อ้วนลงพุงต่างจากอ้วนทั่วไปอย่างไร [EN]


ออกกำลังวันละนิดมีส่วนช่วยควบคุมน้ำหนัก และที่สำคัญ คือ ช่วยป้องกันไขมันลงพุง (belly fat) ซึ่งเพิ่มเสี่ยงเบาหวาน โรคหัวใจได้ [ St. Agnes hospital ]

...

  [ alli ]

ภาพที่ 1: อ้วนทั่วไปมีลักษณะคล้ายลูกแพร์ (pear-shaped) หรือผลชมพู่, อ้วนลงพุงมีลักษณะคล้ายลูกแอปเปิ้ล (apple-shaped) > [ alli.co.uk ]

คนที่อ้วนแบบลูกแอปเปิ้ลหรืออ้วนแบบ "อ้วนลงพุง" มีไขมันเหนือเอว หรือไขมันในช่องท้องมากกว่า เสี่ยงเบาหวาน + โรคหัวใจมากกว่า,

ส่วนคนที่อ้วนแบบลูกแพร์หรือชมพู่มีไขมันใต้เอวมากกว่า ไขมันในช้องท้องน้อยกว่า เสี่ยงเบาหวาน + โรคหัวใจน้อยกว่า

...

[ thedoctorweighsin ]

ภาพที่ 2: แสดงไขมันใต้ผิวหนัง (subcutaneous fat) และไขมันในช่องท้อง (visceral fat); ไขมันในช่องท้องอยู่รอบๆ กระเพาะอาหาร-ลำไส้เล็ก-ลำไส้ใหญ่ และเยื่อยึดโยงลำไส้ (ถ้าไม่มีเยื่อยึดโยงลำไส้จะทำให้ลำไส้พันกันเป็นเกลียว ถึงตายได้) > [ thedoctorweighsin ]

คนที่ต้องการให้กล้ามท้อง หรือกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งโผล่ออกมา หรือที่เรียกว่า '6-pack' ควรพิจารณาทฤษฎี "ปลาวาฬในทะเลไขมัน" ไว้เสมอ

...

ไขมันใต้ผิว หนังมีลักษณะคล้ายเป็นทะเลไขมัน บดบังกล้ามไว้ ทำให้มองไม่เห็นกล้าม, ส่วนกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามท้อง ฯลฯ มีลักษณะเป็นปลาวาฬ ซึ่งถูกทะเลไขมันบดบัง

มี วิธีทำให้เห็นกล้ามได้ 2 วิธี, วิธีหนึ่ง คือ ทำให้ทะเลไขมันตื้นลง (ลดความอ้วน-ลดน้ำหนัก), ปลาวาฬจะโผล่ออกมาเอง เช่น คนผอมมากๆ มักจะเห็นกล้ามท้องได้ง่าย แต่กล้ามจะไม่โดดเด่น เพราะเล็ก เปรียบคล้ายปลาวาฬตัวเล็กเกยตื้น ฯลฯ

...

อีกวิธีหนึ่ง คือ ทำให้ปลาวาฬตัวโตขึ้น โดยการออกกำลังต้านแรง เช่น ยกน้ำหนัก เล่นเวท ดึงสปริง ดึงยางยืด ขึ้นลงบันได ฯลฯ

ปกติจะต้องทำให้ปลาวาฬตัวโตด้วย-ทะเลไขมันบางลงด้วย กล้ามจึงจะโผล่ออกมาให้เห็น

...

[ whyfiles ]

ภาพที่ 3: ไขมันรอบพุงที่ทำให้เกิด "อ้วนลงพุง" ประกอบด้วยส่วนย่อย 3 ส่วนได้แก่ ไขมันใต้ผิวหนัง (subcutaneous), ไขมันในช่องท้อง (visceral), และไขมันหลังช่องท้อง (retroperitoneal) > [ whyfiles ]

...

คณะนักวิจัย จากมหาวิทยาลัยอะลาบามา, เบอร์มิงแฮม US ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างผู้หญิง 97 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ให้ออกกำลังแบบแอโรบิค, ต้านแรง, หรืออยู่แบบเดิมๆ ไม่ต้องออกกำลังอะไร

ผลการศึกษาพบว่า การออกกำลังแบบแอโรบิค เช่น เดินเร็ว วิ่ง ขึ้นลงบันได จักรยาน ว่ายน้ำ ฯลฯ หรือออกกำลังต้านแรง เช่น ยกน้ำหนัก เล่นเวท ดึงสปริง ขึ้นลงบันได ฯลฯ 80 นาที/สัปดาห์ ช่วยป้องกันไขมันลงพุงได้

...

การขึ้นลง บันไดเป็นการออกกำลังทั้งแบบแอโรบิค และต้านแรงผสมกันแบบ 2-in-1 นิยมใช้การขึ้นบันไดเร็วๆ-ลงช้าๆ เสริมการฝึกร่างกายในการฝึกกีฬาอย่างกว้างขวาง

การออกกำลัง 80 นาที/สัปดาห์ = 11.43 นาที/วัน ช่วยลดไขมันในช่องท้อง-หลังช่้องท้อง (visceral fat) ซึ่งทำให้เกิดอ้วนลงพุงได้

...

การศึกษานี้มีการกำหนดอาหาร ให้กำลังงานหรือแคลอรีลดลงวันละ 800 แคลอรี ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีน้ำหนักลดลง 24 ปอนด์ = 10.9 กิโลกรัม

ส่วนการออกกำลังนั้นมีการจัดให้กลุ่มตัวอย่างออกกำลัง 40 นาที/ครั้ง, 2 ครั้ง/สัปดาห์ นาน 1 ปี

...

เมื่อครบ 1 ปีแล้ว มีการแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 5 กลุ่มย่อยได้แก่ ให้ออกกำลังแบบแอโรบิคต่อไป, หยุดออกกำลังแบบแอโรบิค, ออกกำลังแบบต้านแรงต่อไป, หยุดออกกำลังแบบต้านแรง, และกลุ่มที่ไม่ออกกำลังเลย

ผลการศึกษาพบว่า คนที่ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำต่อไป ไม่มีไขมันในช่องท้องเพิ่มขึ้น แม้จะมีน้ำหนักกลับเพิ่มขึ้นมาอีก

...

ตรงกันข้าม... คนที่หยุดออกกำลังมีไขมันในช่องท้องเพิ่ม 33%

การศึกษานี้สนับสนุนแนวคิดที่ว่า อ้วนฟิตดีกว่าอ้วนไม่ฟิตอย่างมากมาย โดยเฉพาะเมื่อไขมันในช่องท้องลดลงจากการออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ จะทำให้ความเสี่ยงเบาหวาน โรคหัวใจลดลงได้ในระยะยาว

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                                

ต้นฉบับเรื่องนี้คือ 'Exercise can help keep dangerous belly fat away' = "ออกกำลังช่วยป้องกันไขมันอันตรายในช่องท้อง (อ้วนลงพุง)"

คลิกลิ้งค์ > คลิกลำโพง-ธงชาติ > ฟัง-ออกเสียงตามเจ้าของภาษา 3 รอบ เพื่อให้จำศัพท์ได้ถูกต้องและเร็ว

ย้ำเสียงหนัก (accent) ที่พยางค์แต้มสี กรณีมีตำแหน่งย้ำเสียง 2 ตำแหน่ง, ตำแหน่งที่ย้ำเสียงหนักกว่า คือ พยางค์ที่ใช้ตัวอักษรตัวหนา

...

@ [ belly ] > [ เบ๊ล - หลี่ ] > http://www.thefreedictionary.com/belly > noun = ท้อง = abomen = bag (= ถุงในภาษาอังกฤษโบราณ)

@ [ visceral ] > [ วิส - เซอ - เหร่า - L ] > http://www.thefreedictionary.com/visceral > adjective = ภายใน

...

# We have belly pain. = เราปวดท้อง.

# We have bellyache. = We have stomachache. = เราปวดท้อง.

# There is belly-dance. = มีระบำหน้าท้อง.

# Stop bellyaching. = หยุดบ่นได้แล้ว. (ภาษาพูด ไม่เป็นทางการ)

...

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา                                                         

  • Thank St. Agnes hospital > Exercise can help keep dangerous belly fat away. November 2, 2009. / Source > J Obesity.
  • Thank [ Alli.co.uk ]; [ whyfiles ]; [ thedoctorweighsin ]
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. > 20 ธันวาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 321769เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2009 21:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 12:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นแนววิชาการที่ยอดเยี่ยมแบบง่ายๆ ครับ ขอบคุณครับ เรื่องดีๆ ทางการแพทย์

ขอขอบคุณครับอาจารย์... // ขอขอบพระคุณครูภาษาไทย และครูภาษาอังกฤษที่ให้การฝึกอบรมมาอย่างตั้งใจแบบสุดๆ เลยทีเดียว // นึกถึงตอนเด็กๆ ที่ครูพรไพจิตร ครูภาษาไทยนำเรียงความนักเรียนไปให้ท่านอาจารย์อาจินต์ ปัญจพรรค์ช่วยชี้แนะวิธีเขียนแล้ว ผมทึ่งจริงๆ ว่า ทำไมครูถึงได้มีพลังมากขนาดนั้น...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท