พี่เลี้ยงทำแผนการจัดการความรู้


        การจัดการความรู้ในส่วนราชการที่มีหน่วยงานย่อยอยู่ในส่วนภูมิภาคนั้น ปัญหาที่พบได้คือการเปลี่ยนทีม KM  ทุกปี  และไม่มีการถ่ายทอดวิชายุทธให้แก่กัน  ยิ่งเป็นหน่วยงานเล็กๆ ที่มีคนน้อยแต่หน้างานมาก  จะมีคนจัดการความรู้เพียงคนเดียวที่รู้ขั้นตอนทั้งหมด 

          ดังนั้นในการสนับสนุนให้หน่วยงานภูมิภาคจัดทำแผน งานแรกคือ ต้องเตรียมทีมใหม่ โดยหน่วยงานส่วนกลางเป็นผู้จัดเตรียม  โชคดีที่หน่วยมีทีมเก่าเข้ามาอยู่บ้าง  ทำให้เบางานไปมาก

          เมื่อเปลี่ยนทีมใหม่ หน่วยงานส่วนกลางในฐานะผู้สนับสนุนทั้ง Push & Pull ก็ต้องรวบรวมปิยมิตรที่เป็นหัวกะทิมาช่วยติวหลักการจับคู่ประกบทำแผนไปด้วยกัน หรืออาจเรียกได้ว่าระบบพี่เลี้ยงนั่นเอง   แต่พี่เลี้ยงก็ได้เรียนรู้ไปด้วย เพราะการจัดการความรู้โดยเฉพาะการจัดทำแผนไม่มีสูตรตายตัว  ต้องอาศัยการแสดงความคิดเห็นร่วมกัน และเลือกความคิดเห็นที่ดีไปใช้  ทำให้ทั้งทีมส่วนกลางและหน่วยงานส่วนภูมิภาคมีความรู้เพิ่มขึ้น มีความชัดเจนขึ้น  โดยเฉพาะมือใหม่เช่นเรา

          ส่วนที่เป็นประโยชน์คือการแบ่งกลุ่มย่อยทำแผน และนำแผนของแต่ละหน่วยมานำเสนอเพื่อแบ่งปันความรู้และความคิดเห็ฯกัน ทำให้ได้ข้อคิดที่ดี

          จุดสำคัญของการทำแผนคือการเลือกองค์ความรู้ต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ เป้าหมาย ตัวชี้วัดของหน่วยงาน ....... ตัวชี้วัดของหน่วยงานต้องมีกระบวนงานอะไรเป็นสำคัญ กระบวนงานนี้ต้องการความรู้เรื่องอะไรที่จำเป็น  ....... เมื่อจัดการความรู้ที่เลือกนี้แล้ว ความรู้จะได้ไปผลักดันตามยุทธศาสตร์ได้อย่างไร ...การเลือกองค์ความรู้ตามความสนใจไม่ค่อยเป็นประโยชน์ต่อการผลักดันยุทธนัก  และอาจต้องมีหลายๆหน่วยจะได้ครอบคลุม

           ในหน่วยงานต้องเลือกจัดการความรู้ตามตัวชี้วัดที่หน่วยงานต้องทำ  เรียกว่าทำครั้งเดียวได้สองงานเลย ประหยัดงบประมาณด้วย  การออกแบบแผนการจัดการความรู้ก็ต้องออกแบบอิงแผนเงินที่มี  จัดห้วงเวลาของขั้นตอนการจัดการความรู้ให้ตรงกัน   บางครั้งไม่มีงบประมาณมาก่อน เป็นองค์ความรู้ที่หน่วยงานเลือกขึ้นมาใหม่ ก็ต้องพยายามหาทางอิงงบประมาณอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย 

          นอกจากการทำแผนตามแบบฟอร์ม 1 แล้ว  แบบฟอร์ม 1หน้าสองต้องเขียนหลักการเหตุผล เชื่อมโยงให้เห็นว่าจัดการความรู้แล้วได้อะไร ไปผลักดันยุทธศาสตร์ได้อย่างไร รวมทั้งใช้หลักการเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ด้วย

          แบบฟอร์ม 2 เป็นการเขียนแผนการจัดการความรู้ตามหลัก KMP CMP ต้องมีความชัดเจนว่าแต่ละขั้นตอนทำไปเพื่ออะไรด้วย  เช่นบ่งชี้ความรู้นั้นเพื่อตกลงกันในระดับหน่วยว่าเป็นองค์ความรู้สำคัญและต้องบ่งชี้ด้วยว่า  ความรู้นั้นประกอบด้วยความรู้เรื่องย่อยๆ อะไรบ้าง เป็น EKหรือTK ความรู้อยู่ที่ไหน กับใคร  จะหาได้อย่างไร เช่น ค้นคว้า  สัมภาษณ์  เขียนเรื่องเล่า    ใช้ให้หลากหลาย และหาให้ครอบคลุม  เหมือนการทบทวนวรรณกรรมยังไงยังงั้นนะคะ

          ส่วนขั้นตอนที่สำคัญต่อไปคือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต้องมีหลากหลายรูปแบบรวมกับขั้นที่ 6 ต้องมี 3 รูปแบบด้วยกัน และต้องมีกลุ่มเป้าหมายหลากหลายได้แก่ กลุ่มตัวเอง  กลุ่มในหน่วยงานเดียวกัน กลุ่มต่างสังกัด  ประชาชนผู้ใช้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

          ทีมที่ทำงาน KM ส่วนกลางปรารภกันว่าเราจะทำเป็นคู่มือการเขียนแผนการจัดการความรู้ในแนวปฏิบัติพร้อมตัวอย่างเสียเลย  เพื่อให้หน่วยงานได้ใช้ประโยชน์ ในการจัดทำแผนปีต่อๆไป 

มือใหม่....

หมายเลขบันทึก: 323248เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2009 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2012 04:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีค่ะ
  • เยี่ยมมากเลยค่ะ
  • ทุกสิ่งอย่างคือการเรียนรู้นะคะ
  • โชคดีปีใหม่ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท