เครื่องมือสำหรับการบริหาร


เครื่องมือการบริหาร 7 อย่าง

เครื่องมือสำหรับผู้บริหาร 7 อย่าง

                หลักการและเหตุผล “คุณภาพ” สิ่งสำคัญที่ทุกองค์กรต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นดัชนีชี้วัดความประสบผลสำเร็จขององค์กร กิจกรรมหลายๆ อย่างได้ถูกนำมาใช้เพื่อให้เกิดคุณภาพขึ้นมา และมีการจัดการเพื่อให้เกิดความคงที่และพัฒนาอย่างต่อเนื่องของระบบคุณภาพ QC 7Tools เป็นเครื่องมือทางสถิติที่นิยมนำมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น บางทีก็เรียกว่า Basic Seven ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ใช้ที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหา (Problem-Solving) หรือใช้ในการปรับปรุงพัฒนา (Improvement) QC 7Tools เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากความง่าย และมีประสิทธิผลในการปรับปรุงพัฒนาการทำงาน โดยเครื่องมือดังกล่าวนี้จะมีส่วนช่วยในการค้นหาปัญหา สำรวจสภาพปัจจุบัน ค้นหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อที่จะหาวิธีการแก้ไขต่อไป และดำรงไว้ซึ้งมาตรฐาน

Seven New Q.C. Tools คือะไร?

Seven New QC Tools จะประกอบด้วย

1) แผนผังกลุ่มเชื่อมโยง (Affinity Diagrams)

2) แผนผังความสัมพันธ์ (Relations Diagrams)

3) แผนผังต้นไม้ (Tree Diagrams)

4) แผนผังแมทริกซ์ (Matrix Diagrams)

5) แผนผังลูกศร (Arrow Diagrams)

6) แผนผัง PDPC (Process Decision Program Charts (PDPC))

7) การวิเคราะห์ข้อมูลแบบแมทริกซ์ (Matrix Data Analysis)

 

Seven New Q.C. Tools เกิดขึ้นเมื่อใด ?

  • คณะกรรมการเพื่อพัฒนาเครื่องมือควบคุมคุณภาพ ภายใต้การดูแล ของ J.U.S.E. ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1972 โดยมุ่งเน้นพัฒนาเทคนิคในการควบคุมคุณภาพ สำหรับ ให้ผู้จัดการและเจ้าหน้าที่นำไปใช้งานใน ลักษณะของ design approach และ สามารถใช้งานร่วมกับ Original Basic Seven Tools ได้เป็นอย่างดี
  • New set of methods (N7) ถูกนำมาใช้ในปี 1977

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ New Seven Q.C. Tools

  • ความสามารถที่ได้รับการสนับสนุนจาก New Seven Q.C. Tools
  • 1) จัดระเบียบข้อมูลที่อยู่ในเชิงบอกเล่า หรือ คำพูด
  • 2) ก่อกำเนิดความคิดเห็น
  • 3) ปรับปรุงการวางแผน
  • 4) ขจัดความผิดพลาดและการมองข้ามประเด็นที่อาจตกหล่น
  • 5) อธิบายปัญหาอย่างชาญฉลาด ทำให้เข้าใจง่าย
  • 6) รักษาความร่วมมือกันไว้อย่างเต็มที่
  • 7) ชักชวนกันทำอย่างมีพลัง

แผนผังกลุ่มเชื่อมโยง (Affinity Diagrams)

ความหมาย

แผนผังกลุ่มเชื่อมโยง คือ เครื่องมือสำหรับช่วยแก้ไขความสับสน โดยการนำปัญหาต่างๆมาเขียนเป็นโครงสร้างของปัญหาที่มีความชัดเจนขึ้น ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูล ความเห็นหรือความคิดเห็นที่เป็นตัวอักษรต่างๆเข้าด้วยกัน

     สรุปได้ว่าใช้สำหรับการจับประเด็นปัญหาในสถานการณ์ที่ยุ่งเหยิง และ การกำเนิด กลยุทธ์การแก้ปัญหา

-ใช้เมื่อพูดถึงเรื่องที่เป็นหลักใหญ่ จะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง สำหรับช่วย แก้ไขความสับสน และการนำปัญหามาสร้างภาพที่ชัดเจนเป็นหนทางที่จะจัดวาง และจัดโครงสร้างของปัญหา เมื่อเกิดสถานการณ์ที่จุกจิก ตัดสินใจไม่ได้ แจกแจง ไม่ดี สามารถกล่าวง่าย ๆว่า

-ใช้รวบรวมข้อมูลจำนวนมากที่เกิดจากการซักถาม พูดคุย (ข้อมูลในเชิง แนวความคิด, ความเห็น, เรื่องต่าง ๆ)

-ใช้ในการจัดข้อมูลเป็นกลุ่มโดยอาศัยความสัมพันธ์โดยธรรมชาติที่ ควรเป็น (natural relationship)

-การจัดกลุ่มควรเอื้อต่อการวิเคราะห์ในอนาคตเพื่อหาคำตอบของ ปัญหา

-แผนผังกลุ่มเชื่อมโยงนี้ บางทีเรียกว่า KJ Method (เรียกชื่อตามผู้คิด คือ Kawakita Jiro)

 

ข้อดีของแผนผังกลุ่มเชื่อมโยง

  • ทำให้เกิดความคิดแหวกแนว และ กระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ ๆ ออกมา
  • ทำให้สามารถขุดปัญหาขึ้นมา โดยการกลั่นกรองข้อมูลที่เป็นคำพูดที่ได้ จากสถานการณ์อันยุ่งเหยิง และ จัดแยกออกเป็นกลุ่มตามธรรมชาติของ ปัญหา
  • เปิดทางให้ปัจจัยสำคัญของปัญหาถูกเจาะได้อย่างแม่นยำ และแน่ใจได้ว่า ทุกคนที่เกี่ยวข้องมองเห็นปัญหาอย่างชัดเจน
  •  โดยการรวมความคิดเห็นของสมาชิกทุกคนในกลุ่มเข้าด้วยกัน จึงทำให้ ยกระดับการรับรู้ของทุกคนและกระตุ้นให้กลุ่มลงมือทำ

 

วิธีการสร้างแผนผังกลุ่มเชื่อมโยง

  • เลือกหัวข้อ (Select a topic)ที่ต้องการแก้ไข
  • รวมรวมข้อมูลเชิงคำพูด(verbal data)โดยการระดมความคิด
  • ชี้แจงข้อมูลที่ต้องการรวบรวมให้ทุกคนเข้าใจอย่างชัดเจน
  • เขียนข้อมูลแต่ละอันลงบนบัตรข้อมูล (Data Card)
  • จัดข้อมูลที่สัมพันธ์กัน หรือ เชื่อมโยง ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
  • รวมลักษณะข้อมูลของกลุ่มนั้น ๆ แล้วตั้งชื่อใหม่ให้ครอบคลุมข้อมูลในกลุ่ม นั้นทั้งหมด
  • ทำบัตรใหม่ขึ้นมาเพื่อใช้แทนกลุ่มบัตรเก่าโดยใช้ชื่อที่ตั้งขึ้นมาใหม่ บัตรใหม่ นี้เรียกว่า บัตรเชื่อมโยง (Affinity Card)
  • ทำการคัดเลือกบัตรต่อไปเรื่อยๆจนกว่าระดับของการเชื่อมโยงลดลงเรื่อยๆจนกระทั่งเหลือบัตรไม่เกิน 5บัตรอาจจะมีบัตรข้อมูลที่ไม่มีการเชื่อมโยงก็ปล่อยไว้เช่นนั้น
  • จัดบัตรในกลุ่มเชื่อมโยงแต่ละกลุ่มเข้าด้วยกัน โดยแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกันด้วยลูกศร

แผนผังความสัมพันธ์ (Relations Diagrams)

ความหมาย

                แผนผังความสัมพันธ์ หรือ แผนผังความสัมพันธ์ระหว่างกันคือเครื่องมือสำหรับแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อน โดยช่วยกันทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่าง “ปัญหา”กับ “สาเหตุของปัญหา”อย่างชัดเจนซึ่งจะทำให้สามารถวางแผนในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องตามลำดับความสำคัญ

สรุปได้ว่า

  • เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับแก้ไขเรื่องยุ่งยากโดยการคลี่คลายการเชื่อม โยงกันอย่างมีเหตุผล (Logical connection) ระหว่างสาเหตุ และผลที่ เกิดขึ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกัน (หรือ วัตถุประสงค์ และกลยุทธ์ที่จะบรรลุ ความสำเร็จในเรื่องนี้)
  • รูปแบบของแผนผังความสัมพันธ์หลัก ๆ มีอยู่ 4 แบบ ได้แก่ แบบรวม ศูนย์  แบบมีทิศทาง  แบบแสดงความสัมพันธ์ และแบบตามการประ ยุกต์ใช้

 

ข้อดีของแผนผังความสัมพันธ์

  • มีประโยชน์ในช่วงการวางแผน ทำให้มองเห็นภาพพจน์ของสถานะการณ์ ต่าง ๆ ได้ครบถ้วน
  • ทำให้ทีมลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ได้ง่าย
  • ช่วยในการพัฒนาและเปลี่ยนกระบวนการคิดของคน
  • ทำให้กำหนดลำดับความสำคัญเพื่อชี้บ่งได้อย่างแม่นยำ
  • ทำให้มองปัญหาที่เกิดจากความสัมพันธ์ของหลายสาเหตุ ได้อย่างชัดเจน

 

วิธีการสร้างแผนผังแสดงความสัมพันธ์

  • อธิบายถึงปัญหาในรูปแบบของ“Why isn’t something happening?”
  • ระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาอย่างน้อย 5 สาเหตุ ที่กระทบถึงปัญหา
  • จัดกลุ่มของปัญหากับสาเหตุที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน
  • จัดเรียงลำดับความสำคัญของสาเหตุ เป็นสาเหตุเบื้องต้นสาเหตุระดับที่ 2 สาเหตุระดับที่ 3ฯลฯ โดยการถามคำถามว่า “ทำไม”ซ้ำๆกันไปเรื่อยๆ
  • เขียนลูกศรเชื่อมโยงสาเหตุที่เป็นไปได้ทั้งหมดกับปัญหาที่มี
  • พิจารณาแผนผังและระบุว่าสาเหตุใดเป็นสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง

 

แผนผังต้นไม้ (Tree Diagrams)

ความหมาย

แผนผังต้นไม้ คือ เครื่องมือที่แสดงให้เห็นแนวทางหรือกลยุทธ์ต่างๆในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยจะเริ่มต้นจากการตั้งวัตถุประสงค์(เป็นเป้าหมายในการแก้ปัญหา)และนำกลยุทธ์ดังกล่าวมาตั้งเป็นวัตถุประสงค์ต่อไป เพื่อหากลยุทธ์ใหม่ต่อไปเรื่อยๆจนได้กลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด

 

สรุปได้ว่า

  • แผนผังความสัมพันธ์จะเป็นตัวบอกถึงปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งความสัมพันธ์ซึ่งกัน และกัน แผนผังตันไม้จะถูกนำมาใช้แก้ปัญหาเหมาะ สำหรับการผลักดันกลยุทธ์ ที่ดีเยี่ยมที่สุดอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์
  • แผนผังต้นไม้พัฒนามาจากการวิเคราะห์หน้าที่งานใน Value Engineering เริ่มจากการตั้งวัตถุประสงค์ (เช่น Target Goal หรือ Result) แล้วดำเนินการ พัฒนากลยุทธ์สืบต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อให้บรรลุ ผลสำเร็จ
  • บางทีเรียกว่า Systematic diagrams หรือ Dendrograms
  • แผนผังทำให้มีกลยุทธ์สำหรับแก้ปัญหาเป็นระบบ หรือ เป็นตัวกลางในการ บรรลุวัตถุประสงค์ซึ่งถูกพัฒนาอย่างมีระบบและมีเหตุผล ทำให้รายการที่ สำคัญอันใดอันหนึ่งไม่ตกหล่นไป
  • ทำให้การตกลงกันภายในสมาชิกสะดวกขึ้น
  • ทำให้บ่งชี้และแสดงกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาอย่างขัดเจน ทำให้เกิดความมั่นใจ

 

วิธีการทำผังต้นไม้

  • เขียนเรื่องที่ต้องการแก้ไข หรือ เป้าหมายที่คัดเลือกมาจากแผนผังความสัมพันธ์ลงใน “บัตรวัตถุประสงค์ (Objective card)” เพื่อใช้บัตรนี้ เป็นเป้าหมายในการดำเนินงาน
  • ระบุข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ขัดขวางไม่ให้บรรลุวัตถุประสงค์
  • พิจารณากลยุทธ์หรือวิธีการที่เป็นไปได้ที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยระบุลงไปใน “บัตรวิธีการ” กลยุทธ์ระดับแรกนี้เรียกว่า “วิธีการเบื้องต้น (Primary means)”
  • นำ “บัตรวิธีการลำดับแรก” แต่ละอันมาเป็นวัตถุประสงค์ต่อไป เขียนกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งเรียกกันว่า “วิธีการลำดับที่ 2”
  • จัดเรียงบัตรวิธีการตามลำดับ จากซ้ายไปขวาหรือบนลงล่าง และ ลากเส้นเชื่อมต่อกัน
  • เขียนแผนผังขยายต่อไปจนถึงระดับที่ 4 โดยทบทวนแต่ละวิธีการ กลับไปกลับ มา (from objective to means and means to objective)

 

แผนผังเมตริกซ์ (Matrix Diagrams)

ความหมาย

แผนผังเมตริกซ์ คือ แผนผังที่ประกอบด้วยข้อความในแนวตั้ง(columns) และข้อความในแนวนอน(Rows)ณ จุดที่ตัดกันนี้จะเป็นตำแหน่งที่ใช้พิจารณาข้อความที่เป็นแนวคิดสำคัญสำหรับการแก้ปัญหา

 

ข้อดีของแผนผังแมทริกซ์

  • ช่วยให้สามารถนำข้อมูลจากความคิดเห็นที่มีฐานจากประสบการณ์ ออกมาใช้ งานได้อย่างรวดเร็วและเต็มที่ บางทีเราจะเห็นว่า ข้อมูล เหล่านี้ สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลมากกว่าข้อมูลที่เป็น ตัวเลขเสียอีก
  • ทำให้ความสัมพันธ์กันในกลุ่มที่มีสถานการณ์แตกต่างกันกระจ่าง ชัดเจนขึ้น ซึ่งทำให้ปัญหาโดยรวมปรากฏชัดขึ้นมาทันที
  • แผนผังนี้ช่วยกำหนดตำแหน่งของปัญหาได้อย่างชัดเจน

 

การสร้างแผนผังแมทริกซ์

  • พิจารณาจากผังต้นไม้และเลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุดออกมา นำมาเขียนลง

ด้านซ้ายมือของกระดาษ เพื่อทำเป็นแกนนอนของเมตริกซ์ (Row)

  • ในแกนตั้ง (column) จะแยกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มการประเมินผล (ได้แก่

ประสิทธิผล การนำไปปฏิบัติได้ ลำดับตำแหน่ง) และ กลุ่มความรับผิด

 ชอบ (ได้แก่ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ)

  • พิจารณาช่องแต่ละช่องของเมตริกซ์และใส่สัญลักษณ์ที่เหมาะสมลง

ไป เพื่อแสดงระดับของคะแนนการประเมิน(ความสำคัญ) และ แสดงระ

ดับความรับผิดชอบว่าเป็นความรับผิดชอบหลัก หรือ ความรับผิดชอบรอง

  • แปลความหมายจากแผนผังเมตริกซ์จดบันทึกความหมายของสัญลักษณ์ที่ใช้

รวมทั้งข้อมูลที่จำเป็นอื่นๆ

 

แผนผังลูกศร (Arrow Diagrams)

ความหมาย

                แผนผังลูกศร คือ แผนผังที่แสดงถึงแผนงานและกำหนดการในการแก้ไขปัญหาต่างๆเพื่อช่วยให้สามารถติดตามความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น

 

สรุปได้ว่า

  • เพื่อใช้ในการจัดทำกำหนดการและควบคุมกำหนดการในการแก้ไขปัญหา
  • แสดงความสัมพันธ์ระหว่างงานต่าง ๆ (tasks) ที่ต้องลงมือทำ ในแผน งานหนึ่ง ๆ
  • ใช้เทคนิคของ Network โดยให้ nodes แทน events และ arrows แทน activities
  • ถูกนำมาใช้ใน PERT (Program Evaluation and Review Technique) และ CPM (Critical Path Method)

 

ข้อดีของแผนผังลูกศร

  • ทำให้งานทั้งหมดมองเห็นได้และสามารถระบุอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นก่อน เริ่มทำงาน
  • สามารถเขียนโครงข่ายนำไปสู่การค้นพบการปรับปรุงที่เป็นไปได้ ซึ่งอาจ ถูกมองข้ามไป
  • ทำให้การตรวจติดตามความก้าวหน้าของงานง่ายขึ้น สามารถจัดการกับ การเปลี่ยนแปลงแผนงานได้ทันที และมุ่งไปสู่ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
  • ปรับปรุงการสื่อสารในระหว่างสมาชิกกลุ่ม ส่งเสริมความเข้าใจ และ เอื้อ อำนวยต่อการตกลงกัน

 

การสร้างแผนผังลูกศร

  • พิจารณาจากแผนผังต้นไม้ และ เลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุดที่จะนำมาปฏิบัติ เพื่อเขียน เป็นวัตถุประสงค์ของแผนผังลูกศร
  • กำหนดข้อจำกัดต่าง ๆ สำหรับการมุ่งไปยังวัตถุประสงค์
  • จัดเรียงลำดับของกิจกรรมทั้งหมดที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์
  • กิจกรรมที่ไม่จำเป็นหรือซับซ้อนให้ตัดออกไป และ เชื่อมโยงกิจกรรมที่เหลืออยู่ เข้าด้วยกัน
  • ทบทวนแผนผังทั้งหมด และ เพิ่มกิจกรรมที่จำเป็นเข้าไป
  • หาทางเดินของแผนผัง โดยให้ผ่านจุดที่มีจำนวนที่มีกิจกรรมมากที่สุด
  • บันทึกชื่อต่าง ๆ หรือ ข้อมูลที่จำเป็นกำกับไว้ด้วย (ถ้าต้องการ)

 

แผนภูมิขั้นตอนการตัดสินใจ

(Process Decisions Program Charts)

ความหมาย

                แผนภูมิขั้นตอนการตัดสินใจ คือ เครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมการดำเนินการแก้ไขปัญหาในกรณีที่มีดำเนินการออกนอกแนวทางที่ต้องการ

 

สรุปได้ว่า

  • เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยในการป้องกัน การดำเนินการไม่ให้เบี่ยงเบนออกไปจากแผนที่วางไว้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหา ที่ร้ายแรงตามมา
  • ใช้สำหรับวางแผนสำหรับกรณีฉุกเฉินต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

 

ข้อดีของ Process Decisions Program Charts (PDPC’s)

  • ประสานการพยากรณ์และช่วยให้สามารถนำประสบการณ์ในอดีตมาใช้ ในการ คาดการณ์กรณีฉุกเฉินที่ซับซ้อนต่าง ๆ และรู้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ล่วงหน้า
  • ช่วยให้ชี้จุดที่เป็นปัญหา และ ยืนยันส่วนที่มีความสำคัญเป็นลำดับแรกได้
  • จะแสดงให้เห็นวิธีการที่จะนำเหตุการณ์เหล่านี้ไปสู่ข้อสรุปที่ประสบผลสำเร็จ แผนภูมินี้จะช่วยให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องเข้าใจความประสงค์ของผู้ทำการตัดสินใจ
  • เป็นเครื่องมือในการวางแผนที่มีความยืดหยุ่น ซึ่งยอมให้มีการดัดแปลงแผนได้ อย่างง่ายดาย โดยการรวบรวมความเห็นของทุก ๆ คน
  • แผนภูมิเข้าใจง่าย และ ส่งเสริมความร่วมมือและการสื่อสารระหว่างกัน

 

การสร้างแผนภูมิขั้นตอนการตัดสินใจ

  • พิจารณาจากแผนผังต้นไม้ และเลือกกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิผล มากที่สุดออกมา
  • กำหนดเป้าหมายที่ต้องการบรรลุออกมา
  • ระบุถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน และ กำหนดเป็น “จุดเริ่มต้น”
  • ระบุกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย
  • ระบุปัญหาเพิ่มเติมที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละกิจกรรมอย่างสั้น ๆ
  • เชื่อมโยงกิจกรรมต่าง ๆ และ ปัญหาเข้าด้วยกัน
  • พิจารณาแผนผังเพื่อดูว่า มีจุดใดที่จะต้องมีกิจกรรมเพิ่มเติม เพื่อทำให้การแก้ ปัญหามีประสิทธิผลมากที่สุด และบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

 

การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเมตริกซ์

 ( Matrix Data Analysis )

ความหมาย

การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเมตริกซ์ คือ เทคนิคการวิเคราะห์ตัวแปรหลายๆตัวซึ่งเป็นตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการวิเคราะห์

การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเมตริกซ์นี้จะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นตัวเลข โดยจะวิเคราะห์ดูว่าข้อมูล 2 ชุดที่มาพิจารณานั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไรและกำหนดระดับความสัมพันธ์นั้นๆออกมาเป็นตัวเลข เพื่อนำไปใช้งานต่างๆ

 

สรุปได้ว่า

  • ใช้วิเคราะห์องค์ประกอบพื้นฐานของความสัมพันธ์
  • เพื่อใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราต้องการ พิจารณาว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
  • เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกเรื่องที่มีความสำคัญมากที่สุดมาใช้ใน การทำงาน

 

ข้อดีของการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเมตริกซ์

  • สามารถใช้ได้กับหลาย ๆ พื้นที่ที่แตกต่างกันออกไป เช่น market surveys, new product planning, process analysis)
  • นำมาใช้เมื่อ Matrix diagram ไม่สามารถให้ข้อมูลได้อย่างพอเพียง ในการตัดสินใจ
  • ใช้ช่วยในการตัดสินใจในการกำหนดความสำคัญ (Prioritization Grid)

 

วิธีการสร้างการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเมตริกซ์

  • กำหนดตารางที่จะทำการวิเคราะห์ โดยให้แกนตั้งเป็นตัวอย่างที่ต้องการประเมินและแกนนอนเป็นหลักเกณฑ์ที่จะใช้ประเมิน
  • หาค่าเฉลี่ยจากคะแนนที่ผู้ประเมินได้ประเมินไว้ตามตารางข้อ1
  • พิจารณาดูความสัมพันธ์จากหลักเกณฑ์ต่างๆกับรายการที่ต้องการประเมินว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร โดยการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์จากสูตร

เมื่อใดจะใช้อะไร?

1) เรามักจะเริ่มต้นด้วย การค้นหาความซับซ้อน/สับสน เพื่อทำการแจก แจงปัญหาที่เราเผชิญอยู่

  • ถ้าข้อมูลขึ้นอยู่กับความรู้สึก (Feeling) ให้ใช้แผนผังกลุ่มเชื่อมโยง
  • ถ้าข้อมูลเป็นเหตุเป็นผล (Logic) ให้ใช้แผนผังความสัมพันธ์

สิ้นสุดขั้นตอนนี้ เราจะสามารถมองปัญหา และ ความซับซ้อนได้ จากนั้นเราจะเข้าสู่กระบวนการที่ 2

2) เป็นการพัฒนากลยุทธ์เพื่อการแก้ปัญหา

  • ใช้แผนผังเมตริกซ์เพื่อสำรวจดูว่าความสัมพันธ์ของวัตถุประสงค์ที่ต้องการกับ กลยุทธ์ในการแก้ปัญหาสอดคล้องกันหรือไม่
  • ใช้แผนผังต้นไม้สำหรับแยกย่อยวัตถุประสงค์ หรือ กลยุทธ์

3) จัดแผนดำเนินการเฉพาะโดยจัดเรียงกลยุทธ์ตามลำดับเวลา

  • ใช้แผนผังลูกศร เพื่อเชื่อมโยงการกระทำของแผนที่วางขึ้น หรือเหตุการณ์ที่ เกิดตามลำดับเวลา
  • PDPC ใช้วางแผนฉุกเฉินและความไม่แน่นอนที่คาดการไว้ล่วงหน้า

เมื่อเราได้แผนการการแก้ปัญหาออกมาแล้ว เมื่อลงมือทำตามแผนจะ ต้องมีการ เก็บข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา คราวนี้เราสามารถใช้เครื่องมือ QC Tool แบบเดิม มาใช้ได้

 

 

ความสัมพันธ์ระหว่าง New Seven Q.C. Tools กับ Basic Seven Tools

การตัดสินใจว่าจะใช้ Tool แบบเดิม หรือ แบบใหม่ จะขึ้นอยู่กับข้อมูลใน ขณะนั้น ๆ ถ้าข้อมูลเป็นตัวเลข ให้ใช้ Tool แบบเดิมมาทำการวิเคราะห์ปัญหาถ้าข้อมูลเป็น คำพูด ความรู้สึก ให้ใช้ New QC Tool เพื่อแจกแจง ปัญหา หาแนวทางแก้ไข (แล้วจึงใช้ Tool แบบเดิมช่วยในการเก็บ ข้อมูลมาทำ การวิเคราะห์ต่อไปก็ได้)

 

                สรุปได้ว่าในการนำเครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 ประการไปใช้ในสถาการณ์ใดนั้น ควรต้องศึกษาวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของเครื่องมือแต่ละตัวให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อที่จะนำเครื่องมือแต่ละตัวไปใช้อย่างถูกต้องตามลำดับ และตามสถานการณ์

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 326439เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2010 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ความรู้เรื่องนี้มีประโยชน์ในการบริหารอย่างสมเหตุสมผลจริงๆ นำไปใช้แล้วดีมากๆ

ความรู้เรื่องนี้มีประโยชน์ในการบริหารอย่างสมเหตุสมผลจริงๆ นำไปใช้แล้วดีมากๆ

ข้อมูลนี้มีความน่าเชื่อถืได้กี่เปอร์เซ็นครับ แล้วอยากถามว่ามีเอกสารหรือว่าหนังสือที่ไหนศึกษามังคับ ขอก่อนวันที 18 ม.ค. น่ะคับ

หาได้จากหนังสือ The QC Story and The 14 QC Tools โดย ดร. วีรพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล, ผดุงศักดิ์ ทวิชัยยุทธ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท