นั่งนานๆเพิ่มเสี่ยงโรคอ้วนลงพุง(metabolic sd.)


การศึกษา ใหม่พบ การนั่งๆ นอนๆ (inactivity; in- = ไม่; active = แอคทีฟ เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ) หรือการอยู่นิ่งๆ นานๆ เพิ่มเสี่ยงเบาหวานและโรคหัวใจ ไม่ว่าจะออกกำลัง (work out) หรือไม่ [ Telegraph ]

...

คณะแพทย์จาก สถาบันคาโรลินสกา เดนมาร์ก ทำการศึกษาพบว่า โอกาสเป็นกลุ่มอาการเมทาโบลิค (metabolic syndrome = กลุ่มอาการเมตาโบลิค หรืออ้วนลงพุง) เพิ่ม 26% ทุกๆ 1 ชั่วโมงที่ผู้หญิงดู TV หรือนั่งๆ นอนๆ 

ความเสี่ยงนี้ไม่ลดลงแม้จะออกกำลังเป็นประจำ

...

การศึกษา ในคนที่มีอายุยืนเกิน 100 ปี หรือที่เรียกว่า "ศตวรรษชน (centenarians; cent- = 100; ศต- = 100; วรรษ = วสา = ฤดูฝน; ศตวรรษ = ร้อยฤดูฝน = 100 ปี)" พบว่า ส่วนใหญ่ออกแรง-ออกกำลังแบบทีละน้อย บ่อยๆ 

ตัวอย่างเช่น เิดินมาก เดินไกล ทำไร่ทำนา ฯลฯ ไม่ได้ออกกำลังแบบคนสมัยใหม่

...

กลไกที่เป็น ไปได้ คือ การออกแรงทีละน้อย บ่อยๆ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูง เนื่องจากเซลล์กล้ามเนื้อของคนเราจะดึงน้ำตาลเข้าเซลล์ได้แบบไม่ต้องใช้ อินซูลิน หรือพึ่งพาอินซูลินค่อนข้างน้อยในช่วงที่กำลังออกแรง และช่วงหลังออกแรงใหม่ๆ 30 นาที - 17 ชั่วโมง 

ผลนี้ไม่เท่ากันในคนแต่ละคน ทว่า... บอกเป็นนัยว่า การออกแรง-ออกกำลังวันละครั้งอาจจะไม่พอ ต้องขอออกแรง-ออกกำลังเบาๆ บ่อยๆ เสริม จึงจะทำให้หลอดเลือดเสื่อมช้าลง

...

ผู้เชี่ยวชาญ แนะนำว่า การเดินช้าบ้างเร็วบ้าง 5 นาที และขึ้นลงบันไดสัก 1-2 ชั้น ทุกๆ ครั้งที่เบรค (break) หรือทุกๆ 1-2 ชั่วโมง น่าจะช่วยป้องกันกลุ่มอาการอ้วนลงพุง และเพิ่มโอกาสอายุยืนยาวได้

กลุ่มอาการเมทาโบลิค หรือโรคอ้วนลงพุง (metabolic syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ สโตรค (stroke = กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต) ประกอบด้วยลักษณะต่อไปนี้ 3 ข้อขึ้นไปได้แก่ [ moph ]; [ rcpt.org ]

...

(1). อ้วนลงพุง > เส้นรอบเอวเกิน 90 เซนติเมตรในผู้ชาย หรือ 80 เซนติเมตรในผู้หญิง

(2). ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด > 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (มก./ดล.) ขึ้นไป (ดล. = 1/10 ลิตร = 100 มิลลิลิตร)

(3). ไขมันในเลือด หรือโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ต่ำกว่า 40 มก./ดล. ในผู้ชาย หรือ 50 มก./ดล. ในผู้หญิง

(4). ความดันเลือด 130/85 ขึ้นไป หรือต้องใ้ช้ยาลดความดันเลือด เพื่อให้ความดันเลือดต่ำลง

(5). ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 110 มก./ดล.ขึ้นไป

...

เมื่อติดตามไป นานๆ คนที่มีโรคอ้วนลงพุง หรือกลุ่มอาการเมทาโบลิค เพิ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดันเลือดสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดอื่นๆ เช่น สโตรค ฯลฯ

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ > ขอแนะนำ [ วิธีป้องกันกลุ่มอาการเมทาโบลิค / อ้วนลงพุง - บทความนี้มี 3 ตอน ขอให้คลิกที่ลิ้งค์ครับ ]

...

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา                                                         

  • Thank Telegraph.co.uk > Sitting down for too long 'causes health problems - even if you exercise'. 19 January 2010. / Source > British Journal of Sports Medicine.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. > 20 มกราคม 2553.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 330553เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2010 13:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท