ปัญหาของระบบ GAP ที่เจ้าหน้าที่มอง


            จากการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2549 ได้ตั้งเป้าหมายที่จะให้เจ้าหน้าที่ได้คุย แลกเปลี่ยนกันในประเด็นการทำ GAP ที่ผ่านมาของแต่ละอำเภอ เพื่อดูพื้นฐานการทำงาน ปัญหา อุปสรรค และความคิดเห็นกับระบบ GAP สำหรับทุเรียน และ มังคุด ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจและดั้งเดิมของจังหวัด 
            แต่จากการประเด็นที่ตั้งไว้ ปรากฏว่า ไม่มีการจัดกลุ่ม จึงแก้ปัญหา โดยให้แต่ละเขียนใส่กระดาษแสดงความคิดเห็น แล้วรับปากไว้ว่า จะนำมาบันทึกใน Blog  ให้อ่านและแสดงความคิดเห็นกัน    ผลการนำเสนอ  มีดังนี้

1. เกษตรกร
            - ไม่ให้ความสำคัญกับโครงการ เนื่องจากได้เห็นผู้ที่ปฏิบัติในรุ่นก่อนแล้วและได้ใบรับรอง GAP แต่ไม่ทำให้เกิดผลประโยชน์โดยตรงกับตัวเอง เพียงแต่จะได้ผลกับผู้บริโภค
            - ขาดความมั่นใจในระบบ GAP เข้าร่วมโครงการด้วยความเกรงใจ
            - เกษตรเป็นเกษตรกรรายย่อย มีพื้นที่เพาะปลูกน้อย การปฏิบัติตามระบบจะต้องใช้ทุนสูง
            - เกษตรกรไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เหตุเพราะขาดแรงจูงใจ ราคาผลผลิต GAP ไม่แตกต่างกับราคาทั่วไป
            - เกษตรกรไม่ชอบจดบันทึก
            - การเข้าสู่ระบบ GAP ต้นทุนสูง แต่ราคายังต่ำเหมือนเดิม โดยเฉพาะมังคุด

2. เจ้าหน้าที่/นโยบาย
            - ความหละหลวมในการตรวจรับรองของเจ้าหน้าที่ เกษตรกรไม่ปฏิบัติตามระบบ ก็ได้รับใบรับรอง GAP ทำให้เกษตรกรรายอื่นไม่เชื่อถือ
            - มุ่งเป้าไปที่จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ มากกว่าคุณภาพ
            - ความไม่ชัดเจน และมาตรการที่แน่นอนในการรับประกันผลสัมฤทธิ์ที่จะสนองผลให้เกษตรกร ที่สมัครเข้าระบบ GAP และปฏิบัติตามแล้วได้ผลที่คุ้มค่า
            - จัดอบรมกลุ่มเกษตรกรไม่ต่อเนื่อง
            - เจ้าหน้าที่ต้องทำงานเป็นทีม
            - ค่าน้ำมันเจ้าหน้าที่มีน้อย แต่งานตามเป้าหมาย
            - นโยบายไม่ชัดเจนและต่อเนื่อง

3. ปัจจัยภายนอกอื่น ๆ
            - ได้รับงบประมาณช้า ทำให้การดำเนินโครงการต้องเลื่อนตลอด
            - ภาวะภัยแล้งในปี 2548 ทำให้สวนทุเรียนเสียหาย เกษตรกรหันไปปลูกปาล์มน้ำมัน ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนลดลง ทำให้มีน้อยกว่าเป้าหมาย
            - ราคาทุเรียนในฤดูกาลถูกมาก ทำให้เกษตรกรต้องทำทุเรียนนอกฤดูกาล เกษตรกรรายย่อยไม่สามารถทำได้ เนื่องจากปัจจัยการผลิตแพง

บันทึกโดย  ออย

หมายเลขบันทึก: 32312เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2006 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 04:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อ.ไอศูรย์ ภาษยะวรรณ์
ติดตามอ่านมาโดยตลอด เก็บสะสมเป็นข้อมูลไว้ใช้คุยกันวันที่ 15-16 มิ.ย.49 ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท