การประชุมเป็นทางการแก้ปัญหาไม่ได้...ตัวอย่างจากโครงการคุณภาพสิ่งส่งตรวจ


การดำเนินการสำหรับ OTOP2 คงต้องเปลี่ยนยุทธวิธี

วันนี้ได้รับเชิญให้เข้าประชุมในฐานะพี่เลี้ยงของโครงการคุณภาพสิ่งส่งตรวจ ซึ่งมีคุณเพ็ญแข เป็นหัวหน้าโครงการ เราประชุมกันโดยมีวัตถุประสงค์ว่าจะ present อะไรบ้างในการนำเสนอโครงการฯในสัปดาห์หน้า วันนี้เราคุยกัน 4 คนรวมทั้งคุณศิริ น้องมีณาและคุณเพ็ญแขเอง

งานนี้เป็นโครงการต่อเนื่องมาจาก OTOP1 ตัวเองกลับมาทำงานไม่ทัน จึงมีข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนี้ไม่มากนัก แต่เท่าที่ทราบพบว่าโครงการนี้ถือเป็นหัวใจหลักอันหนึ่งของการบริการของพวกเราชาวพยา-ธิ เพราะจากงานที่ศูนย์รับสิ่งส่งตรวจนี้เองที่ทำให้ปัญหาในส่วนของ pre-analytical ของแต่ละหน่วยลดลงเป็นอย่างมาก  ซึ่งจาก OTOP1 ก็มีผลงานเป็นชิ้นเป็นอันคือ แผ่นภาพคู่มือการเก็บสิ่งส่งตรวจที่ทางกลุ่มได้ทำแจกทุก ward และพบว่าปัญหาของการเก็บสิ่งส่งตรวจผิดการทดสอบลดลงมาก แต่...ปัญหาอื่นๆเกี่ยวกับสิ่งส่งตรวจไม่ได้ลดลงเลย เป็น"ประโยคฮิต"ที่ได้ยินเสมอจากคุณเพ็ญแข ทั้งที่ได้มีการประชุมร่วมกันกับ ward ต่างๆในช่วงปีที่ผ่านมา

จากการพูดคุยกันวันนี้ เราได้พบว่าวิธีการในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพสิ่งส่งตรวจสำหรับแต่ละ ward นั้นน่าจะต้องแตกต่างกัน และการประชุมร่วมกันทีเดียวหลายๆ ward ไม่แก้ปัญหา แถมยังมีแนวโน้มจะก่อให้เกิดการป้องกันตนเอง มองหาความผิดของผู้อื่น มีการเปรียบเทียบว่า ward นั้น ward นี้มีปัญหามากกว่าที่อื่นๆ ส่วนทาง ward ก็หามาว่าทาง lab ทำอะไรผิด

น้องทั้ง 2 ผู้ซึ่งต้องทำงานตรวจรับสิ่งส่งตรวจจาก ward ต่างๆแสดงให้เราเห็นว่ามีความเชี่ยวชาญในการเก็บรวบรวมปัญหา ขนาดที่ว่าจำได้เลยว่า ward ไหนมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับสิ่งส่งตรวจอย่างไร ปัญหาไหนที่มีประปรายไม่จำเพาะกับ ward เราจับประเด็นนี้ได้จึงเสนอให้แก้โดยการให้ไปคุยโดยตรงกับ"เจ้าที่" ซึ่งตรงนี้ก็จะได้อานิสงค์จากการประชุมกลุ่มที่ผ่านๆมา ทำให้ทราบว่าควรจะติดต่อใคร ได้รู้หน้าค่าตากันมาแล้ว จุดนี้ทั้งคุณเพ็ญแขและน้องมีณาคงเก็บไปเล่าในการนำเสนอ หรืออาจจะมีให้เห็นผ่านบล็อก สารพันสรรหา...มาจากศูนย์รับสิ่งส่งตรวจและ OPD โอ้โหของทั้งคู่เองต่อไป ส่วนปัญหาที่ประปรายคุณศิริแนะนำว่า ในกรณีที่เราต้องคืนสิ่งส่งตรวจไป เราควรจะมีใบแจ้งคืนไปด้วยที่มีรายละเอียดว่าทำไมต้องคืน ใครเป็นผู้ส่ง ผู้รับ น่าจะทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายมีหลักฐานที่สามารถติดตามแก้ไขปัญหาในระยะยาวได้ และยังเป็นการเพิ่มความระมัดระวังก่อนส่งมาด้วย

สำหรับปัญหาที่รวบรวมอื่นๆก็คงต้องใช้แนวทาง PDCA ติดตามดูไปตลอดเวลา และปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่พบ โดยมีเป้าหมายสูงสุดที่ผู้ใช้บริการสามารถส่งสิ่งตรวจได้ถูกต้องมีคุณภาพ ทำให้งานในส่วน analytical สามารถทำได้ทันท่วงทีตามความต้องการของแพทย์ที่จะใช้ในการรักษาผู้ป่วย

นอกจากนั้นโครงการนี้จะเป็นที่เกิดของโครงการย่อยๆได้อีกหลายโครงการ ดังเช่นที่เป็นมาแล้วจาก "จากแกนสู่กล่อง ใน OTOP1" และโครงการที่แยกย่อยออกไปอีกโครงการของคุณเพ็ญแขที่ได้นำเสนอไปแล้วในวันแรก คือ ทีมร่วมใจลดภัยจากท่อลม ที่อ.ปารมีนำมาเล่าในวันก่อน

 

หมายเลขบันทึก: 31862เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2006 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

จากข้อความที่ว่า

"เราได้พบว่าวิธีการในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพสิ่งส่งตรวจสำหรับแต่ละ ward นั้นน่าจะต้องแตกต่างกัน และการประชุมร่วมกันทีเดียวหลายๆ ward ไม่แก้ปัญหา แถมยังมีแนวโน้มจะก่อให้เกิดการป้องกันตนเอง มองหาความผิดของผู้อื่น มีการเปรียบเทียบว่า ward นั้น ward นี้มีปัญหามากกว่าที่อื่นๆ ส่วนทาง ward ก็หามาว่าทาง lab ทำอะไรผิด"

 การประชุม PCT ที่ผมทราบคนไปประชุมไม่ใช่คนหน้างานที่รับรู้ปัญหาโดยตรง ทำให้การแก้ปัญหาไม่ตรงกับปัญหา  และที่สำคัญการที่หัวหน้าหน่วยหรือหัวหน้า ward เข้ารับฟังปัญหาทำให้แต่ละคนก็กลัวหน่วยงานตัวเองทำผิดก็เลยเป็นการประชุมที่จ้องจับผิดกันอยู่ เป็นการประชุมที่ผิดวัตถุประสงค์ ครับ ผมขอเสนอให้คนหน้างานเข้าร่วมประชุมด้วย ตั้งพยาธิและฝ่ายการพยาบาล ต้องเป็นการประชุมช่วยแก้ปัญหา เช่น ทางพยาธิพบปัญหา A ทาง ward มีวิธีแก้หรือเปล่า และทางพยาธิมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร ตรงจุดคือประเด็นหลักในการประชุมร่วมกันครับ

ส่วนเรื่องข้อมูลเรื่องสถิติความผิดพลาดนั้นไม่ต้องบอกว่าที่หน่วยไหนผิดมากเท่าไร บอกแค่ว่าตอนนี้เราพบปัญหาอะไรก็พอ เพราะถ้าเราไปบอกข้อมูลว่า หน่วยไหนทำผิดมากเท่าไรเท่ากับไปประจานเขา ทำให้การประชุมเป็นไปทางเชิง negative ครับ

ขอชี้แจ้งนายดำเรื่องกรรมการ PCT พยาธิ-พยาบาลสักเล็กน้อย ตนเองวางแนวคิดว่า อยากให้กรรมการชุดนี้ ทำงานพัฒนาเชิง ไม่ได้แก้ปัญหารายวัน วิธีก็คือ คุยหารือในเด็นต่างๆ เป็นเรื่องๆ ในแต่ละครั้ง เพื่อหาโอกาสพัฒนาในเรื่องนั้นๆ ให้ดีขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา เป็นเพียงข้อมูลเพื่อการวางระบบที่ดี แต่ไม่อยากเอาปัญหารายวันของแต่ละฝ่าย มาเป็นตัวเดินเรื่องในการพูดคุยแต่ละครั้ง เพราะจะเกิดการตั้งป้อมป้องกันตนเอง  ส่วนองค์ประกอบของกรรมการ มีตัวแทนจากหน้างานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้บริหารบางส่วน แต่ไม่อยากให้กรรมการใหญ่เทอะทะจนเกินไป จึงตั้งไว้แค่นั้น และตกลงกันว่า หากประเด็นในการประชุมเกี่ยวข้องกับใครที่ไม่อยู่ในกรรมการ ก็จะเชิญเข้ามาร่วมพูดคุยเป็นครั้งๆ ไป

แต่การควบคุมการประชุมให้เป็นไปในแนวทางที่ต้องการไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ ตรงนี้ ต้องฝากความหวังไว้กับอ.ประสิทธิ์ ประธานกรรมการ

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นค่ะ

แก้คำผิด ขอชี้แจ้ง -> ขอชี้แจง

    เห็นด้วยกับอ.ปารมีค่ะ เพราะกรรมการ PCT เองตอนนี้พยาธิก็มีคนหน้างานอย่างคุณเพ็ญแข ซึ่งเธอก็รวบรวมข้อมูลไปนำเสนอทุกครั้งอยู่แล้วค่ะ เพียงแต่ตอนนี้กรรมการเองต้องการให้มีการสื่อสารแบบ 2 ทาง ( two ways communication )ค่ะเพราะปัจจุบันดูเหมือนว่าทางฝ่ายการพยาบาลจะมารับฟังแต่ปัญหาของฝ่ายพยาธิ ซึ่งทำให้บางเดือนต้องงดประชุมเนื่องจากไม่มีตัวแทนจากฝ่ายการพยาบาลมา  ซึ่งเรากำลังร่วมกันแก้ปัญหาอยู่ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท