จากงานที่ได้ประมูลไปก่อนหน้านี้
ขณะเดียวกันปริมาณงานของโครงการภาครัฐเริ่มลดลง
เนื่องจากรัฐบาล ขาดเสถียรภาพในช่วงที่ผ่านมา
ล่าสุดในวันนี้ (1 มิ.ย.) สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำกัด
ได้มีการเรียกสมาชิกในธุรกิจรับเหมาและวัสดุก่อสร้าง
หารือในหัวข้อ"ปัญหาความเดือดร้อนของธุรกิจก่อสร้าง"
โดยมีวัตถุประสงค์หลัก
เพื่อพิจารณาปัญหาความเดือนร้อนของธุรกิจก่อสร้าง
และหามาตรการแก้ปัญหาจากวิกฤตการณ์และความผันผวนทางเศรษฐกิจโลก
น้ำมันขึ้นราคา ดอกเบี้ยปรับสูงขึ้น
วัสดุก่อสร้างและค่าขนส่งปรับราคาสูงขึ้นอย่างมาก
สร้างปัญหาต่อผู้ประกอบอาชีพก่อสร้าง
ผู้รับเหมาและผู้ค้าวัสดุก่อสร้าง "จริง ๆ
แล้ว ผู้ประกอบการอดทน เพราะเข้าใจถึงปัญหาของรัฐบาลในขณะนี้
เราไม่อยากแสดงให้เห็นว่าเป็นเด็กทารก ไม่ใช่ มีอะไรก็ขอ
ไม่ว่าจะเป็นพ่อจริง หรือพ่อเลี้ยงอย่างเดียว
แต่ตอนนี้ภาครับเหมาและที่เกี่ยวข้องรอไม่ได้แล้ว
สิ่งที่จะนำเสนอสมาคมและผู้รับเหมาไม่ได้พูดส่งเดส
ไม่ใช่พูดโดยไม่มีหลักฐาน ไม่ได้พูดแทนคนที่เดือนร้อนบางคน
แต่ทั้งหมด" นายพลพัฒ กรรณสูต นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย เปิดเผย
และถือเป็นภารกิจแรกภายหลังมานั่งตำแหน่งนายกสมาคมฯ
โดยพบว่าสมาชิกของสมาคมฯได้ร้องเรียนเข้ามาเป็นจำนวนมาก
เกี่ยวกับปัญหาค่าชดเชยงานก่อสร้าง (ค่าเค)
ที่ควรจะเป็นรายได้ของบริษัทรับเหมา
ปรากฏว่ายังค้างอยู่คิดเป็นวงเงินสูงถึง 1,000 ล้านบาท
ส่วนใหญ่จะเป็นงานรับเหมาประเภทงานอาคารโยธา เป็นต้น
ทั้งนี้
สาเหตุหลักน่าจะเกิดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่าย คือ
กรมบัญชีกลางไม่ได้ตั้งงบประมาณไว้
ทำให้เกิดปัญหาขึ้น
จึงอยากเสนอให้รัฐบาลเร่งรัด
ในเรื่องดังกล่าว เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องให้แก่ภาครับเหมา
รวมถึงเตรียมไว้สำหรับการจ่ายค่าวัสดุก่อสร้าง
"ใครต่อใครมองว่า บริษัทรับเหมารวยอาจจะใช่ แต่การทำธุรกิจทุกวันนี้
กำลังกินบุญเก่าต่อชีวิต และบุญเก่า
ก็เริ่มหมดลงแล้ว ตอนนี้การซื้อวัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็ก
ให้ซื้อด้วยเงินสด ซึ่งบริษัทรับเหมาที่ได้รับงานจากภาครัฐในช่วง 2
จะเริ่มจุกที่เจอต้นทุนที่สูงขึ้น ตัวเลขเดือน มี.ค.
เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน น้ำมันขึ้นราคามาแล้วประมาณ
70% นอกจากนี้ ทางสมาคมฯจะเสนอให้รัฐผ่อนปรนค่าเค
ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง
และขอผ่อนปรนเรื่องการเพิ่มน้ำหนักบรรทุยกแลกของ "พลพัฒ กรรณสูต" นายก
ส.อุตฯ ก่อสร้างไทย
ระดมสมาชิกถกความเดือดร้อนของธุรกิจก่อสร้างก่อนเสนอรัฐบาล
ระบุผู้รับเหมาเจอหลายเด้ง ต้นทุนพุ่ง งานในมือน้อยลง
ซ้ำร้ายรัฐค้างจ่ายค่าชดเชยงานก่อสร้าง(ค่าเค) กว่า 1,000 ล้านบาท
ระบุผู้รับเหมากินบุญเก่าใกล้หมดแล้ว
พร้อมเสนอขอผ่อนปรนเพิ่มน้ำหนักรถบรรทุกเป็น 30 ตัน
ยืดเวลาส่งมอบงานหวั่นถูกปรับ
จับตายอดขึ้นทะเบียนผู้รับเหมาลดฮวบ
ผลพวงจากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงต่อเนื่อง
ได้กลายเป็นปัญหาที่ส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ
ขยับตาม
ในขณะที่โอกาสที่จะปรับราคาขายสินค้าในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว
ค่อนข้างกระทำได้อย่างลำบาก
เนื่องจากผู้บริโภคระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย
ในขณะที่ภาครับเหมาก่อสร้างไทย เริ่มได้รับผลกระทบก จากขณะนี้อยู่ที่
25 ตัน เพิ่มมาเป็น 30 ตัน เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหา
โดยอาจจะกำหนดน้ำหนักรถบรรทุกระดับดังกล่าวไปก่อน
และเมื่อทุกอย่างคลี่คลายแล้วอาจจะปรับใหม่
"นายพลพัฒกล่าว
จากปัญหาทางการเมืองและสภาพเศรษฐกิจ
ส่งผลให้ปริมาณงานที่ผู้รับเหมาจะเข้าไปเสนอราคาเพื่อรับงานมีลดลง
ขณะที่จำนวนบริษัทรับเหมาในตลาดมีอยู่ในตลาดค่อนข้างมาก
ทำให้เกิดการแข่งขันเข้าไปชิงงาน อย่างไรก็ตาม
เริ่มมีแนวโน้มบริษัทรับเหมาที่ยกเลิกประกอบธุรกิจรับเหมา
เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย
และหากดันทุรังต่อไปอาจกระทบต่อฐานะของธุรกิจได้
ขณะที่ในส่วนของกรมทางหลวง ผู้รับเหมามาจดทะเบียน
มีสัดส่วนที่ลดลงมากกว่า 50% โดยสถิติปี 2547
เดิมมีผู้รับเหมาขึ้นทะเบียนมากกว่า 1,000 ราย ต่อมากรม
มีนโยบายปรับปรุงหลักเกณฑ์คุณสมบัติผู้รับเหมาขึ้นทะเบียนรับงานกับกรมใหม่ส่งผลให้ปี
2548 สถิติผู้รับเหมาจดทะเบียนลดเหลือ 565 ราย และปี 2549
สถิติจดทะเบียนใหม่ช่วง 5 เดือนแรกของปี49 มีเพียง 14 ราย
อาจจะเป็นเพราะภาวะเศรษฐกิจและการปรับหลักเกณฑ์คุณสมบัติผู้รับเหมาขึ้นทะเบียนให้รัดกุม
เข้มงวด และมีมาตรฐานมากขึ้น
ผู้จัดการรายวัน 2 มิ.ย. 49
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ห้องสมุดกรมบัญชีกลาง CGD Library ใน สรุปข่าวประจำวันของห้องสมุดกรมบัญชีกลาง
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก