โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

ฝันใหญ่....ที่อยากไปให้ถึง


ผมบอกทุกคนว่า "ในมวยรุ่นนี้ (รพท.) ปอนด์ ต่อ ปอนด์...เราเป็นมวยดีและมีโอกาสพัฒนาไปเป็นอันดับ 1 ได้ แต่เราต้องมีวิธีซ้อมที่ถูกต้องและรอวันขึ้นชกชิงแชมป์อีกสามปีข้างหน้า" ผมไม่ได้พูดลอยๆ ผมวาง stradegy ไว้ 4 เรื่อง ที่เป็น ยาดำแห่งความสำเร็จ"

ผมอยู่แม่สอดมาเป็นปีที่ 5 ผมได้ทำงานร่วมกับทีมผมที่มีพยาบาล-เจ้าหน้าที่ สอ. ผ่านทั้งคำปรามาส จากอดีตจนในบางช่วงก็ท้อกับงาน แต่ที่สู้และผ่านมาได้เพราะ "ทีมผมทุกคนยังสู้งานหนักและยังมีไฟที่ต้องการจะทำอะไรที่แตกต่างจากอดีต"

นี่เป็น slide ที่ผมทำเมื่อ 4 ปีก่อน...ผมมาทบทวนตัวเองหลังจากที่ ผ่านงานมาพอสมควร ปัจจุบันเริ่มเป็นที่ยอมรับจาก รพ. ของผมเอง (รพท. 317 เตียง) เราทำอย่างไร

ในตอนนั้นผมบอกพยาบาลของผมว่า

ทุกคนดูจะไม่มั่นใจว่าจะไปถึงจุดนั้น ได้อย่างไร? "เป็นที่ยอมรับ/ยืนในระบบอย่างมั่นคง/เท่าเทียม" ซึ่งวิสัยทัศน์นี้บรรลุตามเป้าหมายไปเรียนร้อยแล้วหลัง HPH

แต่ผมมั่นใจและเชื่อแบบสนิทใจว่า "เราทำได้แน่นอน"

เน้นมากเรื่องพัฒนาคน และให้โอกาสกับความแตกต่าง...แต่ไม่ละเลยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (autonomy VS unity) ผมมี PCU 3 แบบ ทั้ง 3 แบบสร้างจุดเด่นของตัวเองได้ ถึงแม้เราจะ "ไม่ perfect แต่ถ้ารวมกัน...ก็ปิดจุดอ่อนของแต่ละที่ได้"

ผมวิเคราะห์ว่า "ปัญหาของ primary care ทุกที่ที่ผมไปดูงานคือ slide ล่าง"

เราวิเคราะห์แล้วจากทรัพยากรที่ผมมี...ผมขอฉันทามติจากพยาบาลทุกคนว่า "พวกเราพร้อมไหมกับวิสัยทัศน์นี้....ผมเห็นแววตาทุกคน...บอกว่าพร้อม...หลายคนจดลงบนกระดาษ"

พี่พยาบาลคนหนึ่ง"ได้คะหมอ แต่ขอไม่ show ให้ใครเห็นนะคะ...เดี๋ยวทำไม่ได้"

ผม "เราต้องขจัดความกลัวให้ได้...ถ้ามีความกลัวยากที่จะสำเร็จ"

ผมบอกทุกคนว่า "ในมวยรุ่นนี้ (รพท.) ปอนด์ ต่อ ปอนด์...เราเป็นมวยดีและมีโอกาสพัฒนาไปเป็นอันดับ 1 ได้ แต่เราต้องมีวิธีซ้อมที่ถูกต้องและรอวันขึ้นชกชิงแชมป์อีกสามปีข้างหน้า" ผมไม่ได้พูดลอยๆ ผมวาง stradegy ไว้ 4 เรื่อง ที่เป็น ยาดำแห่งความสำเร็จ

 

พูดง่าย ๆ "ระบบเข้มแข็ง-ชุมชนร่วมแรงร่วมใจ-ผ่านกลไกการเรียนรู้แลกเปลี่ยน"

ใครมีส่วนร่วมงานนี้บ้างแล้วเชื่อมโยง (stakeholder analysis) ในแต่ละยุทธศาสตร์ แน่ ๆ คงเป็นตัวเรา-สอ.-รพ.-ชุมชน แล้วเราจะวัดอย่างไรว่าสำเร็จ

ผมเชื่อมโยงกลยุทธ์เข้ากับการวัดผล....ผมจะแตกยอดแนวคิด

learning organization...ผมจะใช้เป็นแกนการทำงาน ทั้งในชุมชนและในระบบสาสุข..ผมจะเชื่อม KPI เรา ลงชุมชน มีการคืนข้อมูลให้ชุมชน และทำ CQI ร่วมกับชุมชน ปรับ KPI ตาม need พื้นที่โดยเป้าหมายคือ "การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย"

primary care network และ health care collaboration... ผมไปดูงานที่อังกฤษ ผมคิดว่าสิ่งที่ต้องทำคือ พัฒนา IT เพื่อเชื่อมข้อมูลและใช้ KM เชื่อมงานนี้...ผมจทำให้ระบบสาสุขในแม่สอด...ไร้รอยต่อ...share ทรัพยากร โดยเราจะทำให้ PCU network เชื่อมโยง.......คนที่ผมคุยมี 3 ฝ่าย คือ ผอ.รพ.ผม+หัวหน้าเวชกรรม (ท่านรับปากผมแล้วว่าจะช่วย) , ฝ่าย สอ. พยายามเชื่อมโยง(คุยกับท่านรอง สสอ.เรื่องปรึกษาส่งต่อด้วย skype) และ ผู้ปฏิบัติใน รพ.

ผมขอ programmer เขียน program link e-refer,e-HHC และ realtime consultation (อันนี้ไม่ยากเพราะผ่าน internet และ ต้องการเพียง computer ไม่กี่ตัว)

ส่วน community empowerment ผมมองว่า "ชุมชนมีความเป็นอัตลักษณ์อยู่แล้ว ผมมองว่า ทํศนคติบุคลากร สำคัญ....แค่เปลี่ยนมุมคิด...วิธีการ approach จะเปลี่ยน เราเพียงมีหน้าที่ "โยนประเด็นที่น่าสนใจ (ตัวกวน)ลงไปในวงแล้วรอการตอบสนอง ที่เชื่อว่าจะเกิดในอนาคต"

ผมได้ลองทำไปแล้วเมื่อก่อน HA/HPH จะมาตอนผมลงไปเตรียมชุมชน...หลายคนบอกผมว่า "ต้องบอกให้ชุมชนทำอย่างนั้น อย่างนี้" ผมเปลี่ยนครับ ผมคุยกับชุมชนว่า

"ผมอยากเห็นชุมชนแสดงให้คน กทม.เห็นว่า คนร่วมแรงมีดีอะไร....ผมเชื่อว่าพวกเราทำได้แน่นอน....พวกเราคือตัวแทนของอำเภอแม่สอด ทำให้พวกเขาเห็นกันเถอะ" ผลเป็นอย่างที่เห็นใน HA reaccreditation กับงาน Home health care KPI แม่สอด ตอนที่ 3 "ชุมชนร่วมแรงแห่งแม่สอด จ.ตาก" ผมลงเตรียมแค่ 2 สัปดาห์ ถ้าเราลงคลุกคลีกับพวกเขาจริงจัง พลังชุมชนจะเข้มแข็งขนาดไหน????? เดาไม่ออกเลยใช่ไหมครับ

สุดท้ายนี้...ฝันนี้เป็นฝันใหญ่ที่อาจไปไม่ถึง...แต่ผมคิดว่า...ที่ผมผ่านมาได้เพราะผมมีฝัน...และผมไม่เคยลังเลที่จะทำให้ฝันนี้จะเป็นจริง...ถ้าไม่เกิดอุบัติเหตุที่สุดวิสัย...ทีมผมจะพิสูจน์ว่า "เป็นฝันใหญ่ที่ไปถึง"

หมายเลขบันทึก: 316669เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2009 08:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

สวัสดีค่ะ

เคยทำงานแถวแม่สอดค่ะ ทุกๆเช้าสังเกตว่ามีผู้ป่วยมาใช้บริการคลินิกใหญ่น้อย ต่างๆนี่มีคนออเต็มไปหมดเลยค่ะ ทั้งคนไทย หากส่วนใหญ่เป็นต่างชาติ :)

เห็นแผนท่านแล้วบอกได้คำเดียวว่า ชื่นชมด้วยจิตคารวะคะ คิดถึงประโยคหนึ่ง If you do not have aim high, you will lose high ... เป็นกำลังใจให้ฝันใหญ่ ที่เป็นจริงได้ค่ะ

ขอให้คุณหมอทำสำเร็จครับ

คุณหมอโชคดีกว่าผมมาก ผมไม่มีทีม ครับ

แบบว่า พวก ริกส์คนมหากาฬ ชอบลุยเดี่ยว มีแค่คู่หูคนสองคนครับ

เพราะทีมนำเน้นงาน เศรษฐกิจพอเพียง 555 พอผมทำเรื่อง patient care

กกบ.บางคนบอกทำทำไม ตูล่ะเป็นงง ... ที่ปลูกต้นไม้ ยังทำได้ 666

สวัสดีครับ poo และขอบคุณที่แวะมา

ผมเองอยากเห็นเมืองแม่สอด เข้มแข็งในการดูแลสุขภาพตัวเอง มากกว่าหวังพึ่งบริการ ที่มีข้อจำกัดมากมาย...รวมถึงผมเอง

3 ปีนี้ ตัวผมเองปรับกระบวนทัศน์ตัวเองว่านอกเหนือจากเยี่ยมบ้านผู้ป่วย...ผมจะคลุกวงในกับ อสม./จิตอาสา/ผู้สูงอายุ และ ผู้นำชุมชน เสริมเรื่องการพึ่งตัวเองทางสุขภาพ...ยากแต่ต้องทำ พลักดันบางวาระให้เป็นวาระประชาชน เช่น การเห็นคุณค่าผู้พิการ(ไม่ใช่แค่ดูแล แต่ต้องเห็นศักยภาพ) การคัดกรองโรคโดย อสม.ที่ต้องเสริมเขี้ยวเล็บให้ อสม.

พัฒนาทักษะจิตอาสา ให้เก่งและริเริ่มงานใหม่ๆ ที่สร้างสรรและนำศักยภาพในตัวมาใช้(ส่วนใหญ่จิตอาสาผมเป็นข้าราชการเก่า ที่บางคนเคยเป็นถึงหัวหน้าองค์กร) นอกเหนือจากเรื่องช่วยเหลือผู้ป่วยใน รพ.

เป็นต้นครับ

สวัสดีครับพี่ศุภรักษ์

เพียงแค่พี่มีฝัน...คนอย่างพี่ทำได้แน่นอน(บ้างานซะขนาดนี้)

งานเราคล้ายกันมากน่ะครับ คุณหมอโรจน์ 555

เราคล้ายกัน เพราะเราเห็นทุกข์ชาวบ้านเป็นงานของเราครับ

เราเลยทำเกินกรอบวิชาชีพ.....แต่เราไม่ได้ทำเกินกรอบความเป็นเพื่อนมนุษย์(ยืมของอาจารย์เต็มศักดิ์ มาใช้ อิอิ)

การประชุม SHA ที่ขอนแก่นที่ผ่านมาเห็น PCU มานำเสนอโครงการในบริบทของ Outcome mapping เห็นว่ากระบวนที่ทุกโครงการ  คนทำมีความตั้งใจในกระบวนการทำงานดีมากและสามารถเล่าได้อย่างภาคภูมิใจในสิ่งที่ทำจริง  ถ้าหา outcome indicatorได้ตรง ผลลัพธ์ที่ได้น่าจะเกิดประโยชน์มากขึ้นค่ะ

ฝันของโรจน์ เป็นฝันร่วมของทุกฝ่ายได้นะครับ

ตอนที่ไปแม่สอดครั้งนั้น ผมเห็นความร่วมมือร่วมใจของทุกคนแล้ว นับถือ นับถือ

ใน outcome mapping ผลลัพธ์ที่เรามองหาก็คือ "พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงอันพึงปราถนา" ของ direct partners (desirable behavior) และ "ความสัมพันธ์อันพึงปราถนา" และ "ศักยภาพอันพึงปราถนา" ทั้งหมดนี้เป็นคุณภาพของคน อันอาจจะมี hardwares มาประกอบ เป็น supporting system

เมื่อไหร่ก็ตาม ผลของการพัฒนาลงไปในอยู่ "ในคน" ไม่ได้อยู่ใน hardware, place, reports เมื่อนั้นการพัฒนาก็จะยั่งยืนและเป็น living outcomes ไม่ใช่ dead outcomes

เราอาจจะมองไม่เห็น "ตัวเลข" ผลลัพธ์ของ parameters ทางสาธารณสุขเปลี่ยนทันตาทันใจ แต่ถ้าเรามองลึกๆ เราจะเริ่มเห็นจากการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม ทาง relationship และทางศักยภาพก่อนในมนุษย์ เมื่อนั้นความสำเร็จ อาจจะไม่จำเป็นต้องเกิดในชาติภพนี้ของเราก็ได้ เพราะเรามีศรัทธาว่ามีเมล็ดงามได้ลงไปฝังแต่ผลิกล้า ผลิดอกตูมขึ้นมาแล้ว ถ้าฟ้าดินเป็นใจ ไม่ส่งสึนามิ ตั๊กแตน หรือห่ามาลงกินไปเสียก่อน สักวันมันจะงอกงาม

เราจะรับรู้ หรือเห็นด้วยตาหรือไม่ อาจจะไม่สำคัญเท่าไหร่แล้ว

ขอบคุณพี่แก้วครับสำหรับคำแนะนำ

อาจารย์เต็ม...ขอบคุณสำหรับกำลังใจ...ผมยังต้องการคำชี้แนะอีกมากมายจากอาจารย์

อาจารย์สกล ครับ ผมอ่าน outcome mapping (ถึงจะยาวไปหน่อย) แล้วประทับใจ ยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของแรงบันดาลใจครั้งใหม่ของผม โดยน่าจะเหมาะมากกับการทำงาน PCU

ชอบคำพูดอาจารย์หมอสกล

ความสำเร็จ อาจจะไม่จำเป็นต้องเกิดในชาติภพนี้ของเราก็ได้ เพราะเรามีศรัทธาว่า มีเมล็ดงามได้ลงไปฝังแต่ผลิกล้า ผลิดอกตูมขึ้นมาแล้ว ถ้าฟ้าดินเป็นใจ ไม่ส่งสึนามิ ตั๊กแตน หรือห่ามาลงกินไปเสียก่อน สักวันมันจะงอกงาม

แต่ดูเหมือน สรพ พาเราทำทั้งหาสิ่งที่วัดได้และสิ่งที่วัดยาก แต่อิ่มสุขทั้งกายใจและจิตวิญญาณนะคะ

ผมเห็นด้วยกับความจริงข้อนี้...คนบางคนตายไปแล้วเป็น 100 ปีแนวคิดเพิ่งเป็นที่ยอมรับในภายหลังก็มาก...หากแต่เราทำไม่หวังผลแต่ทำด้วยจินตนาการที่ไม่จำกัดด้วย jungdement-cinnecism-fear สามสิ่งนี้เป็นข้อจำกัดจินตนาการใหม่

สวัสดีค่ะ

  • เข้ามาศึกษาหาความรู้  เพื่อนำไปปรับใช้ในงานของตนเอง
  • ขอบพระคุณบันทึกดีดีเช่นนี้นะคะ

เรียนทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียน ผมเพิ่มคิดได้ว่าผมใส่บันทึกผิดที่...จริงต้องอยู่ primary care ขออนุญาติย้ายเรื่องนี้ไปอีก blog นะครับ

ถ้าเราปลูกดอกไม้แล้วเฝ้าดูทุกวัน รดน้ำ ใส่ปุ๋ย สักวันต้องออกดอกแน่นอนครับ

เป็นกำลังใจให้อยู่จนบรรลุวิสัยทัศน์ครับ

ขอบคุณพี่สิอิฐ...ผมก็เชื่อว่าพี่ก็ต้องทำได้เหมือนกัน..

คุณหมอครับ

ผมคน จ.ตากครับ

ตอนนี้กลับไปอยู่บ้านครึ่งตัวแล้ว

มีอะไรจะเจือจานกันได้เอ่ยปากทันทีเลยครับ

บ้านอยู่ดอยมูเซอ ครับ มีมิตรสหายในเขตอ.แม่สอดเกือบทุกตำบลครับ

ขอบคุณครับอ้ายหนานเกียรติ

ดีใจครับที่ผมยังมีเครือข่าย Gotoknow

ผมคิดว่า 3 ปีนี้จะลงชุมชนมากขึ้นโดยเน้นเขตเทศบาลแม่สอด...เป้าหมายรู้จักผู้คน...แลกเปลี่ยนความคิดเห็น...ส้รางสิ่งใหม่ๆ ร่วมกับชาวแม่สอดแบบไม่ตั่งธง ขึ้นกับชุมชนจะนำทางผมไป

  • มาเยี่ยมและมาให้กำลังใจ
  • ฝันใหญ่จะไปถึงได้
  • ควรจะมีเป้าหมายร่วมกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด
  • ....
  • มาเสนอให้ลองมองอีกระดับ
  • ยกขึ้นไปสู่เรื่องของระดับอำเภอ
  • เป็นฝันร่วมกันกับผู้เป็นเครือข่ายจะดีไม่น้อยนะน้อง
  • ....
  • การฝันร่วมกันจะช่วยทำให้
  • ความต่างศักยภาพที่มีในตัวคน
  • ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
  • สอดคล้องกัน
  • ....
  • ฝันร่วมที่มาชวนให้ทำก็คือ
  • ทำให้เรื่องของประชาชนเป็นใหญ่ค่ะ
  • ....
  • แล้วหมอจะได้ทีมมาร่วมเป็นเครือข่าย
  • อีกมากมายเลยเชียว
  • ....
  • ทั้งจิตอาสา
  • ทั้งองค์กรท้องถิ่น
  • ทั้งหน่วยราชการ
  • ทั้งเอกชน
  • สบายหมดแหละนะน้อง
  • ....
  • แม้ฝันจะ่ใหญ่
  • ก็ไม่ได้หมายความว่า
  • เรื่องที่ลงมือทำ
  • จะใหญ่ไปด้วย
  • ....
  • ทำจุดเล็กๆ...จับรากให้ถูก
  • สิ่งที่ทำยาก..จะทำได้ง่ายเอง
  • ....
  • บทบันทึกที่เล่าในเรื่องของ HA
  • พี่รู้สึกเหมือนทีมของน้อง
  • ใช้เวลาไปกับตัวเลขซะมากมายทีเดียว
  • เสียดายเวลาค่ะ
  • ....
  • เวลาจับตัวเลข
  • เพื่อที่จะขับเคลื่อนและพัฒนา
  • จับตัวใหญ่ๆในเชิงระบบให้เยอะไว้
  • และใช้ให้น้อยตัว
  • จะทำให้งานลดลง
  • และได้เห็นผลที่เปลี่ยนไปได้ง่ายกว่า
  • ....
  • ดูๆฝีมือ..พี่ว่า...3 ปีได้เกินฝัน
  • เพียงแต่ควรฝึกฝนวิธีจัดการ(วิชาบริหาร)
  • เพิ่มมากขึ้นอีกจะดีจ๊า
  • ....
  • มาเตือนๆว่า..อย่าหลงไหลในตัวเลขค่ะ

ขอบคุณพี่เจ๊ครับ หลายคำพูดของพี่ผมรู้สึกถึงความเป็นกัลยาณมิตรที่แท้จริงครับ....คำเหล่านี้เป็นคำที่โดนใจและผมน้อมรับไปปฏิบัติ  เพราะพิจารณาแล้วเห็นว่าน่าจะเป็นมรรคาแห่งความสำเร็จได้....กัลยาณมิตรจะตักเตือนอย่างตรงไป ตรงมาและเมื่อเห็ว่ามิตรกำลังจะหลงเดินผิดทาง

ควรจะมีเป้าหมายร่วมกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด

  • ฝันร่วมที่มาชวนให้ทำก็คือ
  • ทำให้เรื่องของประชาชนเป็นใหญ่ค่ะ
  • พี่รู้สึกเหมือนทีมของน้อง
  • ใช้เวลาไปกับตัวเลขซะมากมายทีเดียว
  • เสียดายเวลาค่ะ
  • เพื่อที่จะขับเคลื่อนและพัฒนา จับตัวใหญ่ๆในเชิงระบบให้เยอะไว้ และใช้ให้น้อยตัว จะทำให้งานลดลง และได้เห็นผลที่เปลี่ยนไปได้ง่ายกว่า

    มาเตือนๆว่า..อย่าหลงไหลในตัวเลขค่ะ

    ขอบคุณอีกครั้งครับพี่

     

    • อิอิ...แวะมาอีกที
    • เมื่อสัมผัสความจริงจังของหมอ
    • .....
    • อันที่จริง
    • สไตล์การทำงานของผู้คน
    • ไม่มีผิด ไม่มีถูก
    • .....
    • ออกจะกล่าวโทษตัวเองไปหน่อยมั๊ย เรื่อง "ผิด"
    • ระวังการเสพติด "ความรู้สึกผิด" นะน้องนะ
    • ด้วยนี่คือการหล่อเลี้ยง "ความกลัว" ไว้ในจิตใจ
    • ซึ่งทอนพลังไปอย่างมากมายกับ "การแก้ตัว"
    • .....
    • ความเห็นข้างบนนั้นมาเติมไว้
    • ก็ด้วยเห็นบริบทว่าสามารถทำได้
    • .....
    • แต่เดิมนั้นดูเหมือนมองอยู่แต่มุมในระดับพื้นดิน
    • จึงมองไม่เห็นตัวช่วยรอบตัวที่มีอยู่มากมาย
    • .....
    • พี่แค่มาชวนให้เดินขึ้นไปยืนอยู่ในที่สูงกว่าระดับเดิม
    • แล้วมองลงมาใหม่....แค่นั้นเอง
    • .....
    • เคยได้ยินเรื่อง "เครื่องมือ ๗ ชิ้น" จากคุณหมอโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์
    • แล้วมีมุมมองว่า อืม มันดี
    • .....
    • มาชวนให้ลองนำความรู้เรื่องเครื่องมือเหล่านี้
    • ไปผสมผสานใช้ดูนะน้องนะ
    • .....
    • ลองใช้แบบผสมผสาน
    • มุมมองระดับพื้นดินกับมุมมองมุมสูงดูนะคะ
    • .....
    • ได้อะไรที่ท้าทายดีนา
    • อ้อ..ลืมบอกไป...พี่ชอบคนที่มีอหังการ
    • รักษามันไว้นะน้องนะ....
    • มันเป็นความดีงามของคนนะ....อิอิ
    • .....
    • ตอนเริ่มยุค HA
    • สรพ. เคยให้คติไว้ "อย่าหลงยึดคิดกับผลงานในอดีต"
    • .....
    • วันนี้จึงนำมาฝากเพื่อชวนให้ใช้
    • ความอหังการ...หล่อเลี้ยงให้เกิดผลงานของวันนี้ที่ดีกว่าเมื่อวานค่ะ
    • อ้าว พิมพ์ผิดความหมายซะแล้ว
    • ......
    • มือไม่แม่นแต่เร็วไป....เห็นผลแมะ
    • ......
    • พลาดก็คือพลาด ไม่ได้ตั้งใจพลาดนี่นา แค่เร็วไป
    • ......
    • เลยพิมพ์มาให้ใหม่
    • เพื่อไม่ให้ความหมายคลาดเคลื่อน
    • คำใหม่เป็นคำนี้้ค่ะ
    • ......
    • "อย่าหลงยึดติดกับผลงานในอดีต" 
    • ......
    • ธรรมะง่ายๆนี้
    • ฝากไว้สำหรับหล่อเลี้ยงอหังการดีๆไว้กับตัวเนอะ

    ขอบคุณครับพี่

    การปรับความคิดให้เป็น สัมมาทิฏฐิ เป็นเรื่องที่จำเป็นในการพัฒนาตัวเองครับ...ขอบคุณครับพี่

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท