การนำทฤษฏีบริหารการศึกษามาใช้ในการบริหารโรงเรียน


ผู้บริหารมีคุณธรรมแล้วย่อมเป็นที่เชื่อถือศรัทธา รักใคร่ ของผู้ใต้บังคับบัญชา

 

 

การนำทฤษฏีบริหารมาใช้ในการบริหารโรงเรียน
        ในแต่ละโรงเรียนจะมีบริบทหรือสิ่งแวดล้อมภายในภายนอกที่แตกต่างกัน การนำทฤษฏีบริหารมาใช้ก็เหมือนการเลือกวิธีการหรือกลยุทธ์ในการทำงาน ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนนั้น ซึ่งเราต้องเข้าใจ ว่าทฤษฏีใดเหมาะสมกับโรงเรียนของเรา อย่างไร ก็ตาม เราต้องคำนึงถึงนโยบายการศึกษาชาติ กฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษา อีกด้วย


หลักการบริหารแนวพุทธ


               ทฤษฏีการบริหารการศึกษา มีการพัฒนามาตามขั้นตอน และกาลเวลา หากเลือกใช้จะใช้ทฤษฏีใดสิ่งที่เป็นหัวใจหลักหรือเป็นหลักยึดอันดับแรก สิ่งนั้นก็คือ หลักแห่งพระพุทธศาสนา เพราะหากผู้บริหารมีคุณธรรมแล้วย่อมเป็นที่เชื่อถือศรัทธา รักใคร่ ของผู้ใต้บังคับบัญชา เมื่อกุมหัวใจคนได้แล้ว การร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาโรงเรียน ก็จะประสบผลสำเร็จดังนั้นผู้บริหารจึงควรมีคุณธรรมที่พึงประสงค์กล่าวคือ มีธรรมะผู้นำ อันได้แก่ พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 7 อคติ 4
             พรหมวิหาร 4 คือ ธรรมของผู้ใหญ่ เพราะในศาสนาพราหมณ์ถือว่า พระพรหมเป็นผู้สร้างโลก ซึ่งเทียบกับผู้นำซึ่งมีหน้าที่ปกครองและคุ้มครองผู้น้อย ได้แก่ธรรมะ 4 ข้อ คือ เมตตา กรุณา มุฑิตา และอุเบกขา เมตตา มีรากศัพท์เดียวกับคำว่า ไมตรี คือ ความเป็นมิตร ไม่มุ่งร้ายแต่มุ่งประโยชน์ มุ่งความสุขแก่ผู้น้อย ไม่เบียดเบียนผู้น้อยกรุณา คือการช่วยเหลือ นอกจากคิดดี ( เมตตา ) แล้ว เมื่อมีโอกาสก็ทำดี  กรุณา  คือช่วยเหลือต่อผู้ที่ประสบปัญหา ตกทุกข์ได้ยากให้เขาพ้นจากความทุกข์นั้นๆ มุฑิตา คือการพลอยยินดี เมื่อผู้น้อยได้ดี ประสบความสำเร็จ ผู้นำก็ไม่คิดอิจฉา แต่ยินดีด้วย และสนับสนุนให้ผู้น้อยประสบความสำเร็จสูงขึ้น ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ตามความสามารถ
อุเบกขา คือ การรู้จักวางเฉยในสถานการณ์ที่เหมาะสม เช่น ลูกน้องจงใจทำผิด ก็ต้องให้มีการลงโทษไปตามกฎ คือรู้จักใช้ทั้งเมตตากรุณา มุฑิตา ในกาลที่เหมาะสม ไม่ให้เสียธรรม ( หลักการ ) ทั้งสี่ข้อนี้ เมตตาควรมีอยู่เสมอกับทุกๆคน ทุกๆเมื่อ กรุณาจะใช้เมื่อผู้ที่กำลังเดือดร้อน มุฑิตาใช้กับผู้ได้ดีมีสุขแล้ว ส่วนอุเบกขาต้องมีปัญญาประกอบว่า จะใช้อีกสามข้อเมื่อใด จะวางเฉยเมื่อใด
             สังคหวัตถุ 4 แปลว่า แนวทางการสงเคราะห์( ช่วยเหลือ ) สี่แบบ จัดเป็นธรรมในการผูกมิตร ทำให้คนทั้งหลายรักใคร่ชอบพอสี่ข้อนี้ได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตา
ทาน คือการให้ แบ่งเป็นสามอย่างคือ ให้ทรัพย์สิ่งของ ให้ธรรมะคือ ความรู้ความเข้าใจในหลักความจริงของชีวิต และ ให้อภัย พระพุทธเจ้าสรรเสริญการให้ธรรมะ ว่าเป็นการให้อันสูงสุดน่าจะเปรียบเหมือนสอนคนตกปลา กับให้ปลากับคนนั่นเอง
ปิยวาจา คือการพูดจาอ่อนหวาน น่าฟัง ไม่ระคายหู ผู้พูดควรมีจิตเมตตาเจริญไว้ จะทำให้การพูดอ่อนหวาน ฟังเป็นธรรมชาติไม่ดูเสแสร้ง
อัตถจริยา คือการทำตัวให้เป็นประโยชน์ นั่นคือการช่วยเหลือในการงาน หรือ อำนวยความสะดวก ให้งานของเขาลุล่วงไปโดยง่ายอีกรวมทั้งการให้คำแนะนำ ในฐานะผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์มาก่อนด้วย
สมานัตตา คือ วางตนอย่างเหมาะสม รู้กาลเทศะว่าในสถานการณ์ใด ควรวางตัวเช่นไร อีกความหมายหนึ่งคือการวางตัวสม่ำเสมอ ในฐานะผู้ใหญ่ ต้องมีความมั่นคง มีจุดยืนไม่ลังเลไปๆมาๆ
              อคติ 4 ที่ควรต้องเว้นคือ ฉันทาคติ( อคติเพราะรักหรือชอบ ) โทสาคติ ( อคติเพราะโกรธ ) โมหาคติ ( อคติเพราะหลง ) ภยาคติ ( อคติ เพราะกลัวภัย ) ผู้นำนั้น มีหน้าที่ต้องตัดสินเรื่องราวต่างๆ ต้องจัดการข้อพิพาท ต้องแบ่งผลประโยชน์ระหว่างฝ่ายต่างๆ จึงต้องมีการตัดสินใจ ที่มีอคติน้อยที่สุด จึงจะเกิดความเป็นธรรม และได้รับการยอมรับ จากทุกๆฝ่าย เนื่องจากอคติ เป็นอกุศลที่อยู่ภายในจิตใจเราเอง จึงเป็นสิ่งที่รู้ และสังเกตได้ค่อนข้างยาก เพราะคนทั้งหลายย่อมเข้าข้างตัวเอง ผู้บริหารจึงต้องรู้จักรับฟังความเห็นจากคนรอบข้าง ซึ่งจะสังเกตพฤติกรรมที่อาจเกิดจากอคติของเราได้ดีกว่า
              เมื่อมีหลักธรรมมะดังกล่าวแล้ว จึงนำไปสู่ ศรัทธา คือ เชื่อผู้นำ ยินดีกระทำตามด้วยความรักและนับถือ เมื่อมีขวัญและกำลังความขยันขันแข็ง ก็ตามมา เรียกว่า เกิดความวิริยะอุตสาหะ พร้อมกันนั้นผู้บริหารจึงพัฒนาปัญญาควบคู่ไปด้วย การกุมหัวใจคนไว้ได้ อุปสรรค ใดก็พ่ายแพ้ในที่สุด แน่นอนว่าผู้บริหารทำให้ทุกคนรักศรัทธาไม่ได้ แต่ถ้าคนส่วนใหญ่เชื่อมั่นก็เพียงพอแล้ว

หลักและทฤษฏีการบริหาร

           หลักและทฤษฎีการบริหารที่เรานำมาจากชาติตะวันตกนั้นมีมากมายหลายวิธีการตามยุคสมัย เนื่องจากมีนักการศึกษาไทยได้ไปเรียนรู้แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยซึ่งสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง การนำทฤษฎีใดที่ไม่เข้ากับคนไทยก็สูญหายไปตามกาลเวลา สิ่งใดปรับเข้ากับวิถีไทยได้ก็อยู่ยงคงกระพันต่อไป อย่างไรก็ดีหากเราไม่เปลี่ยนแปลง เราก็ไม่สามารถแข่งขันหรือพัฒนาได้เท่ากับประเทศอื่น
การบริหารสถานศึกษาแนวใหม่นั้น ผู้บริหารควรมีหลักและกระบวนการบริหาร การบริหารการศึกษา หลักการแนวคิดในการบริหาร ภาพรวมของการบริหารทั้งนี้เพื่อให้การจัดการบริหารสถานศึกษามีความเหมาะสมผู้เขียนจะได้กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเข้าใจและมุมมองในการบริหารสถานศึกษายิ่งขึ้นต่อไป
             คำจำกัดความ คำว่า “การบริหาร”(Administration) ใช้ในความหมายกว้าง ๆ เช่น การบริหารราชการ อีกคำหนึ่ง คือ “ การจัดการ” (Management) ใช้แทนกันได้กับคำว่า การบริหาร ส่วนมากหมายถึง การจัดการทางธุรกิจมากกว่าโดยมีหลายท่านได้ระบุดังนี้
             Peter F Drucker : คือ ศิลปะในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกับผู้อื่น (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 2)Herbert A. Simon :กล่าวว่าคือ กิจกรรมที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมมือกันดำเนินการให้บรรลุวัถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 2)
การบริหาร หมายถึง ศิลปะในการทำให้สิ่งต่าง ๆ ได้รับการกระทำจนเป็น ผลสำเร็จ กล่าวคือ ผู้บริหารไม่ใช้เป็นผู้ปฏิบัติ แต่เป็นผู้ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติทำงานจนสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ผู้บริหารตัดสินใจเลือกแล้ว (Simon)
               การบริหาร คือ กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ (Sergiovanni)
              การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่รวมปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน (Barnard)
              การบริหาร หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายๆอย่างที่บุคคลร่วมกันกำหนดโดยใช้กระบวนอย่างมีระบบและให้ทรัพยากรตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม (สมศักดิ์ คงเที่ยง , 2542 : 1)
ส่วนคำว่า “การบริหารการศึกษา” หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่(ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 6)
คำว่า “สถานศึกษา” หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การศึกษาพิเศษ
ศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ศูนย์การเรียน วิทยาลัย วิทยาลัยชุมชน สถาบันหรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและตามประกาศกระทรวง(พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, 2547 : 23 )
                  บทบาทของผู้บริหารในการบริหารสถานศึกษามีภารกิจขอบข่ายและการจัดการศึกษาตามโครงสร้างสายงานที่เปลี่ยนแปลงใหม่และเป็นบทบาทที่ผู้บริหารต้องนำไปใช้หรือนำไปปฏิบัติ ในภารกิจ 4 ด้าน ดังนี้
                  1. การบริหารงานวิชาการ เป็นภารกิจงานในการบริหารงานวิชาการได้โดยอิสระ คล่องตัว รวดเร็ว สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ประสานความร่วมมือกับครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่น ๆ จัดภารกิจงานให้ครอบคลุมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล การวิจัย การพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา แหล่งเรียนรู้ และการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
                  2. การบริหารงบประมาณ เป็นภารกิจงานในการบริหารงบประมาณ มุ่งเน้นความคล่องตัว โปร่งใส ตรวจสอบได้ ยึดหลักบริหารมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์และบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน จัดภารกิจให้ครอบคลุมการเสนอของบประมาณ การจัดสรรงบประมาณ บริหารงานการเงิน บัญชี พัสดุและสินทรัพย์ การตรวจสอบติดตามและระเมินผล
                 3. การบริหารงานบุคคล เป็นภารกิจงานในการบริหารงานบุคคล มุ่งส่งเสริมให้สถานศึกษาสามารถปฏิบัติงาน เพื่อตอบสนองภารกิจของสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา ให้ขวัญกำลังใจ ยกย่องเชิดชูเกียรติ ความก้าวหน้างานในอาชีพ จัดภารกิจให้ครอบคลุม การวางแผนอัตรากำลัง การบรรจุแต่งตั้ง การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติ ราชการ ตลอดจนวินัยและการรักษาวินัย
                 4. การบริหารทั่วไป เป็นภารกิจงานในการบริหารงานทั่วไป เกี่ยวข้องกับการจัดระบบการบริหารองค์กรให้บรรลุผลตามมาตรฐาน มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของบุคคล จัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จัดภารกิจงานให้ครอบคลุม งานสำนักงาน การพัฒนาระบบเครือข่าย ข้อมูลสารสนเทศ เครือข่ายการศึกษา งานอาคารสถานที่ การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา การจัดระบบควบคุมภายในและประสานงานราชการกับเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานอื่น


การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
               การบริหารเป็นสาขาวิชาที่มีการจัดการระเบียบอย่างเป็นระบบ คือมีหลักเกณฑ์และทฤษฎีที่พึงเชื่อถือได้ อันเกิดจาการค้นคว้าเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการบริหาร โดยลักษณะนี้ การบริหารจึงเป็นศาสตร์ (Science) เป็นศาสตร์สังคม ซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับวิชาจิตวิทยา สังคมวิทยา และรัฐศาสตร์แต่ถ้าพิจารณาการบริหารในลักษณะของการปฏิบัติที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และทักษะของผู้บริหารแต่ละคน ที่จะ ทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นการประยุกต์เอาความรู้ หลักการและทฤษฎีไปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม การบริหารก็จะมีลักษณะเป็นศิลป์ (Arts) ปัจจัยสำคัญการบริหารที่สำคัญมี 4 อย่าง ที่เรียกว่า 4Ms ได้แก่
            1. คน (Man)
            2 เงิน (Money)
            3. วัสดุสิ่งของ(Materials)
            4. การจัดการ (Management)


กระบวนการบริหารการศึกษา
จากหลักการบริหารทั่วไป 14 ข้อของ  Fayol ทำให้ต่อมา Luther Gulick ได้นำมาปรับต่อยอดเป็นที่รู้จักกันดีในตัวอักษรย่อที่ว่า “POSDCoRB” กลายเป็นคัมภีร์ของการจัดองค์การในต้นยุคของศาสตร์การบริหารซึ่งตัวย่อแต่ละตัวมีความหมายดังนี้
            P – Planning หมายถึง การวางแผน
            O – Organizing หมายถึง การจัดองค์การ
            S – Staffing หมายถึง การจัดคนเข้าทำงาน
            D – Directing หมายถึง การสั่งการ
            Co – Coordinating หมายถึง ความร่วมมือ
            R – Reporting หมายถึง การรายงาน
            B – Budgeting หมายถึง งบประมาณ

ความหมายของทฤษฎีและทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา

           ทฤษฎี หมายถึง แนวความคิดหรือความเชื่อที่เกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์มีการทดสอบและการสังเกตจนเป็นที่แน่ใจ ทฤษฎีเป็น เซท(Set) ของมโนทัศน์ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เป็นข้อสรุปอย่างกว้างที่พรรณนาและอธิบายพฤติกรรมการบริหารองค์กรการทางศึกษา อย่างเป็นระบบ ถ้าทฤษฎีได้รับการพิสูจน์บ่อย ๆ ก็จะกลายเป็นกฎเกณฑ์ ทฤษฎีเป็นแนวความคิดที่มีเหตุผลและสามารถนำไปประยุกต์ และปฏิบัติได้ ทฤษฎีมีบทบาทในการให้คำอธิบายเกี่ยวกับปรากฏทั่วไปและชี้แนะการวิจัย


ทฤษฎีทางการบริหารและวิวัฒนาการการบริหารการศึกษา
            ระยะที่ 1 ยุคนักทฤษฎีการบริหารสมัยดั้งเดิม (The Classical organization theory) ระหว่าง ค.ศ. 1887 – 1945 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10 ) แบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่มดังนี้
             1. กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของ เทย์เลอร์ (Scientific Management) ของ
เฟรดเดอริก เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ“The one best way” คือประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3 อย่างคือ
              1.1 เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (Selection)
              1.2 ฝึกอบบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training)
              1.3 หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation)
เทย์เลอร์ ก็คือผลผลิตของยุคอุตสาหกรรมในงานวิจัยเรื่อง “Time and Motion Studies” เวลาและการเคลื่อนไหว เชื่อว่ามีวิธีการการทางวิทยาศาสตร์ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เพียงวิธีเดียวที่ดีที่สุด เขาเชื่อในวิธีแบ่งงานกันทำ ผู้ปฏิบัติระดับล่างต้องรับผิดชอบต่อระดับบน เทย์เลอร์ เสนอ ระบบการจ้างงาน(จ่ายเงิน)บนพื้นฐานการสร้างแรงจูงใจ สรุปหลักวิทยาศาสตร์ของเทยเลอร์สรุปง่ายๆประกอบด้วย 3 หลักการดังนี้
             1. การแบ่งงาน ( Division of Labors)
             2. การควบคุมดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน (Hierarchy)
             3. การจ่ายค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Incentive payment)
           2. กลุ่มการบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization Theory ) ของ อังรี ฟาโยล ( Henri Fayol ) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylor จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน และ วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน “จิตวิทยา” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 17 )F ayol ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ มีดังนี้
              2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง (Specialization) คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะ ทาง
              2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
              2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา (Unity of Command)
              2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด
             2.5 การสื่อสารแนวดิ่ง (Vertical Communication) การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
              2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป
              2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ
(Line and Staff Division)
           3. ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ(Bureaucracy) มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่กล่าวถึงหลักการบริหารราชการประกอบด้วย
              3.1 หลักของฐานอำนาจจากกฎหมาย
              3.2 การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์
              3.3 การแบ่งงานตามความชำนาญการเฉพาะทาง
              3.4 การแบ่งงานไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว
              3.5 มีระบบความมั่นคงในอาชีพ
จะอย่างไรก็ตามระบบราชการก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งในด้าน ข้อเสีย คือ สายบังคับบัญชายืดยาวการทำงานต้องอ้างอิงกฎระเบียบ จึงชักช้าไม่ทันการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน เรียกว่า ระบบ “Red tape” ในด้านข้อดี คือ ยึดประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก การบังคับบัญชา การเลื่อนขั้นตำแหน่งที่มีระบบระเบียบ แต่ในปัจจุบันระบบราชการกำลังถูกแทรกแซงทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ทำให้เริ่มมีปัญหา
ระยะที่ 2 ยุคทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation ) ระหว่าง ค.ศ. 1945 – 1958 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) Follette ได้นำเอาจิตวิทยามาใช้และได้เสนอการแก้ปัญหาความขัดแย้ง(Conflict)
ไว้ 3 แนวทางดังนี้
            1. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
            2. Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
            3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง (ชนะ ชนะ) นอกจากนี้ Follette ให้ทัศนะน่าฟังว่า “การเกิดความขัดแย้งในหน่วยงานเป็นความพกพร่องของการบริหาร” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 25)
              การวิจัยหรือการทดลองฮอร์ทอร์น (Hawthon Experiment ) ที่ เมโย ( Mayo ) กับคณะทำการวิจัยเริ่มที่ข้อสมมติฐานว่าสิ่งแวดล้อมมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของคนงาน มีการค้นพบจากการทดลองคือมีการสร้างกลุ่มแบบไม่เป็นทางการในองค์การ ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ที่ว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์ มีความสำคัญมาก ซึ่งผลการศึกษาทดลองของเมโยและคณะ พอสรุปได้ดังนี้
            1. คนเป็นสิ่งมีชีวิต จิตใจ ขวัญ กำลังใจ และความพึงพอใจเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน
            2. เงินไม่ใช่ สิ่งล่อใจที่สำคัญแต่เพียงอย่างเดียว รางวัลทางจิตใจมีผลต่อการจูงใจในการทำงานไม่น้อยกว่าเงิน
           3. การทำงานขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมมากกว่าสภาพแวดล้อมทางกายภาพคับที่อยู่ได้คับใจอยู่อยาก
          ข้อคิดที่สำคัญ การตอบสนองคน ด้านความต้องการศักดิ์ศรี การยกย่อง จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานจากแนวคิด “มนุษยสัมพันธ์”*
ระยะที่ 3 ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory)หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach)ตั้งแต่ ค.ศ. 1958 – ปัจจุบัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 11) หลักระบบงาน + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้


             1.เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I Barnard ) เขียนหนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความร่วมมือองค์การ และเป้าหมายขององค์การ กับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดุลกัน
              2.ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ – นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านั้นต้องได้รับการสนองตอบตามลำดับขั้น
              3.ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์ (Douglas MC Gregor Theory X, Theory Y ) เ ขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน ทฤษฎี X
(The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
          1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
          2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
          3. คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์การ
          4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
          5. คนมักโง่ และหลอกง่าย
ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น

ทฤษฎี Y (The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
          1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
          2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
          3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
         4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกันจากความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดระบบการบริหารที่แตกต่างกันระหว่างระบบที่เน้นการควบคุมกับระบบที่ค่อนข้างให้อิสระภาพ
           4.อูชิ (Ouchi ) ชาวญี่ปุ่นได้เสนอ ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchi) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (I of California Los Angeles) ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ
           สรุป สองทฤษฎี มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการคือ
             1. การทำให้ปรัชญาที่กำหนดไว้บรรลุ
             2. การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
             3. การให้ความไว้วางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
             4. การให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

การนำหลักทฤษฎีมาใช้
           การหลักทฤษฏีใดมาใช้นั้นผู้บริหารวิเคราะห์ สภาพปัญหาของโรงเรียนของตนเอง ว่า ควรนำทฤษฏีใดมาใช้ในการแก้ปัญหามาใช้ ให้เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนของเรา การใช้ SWOT วิเคราะห์สภาพภายนอกและภายในโรงเรียนหากรู้เขาและรู้เรา ให้รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง” เป็นหนึ่งประเด็นกลยุทธ์ด้านการศึกของจีนในสมัยโบราณ กล่าวไว้เพื่อแสดงถึงการศึกษาวิเคราะห์เพื่อให้รู้จุดอ่อน จุดแข็งของตนเองและคู่แข่งขัน ที่จะนำมาซึ่งการกำหนดกลยุทธ์หรือแนวทางการสร้างความสำเร็จในการบริหารดำเนินงาน ใดๆได้ตามประสงค์ การศึกษาวิเคราะห์องค์กร หน่วยงานหรือของตัวบุคคล เพื่อทบทวนจุดอ่อน (Weakness) จุดแข็ง (Strengths) โอกาส (Opportunities) อุปสรรค (Threats) ในการทำงานหรือเรียกสั้นๆว่า SWOT Analysis เป็นหนึ่งในเครื่องมือของการศึกษาวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาขององค์กร หน่วยงาน หรือระดับบุคคล สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารองค์กรได้หลากหลาย เช่นการกำหนดกลยุทธ์ในการวางแผนธุรกิจ การวางแผนการตลาด แผนการดำเนินงาน เป็นเครื่องมือขั้นต้นในการทำ Five Force สำหรับการปรับปรุงองค์กร ใช้การบริหารทรัพยากรบุคคล หรือกระทั่งการศึกษาวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงพฤติกรรมของแต่ละบุคคล เพื่อการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น เป็นการศึกษาเพื่อทำให้เรารู้ว่าอะไรเป็นปัญหาหรือโอกาสที่เราต้องแก้ไขปรับปรุง ทั้งนี้ SWOT Analysis เป็นการระดมความคิดของคนที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน ในหลายๆ มุมมอง ที่จะช่วยในการกำหนดปัญหา กำหนดวิสัยทัศน์ ประเด็นกลยุทธ์ และวางแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

            การนำทฤษฏีการบริหารมาใช้ สำหรับผู้บริหารที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องพัฒนาอยู่เสมอไม่หยุดนิ่ง ตามหลักวงจรเดมมิ่ง คือ วางแผน ปฏิบัติ ตรวจสอบ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่มีทฤษฏีใดดีที่สุด แต่ละทฤษฏีเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ ดัง คนโบราณกล่าวว่าไฟไหม้ ในป่า ให้ใช้กิ่งไม้สดดับไฟ ไฟไหม้กลางทะเลทรายให้ใช้ทรายดับไฟ ไฟไหม้ริมแม่น้ำให้ใช้น้ำดับไฟ เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 322520เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2009 01:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

ดีคะ

การบริหารมิได้มีกฎตายตัว

ที่ท่านนำเสนอหลากหลายดีมากคะ

ชอบแบบ Compromize ค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณคะ อ่านแล้วมีประโยชน์ขออณุญาตนำไปใช้นะคะ

ขอบคุณนะคะ กำลังจะสอบพอดีเลย

ไม่เป็นไร ครับ ความรู้ทั้งหลาย ผมก็ค้นคว้ามาจากท่านผู้รู้เช่นกัน

อนุโมทนาขอบคุณ ที่แบ่งปันความรู้ กำลังหาข้อมูลนี้เหมือนกัน

ปริญญาภรณ์ เขียวมูล

ดีมากคะนำไปใช้ในการบริหารงานแล้ว

เป็นการสรุปเนื้อหาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย เพราะขณะนี้กำลังเรียนการบริหารการศึกษาอยู่ อยากให้ลงเนื้อหาที่เกี่ยวกับการบริหารเป็นวิทยาทานด้วยค่ะ

ขอบคุณมากเลย ความคิดเยี่ยมมาก ขอไปใช้ในการทำรายงานส่งอาจารย์หน่อยนะคะ

งานชิ้นนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งและแนวความคิดที่ผมเสนอบ้าง

เป็นงานส่งอาจารย์ช่วงเรียนป.บัณฑิตราชภัฎอุดรธานีครับ

หากผิดพลาดประการใด ผู้รู้แนะนำด้วยครับ

ดารารัตน์ สมบูรณ์สิน

ขอบคุณ..ที่แบ่งปันความรู้..ขออนุญาตินำไปทำรายงานนะคะ

อ่านแล้วดีค่ะ มีประโยชน์ด้วยขออนุญาตนำข้อความบางส่วนไปตอบในข้อสอบนะคะ

ขออนุญาตินำไปประกอบการศึกษา การบริหารการศึกษา นะคะ กำลังเริ่มเรียนค่ะ ของ มสธ. ได้อ่านประมวลชุดวิชาแล้วแต่ก็ยังมองภาพรวมไม่ออกค่ะ ยากจริงๆ

Thank you very much for your advisory and important document. May I ask for your kindly permission to apply some parts of your docs for my exam?

อ่านแล้วขอบคุณมากเหมือนที่อาจารย์ขึ้นPower point สอน แต่อาจารย์ให้โจทย์มาว่า คุณจะนำหลัก POSDCoRB ไปใช้ในงานที่ท่านรับผิดชอบ ( คืองานด้านวิชาการ) ได้อย่างไร จะตอบอย่างไรดี เพิ่งเรียนวันเดียวเอง

ดิฉัน ไม่ได้เป็นครู แต่ชอบมากค่ะ ขอนำไปใช้ในการบริหารชุมชนและเผื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวขอ้งกับการศึกษาชองลูกๆหลานๆเรานะคะ ประเทศชาติต้องการผู้ทรงคุณวุฒิอย่างท่านๆ ขอขอพพระคุณที่กรุณาแบ่งปัน เราจะไม่เป็นอันดับท้ายๆในอาเซี่ยน อีกต่อไป

ขอบคุณนะคะที่แบ่งปันสิ่งดีๆให้กับทุกๆคน

ขอบคุณนะคะกับเนื้อหาดีดี กำลังเตรียมตัวสอบพอดี

ด้วยความเคารพ ขออนุญาตินำบทความบางส่วนไปประกอบงานบัณฑิตนิพนธ์นะครับ

ขอบคุณมากครับ อ่านแล้วได้ประโยชน์มากครับ

อ่านแล้วมีประโยชน์มากค่ะ สามารถนำมาปรับปรุงใช้ได้ในการทำงานค่ะ…ขอบคุณค่ะ

ให้ความรู้ดีมากเลยค่ะ ขออนุญาตนำมาปรับใช้ด่วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท