การสอนหนังสือด้วยภาษาใจ


ครูที่ใช้ภาษาใจสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงจากด้านใน
   ในการจัดการเรียนการสอนนั้นครูคงไม่สามารถที่จะเลือกเด็กที่จะสอนได้ ยิ่งโดยเฉพาะโรงเรียนในรอบนอกแล้ว...เด็กที่มีส่วนใหญ่ก็คือคัดหัวกะทิไปแล้ว(เข้าเมือง)
    ที่เหลืออยู่จึงเป็นความท้าทายของ คนเป็นครู ที่จะจัดการเรียนการสอนอย่างไรให้เด็กที่ไม่ค่อยพร้อม ให้เกิดการเรียนรู้อย่าง มีความสุข
     เปิดเทอมมาเป็นเวลา 4 สัปดาห์ได้แล้ว กระผมได้สอนวิทย์ ม.3 โดยปัญหาใหญ่คือจะทำอย่างไรที่จะช่วยให้นักเรียนประมาณ 4-5 คน เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับเพื่อนได้ วิธีการที่ใช้ คือ การเอาใจใส่ สอนแบบค่อยเป็นค่อยไป เสริมแรงให้กำลังใจ รู้จักรอ รอให้เขาคิด เขาตอบ  รับฟังความคิดเห็นของเขา  พยายามเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนให้ใกล้กับชีวิตของเขา  ยกตัวอย่างให้สนุกสนาน ใช้คำถามง่ายไปหายาก แบบตะล่อมๆ มีอารมณ์ขัน เป็นกันเอง ใช้คำพูด และสายตาอันอบอุ่นที เพื่อกระตุ้นให้กำลังใจ สื่อภาษาตัวหนังสือออกมาเป็นรูปภาพให้มาก เช่น แบบจำลองโครงสร้างของเซลล์ที่กระผมตั้งขึ้น คือ Model โครงสร้างของเซลล์ ถ้วยบัวลอยไข่หวาน เป็นต้น  กระผมใช้ความพยายาม สิ่งที่เน้นมากคือ การสอนต้องอยู่ภายใต้บรรยากาศอันอบอุ่น ให้ความรักกับเขา  และผมก็พบว่า เขาก็สามารถที่จะเรียนรู้ได้จริง โดยกล้าที่จะออกมาเขียนคำตอบบนกระดาน และถูกต้องชนิดที่เราอึ้ง...เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่าไม่น่าเชื่อ...ดูเป็นธรรมชาติ กระผมยิ้มออก...ก็ไปเล่าให้กับเพื่อนครูฟังว่า...เขาไม่ได้แย่...อย่างที่พวกเราคิดนะ...แต่...
    กระผมคิดว่าการสอนหากครูสามารถพูดภาษาใจ (แสดงออกจากข้างใน) มีพลังหรือคลื่นแห่งความรักความอบอุ่นที่สามารถแผ่รังสีออกไปสู่ตัวเด็กเมื่อไหร่ การเรียนรู้ก็จะเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น และเขาก็จะมีความสุขในการเรียน
หมายเลขบันทึก: 317134เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2009 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ตรงนี้  ถ้าคุณครูช่วยกันนำไปใช้  ผมว่าเด็กไทยในทุกระดับ จะค่อยๆขยับขึ้นมาครับ

*  รู้จักรอ รอให้เขาคิด เขาตอบ  รับฟังความคิดเห็นของเขา 

*  พยายามเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนให้ใกล้กับชีวิตของเขา 

*  ยกตัวอย่างให้สนุกสนาน

*  ใช้คำถามง่ายไปหายาก แบบตะล่อมๆ มีอารมณ์ขัน เป็นกันเอง

* ใช้คำพูด และสายตาอันอบอุ่นที เพื่อกระตุ้นให้กำลังใจ

*สื่อภาษาตัวหนังสือออกมาเป็นรูปภาพให้มาก

*  การสอนต้องอยู่ภายใต้บรรยากาศอันอบอุ่น ให้ความรักกับเขา  และผมก็พบว่า เขาก็สามารถที่จะเรียนรู้ได้จริง โดยกล้าที่จะออกมาเขียนคำตอบบนกระดาน

ครูสามารถพูดภาษาใจ (แสดงออกจากข้างใน) มีพลังหรือคลื่นแห่งความรักความอบอุ่นที่สามารถแผ่รังสีออกไปสู่ตัวเด็กเมื่อไหร่ การเรียนรู้ก็จะเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น และเขาก็จะมีความสุขในการเรียน

      หัวใจของการปฏิรูปการศึกษาอยู่ที่ตรงนี้แหละครับ 

                ขอบคุณบันทึกดีๆมีประโยชน์มหาศาลในวงการศึกษาครับ

สวัสดีครับ ...

อ่านบันทึกของครูมาพอสมควรเเล้ว ผมสนใจในกระบวนการที่ลงสู่การปฏิบัติในหลายๆประเด็นครับ

ในเนื้อหาที่ผมสนใจ และมีแนวโน้มว่าผมจะเข้าสู่ระบบคือ transformative learning : TL ครับ ตอนนี้ก็ review และพัฒนาประเด็นไปด้วย รวมไปถึงโอกาสในการทำงานที่เกี่ยวข้องในประเด็นดังกล่าวของผมด้วย

ผมคิดว่าในช่วงต่อไป คงมีโอกาสเสวนากับครูมากขึ้นครับ

วันที่ ๓ - ๔  ธค. จะมี เวทีเสวนา จิตตปัญญา  ครั้งที่ ๒ จิตตปัญญาศึกษา: ทางเลือก หรือ ทางรอดของสังคม? ผมเข้าร่วมด้วยครับ

และ วันที่ ๑๖ ธค. จะมีท่าน Dasho Karma Ura ท่านมาจาก ภูฏาณ มาคุยให้ฟังประเด็น GNH in Education ที่ กทม. ผมส่งรายชื่อ ผอ.โรงเรียนไปยัง สกอ.  ในโครงการการเรียนรู้สู่การพัฒนาการเป้นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ที่ผมเคยทำกระบวนการไปช่วงก่อน ๘ ท่านให้ทาง สกอ.ออกหนังสือ เชิญมาเข้าร่วมฟังด้วย

ทุกอย่างกำลังเรียนรู้ไปด้วยเเละถอดบทเรียนผ่านผู้รู้ไปด้วย

  • สวัสดีครับ คุณเอก...
  • ทีแรกจะไปร่วมงานนี้อยู่เหมือนกัน แต่มีภาระมาก
  • แต่มีพี่ ป.เอก ที่ มน. ไปร่วมงานนี้ 2 คน 
  •  แต่ช่วง ก.พ. มีการจัด โครงการ "กล้าสอน" ที่พิษณุโลก
  • สนใจเรื่อง จิตตปัญญา อยู่ครับ และลองผิดลองถูก ทั้งที่ทำเองมาก่อนและลองใหม่ 
  • ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อกันเปลี่ยนการเรียนรู้ใหม่

หากมา งานประชุมจิตตปัญญาคงได้สนทนากันครับ

ผมเองก็เหมือนธรรมะจัดสรร นะครับ ทราบดีว่าประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ท้าทาย ยาก ทั้งตัวประเด็นและการขับเคลื่อนไปข้างหน้า

ผมเองเรื่องทุนทางระบบการศึกษาน้อยกว่าเมื่อเทียบกับบุคลากรสายการศึกษา แต่ผมสนใจ Transformative learning มีผู้ใหญ่หลายท่านสนับสนุน ทำให้ผมมีกพลังใจ

ที่เเน่ๆตอนนี้ผม Review เรื่องนี้อย่างละเอียด(เชิงคุณค่า เชิงกระบวนการ และ เชิงบริบท) เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับตัวเองในการทำงานครับ

สะดุด ตรง "ผู้กล้าสอน" ผมเขียนบันทึกแนวๆนี้ ใช้ศัพท์นี้ ในบันทึก  การเรียนรู้เพื่อความเป็นไท : มหาชีวาลัยอีสาน

สวัสดีค่ะ

  • มาดูนักการศึกษาคุยกันค่ะ
  • ไม่ทราบจะเม้นท์อะไร เพราะไม่มีความรู้ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท