หุ่นยนต์ แหอวน และองค์กรแห่งการเรียนรู้


Appreciative Inquiry เพื่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ (20)

วันหนึ่งผมมีโอกาสนั่งคุยกับผู้จัดการโรงงานอุปกรณ์การเกษตรครับ เขาถามผมว่า "ทำยังไงดีอาจารย์ ผมรู้สึกว่าคนงาน รวมถึงช่างไม่ค่อยกระตือรือร้น ดูยังไงก็ไม่รู้ อาจารย์มีอะไรจะแนะนำไหมครับ"

ผมเลยถามเขากลับด้วยคำถามแบบ Appreciative Inquiry ว่า "คุณลองนึกถึงครั้งที่คนงานคุณดูกระตือรืนร้น อย่างเห็นได้ชัดสิ วันนั้นเกิดอะไรขึ้น" เขานั่งงงกับคำถามผมพักหนึ่ง และพยายามนึกในที่สุดเขาก็พูดว่า "มีครับ มีอาจารย์ มีครั้งหนึ่งผมลองสั่งหุ่นยนต์เข้ามาลองใช้งานดู เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่สำหรับเรามาก ผมก็ไม่รู้เรื่อง ช่างก็ไม่รู้เรื่อง พวกเราต้องรุมกันแกะ ค้นหาวิธีการใช้งานมัน เป็นช่วงที่ผมสังเกตว่าช่างกระตือรือร้นมากครับ ผมเองผมก็รู้สึกได้เรียนรู้อะไรมากขึ้นด้วยครับ"

ผมบอกเข้าว่า "นี่ไง แสดงว่าถ้าคุณและลูกน้องได้ทำอะไรใหม่ๆ ที่ต่างคนต่างใหม่ทั้งหมด พวกคุณจะกระตือรือร้นและเรียนรู้มากขึ้น เพราะฉะนั้นคุณต้องมันหาอะไรใหม่ๆมาลองแกะ มาลองศึกษาดู"

แล้วผมก็ยกตัวอย่างเจ้าของโรงงานขอนแก่นแหอวน จ.ขอนแก่น โรงงานนี้เป็นโรงงานผลิตแหอวนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผลิตแหอวนส่งออกไป 60-70 ประเทศ คือวันหนึ่งเมื่อ 7-8 ปีก่อนผมอ่านหนังสือเรื่อง Six Thinking Hats ของ Dr. Edward De Bono อยู่แล้วเจอลูกศิษย์ที่ทำงานที่นี่ เขาเดินมาทักบอกว่า "อาจารย์ครับ เจ้าของโรงงานผมก็อ่านเล่มนี้ครับ แถมท่านยังให้พวกวิศวกรไปช่วยกันศึกษาด้วยครับ" เท่าที่ผมจำได้ครับว่าเจ้าของจบไม่สูง(ม.6) ครับ แต่อ่านภาษาอังกฤษได้ แถมยังอ่านหนังสือด้านความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเมื่อเวลานั้นในกลุ่มอาจารย์ยังแทบไม่มีใครรู้จัก

ผมรู้สึกทึ่งมาก เลยซักเขาต่อ ลูกศิษย์เลยเล่าว่า เจ้าของแกชอบให้วิศวกรช่วยศึกษาแนวความคิดใหม่ๆกันครับ และชอบซื้อหนังสือบริหาร หรือวิศวกรรมประเภทล้ำยุค มาให้วิศวกรช่วยกันดู และศึกษาดัดแปลงมาใช้กับระบบของโรงงาน

ผมเลยไม่แปลกใจครับ หลายๆคนที่นี่ ที่ผมรู้จักโดยเฉพาะวิศวกร จะดูเก่งกันครับ และยิ่งไม่แปลกใจเลยครับว่าทำไมโรงงานแหอวนที่นี่ จึงกลายเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในโลก ส่งแหอวนไปขายถึงอเมริกาใต้ได้

ลองหาอะไรใหม่ๆไป แล้วร่วมเรียนรู้ และทดลองกันสิครับ คนของคุณจะกระตือรือร้นและเก่งขึ้นแน่นอนครับ เผลอๆองค์กรของคุณจะไปไกลระดับโลกแบบไม่รู้ตัวก็ได้ครับ  

 

 

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry#learning organization
หมายเลขบันทึก: 321904เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2009 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 17:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

เข้ามากี่ครั้งได้ความรู้ทุกครั้งครับ...แต่ผมก็ยังงงครับว่าจะเอาไปแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกของเด็กระดับประถมมัธยมได้อย่างไรเมื่อวันก่อนที่ถามไปครับ

ด้วยความเคารพครับ

ขอบคุณ อาจารย์โญ สำหรับตัวอย่าง AI ที่โดนใจมากครับ

สวัสดีครับอาจารย์

การสร้างสิ่งธรรมดาในองค์กรให้เป็นสิ่งใหม่ ท้าทายให้คนในองค์กร ก็น่าจะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้ โดยไม่ต้องนำสิ่งใหม่เข้ามาผมคิดว่า ต้องสร้างบรรยากาศในการคิดนวัตกรรม

เพราะหากเราต้องนำสิ่งใหม่เพื่อสร้างความกระตือรือร้น ต่อไปพักใหญ่ก็จะจืดจางลง ไม่เร้าใจเหมือนเคย

 

โดน

มุมมองที่แอบซ่อน

ขอบุณทุกท่าน ผมได้ Feedbacck ไปเขียนต่ออีกครับ

ความกระตือรือล้น เป็นสิ่งแอบซ่อนที่มองไม่เห็น

แต่เราเต้องเข้าใจมันให้ได้ เพราะว่า มันเกิดขึ้นกับคน

หากยิ่เงป็นองค์กรใหญ่ บางคน บางกลุ่มมีความกระตือรือล้น

ในตัวเองอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องกระตุ้นมาก

แต่อย่างบางกลุ่ม ขนาดมีของใหม่ๆ มาให้ท้าทาย

แต่ว่า ไม่ได้รู้สึกอะไร คิดว่าเป็นภาระและเป็นการเปลี่ยนแปลงด้วยซ้ำ

ดังนั้น ต้องดูดีๆค่ะ ว่าอาจทำสิ่งๆ หนึ่งได้กับแค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น

ที่เหลือ ท้ายสุด ถ้าแรงกระตุ้น แรงเสริมไม่เพียงพอ

มาตรการสุดท้ายที่ j จำเป็นต้องใช้คือการบังคับ ค่ะ

ไม่ดีเลยอ่ะ

อาโญคะ หนูจะยกตัวอย่างให้ดูในคอมเม้นท์ต่อไปค่ะ

jw

เรื่องมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่งที่ทำงานได้นาฬากาดิจิตอล

แบบตั้ง แบบแขวนมาไว้ มันมาโดยยังไม่ได้ถ฿กเซตใดๆ

พร้อมทั้งคู่มือภาษาต่างๆ และใบการรันตี

คนกลุ่มที่ 1 บอกว่า ให้พวก jw จัดการเลย เพราะไม่คิดว่าพวกเขาจะทำหรือเข้าใจมันได้

หรือคนกลุ่มนี้อาจคิดว่า มีเรื่องอื่นๆ สำคัญที่เขาต้องจัดการกับมันมากกว่ามาเสียเวลา

คนกลุ่มที่ 2 ซึ่งประกอบด้วย jw พร้อมที่จะงัดแงะ และทำโดใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมาเพราะมันเป็น

รุ่นที่เราคิดว่า คล้ายๆ แบบที่เราเคยใช้

คนกลุ่มที่ 3 ห้ามคนกลุ่มของ jw ว่า อย่าเพิ่ง แต่ขอให้อ่านคู่มือทั้งหมด ให้เข้าใจก่อน

มิฉะนั้นจะเกิดอาการเสียหายได้

แต่ทว่า นี้เป็นเพียงนาฬิกา และหลายๆ คนเคยมีประสบการณ์อย่างjw ในการใช้นาฬิกาที่ต้องเซตเหมือนที่นักดำน้ำเขาใช้กัน

จึงไม่คิดว่า เราต้องเสียเวลาด้วยการอ่านใหม่ให้หมดก่อน แล้วค่อยๆ ทำตามขั้น

หากว่า เป็นอุปกรณ์หรือตู้ปรุงยาระดับล้านบาท หรือเป็นคู่มือการซ่อมประตูเครื่องบิน

คนกลุ่มที่ 3 ดูเหมือนจะเหมาะกว่า ในสถานการณ์นั้น

ตัวอย่างที่แจ๋วแหววเอามาเล่า อาจารย์โญมีความเห็นว่าอย่างไรบ้างคะ

ขอบคุณค่ะ

และแล้ว ในเวลาเพียง 5 นาที ระหว่างที่คนกลุ่มที่ 3 กำลังอ่านแลtแปลยังไม่ทันจบ

jw ได้เซตนาฬิกาดิจิตอล พร้อมที่จะแขวน เสร็จเรียบร้อยโดยไม่ก่อให้เกิดอาการเสียหายใดๆ

jw

สุดยอดจริงๆครับ ความเห็นข้างบนเนี่ยะ

ว่างๆ ไปเซตนาฬิกาที่บ้านผมได้ไหมครับ

คือทีมฝ่ายตรงข้ามเขาตบมา เพื่อนผมรับไว้ได้ แต่ผมเซตไม่เป็น เลยเสียแต้มไปเลยครับ

เซตยากจริงๆ ล้อเล่นหน่ะครับ

ผมเป็นคนนึงที่ชอบอะไรใหม่ๆนะครับ (หมายถึง ความคิดนะครับ ไม่ใช่คนใกล้ตัว)

ผมมักจะตื่นเต้นทุกครั้ง ที่เห็น เทคโนโลยีใหม่ๆ คงเป็นเพราะ เลือดวิศวะสูงกระมังครับ

แต่ผมก็ยังเป็นคนนึงที่คิดตลอดเวลาว่า แล้วทำไมเราไม่เป็นคนคิดอะไรใหม่ๆได้เองหล่ะ

อย่างผมมีโปรเจคในหัวเต็มเลยครับ ทุกๆท่าน และถ้าจะให้ดีกว่านี้ (อาจารย์ท่านหนึ่งสอนให้ผมใช้คำนี้ แทนคำว่า แต่)

1 ไม่ทราบว่าจะจัดการให้มันเป็น รูปเป็นร่าง ยังไง

2 ไม่ทราบว่า เป็นรูปเป็นร่างแล้ว จะเอาไปขายยังไง

3 ไม่ทราบว่า ขายแล้ว คนเขาจะสนใจ หรือไม่

4 ไม่ทราบว่า คนสนใจแล้ว จะมีคนเอา ผลงานของเราไปแอบอ้าง หรือไม่

5 ไม่ทราบว่า ไอ้ที่ผมคิด ตั้งกะข้อ 1 มัน เว่อร์เกินไปไหม ถ้าผมจะเปิดบริษัท รับทำไอ้พวกนี้เอง

ABC Club : http://abcclub.ning.com

เรื่องที่คุณ JW ถามและคุณม่อนถาม มผมจะเอาไปเขียนในเรื่องของ Six Shoes of Action และเรื่องของการพัฒนาพนธมิตรครับกรณีอาจารย์จงจิตนะครับ อย่าลืมทวงด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท