาดวัฒนธรรมการเกื้อกูลของท้องถิ่น คุณประโยชน์ของระบบสื่อสาร ซึ่งอาจมีส่วนในการเสริมสร้าง
”
วัฒนธรรมในการเรียนรู้
”
“
การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
”
และ
”
การมีส่วนร่วมทางการเมือง
”
ก็มักจะผูกขาดและตอกย้ำแต่เพียงแนวคิดที่เป็นกระแสหลัก ซึ่งไม่ได้ส่งเสริมการพัฒนาที่อยู่บนมิติชุมชนอย่างแท้จริง อาจเห็นได้ว่า ชุมชนได้ตกอยู่ใต้การชี้นำของสถานการณ์ และความคิดต่างๆที่มาจากภายนอกชุมชน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาสำคัญอันหนึ่งอันได้แก่ การเป็นทาสทางองค์ความรู้ที่มาจากภายนอก จนท้ายที่สุดมิติการเรียนรู้ และการแก้ปัญหาโดยวิถีทางของคนในชุมชนเองมักถูกบดบังและถูกทำลายลงไป ทั้งๆที่เป็นกุญแจสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะเกิดขึ้นจากคนในชุมชนซึ่งเป็นผู้ประสพปัญหาและมีชีวิตอยู่ในท้องถิ่นนั่นเอง
กลไก
:
เชื่อมร้อยคนและกิจกรรมบนมิติชุมชน
“
จุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนของบ้านจำรุง
”
เป็นดอกผลอ่อน ๆ ที่ปลอดสารพิษบนต้นรากแห่งเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญมาตรา 40 ในการใช้ทรัพยากรการสื่อสารในสัดส่วน 20% ของภาคประชาชน (ที่เหลือเป็นของภาครัฐ 40%
กับภาคเอกชน 40%
) ให้เกิดประโยชน์สาธารณะ ตั้งแต่เปิดสถานีเมื่อ วันที่ 14 กันยายน 2545 ชุมชนได้เรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนเนื้อหา และผังรายการหลายต่อหลายครั้ง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนและให้สมาชิกได้เข้ามาทดลองออกอากาศและมีส่วนร่วมมากที่สุด
เนื่องจากชาวบ้านทุกคนของบ้านจำรุง ต่างก็เป็นสมาชิกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งของเครือข่ายกิจกรรม ซึ่งเกิดขึ้นจากความพยายามร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงภายในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการเกิดขึ้นของ
“
สภาหมู่บ้าน
”
ที่ทุกคนเข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนปัญหากันในทุกวันที่ 15 ของเดือน หรือ
“
ร้านค้าชุมชน
”
ที่ทุกครัวเรือนเป็นผู้ถือหุ้น มีผลแบ่งกำไรปลายปีคืนแก่สมาชิก และหักอีก 30 % เป็น
“
กองทุนพัฒนาหมู่บ้าน
”
สำหรับประโยชน์สาธารณะ รวมทั้ง
“
กลุ่มผู้ใช้น้ำ
”
ที่ชาวบ้านร่วมกันแก้ปัญหาการเกษตร และต่อยอดออกไปเป็นกลุ่มกิจกรรมเสริมรายได้ต่าง ๆ เช่นการรวมกลุ่มกันแปรรูปผลิตภันฑ์ นอกจากนี้ยังมี
“
กลุ่มเกษตรพื้นบ้าน
”
ที่เรียนรู้พิษภัยของเกษตรเชิงเดี่ยวใช้สารเคมีมาด้วยประสบการณ์ชีวิต มีการทดลองสนับสนุนและเผยแพร่แนวคิดเกษตรอินทรีย์ และการทำกินแบบพอเพียงเป็นต้น ต่อประเด็นดังกล่าว
“
จุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนบ้านจำรุง
”
ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มกิจกรรมบ้านจำรุงเหล่านั้น เพื่อให้เป็นกำลังหลักในการเข้ามาจัดรายการวิทยุที่มีเนื้อหาอยู่บนความสนใจของคนในชุมชนเองมากที่สุด คุณูปการขั้นต้นของ
“
สื่อชุมชน
”
แบบใหม่ที่เข้ามา จึงได้แก่ช่วยต่อยอดและส่งเสริม
“
กระบวนการเรียนรู้
”
และ
“
การแก้ปัญหาร่วมกัน
”
ของคนในชุมชนที่แต่เดิมก็ได้ดำเนินการมาอยู่แล้วให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ใช้กลุ่มกิจกรรมเดิม เป็นตัวเชื่อมร้อยคนในชุมชนให้มีโอกาสได้เข้ามาเผยแพร่ บอกเล่าประสบการณ์ และพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้นบน
“
สื่อมิติชุมชน
”
ได้ทั่วถึงขึ้น
ถอดบทเรียน
:
หัวใจวิทยุชุมชนต่อชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข
เพราะความชัดเจนในหลักการมีส่วนร่วม
“
จุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนบ้านจำรุง
”
จึงได้พยายามสร้างเครือข่ายไปยัง 10 ตำบล ที่คาดว่าอยู่ในรัศมีกระจายเสียง เป็นมิตรและประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบล รวมทั้งรักษาแนวร่วมกับนักวิชาการ องค์กรสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ทำให้วิทยุชุมชนบ้านจำรุง
“
ไม่เถื่อน
”
ภายใต้การรับรองทางใจจากคนในพื้นที่ และเกิดเป็นภาวะแห่งการเกื้อกูลที่แสวงหาพันธมิตรอย่างกว้างขวางไม่ปิดกั้น
มองในแง่สุขภาวะทางใจ การที่คนได้เข้ามาทำกิจกรรมในระบบของอาสาสมัคร ที่ต้องเสียสละทั้งเวลาในการจัดรายการ และการเตรียมเนื้อหาที่ต้องมองประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตนร่วมกันนั้น นอกจากจะสอนให้ผู้เข้าร่วม ได้เรียนรู้
“
หัวใจของการให้
”
ซึ่งเป็นหัวใจของการอยู่ร่วมกันในสังคมแล้ว
“
การเรียนรู้ร่วมกัน
”
ดังกล่าว รวมทั้งวิถีทางในการบอกเล่าข่าวสารในมิติชุมชน เช่นการถ่ายทอดประสบการณ์ การร้องเพลง ที่มีเนื้อหามาจากเรื่องราวเล็กน้อยในชุมชนของผู้จัดรายการที่เป็นญาติมิตรของผู้รับฟังเอง ก็ยังทำให้เกิดคุณค่า ความผูกพัน และความเข้มแข็งให้กับ
“
ตัวตนร่วมกันของชุมชน
”
ซึ่งถือได้ว่าเป็นสุขภาวะทางสังคม ที่สำคัญอีกข้อหนึ่งด้วย
นอกจากไปนี้ รายการวิทยุบ้านจำรุงยังได้สอดแทรกแนวคิด เช่น
“
การใส่ใจรักษาสุขภาพ
”
(รายการคุยกับหมอบานเย็น)
“
เศรษฐกิจพอเพียง
”
(รายการเกษตรพื้นบ้าน
”
“
การมีส่วนร่วมทางการเมือง
”
(รายการถากบ้านถางเมือง) และจิตรสำนึกรักท้องถิ่น (รายการเรื่องเล่าจากท้องถิ่น) เป็นต้น ซึ่งเป็นแนวคิดทางเลือกที่ชุมชนเลือกสรรด้วยตัวเอง ที่สำคัญยังมีรายการ
“
หมู่เฮาไทยอีสาน
”
ซึ่งได้เปิดพื้นที่ทางการสื่อสารให้กับกลุ่มลูกจ้างชาวอีสาน ซึ่งเคยถูกมองว่า
“
เป็นคนชั้นสอง
”
แห่งบ้านจำรุง จนทำให้เกิดการลดช่องว่างในชุมชนกล่าวโดยสรุป
“
ชุมชนบ้านจำรุง
”
มีสุขภาวะจากการวางใจ
“
หัวใจสื่ออยู่ที่ (ความสุขของ)คน
”
โดยเฉพาะ ใน 3 ด้าน ยกตัวอย่างได้ดังนี้
สุขภาวะทางกาย
- ผู้ดำเนินรายการสามารถ ลด ละ เลิก เหล้าบุหรี่- ส่งเสริมการรักษาสุขภาพ
สุขภาวะทางใจ
- เกิดความสุขของมิติของการให้ ในการทำงาน
สุขภาวะทางสังคม
- ลดช่องว่างทางสังคม
-
เสริมสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่น ...............................................................................................................................................................
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ชาติชาย เหลืองเจริญ ใน บ้านจำรุง