การพัฒนาสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลตามแนวทาง HR Scorecard (ตอนที่ 1)


การพัฒนาสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลตามแนวทาง HR Scorecard (ตอนที่ 1)

จากที่ผู้เขียนได้ศึกษาการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่และได้ศึกษาจากการได้เรียนใน e - learning ของ ก.พ. จึงขอสรุป การพัฒนาสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลตามแนวทาง HR Scorecard ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ของการบริหารทรัพยากรบุคคล ได้ดังต่อไปนี้...

การบริหารราชการยุคใหม่ ประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้

1. คุณภาพการบริการ

2. มีเจ้าภาพชัดเจน

3. แข่งขันได้

4. การบริหารจัดกิจการบ้านเมืองที่ดี

5. มุ่งผลสัมฤทธิ์

6. การใช้เทคโนโลยี

7. ประเมิน/วัดผลได้

สำหรับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน

2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

3. มีประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

4. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น

5. ปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อเหตุการณ์

6. ประชาชนได้รับความสะดวกและได้รับการตอบสนอง

7. มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ

วิวัฒนาการการบริหารทรัพยากรบุคคล

ปัจจุบัน เน้นที่มูลค่าเพิ่ม 4. Human Capital

ในการบริหารคน Management

3. Human Resource

2. Personnel Management

เดิม เน้นที่กระบวนการ 1. Personnel Administration

การบริหารทุนมนุษย์

ทุนมนุษย์ หรือ (Human Capital) หมายถึง เทคโนโลยี ความรู้ ทักษะแลสมรรถนะซึ่งติดตัวคนในองค์กรและมีความจำเป็นในการปฏิบัติงาน เช่น ทักษะเชิงเทคนิค นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์และสมรรถนะการเป็นผู้นำ

ทรัพยากรบุคคลเป็นสินทรัพย์ (Asset) ขององค์กรที่มีสภาพเป็น "ทุน (Human Capital)" ซึ่งสำคัญยิ่งต่อการสร้างคุณค่าให้กับองค์กร

องค์กรใดมีทุนมนุษย์ที่เหนือกว่า ก็จะสามารถยืนอยู่ในสถานะที่เหนือกว่าองค์กรคู่แข่งขันได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

HUMAN CAPITAL MANAGEMENT

1. การกำหนดกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล (Strategy

Devilopment & Leadership) ได้แก่

- ยุทธศาสตร์/กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล,การสร้างผู้นำ

2. การพัฒนาระบบบริหารงานบุคคล (Workforce Management)

ได้แก่

- แผนพัฒนาบุคลากรตามหลักสมรรถนะ, ระบบประเมินผลงาน

3. การบริหารจัดการระบบงานบุคคล (Process Management)

ได้แก่

- การบริหารตำแหน่งและอัตรากำลัง, การฝึกอบรม

4. กิจกรรมขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับตัวบุคคล (Transaction

Processing) ได้แก่

- สรรหา, บรรจุ, แต่งตั้ง, เงินเดือน, สวัสดิการ และงานวินัย

หน้าที่ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล

1. สรรหา

2. พัฒนา

3. รักษาไว้

4. ใช้ประโยชน์

ซึ่งเป็นกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการพ้นจากงาน

หลักการของการประเมิน

- If you can't measure, you can't manage.

- If you can't measure, you can't improve.

- What gets measure, gets done.

การบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ในราชการ

ระดับ จุดเน้น ผู้รับผิดชอบบทบาท

การบริหาร การบริหารและ องค์กรกลางบริหาร กำหนดกรอบมาตรฐาน

นโยบาย พัฒนากำลังคน ทรัพยากรบุคคล ความสำเร็จด้าน HRMและติดตามประเมินผล

การบริหาร การบริหารทรัพยากร ส่วนราชการ/จังหวัด การบริหารทรัพยากร

ยุทธศาสตร์ บุคคลเชิงกลยุทธ์ บุคคลในส่วนราชการ

ให้สอดคล้องกับกรอบ

มาตรฐานความสำเร็จ

ด้าน HRM

การปฏิบัติการ งานปฏิบัติด้านการ ส่วนราชการ/จังหวัด จัดทำแผน โครงการ

บริหารทรัพยากรบุคคล และมาตราการซึ่ง

สอดคล้องกับแผน

กลยุทธ์ด้าน HRM

หลักการบริหารทรัพยากรบุคคลแนวใหม่

1. หลักคุณธรรม (Merit Based)

2. หลักกระจายอำนาจ (HR Decentrailzation)

3. หลักสมรรถนะ (Competency Based)

4. หลักผลงาน (Performance Based)

5. หลักความสมดุลระหว่างคุณภาพชีวิตกับการทำงาน (HRM Flexibility)

(มีต่อ...ตอนที่ 2...ค่ะ)

หมายเลขบันทึก: 318651เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2009 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ...ท่าน ผอ.ประจักษ์...

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม...สุขสันต์วันพ่อเช่นกันค่ะ...

ด้วยความเคารพค่ะ...

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท