ผู้ก่อการดี"ตั้งศูนย์การรับการส่งต่อ"


26 พย 2552 13.00 น. นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย ผู้อำนวยการศูนย์อุบัติเหตุฯ รพศ.ขอนแก่น กล่าวต้อนรับทีมผู้ปฏิบัติงานด้านอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน ของรพ.ศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นำทีม โดย ผศ.นพ.เสริมศักดิ์ สุมนานนท์ รองผู้อำนวยการ รพ.และรศ.นพ โอวตือ แซ่เซียว รักษาการหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ และดิฉัน พนอ เตชะอธิก รักษาการผู้ตรวจการพยาบาลแผนกการพยาบาลอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน/APN of trauma

เพื่อยืนยันการจัดตั้งศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วย

บทเรียนของรพศ.ขอนแก่น ซึ่งมีการเริ่มมาแล้ว 1 ปี

นำเสนอโดย คุณสุดาวดี หอมจู เคย์ ถือว่า เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพรวดเร็ว โอกาสพัฒนา ที่นพ.วิทยา ท่านแนะนำคือ ควรมีการดำเนินการโดยจัดทำแผนกลยุทธ์ของศูนย์ฯ

การประยุกต์แนวคิดและบทเรียนมาจัดตั้งศูนย์รับส่งต่อที่รพ ศรีนครินทร์ ดังนี้

1.การจัดศูนย์รับส่งต่อของรพ.ประกอบด้วย

  • ศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วยไม่เร่งด่วนที่แผนกผู้ป่วยนอก
  • ศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินและเร่งด่วนที่แผนกอุบัติเหตุ

2.สองศูนย์นี้ต้องทำงานประสานกัน แบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน เชื่อมโยงการทำงานโดยคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ฯ มีหัวหน้าทีมคนเดียวกัน

3.มอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบและบทบาทหน้าที่ชัดเจน ครอบคลุมงานทุกด้าน เช่น การบริการและพัฒนาองค์ความรู้ เป็นต้น ทั้งนี้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ

 ข่าวดี อีกไม่นานเราจะได้เห็นหน้าตาของศูนย์การรับส่งต่อผู้ป่วย กันเสียที น่าจะเป็นช่วงปีใหม่2553 นี้

ตอนนี้ดูหน้าตาผู้ก่อการดีกันก่อนค่ะ ทั้งนี้ขอขอบคุณ รพศ.ขอนแก่น โดยเฉพาะนพ. วิทยา ชาญบัญชาชัย ผู้นำการพัฒนาของจังหวัดขอนแก่น และผู้บริหารรพ.ศรีนครินทร์ ที่มีวิสัยทัศน์ ในเรื่องนี้ ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจะตกเป็นของประชาชน

หมายเลขบันทึก: 316683เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2009 09:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ชอบคำว่า "ผู้ก่อการดี" ครับ

อ.โย

MBA มข

  • มายินดีด้วยค่ะพี่แขก
  • ต้องช่วยกันสนับสนุนการขับเคลื่อนให้สำเร็จนะคะ
  • เย้ ๆ

แขก

พี่ขอภาพที่เราประชุม r2r กับหมออัครินทร์ด้วยนะคะ สัก 1-2 รูปก็ได้ค่ะ

พี่แก้วที่เคารพ รอหน่อยนะค่ะ ประมาณช่วงเที่ยงจะส่งให้ค่ะ

สวัสดีค่ะ

- มาร่วมแสดงความยินดีค่ะ

- อยากร่วมเสนอด้วยค่ะ เพราะเคยอยู่ กาฬสินธุ์ พอส่งตัวต่อยุ่งยากจังค่ะ

ข้อแรก ต้องถามว่าตึกที่จะนอนเต็มไหม ต้องต่อหลายจุด ตั้งแต่แผนกที่จะนอน

ต้องถามหมออีก ว่าจะรับไหม / บางครั้งไปส่ง ถูกปฏิเสธก็มี ทั้ง ๆ ที่บีบ ambu อยู่ค่ะ

- ปวดหัวจังค่ะ / ฝากด้วยนะค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์เพชรน้อย

น่าเห็นใจมากค่ะสำหรับผู้ใช้บริการ ที่ต้องการมารักษาที่โรงพยาบาลที่มีอัตราการครองเตียงมากกว่าหรือร้อยละ100 เห็นใจทั้งสองฝ่าย ถ้าศักยภาพของโรงพยาบาลมีความเท่าเทียมกัน การส่งต่อคงไม่จำเป็นต้องพัฒนา เพราะจะเข้ารักษาร.พ.ใกล้บ้าน มากกว่า

ทางออก

 1.มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องลดการส่งต่อพร้อมกันนี้ต้องพัฒนาศักยภาพของโรงพยาบาลไปพร้อมๆกัน เพื่อสร้างศรัทธาและความเชื่อมั่น อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีระบบพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลอยู่แล้ว

 2.คัดกรองประเภทผู้ป่วยที่มีความจำเป็นหรือต้องการรักษากรณีที่โรงพยาบาลใกล้บ้านไม่สามารถรักษาได้ เนื่องจากขาดปัจจัยหลายอย่าง ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องจัดตั้งศูนย์การรับส่งต่อ จะช่วยให้การเข้าถึงบริการสะดวกขึ้น การไม่รับไม่ได้หมายความว่าการปฏิเสธ แต่เราอาจมีเหตุผลและการอธิบายกับแพทย์ที่จะส่งต่อและญาติของผู้ป่วย ควรมีการเตรียมพร้อมทั้งสองฝ่าย จึงจะลดความเครียดตรงนี้ได้

 3.พัฒนาการให้ข้อมูลและสร้างความเข้าใจกับประชาชนเพิ่มมากขึ้น

ขอบคุณมากค่ะที่เข้ามาแลกเปลี่ยน ถือว่าช่วยกันพัฒนาระบบของเราให้ดีขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท