ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง "โมถ่าย" อ. ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี: อีกความหวังหนึ่งของประเทศไทย


แต่สิ่งที่ท้าทายที่เหลือก็คือ ชุมชนจะสามารถระดมทรัพยากรที่เหลืออยู่ เพื่อกลับมาฟื้นฟูระบบเกษตรกรรม สังคม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมให้เป็นตัวอย่างของระบบเศรฐกิจพอเพียงได้อย่างไร

เมื่อช่วงปลายธันวาคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา ผมได้รับการร้องขอจากสหายร่วมอุดมการณ์ (ท่านอาจารย์แฮนดี้-พินิจ พันธ์ชื่น) ตั้งแต่เมื่อหลายเดือนก่อนว่าทางบ้านเกิดของท่านได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทย ผ่านมาทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี และอำเภอไชยา ด้วยวงเงินหลักหลายล้านให้มีการก่อตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงที่ตำบลโมถ่าย เป็นหนึ่งในเจ็ดศูนย์ใหม่ในระดับประเทศ

ผมมีความตื่นเต้นมากเป็นพิเศษที่จะได้มีส่วนร่วมในโอกาสสำคัญนี้ โดยมีการวางแผนการเดินทางไปในช่วงที่มีงานแต่งงานของลูกชายท่านอัยการชาวเกาะ ที่ภูเก็ต

ท่านครูบาสุทธินันท์ ก็ได้แสดงความจำนงเข้าร่วมกิจกรรมนี้ในช่วงขากลับจากภารกิจสำคัญ โดยมาแวะพักที่บ้านพี่สาวของท่านอาจารย์แฮนดี้เป็นฐานการประสานงาน

เราเริ่มจากการสำรวจสภาพพื้นที่เพื่อความเข้าใจของเราเอง

ทำให้ทราบว่า

  • พื้นที่เดิมของโมถ่ายเป็นพื้นที่ทำนา แต่ได้ปรับไปเป็นสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมันเกือบทั้งหมด
  • เหลือคนทำนาไม่กี่คน และมีนาเพียงแปลงเล็กๆที่เหลืออยู่
  • นอกนั้นเป็นแปลงปลูกยางพารา ปาล์ม และนาร้าง
  • บ้านทรงเดิมๆ และบ้านรุ่นใหม่หลังใหญ่ๆ หลายหลังแทบไม่มีคนอยู่อาศัย
  • มีการจ้างแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานแทนคนในพื้นที่

ที่มีลักษณะเป็นตัวแทนที่ดีของสังคมภาคใต้ในปัจจุบัน

ที่มีปัญหาด้านการใช้ที่ดิน เศรษฐกิจ และสังคม ที่สวนกระแสกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจพอเพียงของประเทศ

อันเนื่องมาจาก

  • การพัฒนาการพึ่งพาภายนอก
  • ทั้งอาหาร และแรงงาน

ดังนั้น

การตั้งศูนย์เรียนรู้จึงเป็นสิ่ง “ท้าทาย- challenging” พอสมควรว่า

ถ้าทำได้จริงก็จะเป็นความหวังของภาคใต้ และของประเทศ

ที่จะพยายามพัฒนา

  • ระบบเกษตรอินทรีย์
  • การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า
  • การผลิตข้าวเพื่อการบริโภค
  • การพึ่งพาตนเองด้านพลังงาน
  • การฟื้นฟูหัตถกรรม และ
  • การพัฒนากลุ่มและการรวมกลุ่ม

โดยมีท่านนายก อบต. ให้การสนับสนุนอย่างใกล้ชิด เข้าร่วมประชุม ปรึกษาหารือกันอย่างเอาจริงเอาจัง

มีแกนนำด้านการประชาสัมพันธ์ของตำบลเป็นกำลังหนุน

และอาจารย์แฮนดี้ก็กำลังทำงานแปลงโฉมตัวเองจากอาจารย์มหาวิทยาลัย ไปเป็นเกษตรกร เพื่อจะทำนาคล้ายๆกับที่ผมทำที่ขอนแก่น โดยปัจจุบันได้วางตัวเป็นแกนนำในการเชื่อมโยงประสานกลุ่มเฮฮาศาสตร์ลงไปช่วย

ฐานแนวคิดที่สำคัญก็ได้มาจากวัดธารน้ำไหล (สวนโมกข์) ที่อยู่ใกล้ๆ

ดูแล้วก็น่าจะมีความพร้อมพอสมควร

แต่สิ่งที่ท้าทายที่เหลือก็คือ

ชุมชนจะสามารถระดมทรัพยากรที่เหลืออยู่ เพื่อกลับมาฟื้นฟูระบบเกษตรกรรม สังคม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมให้เป็นตัวอย่างของระบบเศรฐกิจพอเพียงได้อย่างไร

ถ้าได้ ก็จะเป็นตัวอย่าง และเป็นศูนย์เรียนรู้ที่มีพลังจริงๆ

ผมจึงมีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่า

แผนงานการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ที่กำลังทำอยู่ จะเป็นจริงและผลิดอกออกผลตามที่ตั้งใจไว้

ผมได้แจ้งกับทางทีมงาน และอาจารย์แฮนดี้ว่า

พร้อมที่ช่วยเหลือในทุกเรื่อง และทุกโอกาส

เห็นว่าจะมีการจัดเฮฮาศาสตร์สัญจรในครั้งต่อไปที่ไชยา เพื่อสนับสนุนการพัฒนาศูนย์เรียนรู้นี้

นี่คืออีกผลงานหนึ่งของกลุ่มเฮฮาศาสตร์ครับ

หมายเลขบันทึก: 325107เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2010 07:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ผมเองก็คิดไว้ครับ ว่าวันหนึ่งอยากกลับไปที่บ้าน ไปร่วมเรียนรู้กับความเป็นจริงที่บ้านผมหลายเรื่อง ที่ยังไม่ถูกแก้ไข ยังไม่ยั่งยืน ยังไม่ได้ถูกคิด ฯลฯอย่างน้อยไปทำงานพัฒนาหลายที่หลายแห่ง แต่กลับกลายเป็นว่าบ้านของตัวเองไม่เคยได้ไปร่วมพัฒนา

ผมเคยไปที่ปากพนัง ก็มีปัญหาคล้ายๆกันกับที่นี่ครับ มีนาร้างมาก ผู้คนออกไปทำงานที่อื่น การพึ่งพาภายนอกสูง ที่สำคัญสถานะทางด้านสุขภาพที่น่าเป็นห่วง มีความดันโลหิตสูงและพวก หากไม่ฟื้น หากไม่ช่วยกันผมก็คิดว่าเรากำลังเดินเข้าสู่จุดของความล่มสลายของชีวิตชนบทเลยทีเดียว

หาก อาจารย์แสวง และ อาจารย์แฮนดี้ ไปไชยาอีกเมื่อ ผมขอตามไปเรียนรู้ด้วยคนนะครับ :)

 

 

ผมว่างานแบบนี้น่าจะเป็น

"Work for the lifetime" เลยครับ

การแก้ปัญหาไม่มีวันสิ้นสุดครับ

เราควรจะเตรียมพร้อมเพื่อการนี้ครับ

และผมคิดว่า เจ้าภาพน่าจะยินดีต้อนรับทีมงานที่ทรงพลังเสมอครับ

สวัสดีครับ

   ยินดียิ่งที่ได้อ่าน เป็นความสุขปีใหม่ที่เจือด้วยความหวังครับ แต่ก็ทำใจเผื่อเอาไว้ล่วงหน้าว่าอะไรๆมันไม่ง่าย  เป็นไปได้ก็ร่วมกันลุ้น ร่วมกันสร้างสรรค์ ได้เท่าไหร่ก็พอใจเท่าที่ได้ .. ทางออก ทางเลือกดีๆมากมายรอพวกเราอยู่ บนหนทางแห่งการสร้างสรรค์ และความรัก
   
    เรื่องส่วนตัวผมยังไม่ลงตัว  ยังต้องผจญกับคนบาปอีกไม่น้อย  แต่เชื่อว่าถึงที่สุดแล้วจะสามารถ “เช่นนั้นเอง” ได้กับทุกเรื่อง  และเชื่อว่าจะสามารถหวนกลับไปลองทำนา กินข้าวจากหยาดเหงื่อตัวเองได้ ทุลักทุเลแค่ไหนก็จะถือเป็นโอกาสแห่งการเรียนรู้ .. มีครูดีเสียอย่าง จะไปกลัวอะไร จริงมั้ยน้องเอกสุดหล่อ


      อิ อิ อิ

เรียนท่านอาจารย์แสวงที่เคารพ

    ศิษย์กราบสวัสดีปีใหม่ท่านอาจารย์ไม่ช้าเกินไปนะครับผม ตามมาอ่านบล็อกอาจารย์เช่นเคยครับผม

ด้วยความเคารพครับผม

   นิสิต

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์ ดร. แสวง รวยสูงเนิน

ขอให้มีความสุขมากๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท