ฝึกดนตรี - กิจกรรมบำบัดสมองจริงหรือ?


ขอบพระคุณคุณหมออุดม เพชรสังหาร ที่แนะนำ Trainor, L.J., Shahin, A.J., & Roberts, L.E. (2009). Understanding the benefits of musical training: effects on oscillatory brain activity. The Neurosciences and Music III - Disorders and Plasticity: Ann. N.Y. Acad. Sci. 1169:133-142.

บันทึกนี้สรุปประเด็นที่น่าสนใจของการใช้กิจกรรมการฝึกดนตรีในการพัฒนาสมอง ซึ่งขณะนี้บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางสมองควรสนใจ

คลิกอ่าน Full Paper ที่ doi: 10.1111/j.1749-6632.2009.04589.x

  • กิจกรรมการฝึกดนตรีที่มีรูปแบบเฉพาะกับเด็ก (หลังฝึก 1 ปี) และผู้ใหญ่ (ผ่านการฝึกทันทีจากไวโอลิน, เปียโน, ไม่มีรูปแบบดนตรีแน่นอน) ส่งเสริมให้สมองมีการทำงานของ Gamma-band activity แต่กลไกของกิจกรรมนี้ต่อการจัดการกระบวนการคิดนั้นยังไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจน
  • การทำงานของสมองข้างต้นมีผลต่อความสนใจ ความคาดหวัง ความจำ การประสมประสานภาพและวัตถุ และการประสมประสานการรับความรู้สึกที่หลากหลาย
  • Gamma-band activity มีรูปแบบการวัดทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องอาศัยการฝึกและคำนวณความถี่ของคลื่นสมองสู่พื้นที่ครอบคลุมคลื่นสมอง อย่างไรก็ตามพัฒนาการของการเกิด evoked gamma-band activity ไม่พบในเด็กจากการวัดครั้งแรกที่ได้ฝึกดนตรี แต่สามารถพบภายหลังการฝึกดนตรีในเด็กนาน 1 ปี
  • การฝึกดนตรีในผู้เล่นที่มีประสบการณ์มีขนาดของคลื่นสมองที่ใหญ่กว่าผู้รับการฝึกแบบสมัครเล่น และมีรูปแบบเฉพาะที่แตกต่างตามชนิดของเครื่องดนตรีด้วย
  • การเปลี่ยนแปลงคลื่นสมองหลังการฝึกเล่นดนตรี ส่งผลมากจากการฝึกรับรู้โทนเสียงและแยกแยะท่าทางจากการเคลื่อนไหวร่างกายผ่านเครื่องดนตรีที่มีจังหวะชัดเจน

ข้อมูลเหล่านี้ยังต้องมีการริเริ่มและศึกษาวิจัยอย่างจริงจังเพื่อมาบูรณาการกับการจัดกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพทางสมองได้อย่างทั่วถึงในประชากรไทย

ผมเองก็สรุปผลวิจัยแล้วถึงระบบการจัดกิจกรรมบำบัดจากความสนใจและความมั่นใจของผู้รับบริการในโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งมีการนำสื่อทางดนตรีไปรวมทำกิจกรรมบำบัด แต่ผลการวิจัยนั้นบูรณาการประสิทธิภาพของสื่อต่างๆ ที่นอกเหนือจากดนตรี และวัดผลจากคุณภาพชีวิตเป็นหลัก ทั้งนี้หากมีสหวิชาชีพที่วัดผลของกิจกรรมบำบัดด้วยเครื่องมือวัดคลื่นทางสมองและวัดคุณภาพชีวิตหรือดัชนีชี้วัดอื่นๆ ก็คงสมบูรณ์ดี

บางครั้งผมอยากหาแนวร่วมที่พัฒนางานวิจัยไปในทิศทางเดียวกัน มิใช่ต่างวิชาชีพต่างทำแต่ไม่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มุ่งเป้าหมายประชากรไทยพร้อมกัน แต่ก็คงใช้เวลาเพราะงานกิจกรรมบำบัดเพิ่งเป็นที่รู้จักและต้องการงานวิชาการนำร่องอีกมากมายครับ

หมายเลขบันทึก: 330546เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2010 13:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สนับสนุนแนวคิดของอ.นะคะ

จากประสบการณ์การสอนมานานครูต้อยพบว่าเด็กน้อยของครูต้อยมีความสุขจากเสียงดนตรี แม้แต่เครื่องดนตรีที่เด็กๆทำขึ้นมาหรือหามาเอง

เช่นลูกแก้ว ตะเกียบ แก้วน้ำใส่น้ำ ขวดพลาสติก ขวดเครื่องดื่มใส่กรวดเล็กๆ ฝาน้ำอัดลม เสียงปรบมือ และเสียงร้องที่เปล่งออกมาเป็นคำๆ เสียงสูงต่ำที่กำหนดขึ้นทำให้เด็กสามารถอ่านได้เร็วขึ้น และนำเสียงนั้นไปร้อง ไปพูดเล่นอย่างมีความสุข

หลานชายอายุ2ขวบ สามารถร้องเพลงโดยเริ่มจากการฟังตั้งแต่เล็กๆ เมื่อหัดพูดสามารถร้องเพลงเป็นคำๆ และคำที่ร้องได้นั้นพบว่าเป็นคำที่สนุกมีเสียงสูงต่ำ

และพบว่าการร้องเพลงให้เด็กฟังบ่อยๆซ้ำๆ จะช่วยพัฒนาการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานไปสู่การแยกแยะเสียงและคำที่แตกต่างกัน เด็กจะแสดงให้รู้ทันทีว่าเกิดความผิดพลาดของเสียงและคำที่ร้อง โดยการหัวเราะขำ และล้อเลียนคำที่แตกต่างจากเนื้อเพลงที่เคยได้ยิน

ทำนองของเพลงช่วยให้อารมณ์ของเด็กดีขึ้น สบายใจขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้เด็กคึกคักขึ้นมาได้เช่นกัน

เวลาเกิดกรณีพิพาษกันระหว่างเด็กน้อย ครูต้อยจะเรียกเด็กมาแล้วเปิดเพลงให้ฟังทั้งสองฝ่าย และโดยไม่ถามไถ่ ครูต้อยก็จะร้องเพลงอย่างมีความสุข

หันไปอีกทีลิงของครูต้อยขยับเข้ามาใกล้กัน แล้วก็คุยกันแบบสนิทสนมเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

ขอบคุณค่ะที่ให้โอกาสบอกเล่า

แล้วครูต้อยจะแวะมาใหม่ค่ะ

 

ขอบคุณสำหรับประสบการณ์กิจกรรมดนตรีที่น่าประทับใจจากคุณครูต้อยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท