occrayong
กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม รพ.ระยอง

ศูนย์รักษาพิษสารเคมีอันตรายภาคตะวันออกโรงพยาบาลระยอง


จากการจัดทำ "แผนแม่บทพัฒนาความปลอดภัยด้านเคมีวัตถุแห่งชาติ  ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2549) โดยคณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยทางด้านเคมีวัตถุ  ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน  กำหนดให้การดำเนินงานตามแผนเป็นไปได้อย่างเป็นรูปธรรม  จึงกำหนดยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้านและยุทธศาสตร์ที่ 4 คือ  การพัฒนาเครือข่ายศูนย์พิษวิทยาแห่งชาติ  โดยกำหนดให้มีศูนย์พิษวิทยาแห่งชาติในแต่ละภูมิภาค  โรงพยาบาลระยองได้ถูกคัดเลือกให้เป็นศูนย์พิษภาคตะวันออก  จึงได้มีการจัดตั้ง "ศูนย์รักษาพิษสารเคมีอันตรายภาคตะวันออก  โรงพยาบาลระยอง"  ขึ้นเมื่อวันที่  8  เมษายน  2546  ให้บริการครอบคลุม 7 จังหวัดคือ  ระยอง  ชลบุรี  จันทบุรี  ตราด  สระแก้ว  ปราจีนบุรี  ฉะเชิงเทรา  ดำเนินการโดยมีคณะกรรมการพัฒนาศูนย์รักษาพิษสารเคมีอันตรายภาคตะวันออก โรงพยาบาลระยอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลระยอง เป็นประธานกรรมการ  และมีกรรมการร่วมเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพประกอบด้วยแพทย์สาขาต่างๆ  นักเทคนิคการแพทย์  เภสัชกร และพยาบาลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ความมุ่งหมายของหน่วยงาน

ให้บริการสืบค้นข้อมูล  ให้คำปรึกษา  ตรวจวินิจฉัย รับรักษา และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับสารเคมีและสารพิษอย่างมีคุณภาพ

บทบาทหน้าที่

1. ให้บริการทางการแพทย์เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารและตอบคำถามทางด้านสารพิษ วิธีการวินิจฉัยและรักษาภาวะเป็นพิษ
2. ให้บริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับสารเคมี สารพิษทางชีวภาพ
3. รับปรึกษาผู้ป่วยที่ได้รับสารเคมีในกรณี ฉุกเฉินหรือกรณีเกิดอุบัติภัยหมู่
4. ให้บริการคลินิกพิษวิทยาที่กลุ่มงานอาชีวเวชกรรมรับ ผู้ป่วย OPD Case (ที่สัมผัสสารเคมี อันตราย หรือสงสัยโรคจากการประกอบอาชีพ) ที่ส่งมาจากแผนกอื่นในโรงพยาบาลระยอง หรือจากโรงพยาบาล   ทั่วไปและจากโรงพยาบาลชุมชนอื่นในเขต ภาคตะวันออก

รายการยาต้านพิษที่ศูนย์รักษาพิษสารเคมีอันตรายภาคตะวันออก โรงพยาบาลระยองจัดเตรียมไว้รวม 14 รายการคือ

  • Acetylcysteine inj.
  • Activated charcoal
  • Desferrioxamine mesylate inj.
  • Edetate Calcium Disodium(EDTA) inj.
  • Flumazenil inj.
  • Fuller’s earth
  • Naloxone Hydrochloride
  • Penicillamine
  • pralidoxime Chloride(2-PAM) inj.
  • Methylene blue inj.
  • Sodium nitrite inj.
  • Sodium thiosulfate inj.
  • Calcium gluconate gel 2.5%
  • Polyethylene glycol solution
  • ประสบการณ์ที่ผ่านมา

    ศูนย์รักษาพิษและสารเคมีอันตรายภาคะวันออก ปัจจุบันเป็นศูนย์พิษที่มีประสบการณ์ค้นหาข้อมูล วางแผน และดูแลผู้ป่วยกรณีอุบัติสารเคมีรั่วไหลจากอุตสาหกรรมมากที่สุดในประเทศ ประสบการณ์ที่ผ่านมา เช่น กรณีสารคิวมีนรั่ว กรณีก๊าซฟอสฟีนรั่ว กรณีสารบิวทีนรั่ว เป็นต้น

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ คุณอมรรัตน์ สุขปั้น
    038 - 611104 ต่อ 2127 อีเมล [email protected]

    หมายเลขบันทึก: 326433เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2010 09:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 13:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท