จากตำนานพื้นเวียง(ตำนานเวียงจันทน์)และคำทวย(ทำนาย)ฟื้นเวียง...สู่ยุทธศาสตร์การ "ฟื้นเวียง"


เห็นว่าเวียงจันทน์ฮ้างเซาๆอย่าฟ่าวว่า มันอี่โป๊บาดหล่ามักแตงช้างหนวยป๋าย

เดือนสามคล้อยคอยฟังเสียงมั่งอี่มั่งหม่วน

เดือนสี่คล้อยปลายแคนน้อยก่ายกัน

ไหลหลั่งเข้าเวียงแก้วฮุ่งเฮือง

ให้คืนมาสร้างเมืองทองให้เฮืองฮุ่ง

เมืองทองฮุ่งแล้ว เมืองแก้วฮุ่งนำ

ออยเอาซ้างเอาม้าให้มากินหญ้าสามใบกับยอด

เกิ่งเดิ่งหางมองไทไกลเอย เข่า(ข้าว)ใส่แล้วแม่นไผสิซ่อยต๋ำ

ต่อไปนี้ให้ชุ่มเจ้าละวางเชือกอ้องไว้ปลายคันนา........

......

เห็นว่าเวียงจันทน์ฮ้างเซาๆอย่าฟ่าวว่า

มันอี่โป๊บาดหล่ามักแตงช้างหนวยป๋าย

เดี๋ยวนี้กำลังเป็นผักหมเหี้ยนกลางทางอย่าฟ้าวเหยียบย่ำ

หากมันทอดยอดขึ้นยังสิได้ก่ายเกิน

(จำได้ไม่หมดครับ )

“””””

เมืออาทิตย์ที่แล้วน้องเกด(ศิรดา)นักศึกษา ป.โทจากม.ศิลากร เมลมาขอให้ผมบันทึกเล่าเรื่องการเสริมพลังชุมชนโดยการปลุกจิตสำนึกทางประวัติศาสตร์ กับแกนนำชุมชนตำบลบ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ลปรร.ของกลุ่ม COP “การจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น”(มีท่าน อ.ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรมเป็นที่ปรึกษากลุ่มนี้)และผมเองก็มีงานวิจัยส่วนตัว(เล็กๆ)ที่นั่นด้วย

พี่สุเทพคะ
 
เกดสนใจประโยคที่พี่สุเทพพูดให้ฟังที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นเวียง ที่เป็นภาษาอีสาน (หรือภาษาลาวเวียงคะ)
 
ตามความหมายที่พี่สุเทพเล่าให้ฟังเกี่ยวกับการฟื้นเวียงซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ติดตัวคนไม่ใช่อยู่ที่พื้นที่ดั้งเดิม
 
รบกวนพี่สุเทพช่วยเขียนกลับมาอีกครั้งนะคะ เกดรู้สึกว่ามันมีพลังดี และจะขออนุญาตินำมาใช้ในการวางกรอบแนวคิดในงานวิจัยต่อไปคะ
 
ขอบคุณคะ
เกด

น้องเกด(ศิรดา)นักศึกษา ป.โทจากม.ศิลากรสนใจจะทำวิทยานิพนธ์ในเรื่องการ “ฟื้นเวียง”โดยการจัดทำพิพิธภัณฑ์“ฟื้นเวียง”  จากตำนานพื้นเวียง(ตำนานเวียงจันทน์)และคำทวย(ทำนาย)ฟื้นเวียงสู่ยุทธศาสตร์การ "ฟื้นเวียง"

น้องเกศสนใจให้ผมเขียนในเรืองที่ผมได้เล่าจากตำนานพื้นเวียง(ตำนานเวียงจันทน์)และคำทวย(ทำนาย)ฟื้นเวียงสู่ยุทธศาสตร์การ "ฟื้นเวียง"สู่แกนนำชุมชนตำบลบ้านเลือก เมื่อตอนเริ่มกระบวนการ“การจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น”เมื่อปีก่อน โดยครั้งนั้นเราเริ่มจากการสืบค้นประวัติศาสตร์ของชุมชนครับ ทั้งนี้ชุมชนได้ฟื้นประวัติความป็นมาชุมชนบ้านเลือกดังนี้ครับ

 เมื่อครั้งสมัยกรุงธนบุรีในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขณะดำรงพระอิสริยยศตำแหน่งเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้เดินทางยกทัพไปตีกรุงเวียงจันทน์ แห่งอาณาจักรล้านช้าง(พ.ศ.2321)และได้กวาดต้อนชาวเวียงจันทน์ให้มาอาศัยอยู่บริเวณชุมชนแห่งหนึ่งในเขตเมืองราชบุรี ซึ่งเป็นถิ่นอาศัยดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์มอญและอพยพโยกย้ายกลุ่มชาติพันธุ์มอญไปอาศัยบริเวณชายน้ำแม่กลองตั้งแต่นั้นมา

  ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จประพาสบริเวณชุมชนแห่งนี้ ซึ่งชาวชุมชนแห่งนี้เป็นชาวชุมชนที่มีความเก่งในวิชาชีพการเลี้ยงม้า โค กระบือไว้ใช้งานและเป็นเครื่องบรรณาการแก่เจ้านายชั้นสูง พระองค์ทรงเห็นว่าม้าจากชุมชนแห่งนี้เป็นม้าที่มีลักษณะดี สวยงาม เหมาะสำหรับเป็นม้าศึกหรือม้าสำหรับใช้ในราชการงานทั่วไป จึงทรงคัดเลือกม้าจากชุมชนแห่งนี้ และเพื่อเป็นอนุสรณ์ความดีของชุมชนแห่งนี้ จึงได้มีการขนานนามชุมชนแห่งนี้ว่า “ชุมชนบ้านเลือก” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา(แม้กระทั่งจนถึงทุกวันนี้ ในรัชกาลปัจจุบันพระโคที่ใช้ในประเพณีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญก็ใช้พระโคจากที่นี่ครับ)

ผมได้ตอบน้องเกดไปทางเมลดังนี้.....
น้องเกดครับ ในครั้งนั้นในช่วงแรกๆของการพูดคุย  พี่คุยชาวบ้านถึงประวัติความเป็นมาของคนบ้านเลือกว่า พวกเขาได้รู้ว่าพวกเขาเป็นใคร มาจากไหนแน่นอนตามประวัติความเป็นมาชุมชนของพวกเขารู้ชัดเจนแล้ว ในการลปรร.พี่ได้ตั้งคำถามกับแกนนำ   เป็นคำถามเชิงAI_สุนทรียสาธก(การค้นหาความดีด้วยความชื่นชม) ครับ

  • ถามว่า ;คนลาวเวียงมีอะไรที่ดีๆ น่าภาคภูมิใจ(ในระดับนานาชาติเลยนะ)
  • ตอบว่า;พบว่ามีหลายอย่าง เช่นความเป็นพี่เป็นน้อง..อัธยาศัยเป็นมิตร
    การเป็นเครือญาติดูแลช่วยเหลือกัน  รักความสุข(จึงต้องทำงานความสุขมวลรวม)
    สนุกสนาน  ร่าเริงแจ่มใส....(ดนตรี ศิลปธวัฒนาธรรม สุนทรียะ)สรุปเป็นความภาคภูมิใจหรือทุนทางสังคมที่เป็นความภาคภูมิใจของชุมชน 10 ด้าน

น้องเกดพี่ได้เคยบันทึกเรื่องนี้แล้วไว้ที่  http://gotoknow.org/blog/suthepkm/264627

และที่   http://gotoknow.org/blog/suthepkm/264624

  • ถามว่า ;ถ้าคนลาวเวียงมีอะไรดีๆอย่างนี้    เราอยากสืบสานไหม  เราอยากฟื้นไหม
  • ตอบว่า;.........(จึงเป็นที่มาของยุทธศาสตร์ฟื้นเวียง)

 ....
น้องเกดครับ พี่ได้ให้ข้อมูลกับแกนนำเขาไปว่า  ตามตำนานเวียงจันทน์(พื้นเวียง)มีคำนายว่าภายหลังเมื่อเวียงจันทน์ล่มสลาย......
ต้องใช้เวลานานพอสมควรจึงจะฟื้นคืนได้ กลับมาเจริญรุ่งเรืองได้อีกและยังทำให้เมืองบริวารเจริญรุ่งเรืองไปด้วย
แต่ว่าบางกอกล่มสลายแล้วแห่ๆๆๆๆๆ หายไปเลย (อินเทรนด์-นำท่วม)

  • ถามว่า;ฟื้นเวียงฟื้นที่ไหน  ฟื้นคนหรือสถานที่  
  • ตอบว่า:ตอบทั้งสอง
  • ถามว่า;อะไรก่อนหลัง
  • ตอบว่า;คน
  • ถามว่า ;หากเป็นคน คนที่ไหน  จิตวิญาณ เวียงจันทน์อยู่ที่ไหน
  • ตอบว่า;ทั้งสอง  ซึ่งสอดคล้องกับตำนาน "พื้นเวียง" ว่าจะเจริญ ทั้งเมืองแก้ว และเมืองเวียง 
  • ถามว่า;ถ้าเราจะ "ฟื้นเวียง"(ฟื้นจิตวิญญาณเวียงจันทน์ที่เคยรุ่งเรืองให้กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง)ทำอย่างไร
  • ตอบว่า;......
     .....

เรื่อง “จากตำนานพื้นเวียง(ตำนานเวียงจันทน์)และคำทวย(ทำนาย)ฟื้นเวียง” นี้

คนเฒ่าคนแก่บอกเล่าต่อๆกันมาว่าเป็นกลอนลำ

ของพวกหมอลำ “ผีบุญ”ในยุคก่อน  

กลอนลำดังกล่าวเป็นภาษาอีสานครับ

 เท่าที่พอจำได้....และพี่จึงได้เล่าให้ชาวบ้านเลือกฟัง

เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างยุทธศาสตร์ “ฟื้นเวียง”ของพวกเขาในครั้งนั้นครับ

 “””””

นอกจากนี้ผมได้บอกน้องเกด ไปว่าในวันที่ 23 ม.ค. 53 นี้ที่บ้านเลือกกลุ่ม COP “การกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนา”จะลงพื้นที่เพื่อการ ลปรร.ที่ต่อเนื่อง เป็นการไปติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตาม “ตัวชี้วัดความสุขมวลรวมของสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือก” 9 ด้าน 16 ข้อ  ตามยุทธศาสตร์ “ฟื้นเวียง”(หรืออาจจะเรียกตัวชี้วัดการ "ฟื้นเวียง"ก็ได้นะครับ)

งานนี้ท่านอ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ที่ปรึกษาของกลุ่มCOP นี้ซึ่งตอนนี้สุขภาพท่านแข็งแรง ดีขึ้นมากแล้ว ท่านจะลงไปร่วม ลปรร.ด้วยคนครับ

หมายเลขบันทึก: 323250เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2009 16:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (42)

พี่สุเทพครับ...

เป็นบันทึกที่งดงามและทรงคุณค่ามาก ๆ ครับ

สุดยอดครับ สุดยอด...

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณครับหนานเกียรติ

บันทึกตามความทรงจำในวัยเด็กครับ

ตอนเด็กๆนอนกับปู่ครับ

ปู่บวชเรียนรู้ตัวหนังสือขอม หนังสือไทน้อย(ลาวโบราณ)

ตอนเด็กๆก่อนนอนปู่ชอบเล่าตำนาน ชอบอ่านหนังสือใบลานให้ฟัง

ฟังจนต่อมาสามารถอ่านหนังสือใบลานให้ปู่ฟังได้ครับ

บางเรื่อง ....มันก็เลยอยู่ในความทรงจำครับ

สวัสดีปีใหม่ครับครูคิม

  • ยินดีกับกิจกรรมดีๆร่วมด้วยช่วยกันครับ
  • ปีใหม่ครูคิม มีพลังใจที่แข็งแกร่ง เป็นแรงใจแรงเชียร์  เป็นแรงบันดาลให้ผู้คนในสังคม
  • ขอบคุณครับกับการแวะเยี่ยม ผมบันทึกเป็นภาษาท้องถิ่นอาจจะทำให้เข้าใจยากหน่อยครับ

 สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๓ ค่ะ คุณสุเทพ ไชยขันธุ์ ขอให้คุณสุเทพ และครอบครัวมีความสุขกาย สบายใจ ตลอดปี และตลอดไปนะค่ะ =)

 

สวัสดีปีใหม่ครับคุณณัฐพัชร์

ผมติดตามงาน "เวทีเรียนรู้สร้างสุขภาวะคนหนองบัว"มาตลอดด้วยความสนใจอย่างยิ่ง

ต้องขอชื่นชม "อ.ดร.วิรัตน์และทีมงานวิจัยสุขภาวะชุมชน  มหาวิทยาลัยมหิดล"ครับ

ทึ่ง อึ่ง มหัศจรรย์กับความยิ่งใหญ่อลังกา ครบเครื่องครบครัน รอบคอบ รอบด้าน ทุกแง่มุม  ลุ่มลึกและงดงาม  เรื่องของคนตัวเล็กๆแต่ยยิ่งใหญ่

เมื่อหาความเป็นชุมชนอำเภอที่เป็นความเคลื่อนไหวของประชาชน เวทีคนของชุมชน หรือเวทีพลเมืองแล้ว ลองสำรวจดู ก็จะเห็นมีเวทีที่ช่วยกันทำอย่างนี้ก็แต่เวทีนี้แห่งเดียวในประเทศก็ได้กระมังครับ ชุมชนบ้านนอกกว่าเพื่อนก็อาจทำบางสิ่งที่นำหน้าชุมชนอื่นๆได้นาครับจะว่าไป 

 เรื่องราว ความเป็นวันครูและโรงเรียนวันครูกับความสำคัญต่อพัฒนาการศึกษาของสังคมไทย รวมทั้ง โรงเรียนวันครู (๒๕๐๔) กับ วัด ผู้นำชุมชน และชุมชนโดยรอบ ที่บ้านตาลิน ของอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ของเรา ณ วันนี้ รอบด้านที่สุดในประเทศครับ

ริเริ่มกันด้วยความมีจิตใหญ่ ทว่า ทำกันไปตามกำลัง แต่คิดว่ามีส่วนทำให้ความเป็นชุมชนหนองบัวในโลกของความรู้และยุคข้อมูลความสาร สามารถมีอัตลักษณ์ เห็นการดำรงอยู่ เห็นความมีอยู่  มองเห็นและสัมผัสได้ทั้งจากคนหนองบัวเองและจากโลกภายนอก

ผมมีพื้นที่เรียนรู้ในหมู่คนทำงานที่สนใจเรื่อง "การจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนา(ความสุขมวลรวม)"ที่ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ที่บ้านของคุณณัฐพัชร์เองนั่นแหละครับ   อยากจะบอกว่าที่บ้านของคุณณัฐพัชร์ก็มีเรื่องราวที่ดีๆที่งดงามครับ  อ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ท่านติดตาม ลปรร.กับชุมชนนี้ต่อเนื่องครับ  วันที่ 24 ม.ค.53 ท่านจะลงเยี่ยมพื้นที่ นี้อีกครั้งหากคุณณัฐพัชร์จะถือโอกาสกลับไปเยี่ยมบ้าน ก็ยินดีนะครับ

ที่บ้านเลือกนี้เป็นพื้นที่ ลปรร.หรือการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่เน้น เรียบง่าย งดงามและงัดลึก(ถึงการ "ฟื้นเวียง")ครับ

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๓

ขอให้คุณโยมสุเทพ ไชยขันธุ์และครอบครัวมีความสุขดังบทบาลีที่ว่า เต อัตถลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธสาสเน อโรคา สุขิตา โหถะ สหสัพเพหิ ญาติภิ. ขอให้ครอบครัวของท่านพร้อมด้วยหมู่ญาติ จงประสบสุขในสิ่งที่ปรารถนา มีสุขภาวะที่สมบูรณ์ปราศจากโรคภัยและเจริญงอกงามไพบูลย์ในพุทธธรรมตลอดไป เทอญ.

เต อัตถลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธสาสเน อโรคา สุขิตา โหถะ สหสัพเพหิ ญาติภิ.

สาธุ  ผมและครอบครัวขอน้อมรับพรปีใหม่ จากท่านพระมหาแล ขำสุข(อาสโย)ครับ

สวัสดีค่ะ

ติดตามมาหลายบันทึกแล้วค่ะแต่ไม่ได้แสดงความคิดเห้นไว้

ขอมาศึกษาไปด้วยคนนะคะ

ภาษาอีสานที่ท่านเขียนไม่เป็นปัญหา

สำหรับตัวเองเลยเพราะเป็นคนอีสานแท้

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีปีใหม่ครับคุณครูแป๋ม

ขอบคุณครับที่มาทักทาย

ขอบคุณครับคุณหมอมณีวรรณ

ผมไปแวะเยี่ยมบันทึก "การดูแลคนไข้ด้วยหัวใจ"ใน "ร่วมคิดร่วมทำ (Patient's Day: CAPD'sDay)"

และเรื่อเล่าเร้าพลังกับ "ชีวิต...ทรนง (ทนง โคตรชมพู) ศิลปินที่ยิ่งใหญ่หัวใจเกินร้อย "

ประทับมากครับกับเรื่องราวของศิลปินผู้นึ้

สวัสดีปีใหม่ครับ

สวัสดีครับ

  AI  ของ  อ.โย   มาฝากครับ

        

ขอบคุณครับครูบันเทิง

จังสิ..มันต้องถอน ครับ

ดูภาพแม่นำน่าจะเป็นแถวอัมพวาหรือเปล่าครับ

สวัสดีปีใหม่ครับ

 

สวัสดีครับคุณsmallman

AI บ้านของอ.โย ผมแวะเยี่ยมชมบ่อยๆครั้งครับ

มีทั้งที่ทักทายและไม่ได้ทักทาย

ขอบคุณครับช่วยยำอีกที...

ผมลุ้นช่วยอ.โยกับรางวัลสุดคะนึงเดือน ธ.ค. อยู่ครับ

สวัสดีปีใหม่ครับท่าน อาจารย์ สุเทพ

เป็นความงามทางภาษา

เป็นลายแทงทางปัญญา

เป็นวิชาทางประวัติ ที่ต้องนำมาเสริมพลังชุมชนครับท่าน

เธอนั้นเป็นเสมือนคันธนู
และบุตรหลานเหมือนลูกธนูอันมีชีวิต
ผู้ยิงเล็งเห็นที่หมายบนทางอันมิรู้สิ้นสุด
พระองค์จะน้าวเธอเต็มแรง
เพื่อว่าลูกธนูจะได้วิ่งเร็วและไปไกล
ขอให้การโน้มง้าวของเธอในอุ้งหัตถ์ของพระองค์
เป็นไปด้วยความยินดี
เพราะว่าเมื่อพระองค์รักลูกธนูที่บินไปนั้น
พระองค์ก็รักคันธนูซึ่งอยู่นิ่งด้วย

ปรัชญาชีวิตของ กวี คาลิล ยิบราน อ.ระวี ภาวิไล แปลไว้ตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๐๔

ครับท่านผู้เฒ่าวอญ่าเป็นลายแทงทางปัญญา

จากประวัติศาสตร์เป็นตำนานจากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่มานานมาแล้ว

หากแต่เมื่อนำมาใช้เสริมพลังชุมชนในยุคปัจจุบันนี้ ไม่ทราบจะยังพอมีพลัง

พอจะใช้ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงได้มากน้อยแค่ไหน

ผมก็ ลปรร.กับชุมชนอยู่ครับ

ขอบคุณท่านผู้เฒ่าวอญ่าครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายค่ะ สบายดีนะค่ะ
  • คนใต้แวะมาเรียนรู้ภาษาเพิ่มเติม "ยอมรับว่าเป็นความงามทางภาษา" ไม่ว่าจะเป็นภาคใหน ๆ ก็ย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองกันทั้งนั้น...
  • มีความสุขกับสิ่งดี ๆ ที่กำลังจะเข้ามานะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ 

พี่สุเทพครับ เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากครับ วันหลังเอาให้อ่านบ่อยๆนะครับ เพราะผมคิดว่าเนื้อหาดีและมีประโยชน์มากๆๆ เลย ไว้วันหลังผมมีอารมณ์ขยับจะเอาเรื่องปู่จ้าวลาวจกตำนานการเกิดเมืองล้านนามาวิพากษ์บ้าง แต่มีเรื่องหนึ่งที่วัฒนธรรมในอุษาคเณ เราคล้ายกันคือเรื่องวัฒนธรรมความอุดมสมบูรณ์ที่ สัญลักษณ์คือกบ เป็นต้น

สวัสดีปีใหม่ครับคุณบุษรา

  • ผมสบายดีครับ
  • คนใต้ก็มีตำนานครับ  แต่ละถิ่นต่างมีตำนานที่งดงามของตัวเอง
  • มีความสุขกับสิ่งดี ๆ ที่กำลังจะเข้ามาเช่นกันครับ
  • ขอบคุณที่มาแวะเยี่ยมครับ

สวัสดีครับนายหมูแดงอวกาศ

  • ลายแทงปู่จ้าวลาวจก ตำนานนำเต้าปุง ขุนบรม ท้าวฮุ่งท้าวเจืองและพญาแถน ล้วนสัมพันธ์เชื่อมโยงกันครับ ภายใตกลุ่มชาติพันธลาว_ไท
  • สุจิตต์ วงษ์เทศ พึ่งจะมีบทความลงในมติชนเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ว่าล้านนาก็คือลาว(หลายคนอาจจะโกรธ) พึ่งจะมาเรียกตัวเองว่าเป็นไทย ในช่วง ร.๕นี่เอง(หากจะโกรธให้โกรธ สุจิตต์ วงษ์เทศและโกรธบรรพบุรุษนะครับ อย่าได้โกรธผมเลย 555)
  • ยินดี ลปรร.ครับนายหมูแดงอวกาศ
  • ตามมาอ่าน
  • เหมือนผญาของทางอีสานเลยนะครับ
  • รออ่านกิจกรรมในวันที่ 23 มค.นะครับพี่
  • ขอบคุณครับ

                 

    

ชอบจังเลย อ.ดร.ขจิต   ทำได้อย่างไรนี่ เจ้าตัวเล็กต้องชอบแน่ๆเลย

สวัสดี มีความสุขกับปีใหม่ครับ อ.ดร.ขจิต

สวัสดีครับคุณแสงแห่งความดี

  • ยินดีที่ได้รู้จักครับ
  • เห็นคุณแสงแห่งความดีมีเครื่องมือวัดสุขภาวะชุมชนเยอะแยะ
  • หากมีเครื่องมือวัดภาวะผู้นำเสริมสุขภาวะแนะนำด้วยนะครับ
  • ผมกำลังช่วยชาวบ้านที่บ้านเลือกสร้างเครื่องมือประเมินภาวะผู้นำทั้งมิติ ความสามารถ  ความดีและความสุขครับ
จ่าสิบโท นาวี ฮังโยธา

พอดี เปิดมาพบใช่คุณสุเทพที่เคยเป็นทหารที่กรมทหารราบที่ 23 เมื่อ ปี 28 ใช่หรือไม่ ผมคิดว่าผมจำไม่ผิด ผมดีใจมากที่เปิดเว็บไซต์แล้วพบคุณสุเทพ ตอนนี้ผมทำงานโครงการส่งเสริมศิลปาชีพ อยากเรียนรู้กระบวนการในการสร้างความเข้มแข็งของชาวบ้านและถ้าเป็นไปได้อยากจะเชิญคุณสุเทพ มาช่วยเป็นวิทยากรบรรยายให้กับราษฎรในพื้นที่ภาคอิสานตอนบนฟังหน่อย

ดีใจที่ได้พบคุณ

ผู้หมู่ นาวี

สวัสดีครับผู้หมู่ นาวี

ดีใจมากครับ ที่ได้ทักทายคนที่ไม่ได้เจอกันนาน

แน่นอนครับ ไอ้แว่นตัวจริงเสียงจริง

ไอ้แว่นที่เป็นพลทหารรับใช้ของท่านผู้การเรวัติ  บุญทัพ(ตอนนั้น)

ไอ้แว่น ร.23 รุ่นช่องบกแน่นอนครับ(ไอ้แว่นพลทหารสั่งยิง ที่ช่องบก  จนท่านไทเกอร์มาห้ามไว้ทัน)

ขอบคุณที่ยังจำได้ นานมาแล้วเกือบ30 ปีแล้วครับ

ยินดีรับใช้ครับ ผู้หมู่

ติดต่อผ่าน Mail หรือ โทร.ตามช่องประวัติได้ให้ไว้ที่ติดต่ออยู่แล้วครับ 

 

สวัสดีค่ะคุณสุเทพ

แวะมาเยี่ยมค่ะ และสวัสดีปีใหม่ด้วยค่ะ

สวัสดีครับคุณวันรวี รุ่งแสง

ผมติดตามอ่านบันทึกและบทกวีของคุณวันรวี รุ่งแสงอยู่ประจำ

ชอบมากครับ

ขอบคุณครับ

จากเรื่องฟื้นเวียง กรณีของชุมชนบ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี เรื่องของชุมชนเล็กๆ ชุมชนหนึ่งแต่หากโยง ถึงเรื่องราวที่เกียวข้องมากมาย น้องเกดได้ เมล์ข้อมูลจาก นิตยสารสารคดี ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๒๙๑ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๒ ที่ว่าด้วย... "องค์ประกัน" ในราชสำนักสยาม แล้วเจ้าอนุวงศ์ประทับแห่งใดเมื่อมาเป็น "องค์ประกัน" ในราชสำนักสยาม ? ทำใหเรื่องราวเล็กๆนี้ยิ่งใหญ่เกินจินตนาการจริงๆ

ขอบคุณน้องเกดมากครับ

เป็นสารคดีที่เยี่ยมยอดมากเลยครับ 

จากเวียงจันทน์ ถึงบางกอก ตามรอยเจ้าอนุวงศ์ คลี่ปมประวัติศาสตร์ไทย-ลาว

จาก: ked ked ([email protected])

ส่งเมื่อ: 27 ธันวาคม 2552 13:49:53

ถึง: พี่สุเทพ codi ([email protected])

พี่สุเทพคะ มีตอนหนึ่งในนิตยสารสารคดี ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๒๙๑ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๒ ที่ว่าด้วย... "องค์ประกัน" ในราชสำนักสยาม แล้วเจ้าอนุวงศ์ประทับแห่งใดเมื่อมาเป็น "องค์ประกัน" ในราชสำนักสยาม ?

ตามเอกสารที่บ่งชี้ว่าท่านน่าจะมาประทับที่ใด ขณะนี้ที่พอหาได้ ก็ในหนังสือสารคดีเล่มนี้ คลิกตามลิงค์นี้นะคะ http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=932

 หากมีร่องรอยเพิ่มเติมจะส่งไปเพิ่มคะ

 เกด

                   

ที่มา นิตยสารสารคดี ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๒๙๑ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๒ ที่ว่าด้วย... "องค์ประกัน" ในราชสำนักสยาม แล้วเจ้าอนุวงศ์ประทับแห่งใดเมื่อมาเป็น "องค์ประกัน" ในราชสำนักสยาม ?

และบทสรุปของสารคดีเรื่องดังกล่าวในตอนท้าย น่าสนใจมากครับ

  • นอกจากจุดจบของกษัตริย์เวียงจันทน์แล้ว เรายังพบฉากอื่น ๆ ที่ไม่ถูกระบุไว้ในแบบเรียนประวัติศาสตร์สำนักชาตินิยมมาก่อน
  •  เราจะพบชะตากรรมกษัตริย์กัมพูชาหลายพระองค์ที่เจริญพระชนมายุในราชสำนักสยาม ถูกส่งกลับไปครองอาณาจักรและเผชิญความแตกแยกในกลุ่มขุนนางที่ฝักใฝ่เวียดนามและสยาม
  •  เราจะพบชะตากรรมกษัตริย์เมืองเชียงรุ่ง เชียงใหม่ หลวงพระบาง ที่ต้องส่งเชื้อพระวงศ์มาเป็น "องค์ประกัน"ความจงรักภักดี เมื่อเสด็จสวรรคต เชื้อพระวงศ์ก็กลับไปครองราชย์ในกำกับของสยามและเผชิญเกมการเมืองระหว่างรัฐมหาอำนาจ
  • เราจะพบชะตากรรมขององเชียงสือ ที่มาพึ่งกรุงเทพฯ และกลับไปตั้งตนเป็นใหญ่ในเวียดนาม ปราบดาภิเษกเป็น "พระเจ้าเวียดนามยาลอง" ไม่ส่งบรรณาการให้สยามอีกต่อไปในฐานะผู้ครองอาณาจักรที่มีอำนาจทัดเทียม แต่สามารถเก็บส่วย อ้างอำนาจ และเป็นที่พึ่งให้แก่กษัตริย์เวียงจันทน์อันเป็นอาณาจักรเล็กกว่า โดยที่กษัตริย์เวียงจันทน์พระองค์นั้นเคยใช้ชีวิตอยู่เมืองบางกอกร่วมยุคสมัยเดียวกับพระองค์
  • สงครามครั้งนี้ยังเป็นเหตุให้เกิดการรบระหว่างกรุงเทพฯ-เว้ เป็นระยะเวลายาวนาน ก่อนจะสงบลงก็เมื่อฝรั่งเศสเข้ามาล่าอาณานิคมแถบนี้ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทำให้รัฐต่าง ๆ ต้องปรับตัว ปรับระบบรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว อันเป็นเหตุให้เกิด "เส้นเขตแดน" และ "ประเทศ" ที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ตามมา
  • ผลจากศึกเจ้าอนุวงศ์ยังหลงเหลืออยู่จนทุกวันนี้ ที่เห็นชัดที่สุดคือกลุ่มคนหลากชาติพันธุ์ในภาคอีสานซึ่งถ้ายึดตามแบบเรียนประวัติศาสตร์ชาตินิยมมักมีคำอธิบายว่า คนเหล่านี้อพยพมา "พึ่งพระบรมโพธิสมภาร" โดยละม่อม ทว่าวันนี้ผมพบข้อมูลอีกด้านว่าอาจไม่เป็นเช่นนั้น ด้วยหลังศึกเจ้าอนุวงศ์ สยามเทครัวจากเมืองฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงรวมถึงเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขงที่อยู่ในอำนาจของเวียงจันทน์ เพื่อตัดกำลังไม่ให้กบฏได้อีก ถือเป็นการอพยพครัวครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
  •  อาจารย์สุวิทย์กล่าวถึงกรณีนี้ว่า "ครึ่งหนึ่งมาตั้งถิ่นฐานในอีสาน อีกครึ่งตั้งถิ่นฐานในภาคกลางและภาคเหนือ ครั้งแรกเกิดจากสยามต้องการลดอำนาจหัวเมืองลาว เมื่อเกิดสงครามกรุงเทพฯ-เว้ก็มีการอพยพอีกเพื่อไม่ให้คนเหล่านี้เป็นกำลังของเวียดนาม ผลคือเกิดเมืองในภาคอีสานถึง ๒๐ เมือง สิบสี่เมืองตั้งในสมัยรัชกาลที่ ๓ สี่เมืองตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ สองเมืองตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕"
  •  เราจึงพบคนลาวพวน (คนเชียงขวาง) ลาวเวียง (คนเวียงจันทน์) ชาว "ผู้ไท" (ตั้งถิ่นฐานอยู่ตรงพรมแดนลาว-เวียดนาม) ลาวโซ่ง( "ผู้ไทดำ"จากแคว้นสิบสองจุไททางภาคเหนือของลาว) กะเลิง โซ่ แสก ย้อ(ญ้อ) โย้ย และคนนานาชาติพันธุ์ อยู่ใน "ประเทศไทย" ทางภาคอีสาน  คนเหล่านี้แหละที่เป็นผู้สร้างบ้านแปงเมือง เป็นบรรพบุรุษชาวอีสานซึ่งมีวัฒนธรรมร่วมกับคนในประเทศลาวปัจจุบัน

 

สวัสดีค่ะ

อ่านบันทึกนี้ด้วยความเพลิดเพลินยิ่งค่ะ

ติดใจและชอบคำว่า "ฟื้นเวียง" ค่ะ  และแน่นอนว่าน่าจต้องเริ่มต้นที่ "คน" ส่วนพื้นที่นั้นจะเป็นส่วนช่วยเสริมให้การ "ฟื้นเวียง" สมบูรณ์ยิ่งขี้น

คนไม่มีรากมีเชื้อสายจีน จึงเห็นได้ชัดว่า คนจึนไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของโลก ก็จะยังคงความเชื่อ การปฏิบัติ ผ่านภาษาและวัฒนธรรมประเพณีอันเข้มข้นค่ะ

เรื่องนี้สนุกนะคะ ต่อไปเราอาจต้องยกการ "ฟื้นเวียง" ความเป็น "ไทย" ในกรุงเทพ ฯ (ซึ่งเปลี่ยนไปเป็นต่างชาติเกินครึ่งแล้ว) เป็นวาระแห่งชาติ... ก็ได้นะคะ

(^___^)

สวัสดีครับคุณ "คนไม่มีราก(น้อย)"

 "คนไม่มีราก(น้อย)"มีเชื้อสายจีน จึงเห็นได้ชัดว่า คนจึนไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของโลก ก็จะยังคงความเชื่อ การปฏิบัติ ผ่านภาษาและวัฒนธรรมประเพณีอันเข้มข้นค่ะ

ขอบคุณครับ "คุณไม่มีราก(น้อย)"

ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ว่าความแข็งแกร่งของคนจีน นั้นอยู่ที่การมีรากที่หยั่งลึก  มีความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของตนและบรรพบุรุษความเชื่อ การปฏิบัติ ผ่านภาษาและวัฒนธรรมประเพณีอันเข้มข้น   โดยเฉพาะในจิตวิญาณของการเคารพบูชาในบรรพชน

ขอให้ "คุณคนไม่มีราก"จงประสพความสุข ความสำเร็จ ได้พบแต่สิ่งที่ดีงามตลอดปี 2553  เช่นกันครับ

                        

พระครูโพธารามพิทักษ์ (หลวงพ่อเขียน)เจ้าอาวาสวัดบ้านโบสถ์ และเจ้าคณะอำเภอโพธาราม  นักปราชญ์ชาวบ้านผู้ศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ลาวเวียง และได้เก็บรวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมลาวเวียงไว้มากมาย

คิดมาตลอดเป็นเวลาเกือบเจ็ดสิบปีแล้ว  จากการศึกษาประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของลาวเวียงมานานแล้ว  ทำอย่างไรคนลาวเวยงรุ่นหลังจึงจะเห็นคุณค่าและสืบสานฟื้นฟู รวมทั้งอนุรักษ์สิ่งดีงามเหล่านี้ไว้ได้ พอสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือกและได้จัดทำโครงการขับเคลื่อนภูมิทัศน์วัฒนธรรมลาวเวียง ในการจัดทำ "หอวัฒนธรรมลาวเวียง"อาตมาจึงให้การสนับสนุนเต็มที่

                  

                

ในโอกาสปีใหม่ 2553 ท่านพระครูโพธารามพิทักษ์ (หลวงพ่อเขียน)ท่านมีความประสงค์จะมอบศาลาการเปรียญหลังงาม ที่มีคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรม ให้เป็นสถานที่เก็บรวบรวม สิ่งของเครื่องใช้ ที่สะท้อนวิถีชีวิตวัฒนธรรมของคนลาวเวียง และเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่แสดงภูมิปัญญา  ศิปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของคนลาวเวียง รวมทั้งการจัดนิทรรศการงานพัฒนาของสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือก

            

วันที่ 24 ม.ค.52 ในโอกาสที่ท่านอ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชุมชนบ้านเลือก คงจะได้ปรึกษาหารือ ขอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะกับท่านอาจารย์ไพบูลย์ในเรื่องนี้อีกครั้งครับ

      

อ.รังสรรค์  เสลาหลักและอ.วิฑุรย์  ศรีเกษมแกนนำจัดทำโครงการขับเคลื่อนภูมิทัศน์วัฒนธรรมลาวเวียง ด้วยการจัดทำ "หอวัฒนธรรมลาวเวียง"

ท่านอ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชุมชนบ้านเลือก วันที่ 24 ม.ค.53 ปีใหม่แล้วครับ ขอแก้ไขมิใช่ ปี 52 ตามข้างบนนะครับ

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๓ ค่ะ
   
      ขอให้บุญกุศลจงบันดาลให้ท่านและครอบครัวพรั่งพร้อมด้วยจตุพร ... พร๔ ประการ อายุ วรรณะ สุขะ พละ
 
              
                           
   พระพุทธชินราช  วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก 

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๓ เช่นกันครับคุณครูP

ด้วยอำนาจความศักดิ์ของพระพุทธชินราช  วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก 

พรใดที่คุณครูให้มาขอน้อมรับ

และขอให้พรนั้นสะท้อนกลับยังผู้มอบร้อยเท่าพันทวีคุณครับ

                   

วันที่ 24 ม.ค. 2552 ท่านอ.ไพบูลย์ จะลงเยี่ยม ชาวชุมชนบ้านเลือกอ.โพธาราม อีกครั้ง เป็นการติดตามการดำเนินงานตามตัวชี้วัดความสุขมวลรวมของชุมชน ท่านสนใจว่ากระบวนการดังกล่าวชุมชนสามารถดำเนินงานไปได้มากน้อยแค่ไหน  จะต้องหนุนเสริมอะไร กลุ่ม COP ด้านตัวชี้วัดชุมชนคงได้รวมตัวกันอีกครั้งครับ

                           

                  

                  

                  ภาพเก่าเมื่อครั้ง อ.ไพบูลย์เยี่ยมชุมชนเมื่อปีที่ผ่านมา

สวัสดีค่ะ

มาศึกษาประวัติศาสตร์

ก่อนไปทำงานค่ะ

ขอบคุณความรู้ดีๆค่ะ

สวัสดีครับKRUDALAP

เจ้าของบ้านไม่ได้แวะมาดูแลบ้านหลังนี้ ห้องนี้นานเต็มที

ทั้งที่มีความทรงจำที่ดีๆมีความในใจอยากจะเล่าอยากแลกเปลี่ยนเยอะแยะมากเลย  ตามประสาคนไกลถิ่น  ไกลแสนไกลในตำนานอันเก่าก่อน อยากจะฟื้นความรู้สึกดีๆนั้น

ขอบคุณคุณครูมาช่วยฟื้นความทรงจำ

จะปลีกเวลามาดูแลห้องนี้ให้บ่อยครั้งขึ้นครับ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท